โรคหัวใจ
โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบมากในประเทศไทย นอกจากการสืบทอดทางพันธุกรรมแล้ว พฤติกรรมยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ซึ่งหากเรารู้ก่อนก็ย่อมหลีกเลี่ยงได้ก่อน และสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมากทีเดียว
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
4 อาการ เสี่ยงโรคหัวใจ ภัยใกล้ตัวคนทำงาน
วิธีเช็กอาการ เสี่ยงโรคหัวใจ แบบเจาะลึกซึ่งจะช่วยให้คุณสังเกตอาการของตัวเองในเบื้องต้นได้ว่ากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่หรือไม่
หนุ่มสาวออฟฟิศคนไหนที่แค่เดินขึ้นสะพานลอยก็เหนื่อยแล้ว หรือโมโหหิวก็มีอาการเจ็บหน้าอก ชีวจิต ขอเตือนว่า คุณอาจมีอาการ เสี่ยงของโรคหัวใจ แล้วละค่ะ แต่อย่าเพิ่งจิตตก กังวลเรื่องอกข้างซ้ายกันไปมากนัก
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์อายุรศาสตร์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สรุปว่า อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจผิดปกติมีไม่มากนัก ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการเบื้องต้นจากร่างกายตนเองได้ ดังนี้
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
2 เจ็บหน้าอก
คุณหมอสุพจน์สรุปอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจไว้ว่า
- รู้สึกอึดอัด เจ็บแบบแน่นๆ กลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้านก็ได้ บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือแขนทั้งสองข้าง มีอาการจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
- อาการเจ็บจะเกิดขณะออกแรง เช่น เดินเร็วๆ วิ่งขึ้นบันได โกรธโดยอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอกขณะที่พัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังกินอาหาร
- หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีเหงื่อออก เป็นลม
นอกจากนี้อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกเช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งมีอาการดังนี้
- รู้สึกเจ็บแปลบจุดเดียวคล้ายถูกเข็มแทง และกดเจ็บบริเวณหน้าอก
- อาการเจ็บเกิดขึ้นขณะพัก และเจ็บต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
- มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ
- อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
3 ใจสั่น
คุณหมอสุพจน์สรุปความหมายของคำว่า “ใจสั่น”ทางการแพทย์ว่าคือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอเต้น ๆ หยุด ๆ อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคอื่น ๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษโรคปอด
แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงลักษณะของอาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เพราะบ่อยครั้งที่พบ ผู้ป่วยมักมาหาหมอเพราะคิดว่าตัวเองใจสั่น ทั้งที่หัวใจเต้นปกติ
คุณสามารถเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจได้ โดยการจับชีพจรเพื่อนับจำนวนครั้งใน 1 นาที (ค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 72 ครั้งต่อนาที หรือไม่ควรเกิน 100 ครั้งต่อนาที) และสังเกตจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ
4 ขาบวม
หนังสือ โรคของหัวใจและหลอดเลือด โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กล่าวถึงอาการบวมน้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจไว้ว่า
“อาการบวมน้ำ ได้แก่ การมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายก่อให้เกิดการบวมโดยไม่มีอาการของการอักเสบ (แดง ร้อน มีไข้) โดยมักเกิดในบริเวณเท้า ดวงตา ใบหน้า แขน ท้อง และบางครั้งในโพรงเยื่อหุ้มปอด อาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจล้มเหลว แต่พบได้บ่อยเช่นกันด้วยสาเหตุจากโรคต่างๆ”
คุณหมอสุพจน์อธิบายต่อว่า
“อาการขาบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดคั่งที่ขามากขึ้น และมีน้ำซึมออกมาได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค แล้วจึงจะสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง”
สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองขาบวมจากโรคหัวใจหรือไม่ คุณสามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วกดลงที่หน้าแข้งหรือตาตุ่ม หากยกนิ้วขึ้นแล้วเนื้อยังคงบุ๋มอยู่นานเป็นนาที อาจหมายความว่าเกิดปัญหาเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ เกิดการคั่งของเลือดและมีน้ำรั่วซึมออกมาในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ
คุณหมอสุพจน์ยังย้ำว่า หากมีอาการเสี่ยงมากกว่า 1 ข้อ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะนอกจากมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้
ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ ย่อมดีกว่าปล่อยให้หัวใจแสดงอาการผิดปกติแน่นอนค่ะ
สลายเครียด ถนอมหัวใจ วัยทำงาน
ถนอมหัวใจ สาเหตุก่อโรคหัวใจ ไม่ได้มาจากการปล่อยปละละเลยสุขภาพกายอย่างที่หลายคนเข้าใจเท่านั้น แต่ปัจจัยภายในอย่างเรื่องสุขภาพจิต ที่สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านทางลักษณะนิสัยก็มีส่วนทำให้หัวใจป่วยได้เช่นกัน
โรคหัวใจ ออกกำลังกายได้หรือไม่
โรคหัวใจ ออกกําลังกายได้หรอ โรคหัวใจ กับการออกกำลังกาย อาจเป็นไขปัญหาคาใจสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะว่ากันว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรออกกําลังกาย เนื่องจากทําให้หัวใจทํางานหนักและอาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ การรักษาโรคหัวใจโดยทั่วไปจึงเน้นที่การกินยาการทําบอลลูน เพื่อขยายเส้นเลือดการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือต่อเส้นเลือดหัวใจ เป็นต้น แต่ความจริงคือ การออกกําลังกายเป็นหนทางสําคัญซึ่งสามารถป้องกันผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจและเยียวยาผู้ป่วยโรคหัวใจให้กลับมาแข็งแรงและใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนกัน พลเอกนายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “การออกกําลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดขยายตัว กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น นอกจากนี้ การออกกําลังกายยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ลดปัจจัยการเกิดโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง โรคหัวใจจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูงและที่สําคัญ ยังช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยโรคหัวใจอีกด้วย” ออกกําลังกายแค่ไหน หัวใจจึงดี นายแพทย์ดีน ออร์นิช (Dr.Dean Ornish) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจแห่งหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรักษาโรคหัวใจด้วยการควบคุมและเปลี่ยนแปลงอาหารโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด กล่าวว่า “นอกเหนือจากการกินยา ผ่าตัดแล้ว การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเยียวยาหัวใจได้” ทั้งนี้ การออกกําลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทําการรักษา ว่าควรออกกําลังกายประเภทไหนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจก็ไม่ควรออกกําลังกายอย่างหักโหม แต่ให้ทําทีละน้อยและเพิ่มมากขึ้น หรือน้อยลงตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการของโรคหัวใจดีขึ้นได้ ที่สําคัญ สามารถประเมินสภาพเบื้องต้นด้วยตนเองได้ […]
เทคนิครับมือ 3 สัญญาณอันตรายก่อน หัวใจวาย
หัวใจวาย น่ากลัวใช่ไหม … ไม่ต้องกังวล คุณหมอสันต์มีวิธีป้องกันก่อนหัวใจหยุดเต้น 3 ปัจจัยที่จะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและตายกะทันหัน
4 อาหารบำรุงหัวใจ ให้แข็งแรง
อาหารบำรุงหัวใจ เป็นอีกวิธีการสำคัญที่ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจได้ ชีวจิต ได้คัดสรร 5 สุดยอดอาหารป้องกันและบำรุงหัวใจมาเป็นพิเศษ
4 เทคนิคสุขภาพ กินอยู่สู้ไขมัน ลดคอเลสเตอรอล
ลดคอเลสเตอรอล คือความตั้งหลักๆ ของคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เพราะโรคเหล่านี้ อาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว ชีวจิตจึงชวนมาปรับการกิน
เทคนิคกินหวาน ต้านโรคเบาหวาน ชะงัด
เทคนิคกินหวาน กับโรคเบาหวาน ของแถมที่ตามมาคือ ภาวะหัวใจวาย เป็นโรคอ้วนลงพุง แถมก่อมะเร็งมดลูกได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินเพื่อลดโรค
7 สัญญาณอันตรายเสี่ยง โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบมากในประเทศไทย นอกจากการสืบทอดทางพันธุกรรมแล้ว พฤติกรรมยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ซึ่งหากเรารู้ก่อนก็ย่อมหลีกเลี่ยงได้ก่อน และสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมากทีเดียว
รู้จัก 3 โรคจาก ความเสื่อมของร่างกาย ที่ป้องกันได้
โรคจาก ความเสื่อมของร่างกาย ร่างกายตัวเองเสื่อมหรือยัง พบว่าตัวเองไม่สบายบ่อยๆ และยังเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ความดัน เบาหวาน ต้องทำอย่างไร
4 วิธีระงับอาการ ใจสั่น !
ใจสั่น (heart shake) ที่เราจะกล่าวถึงนี้คือ อาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ช้าบ้าง เร็วบ้าง หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น มากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะอยู่เฉยๆ
โรคหัวใจ ไกลห่างด้วยเมนู “รักหมดใจ”
โรคหัวใจ ไกลห่างด้วยเมนู “รักหมดใจ” คนเรามีหัวใจดวงเดียวที่ต้องเก็บรักษาไว้ ต้องทะนุถนอม ดูแลหวงแหนทั้งในด้านความรักความรู้สึก และการดูแลสุขภาพของ หัวใจให้แข็งแรง การดูแลหัวใจนั้นสัมพันธ์ทั้งกับสภาพจิตใจและการดูแลที่ตัวอวัยวะหัวใจ ในทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มองว่าหัวใจมีความสัมพันธ์กับระบบของธาตุไฟและธาตุลม ถ้าเมื่อใดธาตุไฟกำเริบ (ร้อนเกินควบคุม) ก็ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ง่าย โมโหง่าย ใจร้อน กระวนกระวาย ร้อนอกร้อนใจ ลุกลี้ลุกลน และส่งผลให้ธาตุลม (ทั้งสุมนาวาตะและลมหทัยวาตะ) กำเริบ ก็เกิดอาการหงุดหงิด วิตกกังวล กระสับกระส่าย รวมถึงนอนไม่หลับและอาจส่งผลต่อระบบความดันโลหิตผิดปกติได้ แต่ที่สำคัญคือทั้งหมดนั้นล้วนส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวใจ การไหลเวียนโลหิต อารมณ์แปรปรวนไม่ปกติ จนทำให้เกิดอาการของโรคหัวใจได้ ซึ่งดิฉันมีวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันตนง่ายๆ ดังนี้ 1. ไม่นอนดึกจนเกินไป (ไม่ควรนอนเกินสี่ทุ่ม) เนื่องจากถ้านอนหลังสี่ทุ่มจะเป็นเวลาของธาตุไฟ อาจทำให้นอนไม่หลับ รู้สึกร้อน หงุดหงิด หรือหลับได้ไม่สนิท เมื่อตื่นตอนเช้าจะยังรู้สึกง่วง สะลึมสะลือ ไม่สดชื่น บางรายมีอาการมึนงงเนื่องจากนอนไม่พอ 2. ควรดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นเล็กน้อยก่อนนอน เพราะจะช่วยให้การไหลเวียนต่างๆ ดีขึ้น หรือจะเป็นชาเกสรดอกไม้เพื่อ ช่วยสงบประสาทและทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น 3. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ หรืออาหารไขมัน หรือผักดิบ ต่างๆ มากเกินไปในมื้อเย็น เพราะจะรบกวนระบบไฟธาตุทั้งการย่อย การเผาผลาญ และส่งผลให้ธาตุลมที่เกี่ยวกับการย่อยพัดพาได้ไม่สะดวก ทำให้ท้องอืด อาหารไม่ย่อยไม่สบายท้องหรือเกิดการสะสมของไขมันได้ง่าย […]
4 เทคนิคออกกำลังกาย สำหรับคนเป็น โรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรจะออกกำลังกายแบบไหนและแค่ไหนนั้น เราไปดูกัน
สังเกต 8 อาการเสี่ยง ส่อ โรคหัวใจ
อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกายที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไปที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้