เบาหวาน
เบาหวาน คืออะไร
เบาหวาน คือภาวะที่ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
คุณหมอ (ดร.ณิชมน สมันตรัฐ) จะอธิบายให้ละเอียดดังนี้คือ เวลาเรากินของหวานเข้าไป น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่สั่งการให้กลูโคสเข้าไปช่วยเซลล์ต่างๆ ทำงานอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อไรที่อินซูลินหลั่งออกมาไม่เพียงพอจะเรียกภาวะนั้นว่า “การขาดอินซูลิน” ซึ่งส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพราะควบคุมไม่ได้ หรือในทางการแพทย์เรียกว่า “Insulin Dependent”
การวินิจฉัย โรคเบาหวาน ในอดีตทำโดย การเจาะเลือดดูค่าน้ำตาลและสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว เพื่อประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้แบ่งโรคเบาหวานเป็น 2 แบบ คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Immune-Mediated Type 1)
คือภาวะที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย การทำงานของเซลล์ตับอ่อนจึงค่อยๆ ลดลง นอกจากนั้นยังพบอาการต่อต้านอินซูลิน และภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย อันเนื่องมาจากเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินถูกทำลายนั่นเอง จากสถิติพบโรคเบาหวานประเภทนี้ในเด็กและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน
อาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนหยุดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes, Non Insulin Dependent Type 2)
เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือบางคนมีภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย และร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดนี้จึงมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคอ้วนโรคไขมันพอกตับ มักพบในผู้ป่วยอายุ 40 ขึ้นไป และเป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด
วิธีธรรมชาติในการบำบัดรักษาโรคเบาหวานนั้นทำได้มากกว่าการดูค่าน้ำตาลในเลือดหรือแนวโน้มการเป็นเบาหวาน โดยเราสามารถพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของการเป็นเบาหวานร่วมด้วย
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet Diabetes and Endocrinology Journal เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยดูจากสาเหตุของโรคและไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เช่น อายุ น้ำหนัก รวมถึงแอนติบอดี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง และสรุปผลการวิจัยโดยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานแบบใหม่เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Severe Autoimmune Diabetes (SAID)
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดการอักเสบ (Mistake) ของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติ แพทย์ต้องสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก และพบได้ประมาณร้อยละ 6.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2. Severe Insulin-Deficient Diabetes (SIDD)
เป็นโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 18
3. Severe Insulin–Resistant Diabetes (SIRD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้เรียกว่า “Blood Sugar Insulin Resistant” ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุงน้ำหนักเกิน ไตเสื่อม ไขมันพอกตับ พบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด
4. Mild-Obesity-Related Diabetes (MOD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากความอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่า BMI (Body Mass Index) ค่ามาตรฐานของคนเอเชียคือ 23 เบาหวานประเภทนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ผิด เช่นกินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย พบได้ประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน
5. Mild-Age Related Diabetes (MARD)
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระบบเผาผลาญที่เสื่อมลง ทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี สังเกตจากคนสูงอายุมักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 39
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet Diabetes and Endocrinology Journal เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยดูจากสาเหตุของโรคและไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เช่น อายุ น้ำหนัก รวมถึงแอนติบอดี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง และสรุปผลการวิจัยโดยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานแบบใหม่เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Severe Autoimmune Diabetes (SAID)
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดการอักเสบ (Mistake) ของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติ แพทย์ต้องสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก และพบได้ประมาณร้อยละ 6.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2. Severe Insulin-Deficient Diabetes (SIDD)
เป็นโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 18
3. Severe Insulin–Resistant Diabetes (SIRD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้เรียกว่า “Blood Sugar Insulin Resistant” ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุงน้ำหนักเกิน ไตเสื่อม ไขมันพอกตับ พบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด
4. Mild-Obesity-Related Diabetes (MOD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากความอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่า BMI (Body Mass Index) ค่ามาตรฐานของคนเอเชียคือ 23 เบาหวานประเภทนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ผิด เช่นกินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย พบได้ประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน
5. Mild-Age Related Diabetes (MARD)
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระบบเผาผลาญที่เสื่อมลง ทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี สังเกตจากคนสูงอายุมักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 39
การรักษาโรคเบาหวานตามแนวทางธรรมชาติบำบัดนั้น เราจะวินิจฉัยโรคเบาหวานจากกระบวนการเกิดโรคโดยรวม ไม่ใช่ดูที่ปลายเหตุหรือค่าน้ำตาลที่ขึ้นสูงเท่านั้น
ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมทั้งหมดทั้งเรื่องการกินอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และพยายามไม่เครียด
จาก คอลัมน์ ธรรมชาติบำบัดกับ Dr.Nicha นิตยสารชีวจิต ฉบับ 482
เบาหวาน คุมอยู่! ด้วยเทคนิคออกกำลังกายคุมน้ำตาลในเลือด
เบาหวาน จะไม่น่ากลัวอีกต่อไป ถ้ารู้จักออกกำลังกาย เบาหวาน เห็นชื่อหวานๆ แต่ร้ายนะจ๊ะ เพราะร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะไม่สามารถผลิตหรือนําฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีหน้าที่นําน้ำตาลไปให้ร่างกายใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่ จึงทําให้เกิดโรคเบาหวานหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคเบาหวานขึ้นจอตาและไตวาย เราสามารถเช็กอาการผิดปกติที่เกิดจากโรคเบาหวาน ได้ดังนี้ 1.เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย 2.ผิวหนังแห้งและคัน 3.มีความอยากอาหารมากขึ้น 4.แผลหายช้า 5.กระหายน้ำบ่อย 6.ครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนเป็นไข้ 7.ปัสสาวะบ่อย 8.ปวดศีรษะ 9.ตาพร่ามัว ทั้งนี้ คุณกาญจนา พันธรักษ์ หรือครูกาญจน์ อดีตนักกรีฑาทีมชาติชุดซีเกมส์ถึงสองสมัย มีประสบการณ์อยู่ในวงการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายตลอดมา ทั้งฟิตเนสและโยคะ แนะนำว่า เราสามารถเยียวยาโรคเบาหวานด้วยการกินยา ควบคุมอาหาร และออกกําลังกาย เนื่องจากการออกกําลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อดึงน้ำตาลในกระแสเลือดมาสร้างเป็นไกลโคเจน (Glycogen) โดยพบว่า หลังการออกกําลังกาย 24 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง และอินซูลินก็ทํางานดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การออกกําลังกายยังช่วยลดปริมาณไขมันสะสมในตับจึงลดภาวะดื้ออินซูลินได้ แต่จะออกกําลังกายอย่างไร ประเภทไหนดี ครูกาญจน์มีคําแนะนํามาฝาก ออกกำลังกาย ลดน้ำตาลในเลือด การเตรียมตัว ควรคํานวณหาชีพจรในการออกกําลังกายที่เหมาะสม […]
ไขความจริง จากความเชื่อ (ผิดๆ) เกี่ยวกับ โรค เบาหวาน
ชีวจิต จึงคัดสรรแง่มุมพิเศษๆ ของโรค เบาหวาน มาฝากกัน เป็นเรื่องความเชื่อและความจริงของโรคจากความเชื่อ (ผิดๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกท่านต้องบอกว่าไม่น่าเชื่อ
5 เทคนิคลดขม ปรุงมะระ ให้กินง่าย อร่อยนาน
ปรุงมะระ อย่างไรให้ไม่ขม บางคนอาจจะรู้สึกขมในปากขึ้นมาทันที “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” คุณประโยชน์ของมะระเป็นอาหารแสนอร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณและวิตามินอีกมากมาย
7 สมุนไพร ล้างพิษ ทำง่ายได้ผล ประหยัดตังค์
สมุนไพร ล้างพิษ ทำง่ายได้ผลจริง สมุนไพร ล้างพิษ ไอเท็มสำคัญที่คนในยุคนี้ต้องลอง เรามีมาเเนะนำทั้งหมด 7 สูตร สำหรับใช้ล้างพิษได้ตั้งเเต่หัวจรดเท้า มีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย 1. สมอไทย: ล้างพิษในลำไส้ ระบบขับถ่าย วิธีกิน : ต้มเดือดสมอไทย 5-10 ผล ประมาณ 15 นาที เติมน้ำตาล 1 ช้อนชา เกลือ 1ช้อนชา ดื่มก่อนนอน 2.ใบย่านาง: ขับพิษความร้อนจากภายใน วิธีกิน : ปั่นใบย่านาง 1 กำมือ กับน้ำต้มสุก 2 ถ้วย แล้วกรอง ดื่มปริมาณ 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหาร หรือทุกๆ 4 ชั่วโมง << อ่านต่อหน้าที่ 2 […]
สมุนไพร 6 สี ตัวเเม่ แก้โรคเรื้อรัง ในยุคอินเทรนด์ 2018
สมุนไพร 6 สี แก้โรคเรื้อรัง ในยุคอินเทรนด์ 2018 สมุนไพร เเต่ละชนิดมีสี (พฤกษเคมี) ที่สวยงาม เเต่เชื่อหรือไม่ว่า ภายใต้สีเหล่านั้น แฝงด้วยประโยชน์มากมาย ที่สำคัญคือ ช่วยแอนติออกซิเเดนท์ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ดีด้วย ลองมาดูกันเลยครับ 1. สีเหลือง สมุนไพรที่มีสีเหลือง เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไพล และฟักทอง ซึ่งมีสารลูทีน (Lutein) และแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) สูง สรรพคุณ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ บำรุงสายตา 2. สีแดง สมุนไพรที่มีสีแดง เช่น กระเจี๊ยบแดง ฝาง ทับทิม พริก ฟักข้าว และหอมแดง ซึ่งมีสารไคโคปีน (Lycopene) และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สูง สรรพคุณ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดปริมาณไขมันเลว LDL 3. […]
ประสบการณ์สุขภาพ หยุดทรมานจาก เบาหวาน เรื้อรัง (20ปี) ด้วยวิธีแบบชีวจิต
เป็น เบาหวาน ตั้งแต่อายุ 40 ปี รักษาด้วยการกินยาควบคุมระดับน้ำตาลมาตลอด ไม่ได้สนใจมันมากนัก กระทั้งเมื่อปี 42 เกิดปวดขา ขาจะชา ถ้าเจ็บไม่มากก็ไม่รู้สึก
สูตรยาแช่เท้า แก้อาการชาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน จะมีอาการชาปลายมือปลายเท้า ต้องระวัง โดยเฉพาะการเดินเท้าเปล่า ไปเหยียบโน่นนี่ จนทำให้เกิดบาดแผล ยิ่งทำให้การรักษายาก
ฉลาดใช้ เครื่องปรุงรส ลดเสี่ยงมะเร็ง เบาหวาน ความดัน
เครื่องปรุงรส สารพัดชนิด เช่น น้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชู พริกป่น เป็นตัวชูรสชั้นดี แต่หากใส่จนเกินพอดี อาหารรสจัดถูกใจอาจแฝงมาพร้อมกับสารพัดโรคร้าย
น้ำผึ้งรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ
มีผู้อ่านรายหนึ่งเจอข้อมูลบนโลกออนไลน์โดยมีเนื้อหาประมาณว่า น้ำผึ้งรักษาเบาหวาน ได้ จึงเกิดความสงสัยว่ารักษาได้จริงหรือไม่ โดยวิธีใด