ในหลวง
กีฬาทรงโปรด ของในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ผู้มากด้วยพระอัจฉริยภาพทางกีฬา
กีฬาทรงโปรด ของในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ผู้มากด้วยพระอัจฉริยภาพทางกีฬา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในดวงใจของประชาชน นอกจากพระราชกรณียกิจที่มากล้นด้วยพระปรีชาสามารถแล้ว พระองค์ยังมีพระอัจฉริยภาพทางกีฬาอีกด้วย วันนี้ Goodlifeupdate จึงขอนำภาพ กีฬาทรงโปรด ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาฝากผู้อ่านทุกท่านกันค่ะ กีฬาสกีน้ำแข็ง หลายๆ คนน่าจะเคยมีโอกาสได้ชมภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงกีฬาสเก็ตน้ำแข็ง และ สกี เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และครั้งเสด็จประพาสต่างประเทศ ที่ใครเห็นแล้วก็ต้องแอบอมยิ้มอย่างมีความสุขตามไปด้วย พระองค์ทรงฉายแววพระอัจฉริยภาพทางกีฬาหลายประเภท ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยพระองค์ทรงเล่นสกีครั้งแรกเมื่อมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ขณะประทับและทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กีฬาเรือใบ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการแข่งขันเรือใบ นอกจากนี้ยังมีพระอัจฉริยภาพในการต่อเรือใบด้วยพระองค์เองอีกด้วย โดยทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง มีนามว่า “มด” ซึ่งต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นเรือ “ซุปเปอร์มด” และ “ไมโครมด” ในที่สุด ปี พ.ศ.2510 พระองค์ทรงลงแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ได้รับชัยชนะเหรียญทอง […]
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรม ระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฺฒโน)
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรม ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19
การอ่าน เปรียบดังธนาคารความรู้
การอ่าน เปรียบดังธนาคารความรู้ การอ่าน เปรียบดังธนาคารความรู้ “ หนังสือเป็นการสะสมความรู้ และทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่มนุษย์ได้สร้าง ทำมา คิดมา แต่โบราณกาล จนทุกวันนี้หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้าย ๆธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ ” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการอ่านที่ได้ทรงพระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงโปรดการอ่านหนังสือเป็นที่สุด และยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมไว้มากมาย อาทิ พระราชนิพนธ์เรื่องพระราชานุกิจ พระมหาชนก และทองแดง เมื่อปี พ.ศ. 2520 หลังจากที่พระองค์ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์แห่งวัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนก ในตอนเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมินิลา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย จึงค้นคว้าเรื่องพระมหาชนกเพิ่มเติมในพระไตรปิฏก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี […]