โควิด-19
ไวรัส โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19)
มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การป้องกัน ‘โรคปอดอักเสบ’ หลังโควิด-19
มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การป้องกัน ‘โรคปอดอักเสบ’ หลังโควิด-19 วันที่ 12 พฤศจิกายนเป็นวันปอดอักเสบโลก (World Pneumonia Day 2022) มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการป้องกันโรคปอดอักเสบหลังการระบาดโควิด-19 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบและรณรงค์การเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนแก่ประชาชน เพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการเสียชีวิต โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย ไฟเซอร์ จีเอสเค เอ็มเอสดี และซาโนฟี่ ตอกย้ำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership) ในการสร้างเสริมสุขภาพดีของคนไทย โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) นับเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของเด็กเล็กและผู้สูงวัย ซึ่งพบว่าในแต่ละปีมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก โดยในประเทศไทย โรคปอดอักเสบเป็น 5 ลำดับแรกของโรคทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในทุกปีและมีแนวโน้มอัตราตายจากโรคนี้เพิ่มสูงขึ้น โดย นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน กล่าวว่า มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนมีเจตนารมณ์ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย เนื่องในวันปอดอักเสบโลกซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปี มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เดินหน้าเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การป้องกันโรคปอดอักเสบหลังการระบาดโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อโรคปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตสูงสุดโรคหนึ่ง และให้ความสำคัญในการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการที่ผู้กำหนดนโยบายเตรียมพร้อมรับมือในการป้องกันโรคปอดอักเสบด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการช่วยชีวิต ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะเป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จที่ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาวะที่ดี ห่างไกลจากโรค ขณะที่ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข […]
5 อาหารดีและมีประโยชน์ ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)
แม้ว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นจะได้รับการรักษาจนหายแต่ทว่า ร่างกายก็อาจเกิดภาวะ ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome
ติดโควิด ผ่านไป 14 วัน ทำไมเหมือนยังไม่หาย มาอ่านข้อมูลน่าสนใจกัน
ติดโควิด แต่ดูเหมือนไม่หายสักที เกิดอะไรขึ้น อย่างที่ทราบกันดีว่าระยะการรักษาตัวของผู้ติดเชื้อ “COVID-19” คือ 14 วัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะไม่หลงเหลืออาการที่แสดงถึงการติดเชื้ออีกแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายกลับยังมีอาการหลงเหลืออย่างต่อเนื่องนานกว่า 1 เดือน หลัง ติดโควิด แม้ทำการรักษาตัวครบ 14 วันแล้วก็ตาม อาการดังกล่าวเรียกว่า “Post Covid Syndrome” หรือ “Long COVID” ลองโควิด เกิดขึ้นได้ และใกล้ตัวกว่าที่คิด Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่มีลักษณะคล้ายช่วงที่รักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีโอกาสเกิดกับผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว 30-50% ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะ Long Covid นั่นก็เป็นเพราะ หากมีการติดเชื้อร่างกายจะถูกกัดกร่อนความสมบูรณ์ ทั้งจากการได้รับยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และจากเชื้อไวรัสที่เข้าทำลายระบบภายในร่างกายโดยในแต่ละรายจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ อาการเป็นอย่างไรบ้าง ลิ้นชา หรือ การรับรสชาติอาหารไม่เหมือนเดิม จมูกไม่ได้กลิ่น มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อลีบ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ระคายเคืองบริเวณดวงตา และมีน้ำตาไหล มีภาวะสมองล้า เหนื่อยง่าย และร่างกายไม่สดชื่น มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า […]
แพทย์แผนไทย กับการดูแลผู้ป่วยที่มี อาการหลังติดเชื้อโควิด-19
ดูแล อาการหลังติดเชื้อโควิด-19 ด้วยแพทย์แผนไทย แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มี อาการหลังติดเชื้อโควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขผนึกกำลังเครือข่ายด้านการแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ จัดโครงการ “แพทย์แผนไทยสู้ภัยโควิด 19” นำองค์ความรู้แพทย์แผนไทย ยาแผนไทย สมุนไพร ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ที่อยู่ในระบบ HI /CI และกลุ่มที่มีอาการหลังติดเชื้อ พร้อมแนะนำยาฟ้าทะลายโจรและยาแผนไทยเป็นทางเลือกช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการน้อยได้ผลดี ที่มาที่ไป เมื่อเร็วๆนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมการถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยอาการหลังติดเชื้อและได้รับผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด 19 ด้วยการแพทย์แผนไทย โดยมี นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์การทางเลือก และเครือข่ายการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ร่วมประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และแถลงข่าว “แพทย์แผนไทยรวมพลังทั้งแผ่นดินสู้ภัยโควิด” ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้บูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์การแพทย์ทุกแขนงเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยปี 2565 ได้จัดสรรงบประมาณ 246 ล้านบาท ให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจัดหายาสมุนไพรเพื่อใช้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ “แพทย์แผนไทยสู้ภัยโควิด 19” สนับสนุนชุดยาสมุนไพรให้กับสถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่มีการจัดบริการแพทย์แผนไทยทุกแห่งทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 […]
ป่วยโรคไต รับมือโควิดอย่างไรดี ลดความเสี่ยงป่วยหนักและเสียชีวิต
แพทย์แนะนำการรับมือโควิดสำหรับผู้ ป่วยโรคไต ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น “ผู้ ป่วยโรคไต ” นับได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มเปราะบางที่แพทย์ต่างก็ออกมาแสดงความเป็นห่วงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยปลูกถ่ายไต และ ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไต ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคไตมีระดับภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป จึงทำให้มีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้ง่าย อีกทั้ง หากผู้ป่วยโรคไตติดขึ้นมา จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งจากโรคไตเองและจากโรคโควิด-19 และมีแนวโน้มที่โรคโควิด-19 จะลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง จนอาจต้องเข้ารับการรักษาใน ICU หรือเสียชีวิต แพทย์และผู้ป่วยโรคไต รับมืออย่างไรได้บ้าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย นำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และแพทย์ผู้มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคไตซึ่งติดโควิด-19 ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ร่วมกันจัดงานบรรยายพิเศษ ‘Optimising COVID-19 Management in Kidney Patients’ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ถึงแนวทางการรับมือที่เหมาะสมและทันท่วงทีต่อการติดโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต ด้วยยาในกลุ่มภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์อย่าง ‘แอนติบอดี ค็อกเทล’ ซึ่งมีผลการทดสอบทางคลินิกในต่างประเทศ ระบุว่าช่วยลดจำนวนไวรัสในร่างกาย จึงช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 ลดอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึง 70% ลดระยะเวลาการแสดงอาการให้สั้นลง 4 วัน รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเสียชีวิตได้ […]
ผลวิจัยพบ ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน ช่วย ป้องกันการติดเชื้อโควิด ในการทดลองทางคลินิก
ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน ช่วย ป้องกันการติดเชื้อโควิด เชื่อว่าหลายคนคงอาจเคยอ่านข่าวผ่านๆ เกี่ยวกับงานวิจัยและการใช้ยาจีนที่ชื่อ เหลียนฮัว ชิงเวิน เข้ามาในรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดมีการออกมาเปิดเผยผลลัพธ์หลังจากผ่านการทดลองทางคลินิก และดูเหมือนว่าจะได้ผลน่าสนใจ ป้องกันการติดเชื้อโควิด ได้ พูดถึงการวิจัย บทความหัวข้อ “Efficacy and Safety of Lianhuaqingwen Capsules for the Prevention of Coronavirus Disease 2019: A Prospective Open-Label Controlled Trial” (ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาเหลียนฮัว ชิงเวิน ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019: การทดลองแบบเปิดและไปข้างหน้าโดยมีกลุ่มควบคุม) ซึ่งตีพิมพ์ลงวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ระว่า “ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน (Lianhua Qingwen) ให้ผลลัพธ์ในการป้องกันแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19” บทความดังกล่าวระบุว่า การทดลองนี้เป็นการทดลองทางคลินิกโครงการแรกที่แสดงให้เห็นความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาเหลียนฮัว ชิงเวิน ในอาสาสมัครที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 […]
MIS–C อาการผิดปกติในเด็กหลัง หายจาก COVID-19
เมื่อเด็ก หายจาก COVID-19 ยังมีสิ่งน่ากังวลอยู่ ภาวะมิสซี MIS-C หรืออาการอักเสบในหลายระบบอย่างรุนแรง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 21 ปี ที่ หายจาก COVID-19 แล้ว ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิเป็นอย่างมาก และหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อวัยวะล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ปกครองแล้ว การรู้สาเหตุและอาการเบื้องต้น จะสามารถช่วยเฝ้าระวังและช่วยให้บุตรหลานได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที รู้จักกับ อาการอักเสบในหลายระบบอย่างรุนแรง นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า MIS-C หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children คือภาวะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกาย เช่น ปอด ไต สมอง ผิวหนัง ตา ทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด และยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ แต่จะมีอาการเกิดขึ้นหลังหายจากการติดเชื้อ COVID – 19 แล้ว เป็นภาวะที่พบไม่บ่อย และในบางคนไม่มีอาการแสดงหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย อาจเริ่มมีอาการได้ ตั้งแต่ระยะที่กำลังจะหายจากโรค หรือ ตามหลังการติดเชื้อประมาณ2-6 สัปดาห์ […]
ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังจากการ ติดเชื้อ COVID-19 (Rehab Post COVID Program)
จะฟื้นฟูร่างกายจากการ ติดเชื้อ COVID-19 อย่างไร หลัง ติดเชื้อ COVID-19 เมื่อได้รับการรักษา COVID – 19 จนหายแล้ว แต่ความรุนแรงและอาการของโรคยังหลงเหลืออยู่ ทำให้ยากต่อการกลับมาใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอุ่นใจ การได้รับการรักษาและฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น และควรได้รับการดูแลจากทีมแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ หายโควิด ร่างกายเป็นอย่างไร พญ. ประภาภรณ์ ปราชญ์พยนต์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อผู้ป่วยหายจาก COVID – 19 แล้ว จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว ในแต่ละบุคคลมีความรุนแรงของโรคขณะติดเชื้อที่แตกต่างกัน อาจจะเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง การรับรู้ ความจำ จึงทำให้วิธีการฟื้นฟูร่างกายแตกต่างกัน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถส่งผลต่อร่างกายได้ตั้งแต่หลังจากหายจากการรักษาหาย ไปถึง 1 ปี ทั้งนี้เราจึงออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังหายจาก COVID – 19 เฉพาะบุคคลให้ตรงกับปัญหาของผู้ป่วยให้มากและมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ สามารถกลับไปทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยการตรวจประเมินร่างกายจากทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องด้วยทีมกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด การฟื้นฟู ทำได้อย่างไรบ้าง […]
แพทย์ตอบทุกคำถาม เด็กกับวัคซีน mRNA
แพทย์ตอบทุกคำถาม เด็กกับวัคซีน mRNA เมื่อวัยเรียนต้องฉีด จะดีไหม เด็กกับวัคซีน mRNA ดีจริงไหม อันตรายหรือไม่ ควรตัดสินใจยังไงดี วันนี้เรามีทีมแพทย์มาไขข้อข้องใจให้กับทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้แต่ในหมู่ผู้ใหญ่การเลือกรับวัคซีนโควิด 19 ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาออกมาอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การแพทย์นั้น นับเป็นการตัดสินใจที่ค่อนข้างน่าหนักใจสำหรับหลายคน เนื่องจากต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่าง ทั้งเรื่องประเภทวัคซีน โรคประจำตัว ประโยชน์ ความเสี่ยง และอื่น ๆ มาประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจนัก หากประชาชนจะเกิดข้อสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของการรับวัคซีนโควิด19 ในกลุ่มเยาวชนวัย 12 – 18 ปี ที่กำลังทยอยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA อยู่ในขณะนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ปกครองและเยาวชนที่กำลังลังเลในการเข้ารับวัคซีน mRNA ได้มีการนำเสนอข้อมูลหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12 – 18 ปี จากกิจกรรมเสวนาออนไลน์ One Health in the Virtual Park ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) ที่จัดขึ้นมาเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง […]
เทคนิค ควบคุมตนเอง ปรับตัวทีละนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
เทคนิค ควบคุมตนเอง ปรับตัวทีละนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ควบคุมตนเอง เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่มีความรุนแรงมากกว่าระลอกก่อนๆ โดยการระบาดเริ่มจากกลุ่มคน (หลากหลายอาชีพ และทุกวัย) ที่ไปเที่ยวสถานบันเทิง แล้วกระจายไปทั้วประเทศ และแพร่ไปในชุมชนภายในเวลาอันรวดเร็ว การระบาดครั้งก่อนๆ ก็เกิดจากการเข้าไปในที่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แหล่งอบายมุข” ได้แก่ สนามมวย บ่อนการพนัน รวมทั้งสถานบันเทิงเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ง่าย เนื่องจากเป็นสถานที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กันอย่างแออัด มีการสัมผัสใกล้ชิด และมีการพูดคุยหรือส่งเสียงร้องตะโกนโดยที่ส่วนใหญ่ของผู้คนเหล่านี้พากัน “การ์ดตก” ไม่สาใจสวมหน้ากากและปฏิบัติตามหลักการป้องกันโรค การระบาดของโรคโควิดอย่างต่อเนื่องหลายระลอกในไทยและทั่วโลกในรอบปีกว่าๆ มานี้สะท้อนให้เห็นว่า การใช้ชีวิตที่ประมาท รักสนุก ปล่อยตามใจอยาก เห็นแก่ตัว ขาดวินัยและไม่รับผิดชอบ (ทั้งต่อตัวเองและสังคม) กล้าฝ่าฝืนกฎทางสังคมและกฎหมายการดูแลสุขภาพนั้น เป็นต้นเหตุสำคัญของการระบาดของโรค จากวิกฤตโรคระบาด เราก็สามารถคิดต่อไปได้ว่าในทำนองเดียวกัน วิกฤตการณ์ทางสังคมอื่นๆ ก็มีต้นตอมาจากพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างประมาทในลักษณะดังกล่าวนั่นเอง ในการพัฒนาสังคม การป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ทางสังคม จำเป็นต้องสร้างพลเมืองที่มีความตื่นรู้ และรู้จักชีชีวิตที่ไม่ประมาท ที่สำคัญคือ มีทักษะในการเอาชนะใจตนเองดังคำสอนที่ว่า “ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการชนะใจตนเอง” นอกจาก “การเอาชนะใจตนเอง (self-victory) แล้วยังมีคำสอนอีก […]
สหรัฐฯ แนะนำฉีดโมเดอร์นาให้เป็น วัคซีนกระตุ้น ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง
สหรัฐฯ แนะนำฉีดโมเดอร์นาเป็น วัคซีนกระตุ้น ให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ เอฟดีเอ แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากบริษัทโมเดอร์นา เพื่อเป็น วัคซีนกระตุ้น ให้แก่ชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง และผู้ทำงานที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องของเอฟดีเอ ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 19 ต่อ 0 เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้วัคซีนโมเดอร์นา เป็นวัคซีนกระตุ้น ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ยังคงไม่ครอบคลุมมากพอ เนื่องจากแต่ละบุคคลนั้นมีปริมาณแอนติบอดีไม่เท่ากัน แม้ว่าเอกสารของ เอฟดีเอ จะชี้ว่า การฉีดวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่สามนั้นสามารถเพิ่มปริมาณแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันโรคได้ก็ตาม ด้านบริษัทโมเดอร์นา ได้ยื่นขออนุมัติฉีดเข็มที่ 3 ในขนาด 50 ไมโครกรัม ต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ 30 ไมโครกรัม ซึ่งวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่สามนั้นจะฉีดหลังจากได้รับวัคซีนครบสองเข็มเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุข ได้รับแรงกดดันให้อนุมัติการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากที่ทำเนียบขาวประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า เตรียมเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการรออนุมัติจาก เอฟดีเอ และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ออนไลน์ บทความอื่นที่น่าสนใจ […]
หลังหมดโควิดคนจะ “ลาออก” กันมหาศาล และส่วนใหญ่อาจเป็นกลุ่มคน Gen Z
หลังหมดโควิดคนจะ “ลาออก” กันมหาศาล และส่วนใหญ่อาจเป็นกลุ่มคน Gen Z โลกของเราต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาเกือบ 2 ปี แน่นอนว่าในช่วงระยะเวลาที่ว่านี้ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่การทำงาน ที่หลายคนต้องปรับและเปลี่ยนรูปแบบกันยกใหญ่เพราะเข้าใกล้กันไม่ได้เหมือนแต่ก่อน การเดินทางเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศลดน้อยถอยลงไป หลายบริษัทใช้นโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือที่เรียกกันว่า Work from Home รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปก็ทำให้ความคิดเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน และการต้องเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศทุกวันอาจไม่ตอบโจทย์ มีผลสำรวจที่น่าสนใจจาก Bankrate ซึ่งเป็นบริษัทหางานสัญชาติอเมริกัน ที่ระบุว่า 55% ของแรงงานในสหรัฐ บอกว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะหางานใหม่ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เหตุผลที่จะลาออกนั้นก็คือการที่โควิดทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป พนักงานเริ่มชินกับวัฒนธรรมการทำงานทางไกล ที่มีเวลายืดหยุ่นมากกว่า จึงมองหาช่องทางหรือบริษัทใหม่ที่ยังรักษานโยบายการทำงานจากที่บ้านไว้ในช่วงหลังหมดโควิด อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ “ภาวะหมดไฟ” ที่เกิดจากการไม่สามารถแบ่งเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัวได้อย่างชัดเจน ทำให้ต้องหักโหมทำงานมากเกินไป และกลายเป็นการเพิ่มแรงกดดันมากขึ้นจากการทำงานด้วยตัวเอง นำมาสู่ความเครียด ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งผลให้อยากลาออก ขณะที่ผลการศึกษาจาก Adobe พบว่า ในช่วงเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว พนักงานในสหรัฐฯ กว่า 4 ล้านคนลาออกจากงาน (ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ) เป็นที่แน่ชัดว่าเทรนด์นี้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัท 35% […]
Work from Home ที่แสนสบาย อาจทำให้เราใช้เวลาทำงานกันมากขึ้น
Work from Home ที่แสนสบาย อาจทำให้เราใช้เวลาทำงานกันมากขึ้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกของเราส่งผลให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดการปรับเปลี่ยน เมื่อโควิด-19 ทำให้เกิดข้อจำกัด เราไม่สามารถมารวมกลุ่มพูดคุยหรือทำกิจกรรมกันได้เหมือนเก่า จากเดิมที่ร่วมโต๊ะกินข้าว เข้าประชุม หรือทำงานร่วมกัน ก็ต้องแยกย้ายไป Work frome Home แน่นอนว่าการทำงานจากที่บ้านจะทำให้เวลางานสามารถยืดหยุ่นได้ แต่ขณะเดียวกันองค์กรก็มีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นว่าพนักงานจะต้องพร้อมทำงานอยู่เสมอ และสำหรับหลายๆ คน เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ถูกหลอมรวมเป็นเส้นเดียวกันไปแล้ว และจากผลสำรวจของ Adobe พบว่า 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานบริษัท และ 56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระบุว่า ทุกวันนี้พวกเขาใช้เวลาทำงานยาวนานกว่าเดิม กล่าวคือ พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำงานโดยเฉลี่ย 45.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานปกติ เวลาที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นว่าพนักงานหรือผู้ประกอบการต้อง “พร้อมติดต่อได้เสมอ” แม้กระทั่งหลังเวลาเลิกงาน และเกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานบริษัท และ 3 ใน 5 ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รู้สึกกดดันที่จะต้องตอบกลับอีเมล และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหลังเวลางาน ก่อนนี้เราเคยใช้เวลาราวสองชั่วโมงต่อวัน ในการเดินทางไป-กลับที่ทำงาน แต่ตอนนี้เมื่อเราทำงานจากที่บ้าน เราใช้เวลาดังกล่าวไปกับเรื่องใดบ้าง? คำตอบที่ได้คือ […]
พบผู้ป่วย กล่องเสียงเสียหาย หลัง หายจากโควิด-19
กล่องเสียงบอบช้ำเมื่อ หายจากโควิด-19 ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่อาการรุนแรงและจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจขณะทำการรักษาเป็นเวลานาน เมื่อ หายจากโควิด-19 แล้วอาจส่งผลให้กล่องเสียงได้รับการบาดเจ็บ เกิดการบวม อักเสบ หรือมีแผลได้ เพื่อรักษากล่องเสียงที่บอบช้ำจากการรักษาจึงควรหมั่นสังเกตตนเอง เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วควรรีบพบแพทย์ทันที เกิดขึ้นได้อย่างไร แพทย์หญิงจิราวดี จัตุทะศรื แพทย์ด้านหู คอ จมูก ศูนย์หูคอจมูก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่มีการอักเสบของปอดอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว หายใจได้ยากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เพื่อช่วยในการรักษาโดยวิธีการใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal Intubation) ทางปากผ่านกล่องเสียงไปยังหลอดลม ท่อนี้จะเป็นตัวนำออกซิเจนจากเครื่องช่วยหายใจส่งไปยังปอด ช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนาน ตัวท่ออาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อภายในกล่องเสียงจนเกิดการบวม ช้ำ อักเสบ มีแผล แผลเป็น หรือบวมจนกลายเป็นเนื้องอกได้ ส่งผลให้เกิดภาวะกล่องเสียงทำงานผิดปกติไปจากเดิม อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใส่ท่อช่วยหายใจ คือ 1.ภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasm) จะเกิดขึ้นเมื่อถอดท่อช่วยหายใจออกแล้ว เป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นในทางเดินหายใจขณะที่กล้ามเนื้อของกล่องเสียงยังหย่อนตัวไม่เต็มที่จึงเกิดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียง เช่น ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าปอดได้ 2.ภาวะกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) นอกจากการใส่ท่อช่วยหายใจแล้วยังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุอื่น ๆ เชื้อโรค […]
Pfizer 3 เข็ม ดีจริง ป้องกันติดเชื้อ และป้องกันป่วยหนักได้
Pfizer 3 เข็ม ดีจริง สถิติจากกระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล เผยแล้ว ป้องกันติดเชื้อ และป้องกันป่วยหนักได้ดีกว่าการฉีด 2 เข็ม กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลเผย วัคซีนป้องกัน Covid-19 เข็มที่ 3 ของ Pfizer เพิ่มการป้องกันการติดเชื้อและอาการรุนแรงในกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเพียง 2 เข็ม ข้อมูลการศึกษาของ Gertner Institute และ KI Institute พบว่า ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปการปกป้องของวัคซีน 10 วันหลังจากฉีดเข็มที่ 3 สูงกว่าหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ถึง 4 เท่า และป้องกันอาการรุนแรงและการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้มากกว่า 5-6 เท่า ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับสถิติของ Maccabi ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขที่เป็นหนึ่งในหลายองค์กรที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อป้องกันการระบาดของสายพันธุ์เดลตาในอิสราเอล ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลประกาศว่าภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะค่อยๆ ลดลงหลังจากเวลาผ่านไป โดยชาวอิสราเอลที่ได้รับวัคซีนแล้วและมีอาการรุนแรงอยู่ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ทั้งนี้ […]
วิธีปรุงอาหาร ในช่วงโควิด-19 ทำอย่างไรสะอาดปลอดภัย ไร้เชื้อโรค
วิธีปรุงอาหาร ในช่วงโควิด-19 ทำอย่างไรสะอาดปลอดภัย ไร้เชื้อโรค ทำอาหารในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะต้องใส่ใจอะไรเป็นพิเศษ วันนี้ เรามีคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับ วิธีปรุงอาหาร ให้ไกลโรค จากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย มาบอกต่อค่ะ การสัมผัสและเตรียมอาหาร แม้ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีคนที่ติดโรคโควิด-19 จากอาหารหรือภาชนะใส่อาหารได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่เราจะติดเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวหรือสิ่งของที่มีเชื้อปะปนอยู่แล้วใช้มือนั้นสัมผัสใบหน้า โอกาสเสี่ยงที่สุดก็คือตอนที่ต้องไปใกล้ชิดกับผู้อื่นนอกบ้าน เช่น เมื่อออกไปซื้ออาหารหรือออกไปรับอาหารที่มีผู้นำมาส่งที่บ้าน (เมื่อรับอาหารที่มาส่งในพื้นที่ที่มีโรคโควิด-19 แพร่ระบาด) ดังนั้น คุณต้องรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเวลาอยู่นอกบ้าน และล้างมือบ่อย ๆ ควรรักษาสุขอนามัยเมื่อหยิบจับอาหารเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารใด ๆ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติเสมอมา บรรจุภัณฑ์ของอาหารและข้อควรระวัง ทิ้งบรรจุภัณฑ์และหีบห่อที่ไม่จำเป็นลงถังขยะที่มีฝาปิด เทอาหารออกจากกล่องลงในจานสะอาดและทิ้งกล่องอาหารลงถังขยะ เช็ดทำความสะอาดกระป๋องด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเปิดหรือเก็บ ล้างสินค้าที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อ เช่น ผักและผลไม้โดยให้น้ำไหลผ่าน ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ทันทีเมื่อเสร็จเรียบร้อย เคล็ดลับสุขอนามัยอาหาร ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาทีก่อนเตรียมอาหาร แยกเขียงสำหรับใช้หั่นเนื้อสัตว์หรือปลาดิบ ปรุงอาหารให้สุกด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม เก็บของที่เน่าเสียง่ายไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง คอยสังเกตวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร รีไซเคิลหรือกำจัดภาชนะบรรจุอาหารหรือเศษอาหารอย่างเหมาะสม สะอาด และถูกสุขอนามัย อย่าสะสมไว้มากเกินไปจนล่อสัตว์ต่าง ๆ เข้าบ้าน ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย […]
แอสตรา 1 เข็ม สุดเจ๋ง ช่วยหยุดตายจากโควิด-19 ได้ถึง 3 สายพันธุ์
แอสตรา 1 เข็ม สุดเจ๋ง ช่วยหยุดตายจากโควิด-19 ได้ถึง 3 สายพันธุ์ งานวิจัยใหม่ที่เพิ่งเปิดเผย บริษัท แอสตราเซนเนกา (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลการศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในแคนาดา แสดงประสิทธิผลของวัคซีนหลังจากฉีดเข็มแรก ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและป้องกันการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบตา/แกมมาได้ร้อยละ 82 และเดลตาได้ร้อยละ 87 ผลการวิเคราะห์จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 69,533 คน ในช่วงระหว่างเดือน ธ.ค.63- พ.ค.64 ในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในสายพันธุ์ที่ไม่น่ากังวลจำนวน 28,705 คน (6.8%) และในสายพันธุ์ที่น่ากังวลจำนวน 40,828 คน (9.7%) โดยผลการศึกษาพบว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราฯ 1 โดส มีประสิทธิผลสูงถึงร้อยละ 82 ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์บีตา และสายพันธุ์แกมมา นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา ( อินเดีย ) และสายพันธุ์อัลฟา […]
ป้องกันโรคโควิด 19 จำง่ายแค่ 10 ข้อ ขอให้ทำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
ป้องกันโรคโควิด 19 จำง่ายๆ มีแค่ 10 ข้อ ขอให้ทำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน ป้องกันโรคโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะแนวทางปฏิบัติ 10 ประการ สำหรับทุกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโควิด 19 เข้าบ้าน โดยขอย้ำให้ทุกคนปฏิบัติทันทีหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจนอกบ้าน อาทิ ทำความสะอาดรถยนต์ ถอดรองเท้านอกบ้าน ล้างมือฟอกสบู่นานไม่น้อยกว่า 20 วินาที ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือคนในบ้านก่อนอาบน้ำ เผยขณะนี้เชื้อไวรัสโควิด 19 มีการแพร่กระจายในวงกว้าง อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในขณะนี้พบว่า เชื้อมีการแพร่กระจายในวงกว้างทั่วประเทศ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 10,000 รายต่อวัน ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เร่งป้องกันควบคุมเพื่อยุติการแพร่ระบาดให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้น้อยลง ซึ่งจะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ ทั้งนี้ จากการสอบสวนโรคในผู้ที่ติดเชื้อ มีข้อสังเกตพบว่าผู้ติดเชื้อไม่สามารถระบุพิกัดหรือแหล่งของการติดเชื้อเหมือนที่ผ่านมาได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงมุ่งเน้นที่การป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสโควิดเข้าสู่บ้านเรือนที่พักอาศัยทุกประเภทให้ได้มากที่สุด เพื่อให้บ้านหรือที่พักเป็นพื้นที่ปลอดภัย ปลอดเชื้อ […]