แบคทีเรียกินเนื้อ โรคเนื้อเน่าที่ต้องระวัง

แบคทีเรียกินเนื้อ โรคเนื้อเน่า เเบคทีเรียกินเนื้อ เป็นกระเเสขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีกระแสของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (flesh-eating disease) หรือที่เรียกว่าโรคเนื้อเน่า หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า necrotizing fasciitis ในผู้ป่วยทางภาคเหนือของประเทศไทย  ข้อมูลจาก ศ.พญ. จรัสศรี ฬียาพรรณ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายไว้ดังต่อไปนี้ ทำความรู้จัก แบคทีเรียกินเนื้อ โรคแบคทีเรียกินเนื้อนั้น เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นลึก ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมัน ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก มักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือโรคตับแข็งมาก่อน  การติดเชื้อมักพบหลังประสบอุบัติเหตุทำให้เกิดแผลหรือเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อแบคทีเรีย เช่น มูลสัตว์  ขี้ดิน ขี้โคลน โดยจะมีอาการเริ่มจาก มีไข้ ปวดบวม แดงร้อนและอาการอักเสบร่วมด้วย และอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งหากได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้ สาเหตุของโรคเนื้อเน่าหรือ โรคแบคทีเรียกินเนื้อ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกัน โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคมีตั้งแต่ 1. เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่ม A (Group A streptococci)  2. เชื้อเคล็บเซลลา (Klebsiella)  3. เชื้อคลอสตริเดียม (Clostridium)  4. เชื้ออีโคไล (E. […]

The Hottest แบคทีเรียดื้อยา ภัยคุกคามมนุษยชาติ

แบคทีเรียดื้อยา ภัยคุกคามมนุษยชาติ แบคทีเรียดื้อยา ปัญหาที่ทุกคนบนโลกต้องใส่ใจ เพราะทุกวันนี้คนไทยซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียมาใช้ทั้งกับตนเอง พืช และสัตว์ โดยไม่มีมาตรการควบคุมที่รัดกุมเพียงพอจนนำไปสู่ภาวะเชื้อดื้อยา ณ ขณะนี้มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาดังกล่าวและมีทางออกอย่างไร ชีวจิต เร่งรุดไปตรวจสอบข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาเสนอเช่นเคย แบคทีเรียดื้อยา ปัญหาของมนุษยชาติ เมื่อปี ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเชื้อ แบคทีเรียดื้อยา และยอมรับว่าปัญหานี้คือปัญหาหลักที่คุกคามสุขภาพของมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันหนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ในปีค.ศ.2013 องค์การอนามัยโลกแจ้งตัวเลขประมาณการว่า ร้อยละ 20.5ของผู้ป่วยวัณโรคเดิม และร้อยละ 3.5 ของผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยา หรือ Multidrug-resistant Tuberculosis (MDR-TB) เชื้อชนิดนี้ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง เนื่องจากยาต้านแบคทีเรียที่ใช้อยู่เริ่มใช้กับเชื้อดังกล่าวไม่ได้ผล และมีการรายงานว่าพบปัญหาเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นอกจากเชื้อวัณโรคดื้อยาแล้วยังมีปัญหาเชื้อ แบคทีเรียดื้อยา ชนิดอื่น ๆ อีก เช่น เชื้อ Neisseria gonorrhoeae ที่ทำให้เกิดโรคหนองในเชื้อ Staphylococcus ที่ทำให้เกิดฝีการติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดบวม อาหารเป็นพิษ เป็นต้น ที่ผ่านมาการติดเชื้อในโรงพยาบาลจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานต้องเสียชีวิตในที่สุด มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง นายแพทย์เคอิจิ ฟุกุดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหลักประกันสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า “หากไม่มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคเพื่อปรับปรุงการป้องกันการติดเชื้อ เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต การสั่งจ่ายยา และการใช้ยาเกิน โลกจะเข้าสู่ ‘ยุคหลังยาต้านแบคทีเรีย’ (Post-antibiotic Era) ซึ่งหมายถึง จากที่เคยรักษาการติดเชื้อธรรมดาๆ หรือการมีแผลเปิดเพียงเล็กน้อยด้วยยาต้านแบคทีเรียได้ ซึ่งใช้ได้ผลดีมานานหลายทศวรรษ กลายเป็นไม่สามารถจัดการเชื้อโรคเหล่านี้ได้และเชื้อโรคจะหวนกลับมาคร่าชีวิตมนุษย์อีกครั้ง” รับทราบสถานการณ์ปัญหานี้ในระดับโลกไปแล้ว เรามาดูสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศกันบ้างดีกว่าครับ สถานการณ์เชื้อ แบคทีเรียดื้อยา ในประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กำธร มาลาธรรม ประธานคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มต้นอธิบายว่า “คำว่าซูเปอร์บั๊ก (Superbug) หมายถึงเชื้อที่ดื้อยารุนแรง ถึงจะเปลี่ยนชนิดยาก็ได้ผลการรักษาไม่ค่อยดี ขณะนี้เชื้อดื้อยาในบ้านเราคือเชื้อแบคทีเรียเอบอม (A-bomb : Acinetobacter baumannii) ซึ่งยาตัวใหม่ ๆ ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยังฆ่าเชื้อไม่ได้ ตามมาด้วยเชื้อแบคทีเรียอีกตัวหนึ่งชื่อเอ็นดีเอ็ม - วัน (NDM-1 :New Delhi Metallo-beta-lactamase-1) “ทุกวันนี้ปัญหาเชื้อเอบอมที่เราพบในโรง-พยาบาลก็หนักอยู่แล้ว ส่วนเอ็นดีเอ็ม-วันก็พบเพิ่มขึ้น ๆ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เชื้อเอ็นดีเอ็ม-วัน จะทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้นอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นปัญหาหนักเหมือนกับเชื้อเอบอมทุกวันนี้” นายแพทย์กำธรเชื่อมโยงถึงการหาทางออกในระดับโลกว่า ในปี ค.ศ. 2010 หน่วยงานระดับสากล เช่น องค์การอนามัยโลก สมาคมโรคติดเชื้อ ประเทศสหรัฐอเมริกา และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหภาพยุโรป ได้ทำงานร่วมกัน โดยประกาศโครงการ Bad Bugs Need Drugs 10 X 20: Ten New Antibiotics by 2020 ซึ่งหมายถึงการคิดค้นยาต้านแบคทีเรียชนิดใหม่อีก 10 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020 ทว่าในปัจจุบันแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนแนวหน้าในสมรภูมิต่อสู้กับเชื้อดื้อยาแทบไม่มีอาวุธใหม่ ๆ ให้เลือกใช้เลย ซึ่งนายแพทย์กำธรแสดงความเป็นห่วงว่า “เราต้องยอมรับว่า ณ ขณะนี้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ได้ผลลดจำนวนลงเรื่อย ๆดูได้จากจำนวนยาต้านแบคทีเรียที่องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศให้ใช้ทุก ๆ 5 ปีนั้นลดลงครึ่งหนึ่งทุกรอบ เช่น ปี ค.ศ. 1980 มีเป็น 10 ชนิดเลยพอปี ค.ศ. 1985  เหลือ 5 ชนิด  พอปี ค.ศ. 1990 ก็ลดลงไปอีก ปัจจุบันนี้เรามียาแค่ 3 ชนิดเอง เหลือเวลาอีก 5 ปีจะคิดค้นยาใหม่ ๆ ได้ตามเป้าหมายนั้นไหม ผมคิดว่าค่อนข้างยากนะครับ” ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเชื้อ แบคทีเรียดื้อยา ที่พบมี 2 ข้อ ดังนี้ • มาตรการควบคุมไม่รัดกุมพอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเสริมถึงปัจจัยที่ทำให้ปัญหานี้ในประเทศไทยมีช่องโหว่และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ว่า “เหตุที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยาทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการใช้ยาต้านแบคทีเรียในคนมากเกินความจำเป็น อีกทั้งมีการขายยาต้านแบคทีเรียโดยไม่มีการควบคุม จึงซื้อขายยาได้ง่ายและไม่มีการตรวจสอบติดตามที่มาที่ไปของยา (Drug Tracing) ที่รัดกุม “จากการลงพื้นที่สำรวจของเราทำให้ทราบว่า เพียงชาวบ้านเดินไปร้านชำหน้าปากซอย ซึ่งไม่ใช่ร้านขายยาโดยตรง เขาก็สามารถซื้อยาต้านแบคทีเรียได้แล้วขณะที่ในต่างประเทศ ยาเหล่านี้ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีใบสั่งยากำกับทุกครั้ง” • ประชาชนขาดความรู้เรื่องการใช้ยา ต่อมานายแพทย์กำธรอธิบายถึงความรุนแรงของปัญหานี้และสถานการณ์ในประเทศไทยว่า “ทุกวันนี้คนไทยใช้ยาเกินความจำเป็น เช่น เมื่อเป็นหวัดและรู้สึกเจ็บคอก็ไปร้านขายยาเพื่อซื้อ ‘ยาแก้อักเสบ’ ซึ่งก็คือยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียมากิน ทั้งที่จริง ๆ แล้วอาการเจ็บป่วยเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านแบคทีเรียเลย” […]

ฟองน้ำล้างจาน ทำความสะอาดอย่างไร ให้ห่างไกลแบคทีเรีย

รู้หรือไม่ ฟองน้ำแผ่นเล็กๆ ที่เราหยิบใช้อยู่ทุกวัน คือแหล่งสะสมแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างนั้นเรามา ขจัดเแบคทีเรียในฟองน้ำ กันดีกว่า

keyboard_arrow_up