โรคหน้าฝน
โรคหน้าฝน เพราะในฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบายได้ง่ายและรวดเร็ว ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อที่มากับหน้าฝนที่คนไทยควรทราบและพึงระวังไว้ 5 โรคหลัก 1. โรคหวัดหรือไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุด โรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ สำหรับอาการที่พบ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ น้ำมูกใส ระคายคอ เสียง แหบ และไอ การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ความรุนแรงของโรคไม่มาก อาการมัก ดีขึ้นเองภายใน 2 – 3 วัน เน้นรักษาประคับประคองจนอาการ หายดีเอง 2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ซึ่งเกิดจากเชื้อไข้หวัด ชนิดเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากไวรัสชนิดเดิม มาก นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าสายพันธุ์ A สายพันธุ์ B เชื้อที่ เปลี่ยนไปนี้เองทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงเกิดการระบาด ได้ง่าย อีกทั้งอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เจ็บคอ และบางรายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยวิธีการรักษา นอกจากรักษาตามอาการแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยาต้าน ไวรัสด้วย 3. โรคไข้เลือดออกจัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจาก ยุง ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี (Dengue Virus) ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ มียุงลายตัวเมีย เป็นพาหะนำโรค ในช่วงหน้าฝนมียุงลายเติบโตเป็น จำนวนมาก ส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมักแพร่ระบาด ในช่วงหน้าฝนมากที่สุด ผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น ดังนั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปก็ย่อมมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกได้อีก ที่สำคัญการติดเชื้อครั้งที่สอง มักรุนแรงกว่าครั้งแรก บางรายอาจเกิดภาวะไหลเวียน เลือดล้มเหลว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และ มีโอกาสเสียชีวิตได้ 4. โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคในกลุ่ม โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ระบาดมากที่สุดในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากทุกแห่ง รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เลปโตสไปรามารวมกันในจุดที่น้ำท่วมขัง โดยเชื้อที่มีชีวิตจะอยู่ในแหล่งน้ำ ได้นานถึง 30 วัน สาเหตุที่เรียกว่าโรคฉี่หนู เนื่องจากเชื้อเลปโตสไปราอยู่ใน ปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู นอกจากนี้ยังพบในหมู วัว ควาย และสุนัขด้วย การติดต่อของโรค หากผู้มีบาดแผลหรือรอย ขีดข่วนที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเปื่อยจากการแช่น้ำนาน ๆ ไปสัมผัสเชื้อนี้เข้า จะสามารถติดเชื้อได้ โดยอาการคือมีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ คลื่นไส้ อาเจียน ตาเหลือง ตัวเหลือง ความดันโลหิตต่ำ ต่อมาตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ บางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ 5. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง โรคนี้ติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัส ไม่ว่า จะเป็นมือ แขน เสื้อผ้า หรือของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า หากสิ่งเหล่านี้ไปสัมผัสเชื้อไวรัส ตามที่ต่างๆ หรือในน้ำสกปรก แล้วเผลอมาป้ายตา เข้า เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ดวงตาทันที ทำให้เกิดอาการ เคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอม อยู่ในตา น้ำตาไหลตามมา และหากติดเชื้อ แบคทีเรียร่วมด้วยจะทำให้มีขี้ตามากหลังตื่นนอน ทำให้แทบจะลืมตาไม่ขึ้น
เตรียมตัวรับมือโรคร้ายที่มากับหน้าฝน
วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน เตรียมตัวให้พร้อมรับมือโรคร้ายที่มากับหน้าฝน เมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ชื้นขึ้น อุณหภูมิที่ลดลงในช่วงฝนตก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง เกิดภาวะภูมิตกจากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ รวมไปถึงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่เกิดขึ้นง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะโรคประจำฤดูกาลอย่างไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นทุกปี และยิ่งในปีนี้โรคโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายคนกังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมีภูมิต้านทานที่ไม่แข็งแรง จะทำให้ได้รับเชื้อโรคง่ายกว่าคนทั่วไป การมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรงย่อมดีที่สุด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีภูมิคุ้มกันที่มากพอ แล้วจะทำอย่างไรให้ร่างกายรับมือกับโรคภัยได้ ภูมิคุ้มกันในร่างกาย พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ จิณณ์ เวลเนส คลินิก (Jin Wellness Clinic) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่า เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ เช่น ในกรณีของไข้หวัดใหญ่ที่หลายคนทราบดี คือ การรับวัคซีนเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อที่สามารถกลายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในทุก ๆ ปี เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสและยิ่งในปัจจุบันมีโรคโควิด-19 เพิ่มเข้ามา ซึ่งยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การทำให้ร่างกายแข็งแรงและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเปรียบเสมือนป้อมปราการด่านสำคัญที่คอยต้านทานและกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย ซึ่งเซลล์ในร่างกายที่สำคัญที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells […]
5 โรคติดต่อ ควรเฝ้าระวังพิเศษ และกลุ่มโรคที่พบบ่อยในหน้าฝน
สภาพอากาศและความชื้นในช่วงหน้าฝนเป็นสาเหตุทำให้ โรคติดต่อ สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งทำให้ภูมิคุ้มกันถดถอย จึงเป็นที่มาของโรคติดต่อ
โรคหน้าฝน 4 ประเภท ที่คนวัยทำงานควรระวังในฤดูฝนนี้
โรคหน้าฝน 4 ประเภท ที่คนวัยทำงานควรระวังในฤดูฝนนี้ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เราจึงต้องดูแลสุขภาพของเราให้ดีอยู่เสมอ ยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูร้อน ไปเป็นฤดูฝนเช่นนี้ ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะสภาพอากาศ และ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิด โรคหน้าฝน ที่แตกต่างไปจากฤดูกาลอื่น เราจึงต้องหาวิธีเตรียมตัวรับมือให้เหมาะกับโรคภัยไข้เจ็บในแต่ละฤดูด้วย เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยในหน้าฝนและช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูมีความแปรปรวนสูง และ ไม่สามารถพยากรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำได้ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นมากก็คือ การเกิดโรคที่พบบ่อยในหน้าฝนและช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ควรได้รับการป้องกันอย่างถูกต้อง แต่ในวัยทำงานเองก็พบว่ามีอัตราการเกิดโรคเนื่องจากการไม่ดูแลร่างกายและป้องกันโรคที่ดีพอ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคในหน้าฝนกันดีกว่า ::: กลุ่มโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร ::: โรคกลุ่มนี้ตัวอย่างคือ บิด อาหารเป็นพิษ โรคอหิวาตกโรค มีอาการเบื้องต้นคือปวดท้องฉับพลัน อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมด้วย ป้องกันด้วยการกินอาหารที่ปรุงสุก สะอาด อยู่เสมอ ::: กลุ่มโรคติดต่อที่มีพาหะจากยุง ::: โรคในกลุ่มนี้เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย ซึ่งมีพาหะนำโรคคือยุงตามบ้านเรือน จะมีอาการไข้สูงอย่างรวดเร็วเป็นอาการเบื้องต้น ป้องกันด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุง เช่นเทน้ำในแหล่งน้ำขังขนาดเล็กออก เปลี่ยนน้ำในแจกัน และใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงต่างๆ เช่น ธูปกลิ่นตะไคร้หอม […]
รวมอาหาร วัตถุดิบก้นครัว ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ในหน้าฝน
อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ในฤดูฝน วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ในฤดูฝนแบบนี้กันค่ะ มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างหาไม่ยาก สรรพคุณเหลือล้นมากๆ กระเทียม ป้องกันหวัดยันมะเร็ง สารอัลลิซิน (Allicin) ในกระเทียมสดช่วยต่อต้านแบคทีเรียและลดการติดเชื้อ โดยกระเทียมสด 1 กลีบ มีสารอัลลิซิน 5 – 9 มิลลิกรัม งานวิจัยในวารสารทางการแพทย์Advances in Therapy ทดลองให้ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงเสริมสารอัลลิซิน (สกัดจากกระเทียม) วันละ 180 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) หลังเฝ้าสังเกตความถี่การเกิดไข้หวัดและความรุนแรงของอาการป่วยนาน 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารอัลลิซินป่วยเป็นไข้หวัดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกถึงร้อยละ 64 และสามารถฟื้นไข้ได้เร็วกว่า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า การกินกระเทียมสดร่วมกับอาหารวันละ 6 กลีบ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) ร้อยละ 30 และลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) ร้อยละ 50 กินอย่างไร มหาวิทยาลัยรัฐออริกอน […]
ไข้หวัดใหญ่ระบาดอีกแล้ว เตือนระวังโรคมากับฤดูฝน พบมากภาคกลางภาคอีสาน
ไข้หวัดใหญ่ระบาด เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน จากสถิติ สถานการณ์ ไข้หวัดใหญ่ระบาด จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยในช่วงฤดูฝน โดยเมื่อวันที่ 21 ส.ค. มีหญิงวัย 23 ปี ติดเชื้อและเสียชีวิตไปอีกราย ภาคกลางและภาคอีสาน พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง ผลการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ สำนักระบาดวิทยา และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทยสหรัฐ ด้านสาธารณสุข พบว่า ระหว่างวันที่ 2 -8กันยายน 2561 ได้รับตัวอย่างทั้งสิ้น 116 ตัวอย่าง จากโรงพยาบาล 20 แห่ง เป็นผู้ป่วยเพศชาย 70 ราย และเพศหญิง 46 ราย ค่ามัธยฐานอายุของผู้ป่วยที่ส่งตรวจ เท่ากับ 15 ปี(อายุต่ำสุด 12 วัน, อายุสูงสุด 87 ปี) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าให้ผลบวก 39 ตัวอย่าง (ร้อยละ 33.62) เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1 […]