ชีวจิตแนะ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยร่างกายฟื้นไว

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำอย่างไรได้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยอธิบายว่า เมื่อผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายนำกลูโคสจากอาหารที่กินไปใช้เป็นพลังงานได้ดี ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินน้อยลง หัวใจแข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในอนาคต มาดู การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กันเลยค่ะ ออกยังไง ผู้ป่วยออกกำลังกายได้หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะ หรือเดิน กรณีอายุ 30 ปีขึ้นไป แนะนำให้ออกกำลังแอโรบิกระดับปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือออกกำลังกายระดับหนักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 75 นาที แต่ถ้าเป็นการออกกำลังเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เช่น ยกน้ำหนัก เกร็งกล้ามเนื้อ เน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน และควรทำติดต่อกันเพื่อสร้างนิสัยที่ดี ร่วมกับการปฏิบัติดังนี้ ㆍปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจออโตโนมิกผิดปกติควรประเมินการทำงานของหัวใจก่อนการออกกำลัง หรือผู้ที่มีแผลที่เท้าควรหลึกเลี่ยงการออกกำลังที่มีผลต่อเท้า เช่น วิ่ง หรือกระโดดตบ เป็นต้น ㆍก่อนและหลังออกกำลังกายควรยืดเหยียดวอร์มอัพและคูลดาวน์กล้ามเนื้อแต่ละส่วน เช่น คอ ไหล่ แขน เข่า ขา เพื่อลดการบาดเจ็บและปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ […]

สมุนไพรควบคุมน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พร้อมคำแนะนำการกิน

สมุนไพรควบคุมน้ำตาล กินอย่างไรถึงปลอดภัย บรรเทาโรค ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน อีกทั้งยังต้องดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญ ควรควบคุมปริมาณอาหารหรือเลือกกินอาหารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างพืชสมุนไพร คุณกรรณิการ์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรและคลุกคลีอยู่ในวงการสมุนไพรอย่างยาวนาน ได้แนะนำ สมุนไพรควบคุมน้ำตาล ไว้ดังนี้ มะระขึ้นก สมุนไพรรสขมที่มีสาร Plain Insulin ตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารพี่อินซูลิน (P-Insulin) สารคาแรนติน (Charantin) และสารวิซีน (Vicine) ออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลินที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ โดยทำหน้าที่ดึงนำตาลจากกระแสเลือดออกมาสร้างเป็นพลังงานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับ ทั้งในสัตว์ทดลองและในผู้ป่วยเบาหวาน ยืนยันว่า สารคาแรนตินที่พบในมะระขึ้นกสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง โดยใช้มะระขึ้นกขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจากการติดตามผลไม่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงและไม่พบความเป็นพิษต่อตับ ฉะนั้นสามารถใช้มะระขี้นกเป็นอาหารหรือยาในการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างปลอดภัย คำเตือน: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือผู้ที่ต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ไกลพิไซด์โทลบูตาไมค์ ไกลเบนคลาไมด์ ไพโอกลิตาโซน เป็นต้น ควรระมัดระวังในการกิน เนื่องจากจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจต้องปรับปริมาณยาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด อบเชย ในต่างประเทศนิยมใช้อบเชยเป็นส่วนผสมในขนม […]

5 โรคเบาหวาน อัพเดตล่าสุด คุณเป็นหรือเปล่า??

โรคเบาหวาน คือภาวะที่ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โรคเบาหวาน หมอจะอธิบายให้ละเอียดดังนี้ คือ เวลาเรากินของหวานเข้าไป น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมา เพื่อทำหน้าที่สั่งการให้กลูโคสเข้าไปช่วยเซลล์ต่าง ๆ ทำงานอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อไรที่อินซูลินหลั่งออกมาไม่เพียงพ อจะเรียกภาวะนั้นว่า “การขาดอินซูลิน” ซึ่งส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพราะควบคุมไม่ได้ หรือในทางการแพทย์เรียกว่า“Insulin Dependent” การวินิจฉัยโรคเบาหวานในอดีต ทำโดยการเจาะเลือดดูค่าน้ำตาลและสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว เพื่อประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้แบ่งโรคเบาหวานเป็น 2 แบบ คือ เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Immune-Mediated Type 1) คือ ภาวะที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย การทำงานของเซลล์ตับอ่อนจึงค่อย ๆ ลดลง นอกจากนั้น ยังพบอาการต่อต้านอินซูลินและภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย อันเนื่องมาจากเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินถูกทำลายนั่นเอง จากสถิติพบโรคเบาหวานประเภทนี้ในเด็กและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน อาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนหยุดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินทุกวัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes, Non Insulin Dependent […]

โรคเบาหวาน มองอย่างเข้าใจ รักษาหายได้ไม่ยาก

เข้าใจโรคเบาหวาน รู้ทัน รับมือได้ รักษาหาย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ณ ปี 2563 พบว่าเรามีผู้ป่วยเบาหวานราวๆ 5 ล้านคน  95% ของผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมาจากพฤติกรรม ในขณะที่เราต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่าการกินน้ำตาลมากๆ นั้นไม่ดี เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความรับรู้ของสังคมเกี่ยวกับโรคนี้อาจจะมีมุมที่ยังคลาดเคลื่อนและจำเป็นต้องแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ มาทำความ เข้าใจโรคเบาหวาน กันค่ะ ไม่ใช่แค่พันธุกรรมแต่เป็นพฤติกรรม แพทย์หญิงธนพร พุทธานุภาพ จากศูนย์โรคเบาหวาน โรงพยาบาลวิมุต ได้ให้ความรู้ในกรณีการส่งต่อโรคเบาหวานทางพันธุกรรมไว้ว่า นอกจากพันธุกรรมจะเพิ่มความเสี่ยงแล้ว พฤติกรรมก็สำคัญไม่แพ้กัน “ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรเฝ้าระวังตั้งแต่แรก ยิ่งถ้ามีคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวานหลายๆคน เนื่องจากมีเบาหวานบางชนิดที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบบ่อย ก็มีส่วนจากพันธุกรรมบ้างแต่มักเกิดร่วมกับการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารมากเกินไป ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือการที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งถ้าในครอบครัวมีพฤติกรรมเหล่านี้เหมือนๆกัน ก็สามารถเป็นเบาหวานกันทั้งบ้านได้” ไม่ใช่แค่ของหวานที่กินแล้วเป็นเบาหวาน “ต่อให้ไม่ชอบของหวานแต่ชอบรับประทานข้าว แป้ง ขนมปังเมื่อผ่านระบบการย่อยก็จะกลายเป็นน้ำตาลได้และทำให้น้ำตาลขึ้นสูงหลังกินได้มาก จึงเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและเบาหวานได้ ส่วนอาหารไขมันสูงก็ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะในช่องท้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มซอส น้ำจิ้ม […]

โรคเบาหวาน กับความเข้าใจผิด ๆ ที่ทุกคนควรรู้ หมอตอบเอง

ว่าด้วยความเข้าใจผิด ๆ เรื่อง โรคเบาหวาน อีกหนึ่งภัยเงียบที่ทำร้ายสุขภาพและสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตของผู้คนคือโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานและไม่ได้รับข้อมูลความรู้ รวมถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง หากปล่อยไว้ อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ไตวาย โรคเกี่ยวกับดวงตา และอาจอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่รู้ตัวและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเสียแต่เนิ่น ๆ รู้รอบเรื่องเบาหวาน กับคำถามและความเข้าใจผิด ๆ ที่ (เคย) คิดว่าใช่ คำถาม/ความเชื่อ: จริงหรือไม่ที่โรคเบาหวานมักมาคู่กับความอ้วน คุณหมอตอบ: เป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่ง คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือคนที่เป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว เริ่มจากน้ำหนักตัวที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 เท่ากับเป็นเบาหวานแล้ว (เทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดปกติควรอยู่ที่ 100) เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก ๆ และมีภาวะอ้วน ร่างกายจะดื้อต่อการใช้อินซูลินและทำให้มีปริมาณน้ำตาลในร่างกายเกินความจำเป็น แม้น้ำหนักจะลดลงภายหลังก็ไม่ควรย่ามใจ เพราะแท้จริงอาจเป็นเบาหวานแล้ว ต้องเฝ้าระวังและหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะคนที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวานอยู่แล้ว รวมถึงคนที่มีภาวะอ้วนลงพุงก็เสี่ยงเช่นกัน โดยวัดจากขนาดรอบเอวที่เหมาะสมด้วยการนำส่วนสูงมาหารสอง ขนาดรอบเอวที่ดีไม่ควรเกินเลขส่วนสูงหารสอง หากมากกว่านั้นก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สองคือ เป็นเบาหวานที่พบตั้งแต่เด็ก […]

เคล็ดไม่ลับ ผู้ป่วยเบาหวาน กินอย่างไรให้น้ำตาลไม่ขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวาน กับการกิน ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีมากถึง ร้อยละ 8.3 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 20-79 ปี และเป็นโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้รวมถึงเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนมากมายด้วย เพราะฉะนั้นการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้เป็นปกติจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเองและช่วยให้แพทย์ลดหรืองดการใช้ยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลได้ด้วย อาหารกับเบาหวาน นักกำหนดอาหาร ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ. กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าผู้ป่วยคุมอาหารหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม สามารถคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ โรคจะอยู่ในระยะสงบและจะไม่แสดงอาการเหมือนกับว่าไม่ได้เป็นโรคแล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่า Remissionและถ้าสามารถดูแลระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เรื่อยๆ  จะช่วยให้แพทย์ลดหรืองดการใช้ยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลได้ โดยวิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีหลายวิธี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่งดอาหารเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ เลี่ยงการกินมื้อใดมื้อหนึ่งที่มากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลสูงได้ ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5 – 22.9 kg/m2) จะช่วยเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดภาวะเซลล์ดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) ทำให้น้ำตาลที่ลอยในกระแสเลือดถูกอินซูลินพาเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนควรลดน้ำหนักลง 5% ของน้ำหนักตัว ปรับอย่างไรดี ทั้งนี้การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารยังสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัวได้ เช่น การจำกัดปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว แป้ง ขนมปัง เส้นต่าง […]

เมื่อวัยเด็ก วัยทำงาน อาจเสี่ยง เบาหวานขึ้นจอตา โดยไม่รู้ตัว

เบาหวานขึ้นจอตา ในคนอายุน้อยลง เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ หรือการ Work From Home นั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่บ้านนาน ๆ รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป แล้วขาดการออกกำลังกาย อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้โดยไม่รู้ตัวและอาจมีโรคแอบแฝงที่เป็นอันตรายได้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงดวงตา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 25 เท่า ถ้า เบาหวานขึ้นจอตา การรู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เบาหวานกับดวงตา พญ.วีรยา พิมลรัฐ จักษุแพทย์ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กเพิ่มมากขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นในเด็ก โดยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ในวัยรุ่นก็พบได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย เพราะเด็กมักจะมีพฤติกรรมนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ แทนการวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬามากขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมถึงดวงตา ได้แก่ กล้ามเนื้อตา เลนส์ตา ขั้วประสาทตา […]

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อาการแบบนี้ เสี่ยงโรคอะไร

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อาการแบบนี้ เสี่ยงโรคอะไร อันตรายมากไหมนะ หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นอาการที่หลายคนอาจเคยเจอมากับตัว หรือเป็นอาการที่คนรอบข้างเคยสัมผัส ซึ่งอาการนี้คือ อัมพาตเบลล์  (Bell’s Pasly) เป็นอาการที่เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้ไม่สามารถขยับใบหน้าซีกนั้นได้ บทความจากโรงพยาบาลศิครินทร์ ระบุไว้ว่า เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าไม่ทำงาน ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่เชื้อว่าเป็นอาการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ภายหลังการติดเชื้อไวรัส เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เมื่อดื่มน้ำจะมีน้ำไหลออกมาจากมุมปาก ปากเบี้ยว มุมปากตก พูดไม่ชัด หลับตาได้ไม่สนิท เปลือกตาล่างเปิดออก ยักคิ้วไม่ขึ้น อาจมีอาการปวดหู และได้ยินเสียงดังมากผิดปกติระยะแรก ชาบริเวณใบหน้าครึ่งซีก ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ หรือมีเศษอาหารตกค้างอยู่บริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่มีอาการ โรคหน้าหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หายได้ แต่ควรป้องกัน วิธีการรักษา มีตั้งแต่การรักษาด้วยการใช้ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ การให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส การกายภาพบำบัด  โดยการฝึกหรือกระตุ้นให้กล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงได้ทำงาน เพื่อรอการฟื้นตัวของเส้นประสาท โดยการกายภาพบำบัดสามารถทำได้ดังนี้ การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ยังอ่อนแรง บริหารท่านละ 10 – 20 ครั้งต่อรอบ โดยควรทำอย่างน้อย ประคบร้อนบริเวณใบหน้าซีกที่มีอาการ ใช้เวลาประมาณ 15 […]

“เบาหวาน” โรคอันตราย หากรู้ทันป้องกันได้

“เบาหวาน” โรคอันตราย หากรู้ทันป้องกันได้ ว่ากันด้วยเรื่องของ “โรคเบาหวาน” ที่ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตอนนี้ไปทางไหนก็เห็นว่าคนเป็น เบาหวาน กันเยอะมาก  องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 425 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนในปี ทั้นี้โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ใครๆ ก็รู้จัก และส่วนมากจะเข้ากันเป็นที่เรียบร้อยว่าสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่มีรสหวาน หรือรสจัดมากเกินไป รวมไปถึงแป้งต่างๆ และมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน แต่สิ่งที่อีกหลายๆ คนไม่ทราบ คือ สัญญาณอันตรายที่จะเตือนภัยกับเราว่า เรากำลังจะเป็น โรคเบาหวาน แล้ว อาการเป็นอย่างไร มีวิธีสังเกตได้อย่างไร โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยปกติแล้ว การเกิดโรคเบาหวานนั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ สมอง , ตับ , ไต , หัวใจ เพื่อให้เซลล์นั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ […]

Unknown 5 โรคเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง

Unknown 5 โรคเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง หนุ่มสาววัยทํางานมี อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง กันมากขึ้น หลายคนลองปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตามแนวทางชีวจิตแล้ว แต่อาการเดิมๆ ยังคงอยู่ ฉะนั้นลองเช็กสาเหตุที่คุณอาจคิดไม่ถึงดังต่อไปนี้ดูค่ะ ทำความรู้จักรู้จักอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic fatigue syndrome (CFS) คือ กลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติจากระบบกลไกของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการเหล่านี้ได้เพราะอาการแสดงออกคล้ายกับหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น สำหรับใครที่ป่วยเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรังแล้ว ย่อมส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอหรือรักแร้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท เมื่อตื่นนอนขึ้นมาแล้วจะรู้สึกไม่สดชื่น หรือรู้สึกเหนื่อยแบบหมดแรงนานมากกว่า 1 วัน ถึงแม้จะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ไอเรื้อรัง วิงเวียน มีอาการจะเป็นลมเวลายืนนานๆ รวมถึงพบความผิดปกติในการมองเห็น เช่น ปวดตา ตาแห้ง มองเห็นภาพเบลอ หรือจู่ๆ […]

ทำไมกิน “น้ำตาล” มากๆ ก็ทำให้เป็นโรคไตได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

น้ำตาล ทำไตพังได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต หลายคนมักคิดว่า โรคไต ต้องระวังความเค็ม แต่สิ่งที่ทุกคนคงคุ้นเคยไม่ต่างกัน คือคำว่า เบาหวานลงไต เพราะผู้ป่วยเบาหวานหลายรายมักมีภาวะไตเสื่อมเป็นภาวะแทรกซ้อนแถมมาด้วย วันนี้เราจึงมาพูดกันถึง น้ำตาล(ในเลือด) ว่าทำไมของหวานๆ ถึงทำให้ไตพังได้ด้วยเหมือนกัน (แถมดูจะร้ายแรงกว่าอีก) จากข้อมูลของทางโรงพยาบาลเปาโล ได้ระบุเอาไว้อย่างเข้าใจง่าย ดังนี้ น้ำตาล กับ โรคไต สัมพันธ์กันอย่างไร หากเรากินหวานมาก ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือป่วยเป็นเบาหวาน จะส่งผลหลายอย่างต่อไตโดยตรง ดังนี้ การเป็นเบาหวานทำให้เซลล์ต่างๆ รวมทั้งเซลล์ของไตขาดพลังงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เซลล์เสื่อมสภาพการทำงานต่างๆ ก็ทำได้ไม่ดีดังเดิม ทำให้กลไกของไตเสื่อมไปด้วย การที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดการเสื่อมสภาพ เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้คงไว้ในร่างกายให้มากที่สุด และน้ำตาลก็เป็นสารอาหารที่ดี ดังนั้นไตจึงต้องทำงานหนักตลอดเวลาหากน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตประมาณ 1 ล้านหน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วยตัวกรองและหลอดไต ในแต่ละวันมีเลือดไหลเวียนผ่านไตประมาณ180 ลิตร และหน่วยไตจะกรองและคัดหลั่งสารต่างๆ และขับออกมาเป็นปัสสาวะวันละประมาณ 1 ลิตรเราจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยไตเพียงข้างเดียว ส่งผลให้เกิดความผิดปกติโดยตรง กระเพาะปัสสาวะ : สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะมีความผิดปกติในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อย เมื่อถ่ายปัสสาวะต้องเบ่งแรง ปัสสาวะออกมาทีละน้อยและบ่อย […]

คนไทย ” ติดหวาน ” สถิติเบาหวานพุ่ง ผู้เชี่ยวชาญแนะลดด่วน

เมื่อคนไทย ติดหวาน แนวโน้มเบาหวานก็อยู่แค่เอื้อม สถานการณ์ปัจจุบันที่บ้านเรา ทุกวันนี้หันไปทางไหนก็พบแต่ผลิตภัณฑ์ขนมและของหวาน ภาพอาหารที่พบในโซเชียลมีเดียก็ล้วนแต่กระตุ้นให้อยากกินทั้งขนมและเครื่องดื่มหวานๆ ตลอดเวลา คนไทยจึง ติดหวาน ได้ไม่ยากเย็น สถิติที่พุ่งสูง ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ผู้ดูแลโครงการเด็กไทยดูดีมีพลานามัย ภายใต้แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ อธิบายถึงปัญหาคนไทยติดรสหวานไว้ดังนี้ “เกณฑ์มาตรฐานของปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวันสำหรับคนทั่วไปซึ่งต้องการพลังงานระหว่าง 1,600-2,400 กิโลแคลอรี คือบริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 4-8 ช้อนชา  แต่ในความเป็นจริงจากรายงานการบริโภคน้ำตาลของคนไทย เมื่อปีพ.ศ. 2557 กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลเกิน 4-7 เท่าตัว หรือบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 28 ช้อนชาต่อคนต่อวัน“ การติดรสหวานของคนไทยส่งผลให้สถิติโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และเครื่อข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ ครั้งที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2557-2558 สุ่มตรวจสุขภาพประชากรไทย 21 จังหวัด พบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4 ล้านคน และกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงถึง […]

6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน

6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและต่อมามีอาการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย โดยพบว่ามีจำนวนมากเป็น2 เท่าของผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินทั่วไป ที่สำคัญในกลุ่มของผู้สูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็พบว่ามีระดับกลูโคสในเลือดสูงและมีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้เช่นกันด้วยเหตุนี้ เหตุนี้สมาพันธ์โรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) จึงแนะนำการสังเกต 6 อาการ ที่เป็นสัญญาณการสูญเสียการได้ยินในกลุ่มนี้ให้คุณสังเกตผู้สูงวัยใกล้ตัว ถามบางคำถามซ้ำบ่อยๆ พบปัญหาการสื่อสารผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป มักรู้สึกหูแว่ว ได้ยินคนในบ้านบ่นหรือแอบต่อว่าบ่อย ๆ มีปัญหาการสื่อสารในพื้นที่กว้าง หรือพื้นที่ที่มีผู้คนจอแจอย่างชัดเจน เช่น เมื่ออยู่ในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือในงานกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ มีปัญหาการฟังเสียงที่ไม่เข้มอย่างเสียงผู้หญิงหรือเสียงพูดของเด็กเล็ก เปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดังจนคนข้างเคียงทนไม่ได้ แต่ยังคงรู้สึกว่าได้ยินไม่ชัดเช่นเดิม หากคุณพบเห็นสัญญาณลักษณะนี้ในผู้สูงอายุใกล้ตัว ควรรีบพาท่านไปตรวจการได้ยินรวมถึงตรวจโรคเบาหวานโดยละเอียดก่อนจะสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรนะคะ CAREGIVERS MUST KNOW! เทคนิคใส่ใจตัวเองเมื่อต้องเป็น “ผู้ดูแลคนป่วย” การได้ดูแลคนที่เรารักนอกจากสร้างความนับถือตัวเองให้มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความพร้อมในการรับมือปัญหายากๆ ได้ง่ายขึ้น วันนี้เรามี 4 คำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลสุขภาพแข็งแรงไปด้วยกันค่ะ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังส่วนใหญ่มักประสบปัญหา ความดันโลหิตสูง คำแนะนำคือ ควรแบ่งเวลาออกไปทำในสิ่งที่ชอบจะช่วยให้ภาวะความดันโลหิตสูงลดลงได้ ผู้ดูแลมักมี ความรู้สึกกดดัน จากการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ แนะนำให้ออกกำลังกาย […]

กิน อาหารตามสั่ง อย่างไร ไม่เสี่ยงโรคไต โรคความดัน โรคเบาหวาน

อาหารตามสั่ง กินยังไงไม่เสี่ยงความดัน ไต เบาหวาน เชื่อว่าหลายคนคงไม่มีโอกาสได้ทำอาหารกินเอง ต้องฝากปากท้องไว้กับร้าน อาหารตามสั่ง ด้วยเหตุผลมากมาย ทั้งชีวิตที่เร่งรีบ และความไม่ถนัดในการทำอาหาร ดังนั้นจึงไม่มีทางเลือกในการคัดสรรสิ่งๆดีๆเพื่อร่างกายมากนัก วันนี้เราจะมาแนะนำการกินร้านอาหารตามสั่งให้ไกลโรค โดยบทความสุขภาพเว็บไซต์ RAMA CHANNEL โดย ผศ.นพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทางบ้านถาม บทความนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจจากผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์เข้ามาถามคุณหมอในรายการ “พบหมอรามา ช่วงลัดคิวหมอ” กับเรื่องราวของ “อาหารตามสั่ง” อาหารประจำวันที่เราคุ้นเคยกันดีและทานอยู่ทุกวัน เรามีวิธีเลือกทานอย่างไรให้ไกลจากโรคไต โรคเบาหวาน ที่ดูแล้วปัจจุบันผู้คนน่าจะเสี่ยงเป็นโรคเหล่านี้กันได้ง่ายขึ้น มาฟังเรื่องราวที่น่าสนใจนี้ รวมถึงคำแนะนำดีดีจาก ผศ.นพ. เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กันเลย คุณผู้ชมทางบ้าน : อยากถามคุณหมอครับ ทุกวันนี้โรคไตและโรคเบาหวานเป็นกันง่ายมากขึ้น สาเหตุหนึ่งก็มาจากอาหารที่เราทานในแต่ละวัน อย่างข้าวผัดกระเพราะ 1 จาน ก็มีรสชาติเค็มพอสมควร เรากินทุกวันๆ ก็กลัวที่จะเป็นโรคไต ชาเย็น 1 แก้ว ก็หวานเหลือเกิน เบาหวานจะถามหาไหม […]

เบาหวานลงไต โรคพ่วงจากเบาหวานทำสุขภาพพัง

เบาหวานลงไต อีกหนึ่งอันตรายที่ไม่ควรปล่อยให้เป็น โรคไต ก็เป็นอีกหนึ่งโรคพ่วงที่ตามมาจากเบาหวานได้หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ เบาหวานลงไต สำหรับผู้ป่วยจะได้สามารถป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับผู้ที่เป็นแล้วมีข้อปฏิบัติอย่างไร มาอ่านข้อมูลจาก บทความสุขภาพโดย อ.นพ.ไพฑูรย์ ขจรวัชรา สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กันเลยค่ะ ว่าด้วยการเกิดโรคไตจากเบาหวาน หากกล่าวถึงโรคเบาหวานแล้วหลายคนอาจส่ายหน้าและรู้สึกกลัว แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมา ที่ล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่  และที่อยู่ในอันดับต้น ๆ คือ “โรคไตจากเบาหวาน”  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคไตวาย” เป็นอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคไตจากเบาหวานมาย่างกราย เราควรรู้เท่าทันเพื่อป้องกันครับ เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคไตจากเบาหวาน เมื่อเป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ  เช่น ตา  ระบบประสาทส่วนปลาย ไต หัวใจและหลอดเลือด  สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตจากเบาหวาน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจนเกิดอันตรายต่อเซลล์ที่ไตแล้ว  ยังทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดฝอยในไต และอัตราการกรองของไตสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อไต โรคไตจากเบาหวานแบ่งได้เป็น 5 […]

ไขปัญหา ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอทจริงหรือไม่

แครอทกับ ผู้ป่วยเบาหวาน บางคนเชื่อว่า แครอท เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและ ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรกิน ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ในบทความนี้เราค้นพบผลลัพธ์ที่แครอทกระทำต่อระดับน้ำตาลในเลือดและจะอธิบายวิธีการที่แครอทจะส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน เราจึงทำการการตรวจสอบค่า glycemic index (GI) ในแครอท เพื่อยืนยันว่า แครอทนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร ผัก GI ต่ำ GI เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในมนุษย์ อาหารที่มีค่า GI สูงจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าอาหารที่ค่า GI ต่ำ American Diabetes Association (ADA) กำหนดไว้ว่า อาหารที่มีค่า GI ต่ำกว่า 55 จัดอยู่ในประเภทอาหาร GI ต่ำ และแครอทต้มมีค่า GI อยู่ที่ 33 ในขณะที่แครอทดิบมีน้อยกว่าเสียอีก ผู้ป่วยเบาหวานควรกินแครอทหรือไม่ เพราะแครอทไม่ใช่ผักที่มีส่วนประกอบของแป้ง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินแครอทได้ตามต้องการ อ้างอิงจากAmerican Diabetes Association (ADA) ในความเป็นจริงแล้ว แครอทให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานเสียด้วยซ้ำ จากส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้ แคโรทีนอยด์ แครอทเป็นแหล่งอุดมแคโรทีนอยด์ […]

ประสบการณ์สุขภาพ : รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการกินชีวจิต

ทางบ้านเล่าประสบการณ์ รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการกินชีวจิต เรื่องราวที่จะนำมาเล่าในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคอลัมน์เรื่องเศษ ลงนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 385 รวมเรื่องราวประสบการณ์จากทางบ้านที่นำองค์ความรู้ชีวจิตไปปรับใช้ควบคู่กับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน มะเร็ง เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภรรยาที่ต้องดูแลคุณสามี ที่กำลัง รักษาโรคเบาหวาน ผ่านเรื่องอาหารการกิน โดยใช้ชีวจิตเข้าช่วยค่ะ เยียวยาเบาหวานด้วยชีวจิต ประสบการณ์ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันในครอบครัวของ คุณแววตา โสภณพงษ์  อายุ65 ปี ที่มีสามีป่วยเป็นโรคเบาหวาน เมื่อลูกสาวไปทำงานไกลบ้าน หน้าที่ดูแลสามีจึงตกเป็นของเธอ “รู้จัก ชีวจิต เพราะเคยไปทำผมในร้านเสริมสวยแห่งหนึ่ง สังเกตว่าช่างทำผมผิวพรรณดีหุ่นดีสวยจนต้องเอ่ยปากชม พอถามถึงเคล็ดลับเขาก็ยื่นนิตยสารชีวจิต ให้ดู แล้วบอกว่าเขาใช้ชีวิตตามหลักชีวจิต “ดิฉันจึงสนใจ ยืมกลับมาอ่านที่บ้าน จากนั้นก็ชื่นชอบเนื้อหาและติดตามเรื่อยมา จนลูกสาวที่ไปทำงานต่างประเทศสมัครสมาชิกให้เพราะเห็นว่าคุณพ่อป่วยเป็นเบาหวาน อยากให้ดิฉันนำความรู้มาใช้ดูแลคุณพ่อของเขา” หลังจากรับนิตยสารชีวจิตเป็นประจำ  คุณแววตาไม่รอช้าที่จะนำข้อมูลดีๆมาใช้ดูแลสามี เธอเริ่มจากการปรับอาหาร โดยการศึกษาเมนูสุขภาพจากคอลัมน์ครัวชีวจิต แล้วทำให้สามีกิน เริ่มแรกคุณแววตาต้องปรับเปลี่ยนอาหารของสามีด้วยวิธีละมุนละม่อมที่สุด เพราะเขาเป็นคนดื้อ ชอบกินอาหารรสจัด และกินขนมหวานเป็นประจำ ปรับมื้ออาหารเป็นมื้อเพื่อสุขภาพ คุณแววตาให้สามีกินข้าวกล้องแทนข้าวขัดขาว กินผัก ธัญพืช และเนื้อปลา โดยมีตัวอย่างดังนี้ […]

ไขข้อข้องใจ น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน กินได้หรือไม่ มากน้อยเท่าไร

น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรกินหรือไม่ อย่างไร พูดถึงโรคเบาหวาน รู้ๆกันอยู่ว่าของต้องห้ามของโรคนี้ก็คือของหวานๆ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ น้ำผึ้ง กับผู้ป่วยเบาหวาน กันดู ว่าเจ้าวัตถุดิบที่หลายครัวเรือนใช้แทนน้ำตาล และถูกนำเข้ามาใช้ในเมนูสุขภาพหลายหลากนี้จะมีเงื่อนไขอย่างไรกับโรคนี้บ้าง อ้างอิงข้อมูลจาก American Diabetes Association ส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต น้ำผึ้ง เหมือนของหวานอื่นๆ คือเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต น้ำผึ้งหนึ่งช้อนโต๊ะ จะมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 17.3 กรัม หนึ่งช้อนชาจะมีคาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม จากฐานข้อมูลของ USDA National Nutrient แม้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตข้างต้นจะดูไม่มาก แต่ปริมาณสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภคน้ำผึ้งในหนึ่งครั้ง และหนึ่งในวิธีที่จะสำรวจปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรต คือการจดว่าคุณกินอะไรเข้าไป รวมถึงปริมาณที่กินเข้าไปด้วย อาจดูจากฉลาก เทียบหน่วยบริโภค และต้องแน่ใจว่าในหนึ่งมื้อไม่ควรมีคาร์โบไฮเดรตเกิน 45-60 กรัม และหากการมีน้ำผึ้งอยู่ในมื้ออาหารไม่ได้ทำให้โควต้าของคาร์โบไฮเดรตเกินกว่าที่กำหนด เป็นอันใช้ได้ แต่ก็ยังควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เช่นกัน ความหวานเพื่อสุขภาพจริงหรือ น้ำผึ้ง มักเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นความหวานเพื่อสุขภาพ หากเทียบกับน้ำตาลทรายขาวหรือน้ำเชื่อมคอร์นไซรัปที่มีฟรักโทสสูง แม้ว่าน้ำผึ้งมีความเป็นธรรมชาติ และผ่านกระบวนการน้อยกว่า แต่ก็ยังมีส่วนประกอบของน้ำตาลในปริมาณที่พอๆ กับวัตถุดิบให้ความหวานอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา […]

keyboard_arrow_up