โรคหัวใจ
โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบมากในประเทศไทย นอกจากการสืบทอดทางพันธุกรรมแล้ว พฤติกรรมยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ซึ่งหากเรารู้ก่อนก็ย่อมหลีกเลี่ยงได้ก่อน และสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมากทีเดียว
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
4 อาการ เสี่ยงโรคหัวใจ ภัยใกล้ตัวคนทำงาน
วิธีเช็กอาการ เสี่ยงโรคหัวใจ แบบเจาะลึกซึ่งจะช่วยให้คุณสังเกตอาการของตัวเองในเบื้องต้นได้ว่ากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่หรือไม่
หนุ่มสาวออฟฟิศคนไหนที่แค่เดินขึ้นสะพานลอยก็เหนื่อยแล้ว หรือโมโหหิวก็มีอาการเจ็บหน้าอก ชีวจิต ขอเตือนว่า คุณอาจมีอาการ เสี่ยงของโรคหัวใจ แล้วละค่ะ แต่อย่าเพิ่งจิตตก กังวลเรื่องอกข้างซ้ายกันไปมากนัก
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์อายุรศาสตร์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สรุปว่า อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจผิดปกติมีไม่มากนัก ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการเบื้องต้นจากร่างกายตนเองได้ ดังนี้
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
2 เจ็บหน้าอก
คุณหมอสุพจน์สรุปอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจไว้ว่า
- รู้สึกอึดอัด เจ็บแบบแน่นๆ กลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้านก็ได้ บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือแขนทั้งสองข้าง มีอาการจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
- อาการเจ็บจะเกิดขณะออกแรง เช่น เดินเร็วๆ วิ่งขึ้นบันได โกรธโดยอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอกขณะที่พัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังกินอาหาร
- หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีเหงื่อออก เป็นลม
นอกจากนี้อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกเช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งมีอาการดังนี้
- รู้สึกเจ็บแปลบจุดเดียวคล้ายถูกเข็มแทง และกดเจ็บบริเวณหน้าอก
- อาการเจ็บเกิดขึ้นขณะพัก และเจ็บต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
- มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ
- อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
3 ใจสั่น
คุณหมอสุพจน์สรุปความหมายของคำว่า “ใจสั่น”ทางการแพทย์ว่าคือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอเต้น ๆ หยุด ๆ อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคอื่น ๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษโรคปอด
แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงลักษณะของอาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เพราะบ่อยครั้งที่พบ ผู้ป่วยมักมาหาหมอเพราะคิดว่าตัวเองใจสั่น ทั้งที่หัวใจเต้นปกติ
คุณสามารถเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจได้ โดยการจับชีพจรเพื่อนับจำนวนครั้งใน 1 นาที (ค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 72 ครั้งต่อนาที หรือไม่ควรเกิน 100 ครั้งต่อนาที) และสังเกตจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ
4 ขาบวม
หนังสือ โรคของหัวใจและหลอดเลือด โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กล่าวถึงอาการบวมน้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจไว้ว่า
“อาการบวมน้ำ ได้แก่ การมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายก่อให้เกิดการบวมโดยไม่มีอาการของการอักเสบ (แดง ร้อน มีไข้) โดยมักเกิดในบริเวณเท้า ดวงตา ใบหน้า แขน ท้อง และบางครั้งในโพรงเยื่อหุ้มปอด อาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจล้มเหลว แต่พบได้บ่อยเช่นกันด้วยสาเหตุจากโรคต่างๆ”
คุณหมอสุพจน์อธิบายต่อว่า
“อาการขาบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดคั่งที่ขามากขึ้น และมีน้ำซึมออกมาได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค แล้วจึงจะสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง”
สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองขาบวมจากโรคหัวใจหรือไม่ คุณสามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วกดลงที่หน้าแข้งหรือตาตุ่ม หากยกนิ้วขึ้นแล้วเนื้อยังคงบุ๋มอยู่นานเป็นนาที อาจหมายความว่าเกิดปัญหาเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ เกิดการคั่งของเลือดและมีน้ำรั่วซึมออกมาในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ
คุณหมอสุพจน์ยังย้ำว่า หากมีอาการเสี่ยงมากกว่า 1 ข้อ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะนอกจากมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้
ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ ย่อมดีกว่าปล่อยให้หัวใจแสดงอาการผิดปกติแน่นอนค่ะ
หัวใจล้มเหลว เฉลี่ยวันละ 150 คนทั่วโลก ถึงเวลาเช็กหัวใจตัวเองแล้ว!
หัวใจล้มเหลว ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวมาพอสมควร แต่ทราบหรือไม่ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตด้วยภาวะนี้ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกรายงานแต่ละปี พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 17 ล้านคนทั่วโลกประสบปัญหาภาวะหัวใจล้มเหลว และหากไม่เร่งป้องกันแก้ไขปัญหา คาดว่าในปี 2573 หรือในอีก 13 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตภาวะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคน และสำหรับสถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2556 และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จากประชากรทั้งโลก 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่งโมงละ 6 คน ซึ่งนับว่ามีจำนวนอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมากทุกปี นพ.นรศักดิ์ สุวจิตตานนท์ แพทย์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า หัวใจนับว่าเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมงและทำหน้าที่ส่งเลือดผ่านไปยังหลอดเลือดผ่านไปยังหลอดเลือดอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย รวมไปถึงการเลี้ยงหัวใจหากหลอดเลือดใดหลอดเลือดหนึ่งของหัวใจมีความผิดปกติไป หัวใจก็จะทำงานหนักมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาหัวใจวาย หรือที่เรียกกันว่า หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจล้มเหลวนับว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หรือแม้กระทั่งรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจหยุดทำงาน หากจะอธิบายได้โดยง่ายคือ หากมองหัวใจเปรียบเสมือนเขื่อนหรือปั๊มน้ำที่คอยส่งน้ำไปเลี้ยงตามบ้านเรือน หรือแปลงเกษตรกรรม ภาวะหัวใจล้มเหลวก็คือ การที่เขื่อนไม่สามารถทำหน้าที่ส่งน้ำไปยังบ้านเรือนหรือแปลงเกษตรกรรมได้ตามความต้องการ ทำให้น้ำเหนือเขื่อนอาจจะล้นเขื่อนจนก่อให้เกิดน้ำท่วม […]
The Best for Heart วิธีดูแล หัวใจ ด้วยศาสตร์จีน
การมี หัวใจ แข็งแรงจะช่วยให้อายุยืนยาวค่ะ โรคหัวใจ ที่มีเพิ่มขึ้นทุกวันและเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปก่อนวัยอันควรเป็นอันดับต้น ๆ
วิธีป้องกัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันได้ ถ้าใจเราพร้อม! โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งเกิดจากการสะสมของ ไขมัน โปรตีน และ แคลเซียม ในผนังหลอดเลือด จนเกิดการตีบตัน และแคบ จนทำให้เกิดแรต้านการไหลของเลือดในหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น จึงทำให้เลือดเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง เกิดเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในที่สุด โรคหัวใจขาดเลือดนี้ หากเกิดการอุดตันจนเลือดไม่สามารถเลี้ยงหัวใจได้ อาจทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตในที่สุด เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรากำลังเป็นโรคหัวใจขาดเลือด? เราสามารถสังเกตอาการของโรคหัวใจขาดเลือดได้ทั้งหมด 3 กลุ่มอาการ ดังนี้ค่ะ กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อยังไม่ตาย) คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น สำหรับบางคนที่ไม่มีอาการดังกล่าว อาจเกิดอาการหัวใจวายกระทันหัน กลุ่มที่กล้ามเนื้อหัวใจวาย คือ อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากหัวใจได้รับเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง นานเกิน 30 นาที หรือ จนกว่าจะได้รับการรักษา […]
ออกกำลังกายเพิ่มความทน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ออกกำลังกายเพิ่มความทน (Endurance Exercise) : ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด ออกกำลังกายเพิ่มความทน เป็นการออกกำลังกายสามารถป้องกันและเยียวยาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด อ้วน เบาหวาน มะเร็ง และภาวะกระดูกพรุนได้ แล้วรู้หรือไม่ว่า ต้องออกกำลังกายประเภทใดด้วยระดับความหนักแค่ไหน ใช้เวลาเท่าใด จำนวนกี่ครั้ง จึงสามารถป้องกันโรคร้ายเหล่านี้ได้ ชีวจิตหาคำตอบมาให้อย่างครบถ้วนแล้ว เพื่อเป็นคู่มือออกกำลังกายป้องกันและเยียวยาเฉพาะโรคเฉพาะอาการ ดังต่อไปนี้ นิยามโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก(Stroke) เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เส้นเลือดแดงตีบตัน หรือเกิดจากก้อนเลือดไปอุดตันในเส้นเลือด ข้อมูลจากวารสาร American Medical Association และ Stroke รายงานว่า เมื่อเปรียบเทียบผู้ที่ออกกำลังกายกับผู้ที่ไม่ออกกำลังกายพบว่า ผู้ที่เดินในอัตราความเร็ว 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง มีความเสี่ยงการเกิดโร8หลอดเลือดสมองลดลง 46 เปอร์เซ็นต์ โรคหัวใจ โรคหัวใจมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งมักสัมพันธ์กับอาการเจ็บหน้าอก หอบ ใจสั่น ฯลฯ American Journal of Medicine ให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกายช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ อ่านเพิ่มเติม:แพทย์แนะนำ กิน-อยู่ ให้ห่างไกลโรคหัวใจ อ่านต่อหน้าที่ 2 >> วิธีการออกกำลังกายเพิ่มความทน ป้องกันโรคหัวใจ >>
Amazing พิชิต 7 โรคร้ายด้วย เดินจงกรม
เดินจงกรม โจะนึกถึงประโยชน์ด้านจิตใจ เนื่องจากเป็นวิธีช่วยเจริญสติตามหลักของพุทธศาสนา และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างน่าทึ่งที่สำคัญช่วยแก้โรคยอดฮิตได้
เทคนิคฟิตสุขภาพ ป้องกันโรคหัวใจ ฉบับใครๆก็ทำได้
ป้องกันโรคหัวใจ เริ่มที่ตัวเรา นับวันโรคหัวใจจู่โจมเราได้ง่ายขึ้นทุกที ซึ่งเห็นได้จากสถิติการเสียชีวิตของผู้ป่วยในช่วงหลายปีมานี้ที่โรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงติดอันดับต้น ๆ มาตลอด วันนี้เราจึงชวนมาฟิตสุขภาพ ป้องกันโรคหัวใจ กันค่ะ How-to ป้องกันหัวใจป่วย บางทีชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิงทำให้หลีกเลี่ยงความหงุดหงิด เคร่งเครียด หรือซึมเศร้าไม่ได้จริงๆ ชีวจิตจึงมีวิธีป้องกันไม่ให้หัวใจป่วยจาก 5 นิสัยดังกล่าว ซึ่งนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆในชีวิตประจำวันมาฝากค่ะ 1. เพิ่มสีในอาหาร • สีส้มหรือสีเหลือง นายแพทย์เอียน เค. สมิธ (Ian K. Smith) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการกล่าวว่า ผู้บริโภคอาหารกลุ่มที่มีสีส้มและสีเหลืองเป็นประจำ เช่น แครอต แตงโมสีเหลือง สับปะรด ข้าวโพด ส้ม มะม่วงสุก พริกหวานสีเหลือง จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเสียชีวิตลดลง โดยวิตามินเอ วิตามินอี และสารแคโรทีนอยด์ในอาหารสีส้มหรือสีเหลืองจะช่วยเรื่องอารมณ์และบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างเนื้อเยื่ออ่อน เยื่อบุผิว ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง • สีน้ำเงินหรือสีม่วง อาหารในกลุ่มสีน้ำเงินหรือสีม่วงจะอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน ซึ่งพบมากในองุ่น บลูเบอร์รี่ ลูกพรุน แบล็กเบอร์รี่ มะเขือม่วง กะหล่ำม่วง […]
วิถีกินอยู่อย่างง่าย ประหยัด หยุดความเสี่ยง โรคหัวใจ
โปรแกรมดูแลสุขภาพลดความเสี่ยง โรคหัวใจ ที่ครอบคลุมทั้งด้านอาหาร ออกกำลังกาย การฝึกสมาธิเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุด มามอบให้คนรักสุขภาพทุกท่าน
แพทย์แนะนำ กิน-อยู่ ให้ห่างไกลโรคหัวใจ
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ อาหารต้านโรคหัวใจ กินอยู่อย่างไรให้ไกลโรค บทความนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ คุณหมอนิธิได้แนะนำการกิน อาหารต้านโรคหัวใจ ไว้ดังนี้ ปรับอาหาร กินดีก่อนป่วย คุณหมอนิธิเล่าถึงการกินอาหารทั้งสำหรับคนที่สุขภาพปกติและคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจว่า “กรณีที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคหัวใจหรือโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ผมมีคำแนะนำที่สั้นมากๆ คือ กินให้หลากหลายและหยุดก่อนอิ่ม “เหตุที่แนะนำเช่นนี้เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อมูลโภชนาการบอกว่า ไม่ควรกินไขมัน คนก็ทำตาม กินไขมันน้อยลง แต่ไปกินแป้งและน้ำตาลมากขึ้น สรุปว่า อ้วนและเสี่ยงโรคหัวใจอยู่ดี ปัญหาสุขภาพทั้งหลายเกิดจากการกินไม่สมดุล ไม่หลากหลาย พอให้ลดอาหารประเภทหนึ่ง ก็จะไปเพิ่มปริมาณอาหารประเภทอื่นแทน” แล้วการ“กินน้อย”ดีกว่า “กินเกิน”อย่างไร คุณหมอนิธิอธิบายเพิ่มเติมว่า “ที่ผมบอกให้กินน้อย หยุดก่อนอิ่ม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะกินเกิน ขณะนี้มีรายงานวิจัยออกมาสนับสนุนแล้วว่า การกินน้อย ไม่กินเกิน ช่วยให้อายุยืน โอกาสป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆก็ลดลง ได้ผลชัดเจนทั้งในระดับยีน ระดับเซลล์ระดับสัตว์ทดลอง ซึ่งล้วนแต่พบตรงกันว่า กินน้อย สุขภาพจะแข็งแรง และอายุยืนขึ้น “งานวิจัยของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า ถ้ามีการอดระยะสั้นๆจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ ดังนั้นอย่ากินให้อิ่ม แต่ให้หยุดก่อนอิ่มจึงจะพอดีต่อสุขภาพ ข้อนี้ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งเสวยจุ มีพระวรกายใหญ่ จึงทำให้ประทับนั่งฟังเทศนาธรรมได้ไม่ถนัดว่า การบริโภคมากเกินไปเป็นทุกข์” […]
เทคโนโลยีใกล้ตัว กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย เฉียบพลัน
กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจวาย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หลายครั้ง หากได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และถูกต้องอาจสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดได้
หยุด โรคอ้วน โรคหัวใจ ด้วยการปรับวิถีชีวิตตามศาสตร์จีน
โรคอ้วน โรคหัวใจ พิชิตได้ด้วยการปรับวิถีชีวิต อย่างที่รู้กันว่า โรคอ้วน โรคหัวใจ บางครั้งก็มาควบคู่กัน เมื่อเป็นแล้วยากจะรับมือ แถมยังเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆอีกด้วย ชีวจิต จึงนำศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ช่วยดูแลหัวใจมาฝากผู้อ่านทุกท่าน เพื่อรักษาหัวใจดวงน้อยของเราให้แข็งแรงตลอดไป โรคหัวใจ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว โรคหัวใจหรือเรียกอีกชื่อว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคอันตรายซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรม สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) จึงแนะนำให้ประชาชนเริ่มต้นดูแลสุขภาพหัวใจตั้งแต่ที่บ้าน เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นผักสดผลไม้ เตรียมอาหารกลางวันจากบ้านไปกินที่ทำงานเอง เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ลดการกินอาหารสำเร็จรูปที่มีเกลือ ไขมัน และน้ำตาลปริมาณสูงเป็นส่วนผสม ไม่สูบบุหรี่ ไม่นั่งอยู่เฉยๆ หรือนั่งอยู่หน้าจอต่าง ๆ เกินวันละ 2 ชั่วโมง หมั่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้หัวใจ แพทย์จีนอู๋ลี่ฉิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจมานานกว่า 40 ปี แห่งคลินิกหัวเฉียวไทย- จีน แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า สำหรับคนทั่วไปหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจแล้วก็ตาม มีวิธีดูแลหัวใจให้แข็งแรงคือ ควรหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าความเครียด และความวิตกกังวล “นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องดูแลคืออาหารการกิน การใช้ชีวิต การอยู่ในสภาพสังคมที่เหมาะสม […]
ประสบการณ์สุขภาพ : หัวใจพิการแต่กำเนิด ของแถมที่ไม่มีใครอยากได้
หัวใจพิการแต่กำเนิด เมื่อชีวิตไม่ได้มีทางเลือกมากนัก หัวใจพิการแต่กำเนิด ตามคำอธิบายของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เกิดจากความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา พบโรคนี้ในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 8 ใน 1,000 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 50 ไม่มีอาการ ที่เหลือมีอาการเขียว หรือ หัวใจวายร่วมด้วยอย่างละเท่าๆกัน ที่ อาจเสียชีวิตก่อนเกิด บางรายเริ่มมีอาการ หรือ ตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด หรือ ตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก บางรายตรวจพบเมื่ออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด หรือ มีอาการหลังอายุ 1-2 เดือน หรือหลังจากนั้น วันนี้เรามีประสบการณ์จากคุณศิริรัตน์ ภู่จุฬา แม่ของ น้องอันปัน -เด็กชายรัชพล ภู่จุฬา อายุ5 ขวบ ซึ่งเธอได้แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับอาการป่วยของลูกชายเอาไว้ หลังคลอด ก็พบความผิดปกติ “น้องอันปันคลอดออกมาปกติค่ะ แต่ในช่วง 2 – 3 เดือนหลังคลอดน้องไม่สบายบ่อยมาก อาการที่สังเกตเห็นคือ น้องหายใจเหนื่อยหอบและไม่สามารถนอนราบได้ หลังจากตรวจที่โรงพยาบาล คุณหมอสันนิษฐานว่าน้องมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูง และควรรับการตรวจโดยละเอียด “ตอนแรกฉันยังไม่เชื่อ […]
กินน้ำมัน ดาวอินคา ป้องกันโรคหลอดเลือด
ประโยชน์ สารอาหาร วิธีกิน จนถึงงานวิจัยเรื่องความปลอดภัยมานำเสนอแบบจัดเต็ม ดาวอินคา มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศเปรู
“โรคหัวใจ”…. เลี่ยงได้ หากรู้เท่าทันพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากไลฟ์สไตล์
จำนวนผู้เสียชีวิตและป่วยด้วยโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สำหรับในประเทศไทยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2559 ระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจกว่า 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือ เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน1 อีกทั้งยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับสอง รองจากโรคมะเร็ง2 ทั้งที่สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะโรคหัวใจเป็นผลมาจากโรคอื่นๆ ที่เกิดจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเรา เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด และความอ้วน วันนี้ น้ำมันมะกอก เบอร์ทอลลี่® ในฐานะแบรนด์น้ำมันมะกอกอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ จากนายแพทย์วิวัฒน์ แสงเลิศศิลปชัย จากศูนย์หัวใจโรงพยาบาลบีเอ็นเอช มาฝาก “การที่อวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะทำหน้าที่ได้ดีนั้น หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอโดยไม่สะดุด ดังนั้นหากหัวใจเราไม่แข็งแรง การทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกาย ก็จะสะดุดตามไปด้วย เรียกได้ว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางของระบบอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายทั้งหมด” นายแพทย์วิวัฒน์ กล่าว โรคหัวใจนับเป็นปัญหาสุขภาพใกล้ตัวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนและสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งนายแพทย์วิวัฒน์ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ พร้อมแนะนำวิธีป้องกันดูแลตนเองต่างๆ ดังนี้ กรรมพันธุ์และอายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์และอายุที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถตระหนักรู้ถึงผลจากสองสิ่งเหล่านั้นได้ […]
เตือนภัย ไขมันทรานส์ในโดนัท เกินมาตรฐาน WHO
ไขมันทรานส์ในโดนัท เกินมาตรฐาน WHO ไขมันทรานส์ ไขมันตัวร้ายในวงการอาหาร กินเยอะรับรองว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง แน่นอน ล่าสุด นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบ ไขมันทรานส์ และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต พบ 8 ยี่ห้อมีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ WHO ที่ควรจะรับได้ โดนัท 8 ยี่ห้อ ไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ จากการสุ่มตราวจของนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า โดนัทรสช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่างพบว่า มี 8 ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ คือ ควรพบ ไขมันทรานส์ ในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัม/ หน่วยบริโภค โดนัท 5 ยี่ห้อ ไขมันทรานส์ อยู่ในเกณฑ์ ส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่เหลือมีปริมาณ ไขมันทรานส์ อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ 1. คริสปี้ครีม (Krispy Kreme […]
กฎเหล็ก ป้องกันโรคหัวใจ
ป้องกันโรคหัวใจ เมื่อไม่นานมานี้มีหมอรุ่นหนุ่มที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เขียนจดหมายมาเล่าให้ฟังว่าเดี๋ยวนี้ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี มีคนไข้ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเข้ามารักษาทุกวัน
สุดยอด สารอาหารบำรุงหัวใจ
สุดยอด สารอาหารบำรุงหัวใจ หลายคนอยากทราบว่า นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว ยังมีสารอาหารหรือวิตามินอะไรบ้างที่ช่วยบำรุงหัวใจ สารอาหารที่พบทั้งในอาหารธรรมชาติ และในรูปแบบอาหารเสริมที่ใช้ป้องกันและช่วยสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจะแนะนำวิธีกินและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสุขภาพ
ลดเค็ม ช่วย ไต ด้วยสมุนไพรไทย
คุณรู้ไหมว่า การกินอาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูงจะเพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะและยังมีผลเสียต่อ ไต โดยตรง นอกจากนี้ความเค็มยังทำให้หัวใจทำงานหนัก ก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายและความดันโลหิตสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาต!
หัวใจ มีปัญหา ออกกำลังกายแบบนี้ซิ
หัวใจ มีปัญหาก็ออกกำลังกายได้ หัวใจ คืออวัยวะแสนสำคัญของชีวิต หากคุณกลัวป่วยด้วยโรคหัวใจ หรือป่วยแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกออกกําลังกายด้วยวิธีไหน ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเราเตรียมวิธีออกกําลังกายสําหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและผู้ที่ต้องการดูแลหัวใจมาให้เลือกด้วยกัน 7 วิธี ดังนี้ 1.เดินเร็ว เหมาะสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่อายุมาก เพราะทําให้ไม่เหนื่อยเกินไป โดยทั่วไป การเดินเร็ว สัปดาห์ละ 1-3 ชั่วโมง จะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ 2.วิ่ง เป็นวิธีที่ง่าย ใช้เวลาน้อยกว่า และยังให้ประโยชน์โดยตรงต่อหัวใจ เพราะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้ออกแรงสูบฉีดโลหิตได้ดีกว่าปกติ ลดความเครียด อีกทั้งช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ แข็งแรง 3.เล่นเทนนิส ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขนและขา และเมื่อมีการออกแรงเต็มที่จะทําให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย 4.ว่ายน้ำ การออกแรงในน้ำมีผลดีต่อสุขภาพหัวใจ น้ำเป็นตัวช่วยพยุงน้ำหนักที่ดี ทําให้รู้สึกเหนื่อยน้อยกว่าการออกกําลังกายบนบก แม้จะออกแรงเท่ากัน จึงช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น 5.ปั่นจักรยาน การปั่นจักรยานช่วยให้หัวใจนําออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทําให้หัวใจสามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ นักวิจัยจากประเทศเยอรมนีติดตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจํานวน 101 คน เป็นระยะเวลานาน 1 ปี พบว่า ผู้ป่วยที่ออกกําลังกายด้วยการปั่นจักรยานเป็นประจําทุกวัน มีอาการเจ็บหน้าอกน้อยลงและหัวใจแข็งแรงมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ปั่นจักรยาน […]