โรคหัวใจ
โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบมากในประเทศไทย นอกจากการสืบทอดทางพันธุกรรมแล้ว พฤติกรรมยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ซึ่งหากเรารู้ก่อนก็ย่อมหลีกเลี่ยงได้ก่อน และสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมากทีเดียว
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
4 อาการ เสี่ยงโรคหัวใจ ภัยใกล้ตัวคนทำงาน
วิธีเช็กอาการ เสี่ยงโรคหัวใจ แบบเจาะลึกซึ่งจะช่วยให้คุณสังเกตอาการของตัวเองในเบื้องต้นได้ว่ากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่หรือไม่
หนุ่มสาวออฟฟิศคนไหนที่แค่เดินขึ้นสะพานลอยก็เหนื่อยแล้ว หรือโมโหหิวก็มีอาการเจ็บหน้าอก ชีวจิต ขอเตือนว่า คุณอาจมีอาการ เสี่ยงของโรคหัวใจ แล้วละค่ะ แต่อย่าเพิ่งจิตตก กังวลเรื่องอกข้างซ้ายกันไปมากนัก
4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์อายุรศาสตร์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สรุปว่า อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจผิดปกติมีไม่มากนัก ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการเบื้องต้นจากร่างกายตนเองได้ ดังนี้
1 เหนื่อยง่าย
คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง อาการเหนื่อย เพลียหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ
อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จากรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็วและจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด
อย่างไรก็ตาม อาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
2 เจ็บหน้าอก
คุณหมอสุพจน์สรุปอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจไว้ว่า
- รู้สึกอึดอัด เจ็บแบบแน่นๆ กลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้านก็ได้ บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือแขนทั้งสองข้าง มีอาการจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
- อาการเจ็บจะเกิดขณะออกแรง เช่น เดินเร็วๆ วิ่งขึ้นบันได โกรธโดยอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอกขณะที่พัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังกินอาหาร
- หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีเหงื่อออก เป็นลม
นอกจากนี้อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกเช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งมีอาการดังนี้
- รู้สึกเจ็บแปลบจุดเดียวคล้ายถูกเข็มแทง และกดเจ็บบริเวณหน้าอก
- อาการเจ็บเกิดขึ้นขณะพัก และเจ็บต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
- มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ
- อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
3 ใจสั่น
คุณหมอสุพจน์สรุปความหมายของคำว่า “ใจสั่น”ทางการแพทย์ว่าคือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอเต้น ๆ หยุด ๆ อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคอื่น ๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษโรคปอด
แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงลักษณะของอาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เพราะบ่อยครั้งที่พบ ผู้ป่วยมักมาหาหมอเพราะคิดว่าตัวเองใจสั่น ทั้งที่หัวใจเต้นปกติ
คุณสามารถเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจได้ โดยการจับชีพจรเพื่อนับจำนวนครั้งใน 1 นาที (ค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 72 ครั้งต่อนาที หรือไม่ควรเกิน 100 ครั้งต่อนาที) และสังเกตจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ
4 ขาบวม
หนังสือ โรคของหัวใจและหลอดเลือด โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กล่าวถึงอาการบวมน้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจไว้ว่า
“อาการบวมน้ำ ได้แก่ การมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายก่อให้เกิดการบวมโดยไม่มีอาการของการอักเสบ (แดง ร้อน มีไข้) โดยมักเกิดในบริเวณเท้า ดวงตา ใบหน้า แขน ท้อง และบางครั้งในโพรงเยื่อหุ้มปอด อาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจล้มเหลว แต่พบได้บ่อยเช่นกันด้วยสาเหตุจากโรคต่างๆ”
คุณหมอสุพจน์อธิบายต่อว่า
“อาการขาบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดคั่งที่ขามากขึ้น และมีน้ำซึมออกมาได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค แล้วจึงจะสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง”
สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองขาบวมจากโรคหัวใจหรือไม่ คุณสามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วกดลงที่หน้าแข้งหรือตาตุ่ม หากยกนิ้วขึ้นแล้วเนื้อยังคงบุ๋มอยู่นานเป็นนาที อาจหมายความว่าเกิดปัญหาเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ เกิดการคั่งของเลือดและมีน้ำรั่วซึมออกมาในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ
คุณหมอสุพจน์ยังย้ำว่า หากมีอาการเสี่ยงมากกว่า 1 ข้อ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะนอกจากมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้
ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ ย่อมดีกว่าปล่อยให้หัวใจแสดงอาการผิดปกติแน่นอนค่ะ
3 พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ
3 พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ ไม่รู้ตัว พฤติกรรมที่ชวน ก่อโรคหัวใจ เรารู้ดี ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารอุดมไขมันเลว การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย แต่นอกจากนั้นก็ยังมีพฤติกรรมที่คาดไม่ถึง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจอีกด้วยค่ะ นายแพทย์เจมส์ เบคเคอร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำ Providence St. Vincent Heart Clinic-Cardiology สหรัฐอเมริกา ระบุว่า มีปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจที่คนทั่วไปอาจไม่ทราบ ดังนี้ ความสะอาดในช่องปาก หากเชื้อแบคที่เรียที่เหงือกเติบโตเข้าสู่กระแสโลหิตและเข้าสู่หัวใจจะทำให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นขอแนะนำให้ทำความสะอาดช่องปากโดยการแปรงฟัน วันละ 2 ครั้ง และพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ การทำงานกะดึก งานวิจัยจากทีมของมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ประเทศแคนาดา พบว่า คนทำงานเป็นกะ ที่มีวงจรการนอนไม่สม่ำเสมอกินเวลาต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงหัวใจวายมากกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ปัญหาการจราจร ปัจจัยก่อความเครียดที่เกิดขึ้นขณะมีปัญหาจราจรเพียง 1 ชั่วโมง เช่น เสียงบีบแตร การขับรถอย่างเร่งรีบ และแม้แต่อากาศร้อน อาจส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้น และหากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นประจำมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้ เข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัย ปกติการเข้าสู่วัยทองในผู้หญิงจะอยู่ที่ช่วงอายุ ประมาณ 45-55 ปี แต่ถ้าเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัยดังกล่าว การลดระดับของฮอร์โมนอสโทรเจนจะส่งผลให้ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นถึง […]
ชวนกิน อาหารเมดิเตอร์เรเนียน ป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ
ชวนกิน อาหารเมดิเตอร์เรเนียน วัตถุดิบหาง่ายในเมืองไทย ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน คืออาหารที่เน้นการกินพืชเป็นหลัก โดยเป็นพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าว ธัญพืชต่างๆ และยังต้องเน้นการกินผัก ผลไม้ ซึ่งแท้จริงแล้ววัตถุดิบต่างๆ สามารถหาได้ง่ายในอาหารไทย อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบด้วยอาหารอะไรบ้าง ผลไม้ มันฝรั่ง ผัก ธัญพืชถั่ว ถั่ว และเมล็ดพืช นอกจากนี้ ควรปรุงด้วยน้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ ยังควรมีปลาและสัตว์ปีกในปริมาณต่ำถึงปานกลาง (0 ถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์) ควรกินกลุ่มไขมันที่ดี เป็นกลุ่มโอเมก้า 9 ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนลา รวมถึงพวกถั่วเปลือกแข็งต่างๆ กลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ พวกปลาทะเลน้ำลึก หรืออาจจะเป็นปลาไทยอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยใน 1 สัปดาห์ ควรกินปลาอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ครั้งละ 100 กรัม เพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า […]
25 ข้อ คู่มือโรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย
25 ข้อ คู่มือโรคหัวใจ เรียนรู้วิธี ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย ด้วยตนเอง แต่ก่อนอื่้นต้องทำความเข้าใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวกันก่อน คู่มือโรคหัวใจ นิยามหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่มีสาเหตุต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจพิการ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ ทำให้หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีอาการซึ่งแสดงว่า ร่างกายขาดออกซิเจน เช่น เปลี้ย หมดแรง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากเลือดไหลเข้าไปในหัวใจได้ช้าจนท้น กรณีเลือดท้นหัวใจซีกซ้าย เลือดจะไปออกันอยู่ที่ปอด ทำให้ของเหลวในน้ำเลือดส่วนหนึ่ง รั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในถุงลมปอด เรียกว่าภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary Congestion) เวลานอนราบแรงโน้มถ่วงจะทำให้น้ำรั่วออกไปอยู่ในถุงลมมากขึ้น จึงมีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม จนต้องลุกขึ้นมานั่ง กรณีเลือดท้นหัวใจซีกขวา เลือดจะออกันอยู่ที่หลอดเลือดดำทั่วร่างกาย ทำให้ของเหลวในน้ำ เลือดรั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมกดแล้วบุ๋มที่หน้าแข้ง และหลังเท้า อาการ ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจะมีอาการเหนื่อย (Dyspnea) เวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการ นอนราบแล้วเหนื่อย ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจหรือต้องใช้หมอนหนุนหลายใบ ถ้าเป็นมากขึ้นไปอีกก็จะมี อาการเหนื่อยแม้ขณะพัก บางครั้งมีอาการเปลี้ย ล้า อ่อนแอ เจ็บหน้าอก […]
อาหารมังสวิรัติ ตัวช่วยชั้นดีของผู้ป่วยหัวใจ
อาหารมังสวิรัติ ทำง่าย กินอร่อย ตัวช่วยชั้นดีของผู้ป่วยหัวใจ ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้หลายคนป่วยเป็นโรคกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึง โรคหัวใจ และด้วยสารพัดโรคที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้ผู้ป่วย หรือผู้ที่รักสุขภาพ หันมาพึ่ง อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ หรือ อาหารมังสวิรัติ เพราะด้วยความเชื่อต่างๆ ที่ว่าเนื้อสัตว์ทานแล้วไม่ดี จึงหันมางดทานเนื้อสัตว์ เราจึงมีเมนูแนะนำดีๆ จากโรงพยาบาลรามาธิบดีมาบอกต่อกัน หากพูดถึงเนื้อสัตว์ ในแง่ของโภชนาการนั้น เราจะรวมเนื้อสัตว์ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ในหมวดหมู่ของโปรตีน รวมถึงน้ำนมที่ได้จากสัตว์ด้วย นอกจากเนื้อสัตว์จะมีโปรตีนแล้ว ยังมีส่วนประกอบของไขมัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ในส่วนที่ติดมันมาก หรือน้อย ฉะนั้นถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ไปเลย ตอบได้เลยว่าไม่จำเป็นที่เราจะต้องหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ เราสามารถทานเนื้อสัตว์ได้ตามปกติ และตามความต้องการโปรตีนของร่างกายเราเพียงแต่เราควรที่จะเลือกทานในส่วนสันใน ซึ่งเป็นส่วนที่ติดมันน้อย หรือหลีกเลี่ยงหนัง และไขมันสัตว์ที่ติดมา เช่น หมูสามชั้นหนังเป็ด หนังไก่ ในบางกรณี ก็มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เทความเชื่อในการงดทานเนื้อสัตว์ไปเลย หันมาทานเป็นอาหารเจ หรืออาหารมังสวิรัติ เพราะคิดว่าร่างกายจะแข็งแรง และทำให้โรคที่มีอยู่หายเร็วขึ้น ถ้าถามว่าร่างกายจะดีขึ้นหรือไม่? บางรายก็ดีขึ้น แต่บางรายก็แย่ลง ต้องดูผู้ป่วยรายนั้นๆ ว่าไม่ทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังได้รับโปรตีนมากเพียงพอหรือเปล่า ซึ่งการทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่เราจะได้รับโปรตีนจากพืชเป็นหลัก […]
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรู้ เมื่อต้องผ่าตัดหัวใจช่วง COVID-19
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องผ่าตัดหัวใจช่วงนี้ ทำอย่างไร ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 อาจส่งผลกระทบกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรคที่ต้องติดตามผลหรือเช็กสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ด้วยที่ต้องได้รับการรักษาหรือเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ แต่ด้วยสภาวะไม่ปกติขณะนี้ผู้ป่วยและครอบครัวอาจเกิดความกังวลใจในความปลอดภัยจากเชื้อ COVID-19 คำแนะนำจากแพทย์ นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับเชื้อ COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 20% และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในการรักษา อาจตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน และใช้เวลาในการรักษาที่นานขึ้นกว่าปกติ ฉะนั้นการดูแลตนเองให้ห่างไกลจาก COVID-19 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรเลี่ยงการออกนอกบ้าน โดยเฉพาะการไปที่ชุมชนหรือพบเจอผู้คนจำนวนมาก ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหรือทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และหากอยู่ในบ้านกับผู้มาจากที่อื่นควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยเช่นเดียวกัน ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะเวลาสั่งอาหารหรือสั่งของไม่ควรรับโดยตรง เมื่อได้รับของแล้วควรฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ทันที หลังจากแกะของแล้วควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้งาน นอกจากนี้การชำระเงินควรเป็นการจ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรใช้เงินสดเพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ควรแยกกันรับประทานอาหาร เว้นระยะห่างและรับประทานในจานของตัวเองเท่านั้น หากจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารร่วมกันต้องมีช้อนส้อมส่วนตัวและช้อนกลางแยกของแต่ละคน ไม่ควรใช้ห้องน้ำร่วมกัน หากมีความจำเป็นควรให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำใช้ห้องน้ำก่อนแล้วตามด้วยผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ควรทำความสะอาดห้องน้ำและใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดอีกครั้งก่อ นออกจากห้องน้ำ บุคคลอื่นในครอบครัวควรทำอย่างไร นอกจากนี้ผู้ที่ดูแลหรือใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหัวใจต้องดูแลตัวเองให้ดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเช่นเดียวกัน และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ผู้ป่วยโรคหัวใจควรที่จะรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อตรวจปัจจัยเสี่ยงและการควบคุมโรคว่าเป็นไปด้วยดีหรือไม่ เพื่อที่แพทย์จะได้ปรับการรักษาและการรับประทานยาให้เหมาะสมและป้องกันการเกิดความรุนแรงของโรค ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อยและรีบกลับทันทีเมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องได้รับการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ต้องเป็นการผ่าตัดในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะเร่งด่วน และเป็นการผ่าตัดที่พิจารณาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจเท่านั้น โดยผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ภายใน 72 ชม. ก่อนผ่าตัด หากต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีโดยไม่สามารถรอผลตรวจหาเชื้อได้หรือผู้ป่วยโรคหัวใจติดเชื้อ COVID-19 แล้วต้องผ่าตัดทันที แพทย์สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ทันทีภายใต้มาตรการป้องกันการติดเชื้อในทุกกระบวนการเพื่อความปลอดภัยที่สูงที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะพิจารณาเลื่อนผ่าตัดออกไปก่อนประมาณ 3 – 6 เดือน เพื่อให้สถานการณ์ COVID-19 เป็นที่ไว้วางใจและลดความกังวลใจให้กับผู้ป่วยในการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เป็นสำคัญ (ที่มา : โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ) บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ ออกกำลังกาย-เล่นกีฬาอย่างไร ไม่ให้ […]
ออกกำลังกาย-เล่นกีฬาอย่างไร ไม่ให้ หัวใจล้มเหลว
ฟิตอย่างไรไม่ให้ หัวใจล้มเหลว เหล่านักกีฬาและแฟนตัวยงของการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ คงเคยได้รับข่าวสารนักกีฬาเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว วูบเสียชีวิตคาสนามแข่งขันกีฬา หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่สามารถเกิดเหตุการณ์เดียวกันนี้ได้ในขณะออกกำลังกาย ซึ่งทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยการตรวจเช็กหัวใจเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอและครบทุกรายการตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ แพทย์แนะนำ นพ.อนุสิทธิ์ ทัฬหสิริเวทย์ อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า สถิติของประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า อาการวูบคาสนามทำให้นักกีฬามีโอกาสเสียชีวิตถึง 1 ใน 50,000 คนต่อการแข่งขันกีฬาระดับวิทยาลัยและอาจจะสูงถึง 1 ใน 5,000 คนในการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล โดยในนักกีฬาที่อายุมากกว่า 35 ปีมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากถึง 5%ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและมักพบในนักกีฬาผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเกิดอาการวูบกลางสนามมีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น 1) กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ซึ่งป็นโรคที่พบได้ในนักกีฬาอาชีพ เกิดจากการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หรือเกิดได้จากความผิดปกติทางพันธุกรรม 30% และจะพบได้มากในนักกีฬาผิวดำ โดยหากตรวจเจอว่ามีพังผืดในชั้นกล้ามเนื้อหัวใจแล้วลงแข่งกีฬาหนัก ๆ อาจเกิดแรงกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตแบบ Sudden Death ได้ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นมา จะไปขัดขวางระบบการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจทำงานหนัก และถ้านักกีฬาไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา แล้วต้องลงแข่งกีฬาเป็นเวลานาน ๆ และออกแรงมาก ๆ จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายแบบฉับพลันจนวูบกลางสนามได้ 2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ […]
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แค่ความเครียด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แค่ความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยปกติแล้วหัวใจคนเราจะเต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 60-100 ครั้ง / นาที แต่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เป็นภาวะที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งมาจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือการนำไฟฟ้าหัวใจ แต่ในบางรายก็มาจากทั้งสองสาเหตุร่วมกันก็ได้ rusbankinfo.ru โดยมากภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ เราจะพบที่หัวใจห้องบน ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูง เนื่องจากลิ่มเลือดจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะนี้หลุดออกไปอุดหลอดเลือดสมองนั่นเอง ปัจจัยเสี่ยงการเกิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเครียด วิตกกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ การออกกำลังกายหักโหม การสูบบุหรี่ ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีน ยากระตุ้นหัวใจ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการที่แสดงออกมานั้นมีด้วยกันหลายระดับขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจ และระยะเวลาที่เกิด ใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลม หมดสติ อาการหัวใจวาย ซึ่งหากมีอาการเหล่าควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด เพราะหลายครั้งมีการวินิจฉัยผิด จนทำให้การรักษาผิดพลาด การรักษาโรค ในปัจจุบันการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ทำกัน 3 วิธีค่ะ รักษาด้วยยา รักษาด้วยพลังงานความร้อน เป็นการจี้เพื่อทำลายจุดที่หัวใจนำไฟฟ้าเร็วกว่าปกติ ฝังเครื่องมือเพื่อช็อก […]
5 วิธี ทำได้ง่าย ๆ ลดกินอาหารแปรรูป ก่อนเกิดโรคร้าย
5 วิธี ทำได้ง่าย ๆ หยุดกิน อาหารแปรรูป ก่อนเกิดโรคร้าย อาหารแปรรูป หรือ Processed Food คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต ผ่านการแปรรูปจนทำให้มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การอบ ทอด แช่แข็ง อัดกระป๋อง การขัดสี เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปจำนวนมาก เพราะตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคปัจจุบันที่เน้นไปที่ความสะดวกสะบายและความรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลมและน้ำหวาน บะหมี่และซุปกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี อาหารเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงให้ไกล เนื่องจากต้องการให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น หรือมีรสชาติที่ดึงดูดคน จึงมักใส่เกลือ น้ำตาล และไขมันอิ่มตัวลงไปในอาหารเพิ่มเติม โดยเฉพาะเกลือและไขมันอิ่มตัว หากกินเข้าไปในปริมาณมากเกินควร จะส่งผลทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอีกหลาย ๆ โรคตามมา เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ดร.เควิน ฮอลล์ ผู้นำทีมนักวิจัยที่ทำการทดลองเกี่ยวกับอาหารผ่านกระบวนการแปรรูปจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) ยังกล่าวไว้ว่า สาเหตุที่ทำให้อาหารแปรรูปมีผลเสียต่อสุขภาพนั้น […]
โรคหัวใจในวัยรุ่น เกิดขึ้นได้ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โรคหัวใจในวัยรุ่น ปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้น โดยโรคหัวใจที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเยอะที่สุดทั่วโลกคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ แม้ในอดีตโรคหัวใจจะเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อยหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากเช่นกัน ข้อมูลจาก รศ. นพ.ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สาเหตุของโรคหัวใจในคนอายุน้อย โรคหัวใจนั้นมีปัจจัยเลี่ยงหลายอย่าง แต่คนอายุน้อยมักจะเป็นโรคหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่พบมากที่สุดก็คือการสูบบุหรี่ บางคนอายุแค่ 30 – 35 ปี ก็เป็นโรคหัวใจแล้ว หรือแม้แต่คนที่ร่างกายแข็งแรง เป็นนักกีฬาก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติได้ โดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ใช้ร่างกายหนัก ๆ ควรจะต้องตรวจเช็กสุขภาพหัวใจก่อนทุกครั้งเพื่อดูว่าสามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่หักโหมได้หรือไม่ อาการของโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย เบื้องต้นสามารถสังเกตอาการตัวเองได้จากพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำได้ เช่น จากที่เคยขึ้นบันไดได้สองสามชั้นแบบสบาย ๆ ตอนนี้ขึ้นแค่ชั้นเดียวก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว แสดงว่าร่างกายของคุณเริ่มผิดปกติแนะนำให้รีบไปเช็กด่วน เพราะนอกจากโรคหัวใจแล้วยังมีโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกันอีกด้วย อาการเจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเวลาที่ออกแรงมักจะเจ็บบริเวณหน้าอกด้านซ้าย หายใจไม่ออก อึดอัดเหมือนมีของหนักมาทับที่หน้าอก บ่งบอกว่าอาจจะเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ อาการหน้ามืด เป็นลม […]
สังเกต ” โรคความเสื่อม ” สัญญาณไหนบอกว่าร่างกายเริ่มเสื่อม
ร่างกายเริ่ม “เสื่อม” แค่ไหนสังเกตได้ด้วยตัวเอง กับ โรคความเสื่อม ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โรคความเสื่อม (Degenerative Disease) คือ ความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ระบบใดระบบหนึ่ง หรือร่างกายโดยรวม ซึ่งก็เป็นผลของความเสื่อมในระดับเซลล์ ณ ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของคนเราเกิดขึ้นจากหลายที่มา และโรคไม่ติดต่อหรือที่รู้จักในนาม NCD (Non Communicated Disease) อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปวดข้อ โรคสมองเสื่อม คือสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต การเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือทุพลภาพ ซึ่งมีที่มาที่แท้จริงจากความเสื่อมของเซลล์ในแต่ละอวัยวะของคนเรานั่นเอง เริ่มเสื่อมได้ยังไง เดิมทีร่างกายจะเริ่มส่งสัญญาณความเสื่อมของร่างกาย เมื่ออายุของเราเพิ่มขึ้น หรือที่เรามักจะพูดว่า “แก่แล้ว” แต่ปัจจุบันแม้อายุไม่มาก ก็สามารถเกิดความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ด้วย เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ทั้ง การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการได้รับสารพิษสะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมหรือแก่เร็วขึ้น และก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ […]
7 วิธี สร้างหัวใจแข็งแรง ห่างไกลโรค
7 วิธี ป้องกันโรคหัวใจ ห่างไกลโรคภัย “ไลฟ์สไตล์คือปัญหาใหญ่ของการเป็นโรคหัวใจ และกว่า 80% ป้องกันได้” คือคำพูดที่คุณหมอโฮลลี่ เอส แอนเดอร์เซน แพทย์หญิงผู้เชี่ยนชาญด้านหัวใจ จากโรงพยาบาลนิวยอร์ค เพรสไบทีเรีย โรคพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ได้กล่าวไว้ ซึ่งในการดูแลและ ป้องกันโรคหัวใจ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เรามาเริ่มกันเลย ออกกำลังกายมากกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ สถาบันโรคหัวใจของอเมริกา แนะนำว่าควรออกกำลังกายประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งควรเฉลี่ยกันไปในแต่ละวัน แต่ถ้าใครออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง ในแบบที่เรียกว่า vigorous aerobic activity แล้วละก็ แ่ค่ 75 นาที ต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว 2. พบแพทย์ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรพบแพทย์และตรวจสุขภาพทุกๆ ปี ไม่เพียงตรวจเช็กหัวใจเท่านั้น แต่ควรตรวจในทุกๆ ด้านของร่างกาย เพราะบางครั้ง การพบความมผิดปกติในระยะแรกเริ่ม ก็สามารถป้องกันและรักษาไม่ให้กลายเป็นโรคร้าย และยัง ป้องกันโรคหัวใจได้ […]
สัญญาณมรณะเตือนภัย หัวใจวายเฉียบพลัน ตายไม่รู้ตัว
หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นได้ ตายง่าย ตายไม่รู้ตัว หัวใจวายเฉียบพลัน คืออาการที่หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อค่อยๆ ตาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บเค้นต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะตายภายในไม่กี่นาทีหลังเกิดอาการเจ็บเค้น หากได้รับการช่วยเหลือได้ทันในระยะเริ่มแรก จะทำให้มีโอกาสรอดได้มาก สัญญาณเตือน หัวใจวายเฉียบพลัน แน่นหน้าอก นานกว่า 20 นาที ร้าวไปที่คอ แขน และขากรรไกร เหงื่อออก ตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน หน้ามืดจะเป็นลม ปวดจุกท้อง บริเวณลิ้นปี่ หรือปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่โดยเฉพาะไหล่ซ้าย หายใจไม่ทันขณะออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หายใจหอบ หายใจไม่พอ หายใจสั้น ซึ่งหากมีอาการควรบอกผู้ที่อยู่ใกล้ชิดทันที และไปถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งถึงมือแพทย์ได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสรอดก็ยิ่งมีมากเท่านั้น กลุ่มเสี่ยง หัวใจวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีไขมันสูง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจผิดปกติ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่นอนกรนรุนแรง มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ออกกำลังกายส่ำเสมอ สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย […]
8 MUST DO สิ่งควรทำหลังทำ บอลลูนหัวใจ
8 สิ่งที่คุณทำได้ และควรทำหลังทำ บอลลูนหัวใจ เมื่อไม่นานมานี้ผมเพิ่งเขียนถึงเรื่อง “ความเสี่ยงควรรู้ก่อนทำ บอลลูนหัวใจ” ไปแหม็บ ๆ เรียกได้ว่าพอเครื่องร้อนแล้วก็เลยอยากต่อก๊อกสอง ด้วยการเขียนเรื่องการดูแลตัวเองหลังทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI) อีกสักหน่อย จึงขอเล่าสู่กันฟังดังนี้ ในสัปดาห์แรก ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่รอยแทงเข็ม (การมีรอยฟกช้ำรอบ ๆ รอยแทงเข็มถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อน) ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ (1) มีเลือดออกแล้วคั่ง (Hematoma) (2) เลือดเซาะจนผิวหนังโป่งขึ้นเป็นก้อน แล้วเต้นตุบ ๆ (Pseudoaneurysm) (3) เกิดการเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดดำกับหลอดเลือดแดง (AV Fistula) จนเกิดเสียงฟู่ ๆ ขึ้น (4) ปลายแขนหรือปลายขาขาดเลือดไปเลี้ยง (Limb Ischemia) (5) เกิดการอักเสบติดเชื้อเป็นฝี (6) ลามไปเกิดฝีหรือเลือดคั่งที่หลังช่องท้อง (Retroperitoneal Hematoma) ซึ่งไปทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือบั้นเอว หรือความดันตก จากการเสียเลือดเข้าไปในช่องหลังช่องท้องได้ ภาวะแทรกซ้อนทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้ 2 – 6 […]
วิธีรักษาโรคหัวใจ ด้วยมังสวิรัติ แนะนำโดยแพทย์จากสหรัฐอเมริกา
วิธีรักษาโรคหัวใจ จากอเมริกา โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบได้แทบจะทั่วไป ในบ้านเรามีผู้ป่วยโรคหัวใจไม่น้อย ซึ่งโรคนี้อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม วันนี้เราจึงมาแนะนำ วิธีรักษาโรคหัวใจ ด้วยมังสวิรัติ ที่แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยโรคหัวใจ โรคหัวใจคือโรคยอดฮิตอันดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตของคนทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโรคหัวใจที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเยอะที่สุดทั่วโลกคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ แม้ในอดีตโรคหัวใจจะเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อยหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากเช่นกัน อาการของโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย เบื้องต้นสามารถสังเกตอาการตัวเองได้จากพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำได้ เช่น จากที่เคยขึ้นบันไดได้สองสามชั้นแบบสบาย ๆ ตอนนี้ขึ้นแค่ชั้นเดียวก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว แสดงว่าร่างกายของคุณเริ่มผิดปกติแนะนำให้รีบไปเช็กด่วน เพราะนอกจากโรคหัวใจแล้วยังมีโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกันอีกด้วย อาการเจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเวลาที่ออกแรงมักจะเจ็บบริเวณหน้าอกด้านซ้าย หายใจไม่ออก อึดอัดเหมือนมีของหนักมาทับที่หน้าอก บ่งบอกว่าอาจจะเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ อาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ เนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งจะวินิจฉัยได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น (อ้างอิง : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ) การดูแลรักษาโรคหัวใจที่แพทย์จากสหรัฐอเมริกาแนะนำ นายแพทย์ดีน ออร์นิช […]
ชวนฟิตเต็มข้อ ไปกับนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ FitLAB ป้องกัน รักษา ผ่าตัด ฟื้นฟู ทางการกีฬา
ชวน ฟิตเต็มข้อ ไปกับนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ FitLAB หลังอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา จะทำให้ทุกคนกลับมา ฟิตเต็มข้อ และแกร่งกว่าเดิมได้ ด้วย FitLAB ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู อาการบาดเจ็บ ให้คุณกลับมาฟิต ด้วยทีมแพทย์ที่เป็นนักกีฬา และอุปกรณ์ฟิตเนสเกรดการแพทย์ เคทีซี จับมือกับ โรงพยาบาลสมิติเวช โดย นพ.สุรพงษ์ ลูกหนุมารเจ้า ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและโครงการ บริษัทสมิติเวช จำกัด(มหาชน) เปิดตัวแคมเปญ FitLAB ณ ศูนย์ Samitivej Active Performance Medical Center โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินร์ โดย นพ.สุรพงษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “FitLAB คือการทำให้ทุกคนฟิตได้ แข็งแรงขึ้น หนึ่งคนที่ฟิตขึ้นจะแข็งแรงขึ้น อายุยืนขึ้น โดยเน้นดูแลและเพิ่มพูนประสิทธิภาพให้กับผู้ที่ชื่นชอบกีฬา การออกกำลังกาย รวมถึงการรักษาอาการบาดเจ็บให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว และแข็งแรงกว่าเดิมตามมาตราฐานเดียวกับการดูแลนักกีฬามืออาชีพ” FitLAB แบ่งการบริการ ออกเป็น 3 ประเภท ป้องกันไม่ให้บาดเจ็บ […]
เรื่องหัวใจ ดูแลให้ดีช่วงโควิด 19
เรื่องหัวใจ ดูแลให้ดีช่วง โควิด 19 ในระหว่างที่ โควิด 19 ยังไม่มีวัคซีนรักษาอย่างเป็นทางการ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสก็ไม่น่าไว้วางใจ ฉะนั้นเราควรสวมหน้ากากกันไว้ทุกเมื่อ และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ อาทิ กลุ่มโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไปจนถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดอื่น ๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไปหากได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19 บทความนี้เราจึงรวบรวมเคล็ดไม่ลับ เพื่อดูแลหัวใจให้ปลอดภัยในช่วงโรคภัยกำลังระบาดแบบนี้ให้ได้รู้กัน อยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เช็กหัวใจเบื้องต้นได้หรือไม่ โรคหัวใจ ถึงแม้จะมีอาการแสดงออกมาบ้าง แต่จริงๆ แล้วผู้ที่จะวินิจฉัยได้ว่า เราเป็นโรคหัวใจหรือไม่ คือ แพทย์โรคหัวใจเท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด ซึ่งความผิดปกติที่ว่า คือเราควรสังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น อัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น บ่อยๆหรือเปล่า เป็นต้น ผู้ป่วยโรคหัวใจ เสี่ยงติดโควิด 19 และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ British Heart Foundation (BHF) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับโควิด 19 […]
หัวใจวาย เฉียบพลัน รู้เท่าทันก่อนชีพวาย
ภาวะ หัวใจวาย ในปัจจุบันไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองคือ กินอาหารไม่ถูก นอนดึก พักผ่อนน้อย ไม่ออกกําลังกาย ก็ทําให้เกิดภาวะนี้ใน อายุน้อยที่สุดที่เคยพบคือ 20 ปี
เจ็บหน้าอก ทำไงดี เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
เจ็บหน้าอก สัญญาณเตือนอันตราย ที่ต้องใส่ใจ เจ็บหน้าอก เเน่นหน้าอก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม ทำไงดี อีกหนึ่งสัญญาณเตือนของร่างกายที่หลายคนสับสน เเละมึนงง ว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ อาการรุนเเรง เป็นโรคหัวใจ หรือเปล่า ดังนั้นก่อนจะตื่นตูมไป เราลองมาเช็คอาการกันให้แน่ชัดดีกว่าค่ะ เพราะจะได้ไม่กังวล เตรียมพร้อม ก่อนไปหาคุณหมอ กับ 6 อาการเจ็บหน้าอกที่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่ต้องระมัดระวัง ดังนี้ 1.อาการกรดไหลย้อน เพราะเจ็บหน้าอก กรดไหลย้อน หรืออาหารไม่ย่อย อาการ : เริ่มมีอาการหลังกินอาหาร รู้สึกแน่นท้อง ผะอืดผะอม 2.กล้ามเนื้ออักเสบ เพราะเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออักเสบ หรือกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อาการ : เริ่มมีอาการหลังจากกล้ามเนื้อหน้าอกได้รับบาดเจ็บ หรือหลังออกกำลังกาย มีอาการดีขึ้นหลังจากพัก 3.เจ็บหน้าอกเเพราะอาการแพนิค ความวิตกกังวล หรือหวาดกลัวอย่างรุนเเรง (แพนิค) อาการ : เกิดจากความวิตกกังวล หรือเมื่อมีเหตุการณ์ตึงเครียด มีการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เหงื่อออก และเวียนศีรษะ […]