เบาหวานขึ้นจอตา
เบาหวานขึ้นจอตา สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง ตาม 8 ข้อนี้
เบาหวานขึ้นจอตา สาเหตุสําคัญของการสูญเสียการมองเห็นเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ดังนั้น มาเช็คตัวเองก่อนสายเกินแก้ดีกว่า
ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อธิบายว่า “โรคเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy, DR) เป็น สาเหตุสําคัญของการสูญเสียการมองเห็นเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก และผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และอาจเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์ตามระยะเวลา ที่ป่วยเป็นเบาหวาน”
หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดระดับน้ำตาลในเลือดและดวงตามีความสัมพันธ์กันเช่นนี้ ศูนย์จอตา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลว่า
“หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติแม้เพียงเล็กน้อยเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายเสื่อม โดยเฉพาะหลอดเลือดฝอยภายในจอตา ซึ่งจะทําให้ของเหลว เลือด และไขมันภายในจอตารั่วซึมออกมา เกิดเป็นภาวะเบาหวานขึ้นจอตา โดยเบื้องต้นจะทําให้จอตาบวมและเริ่มมองเห็นไม่ชัด
“นานวันเข้าจะเกิดการอุดตันของหลอดเลือด เกิดภาวะจอตาขาดเลือด นําไปสู่การสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่ (Neovascularization) ซึ่งมีลักษณะเปราะและแตกง่าย เพิ่มโอกาสให้หลอดเลือดแตกซ้ำทําให้ เลือดออกบดบังจอตาเพิ่ม และเกิดพังผืดดึงรั้งจอตาจนเกิดการฉีกขาด และจอตาหลุดลอก ภาพที่เห็นจึงมัวยิ่งขึ้น
“ทั้งนี้ อาการตามัวยังอาจเกิดจากการบวมบริเวณจุดภาพชัด (Macular Edema) ซึ่งเป็นบริเวณสําคัญใช้ในการมองภาพ จึงส่งผลต่อการมองเห็นอย่างมาก และอาจทําให้หลอดเลือดบริเวณจุดภาพชัด อุดตันในเวลาต่อมา ส่งผลให้เกิดภาวะจุดภาพชัดขาดเลือด (Macular Ischemia) จนผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นในที่สุด”
วิธีตรวจเช็กดวงตาก่อนจะสาย
อ่านต่อหน้า 2

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ในเบื้องต้นจะทําให้จอตาบวมและเริ่มมองเห็นไม่ชัด
Check Now!! ตรวจเช็กดวงตาก่อนสายเกิน
แค่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็ทําให้ตาบอดได้ ดังนั้น เราควรเช็กสุขภาพตา เพื่อลดความเสี่ยงเบาหวานขึ้นจอตากันตั้งแต่เนิ่นๆ ตามวิธีที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ ได้แนะนําในหนังสือโรคของดวงตา สํานักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ดังนี้
-เริ่มตามัว
-มองเห็นภาพไม่ชัด
-เห็นภาพแคบลง
-เห็นภาพเป็นวง
-เห็นแสงวาบ
-อ่านหนังสือลําบาก
-มีจุดดําลอยไปมาในลูกตาเป็นจํานวนมาก
-มีอาการปวดตาเกิน 1-2 วัน
หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที และผู้ป่วยเบาหวานควรเข้ารับการตรวจจอตาทุกๆ 6 เดือน เพื่อจะได้รักษาโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างทันท่วงที
บทความอื่นที่น่าสนใจ
5 โรคเบาหวาน ที่คุณควรรู้ เป็นหรือเปล่า
รองเท้าสุขภาพ เพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน
หัวเราะบำบัด ปรับสมดุลอารมณ์ ลดเครียด ลดเบาหวาน
สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่







เมื่อวัยเด็ก วัยทำงาน อาจเสี่ยง เบาหวานขึ้นจอตา โดยไม่รู้ตัว
เบาหวานขึ้นจอตา ในคนอายุน้อยลง เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ หรือการ Work From Home นั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่บ้านนาน ๆ รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป แล้วขาดการออกกำลังกาย อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้โดยไม่รู้ตัวและอาจมีโรคแอบแฝงที่เป็นอันตรายได้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงดวงตา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 25 เท่า ถ้า เบาหวานขึ้นจอตา การรู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เบาหวานกับดวงตา พญ.วีรยา พิมลรัฐ จักษุแพทย์ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กเพิ่มมากขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นในเด็ก โดยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ในวัยรุ่นก็พบได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย เพราะเด็กมักจะมีพฤติกรรมนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ แทนการวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬามากขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมถึงดวงตา ได้แก่ กล้ามเนื้อตา เลนส์ตา ขั้วประสาทตา […]
เบาหวานขึ้นจอตา กำเริบหนัก… เสี่ยงตาบอด!!
คุณหมอจุฑาไลตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากคุณตรวจสอบตนเองแล้วพบว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวครบทั้งสามข้อ คุณมีความเสี่ยงมากที่จะมีอาการ เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) โดยอาการ เบาหวานขึ้นจอตา เกิดได้ในหลายลักษณะ คุณหมอจุฑาไลอธิบายไว้ดังนี้“ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายเสื่อม รวมถึงหลอดเลือดฝอยที่ดวงตาด้วย โดยเมื่อเส้นเลือดฝอยบางเส้นในดวงตาเสื่อมลงมาก ๆ จะมีน้ำหรือเลือดซึมออกมากลายเป็นภาวะจอตาบวมน้ำหรือมีเลือดออกในดวงตาได้ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้สึก อีกทั้งมองไม่เห็นจากภายนอก ต้องส่องด้วยเครื่องมือเฉพาะของแพทย์จึงจะเห็นว่า มีจุดเลือดเล็ก ๆ อยู่ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะเกิดภาวะเลือดออกในวุ้นตาและภาวะจอตาหลุดลอก ซึ่งจะมีอันตรายตามมา” เมื่อสอบถามถึงอาการบ่งชี้ที่ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการคุณหมอจุฑาไลชี้ว่า“คนไข้มักมาพบแพทย์ด้วยอาการเดียวกันคือ ‘ตามัว’ เพียงแต่จะมัวในระดับที่แตกต่างกัน โดยหากมีอาการจอตาบวมก็แค่มองเห็นในระดับที่มัวลงไม่มาก แต่หากมีอาการเลือดออกในวุ้นตาหรือจอตาลอกจะมองเห็นในระดับที่มัวลงมาก จนบางรายถึงขั้นมองไม่เห็นนิ้วมือตัวเอง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะตาบอด” โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตานั้น มี 2 ปัจจัยสำคัญ 1. ระยะการป่วยเป็นโรคเบาหวาน นายแพทย์ณวัฒน์ วัฒนชัย อธิบายไว้ในหนังสือ ตาดีได้ ตาร้ายไม่เสีย ว่า เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวานนาน 5 ปี จะมีโอกาสพบอาการเบาหวานขึ้นจอตาทั้งในระดับอาการที่รุนแรงและไม่รุนแรงประมาณร้อยละ 20 โดยความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 80 เมื่อป่วยด้วยโรคนี้เกิน 15 ปี 2. ความสามารถในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด […]
8 สัญญาณเบาหวานขึ้นจอตา
เบาหวานขึ้นจอตา สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง ตาม 8 ข้อนี้ เบาหวานขึ้นจอตา สาเหตุสําคัญของการสูญเสียการมองเห็นเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ดังนั้น มาเช็คตัวเองก่อนสายเกินแก้ดีกว่า ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อธิบายว่า “โรคเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy, DR) เป็น สาเหตุสําคัญของการสูญเสียการมองเห็นเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก และผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และอาจเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์ตามระยะเวลา ที่ป่วยเป็นเบาหวาน” หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดระดับน้ำตาลในเลือดและดวงตามีความสัมพันธ์กันเช่นนี้ ศูนย์จอตา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลว่า “หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติแม้เพียงเล็กน้อยเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายเสื่อม โดยเฉพาะหลอดเลือดฝอยภายในจอตา ซึ่งจะทําให้ของเหลว เลือด และไขมันภายในจอตารั่วซึมออกมา เกิดเป็นภาวะเบาหวานขึ้นจอตา โดยเบื้องต้นจะทําให้จอตาบวมและเริ่มมองเห็นไม่ชัด “นานวันเข้าจะเกิดการอุดตันของหลอดเลือด เกิดภาวะจอตาขาดเลือด นําไปสู่การสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่ (Neovascularization) ซึ่งมีลักษณะเปราะและแตกง่าย เพิ่มโอกาสให้หลอดเลือดแตกซ้ำทําให้ เลือดออกบดบังจอตาเพิ่ม และเกิดพังผืดดึงรั้งจอตาจนเกิดการฉีกขาด และจอตาหลุดลอก ภาพที่เห็นจึงมัวยิ่งขึ้น […]