เบาหวาน
เบาหวาน คืออะไร
เบาหวาน คือภาวะที่ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
คุณหมอ (ดร.ณิชมน สมันตรัฐ) จะอธิบายให้ละเอียดดังนี้คือ เวลาเรากินของหวานเข้าไป น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่สั่งการให้กลูโคสเข้าไปช่วยเซลล์ต่างๆ ทำงานอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อไรที่อินซูลินหลั่งออกมาไม่เพียงพอจะเรียกภาวะนั้นว่า “การขาดอินซูลิน” ซึ่งส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพราะควบคุมไม่ได้ หรือในทางการแพทย์เรียกว่า “Insulin Dependent”
การวินิจฉัย โรคเบาหวาน ในอดีตทำโดย การเจาะเลือดดูค่าน้ำตาลและสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว เพื่อประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้แบ่งโรคเบาหวานเป็น 2 แบบ คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Immune-Mediated Type 1)
คือภาวะที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย การทำงานของเซลล์ตับอ่อนจึงค่อยๆ ลดลง นอกจากนั้นยังพบอาการต่อต้านอินซูลิน และภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย อันเนื่องมาจากเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินถูกทำลายนั่นเอง จากสถิติพบโรคเบาหวานประเภทนี้ในเด็กและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน
อาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนหยุดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes, Non Insulin Dependent Type 2)
เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือบางคนมีภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย และร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดนี้จึงมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคอ้วนโรคไขมันพอกตับ มักพบในผู้ป่วยอายุ 40 ขึ้นไป และเป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด
วิธีธรรมชาติในการบำบัดรักษาโรคเบาหวานนั้นทำได้มากกว่าการดูค่าน้ำตาลในเลือดหรือแนวโน้มการเป็นเบาหวาน โดยเราสามารถพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของการเป็นเบาหวานร่วมด้วย
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet Diabetes and Endocrinology Journal เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยดูจากสาเหตุของโรคและไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เช่น อายุ น้ำหนัก รวมถึงแอนติบอดี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง และสรุปผลการวิจัยโดยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานแบบใหม่เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Severe Autoimmune Diabetes (SAID)
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดการอักเสบ (Mistake) ของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติ แพทย์ต้องสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก และพบได้ประมาณร้อยละ 6.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2. Severe Insulin-Deficient Diabetes (SIDD)
เป็นโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 18
3. Severe Insulin–Resistant Diabetes (SIRD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้เรียกว่า “Blood Sugar Insulin Resistant” ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุงน้ำหนักเกิน ไตเสื่อม ไขมันพอกตับ พบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด
4. Mild-Obesity-Related Diabetes (MOD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากความอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่า BMI (Body Mass Index) ค่ามาตรฐานของคนเอเชียคือ 23 เบาหวานประเภทนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ผิด เช่นกินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย พบได้ประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน
5. Mild-Age Related Diabetes (MARD)
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระบบเผาผลาญที่เสื่อมลง ทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี สังเกตจากคนสูงอายุมักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 39
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet Diabetes and Endocrinology Journal เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยดูจากสาเหตุของโรคและไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เช่น อายุ น้ำหนัก รวมถึงแอนติบอดี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง และสรุปผลการวิจัยโดยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานแบบใหม่เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Severe Autoimmune Diabetes (SAID)
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดการอักเสบ (Mistake) ของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติ แพทย์ต้องสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก และพบได้ประมาณร้อยละ 6.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2. Severe Insulin-Deficient Diabetes (SIDD)
เป็นโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 18
3. Severe Insulin–Resistant Diabetes (SIRD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้เรียกว่า “Blood Sugar Insulin Resistant” ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุงน้ำหนักเกิน ไตเสื่อม ไขมันพอกตับ พบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด
4. Mild-Obesity-Related Diabetes (MOD)
โรคเบาหวานที่เกิดจากความอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่า BMI (Body Mass Index) ค่ามาตรฐานของคนเอเชียคือ 23 เบาหวานประเภทนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ผิด เช่นกินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย พบได้ประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน
5. Mild-Age Related Diabetes (MARD)
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระบบเผาผลาญที่เสื่อมลง ทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี สังเกตจากคนสูงอายุมักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 39
การรักษาโรคเบาหวานตามแนวทางธรรมชาติบำบัดนั้น เราจะวินิจฉัยโรคเบาหวานจากกระบวนการเกิดโรคโดยรวม ไม่ใช่ดูที่ปลายเหตุหรือค่าน้ำตาลที่ขึ้นสูงเท่านั้น
ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมทั้งหมดทั้งเรื่องการกินอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และพยายามไม่เครียด
จาก คอลัมน์ ธรรมชาติบำบัดกับ Dr.Nicha นิตยสารชีวจิต ฉบับ 482
กินสร้างสมดุลอินซูลิน ลดน้ำตาลในเลือด เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน
เคล็ดลับกิน ลดน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลอินซูลิน ผู้เขียนจะพามาทำความรู้จักกับอินซูลินให้มากขึ้น ทำความเข้าใจหน้าที่ของฮอร์โมนผู้กุมชะตาชีวิต พร้อมแนะวิธีกินและใช้ชีวิตเพื่อให้ฮอร์โมนอินซูลินไม่ตีจาก จะได้อยู่กับร่างกายตราบนานเท่านาน เป็นแนวทาง ลดน้ำตาลในเลือด ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน อินซูลิน คือรถขนอาหารคันใหญ่ อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ผลิตจากตับอ่อน ทำงานเกี่ยวข้องกับสารอาหารหลักของร่างกาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน มีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย ฮอร์โมนอินซูลินทำหน้าที่คล้ายรถขนส่งอาหาร ซึ่งพร้อมออกปฏิบัติการทุกครั้งเมื่อมีอาหารส่งมาถึงกระแสเลือด โดยหลังจากกินอาหารและผ่านการย่อย น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่ลำไส้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณกระตุ้นให้ตับอ่อนรีบปล่อยอินซูลินออกมาเพื่อจัดการรวบรวมน้ำตาลที่กำลังลอยล่องอยู่ในกระแสเลือด แล้วตระเวนส่งน้ำตาลให้กับเซลล์ในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เมื่อน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ จะเผาผลาญเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์ต่างๆ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรองที่เรียกว่าไกลโคเจน (glycogen) เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ สำรองไว้ใช้ระหว่างมื้ออาหารแต่หากน้ำตาลยังเหลือ เซลล์ต่างๆก็อิ่มแล้ว แถมตู้เสบียงเก็บพลังงานสำรองก็เต็ม ตับอ่อนคงถอนใจเฮือกใหญ่ เพราะต้องส่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาพาน้ำตาลไปเคาะประตูบ้านเซลล์ต่างๆอีกครั้ง เพื่อจัดการแปลงโฉมน้ำตาลเสียใหม่ให้กลายเป็นไขมัน แล้วฝากแปะติดไว้กับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ทีนี้หลายคนคงคิดว่าจบงานแล้ว ตับอ่อนคงได้พักเสียที แต่เปล่าเลย หากปากเรายังขยับ กินอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงอย่างต่อเนื่อง กินหวานจนเคยชิน น้ำตาลจะถูกเติมเข้าสู่กระแสเลือดเรื่อยๆ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับอ่อนจะพยายามผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้น เพื่อพาน้ำตาลออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ ยิ่งเติมน้ำตาลให้ร่างกายมากเท่าไร ตับอ่อน ก็ยิ่งทำงานหนักขึ้น และอาจทำงานหนัก เช่นนี้เป็นแรมปีจนเกิดอาการล้า ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอสุดท้ายจึงจำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนอินซูลินจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายแทน กินถนอมตับอ่อน […]
สมุนไพรควบคุมน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พร้อมคำแนะนำการกิน
สมุนไพรควบคุมน้ำตาล กินอย่างไรถึงปลอดภัย บรรเทาโรค ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน อีกทั้งยังต้องดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญ ควรควบคุมปริมาณอาหารหรือเลือกกินอาหารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างพืชสมุนไพร คุณกรรณิการ์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรและคลุกคลีอยู่ในวงการสมุนไพรอย่างยาวนาน ได้แนะนำ สมุนไพรควบคุมน้ำตาล ไว้ดังนี้ มะระขึ้นก สมุนไพรรสขมที่มีสาร Plain Insulin ตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารพี่อินซูลิน (P-Insulin) สารคาแรนติน (Charantin) และสารวิซีน (Vicine) ออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลินที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ โดยทำหน้าที่ดึงนำตาลจากกระแสเลือดออกมาสร้างเป็นพลังงานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับ ทั้งในสัตว์ทดลองและในผู้ป่วยเบาหวาน ยืนยันว่า สารคาแรนตินที่พบในมะระขึ้นกสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง โดยใช้มะระขึ้นกขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจากการติดตามผลไม่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงและไม่พบความเป็นพิษต่อตับ ฉะนั้นสามารถใช้มะระขี้นกเป็นอาหารหรือยาในการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างปลอดภัย คำเตือน: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือผู้ที่ต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ไกลพิไซด์โทลบูตาไมค์ ไกลเบนคลาไมด์ ไพโอกลิตาโซน เป็นต้น ควรระมัดระวังในการกิน เนื่องจากจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจต้องปรับปริมาณยาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด อบเชย ในต่างประเทศนิยมใช้อบเชยเป็นส่วนผสมในขนม […]
5 โรค ที่เกิดขึ้นจากภาวะ ดื้ออินซูลิน
5 โรคร้าย จากภาวะ ดื้ออินซูลิน ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าถ้าร่างกายเกิดดื้ออินซูลิน จะเกิดโรคอะไรขึ้นมานั้น เราไปทำความเข้าใจกับอาการนี้กันก่อนค่ะ ดื้ออินซูลินคือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ทำให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากกว่าปกติ โดยภาวะดื้ออินซูลินนี้มักเกิดเพราะ พันธุกรรม โรคอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ส่วนจะทำให้เกิดอโรคอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ โรคเบาหวานจากภาระดื้ออินซูลิน มักเกิดขึ้นช้าๆ โดยในระยะแรกเมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลินตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น เมื่อผ่านไปเป็นเวลานานหลายปีตับอ่อนจะอ่อนล้าและทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงและไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเป็นเบาหวานในที่สุด และหากไม่สามารถคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ต่อไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานรุนแรง โรคความดันโลหิตสูงจากภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อระดับอินซูลินสูงขึ้นจะไปกระตุ้นให้ไตดูดโซเดียมกลับมามากขึ้น และทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อการกระตุ้น การหมุนเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงฝอยที่กล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โรคไขมันในเลือดสูงจากภาวะดื้ออินซูลิน ความผิดปกติของไขมันที่พบบ่อยในคนอ้วนคือ ระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำลง เพราะตับนำกรดไขมันอิสระไปสร้างเป็นอณูไขมันเพิ่มขึ้นแล้วปล่อยเข้ากระแสเลือด ภาวะดื้ออินซูลินยังทำให้เอนไซม์ที่ย่อยสลายไขมันทำงานลดลงด้วย จนส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคไขมันสะสมในตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease : NAFLD) เพราะมีการเคลื่อนย้ายกรดไขมันอิสระส่งไปที่ตับมากขึ้น เกิดการสะสมในรูปไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบที่เซลล์ตับและกระตุ้น Stellate Cell นำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ เกิดภาวะตับแข็ง และอาจเกิดมะเร็งตับได้ในที่สุด กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome […]
5 โรคเบาหวาน อัพเดตล่าสุด คุณเป็นหรือเปล่า??
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โรคเบาหวาน หมอจะอธิบายให้ละเอียดดังนี้ คือ เวลาเรากินของหวานเข้าไป น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมา เพื่อทำหน้าที่สั่งการให้กลูโคสเข้าไปช่วยเซลล์ต่าง ๆ ทำงานอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อไรที่อินซูลินหลั่งออกมาไม่เพียงพ อจะเรียกภาวะนั้นว่า “การขาดอินซูลิน” ซึ่งส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพราะควบคุมไม่ได้ หรือในทางการแพทย์เรียกว่า“Insulin Dependent” การวินิจฉัยโรคเบาหวานในอดีต ทำโดยการเจาะเลือดดูค่าน้ำตาลและสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว เพื่อประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้แบ่งโรคเบาหวานเป็น 2 แบบ คือ เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Immune-Mediated Type 1) คือ ภาวะที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย การทำงานของเซลล์ตับอ่อนจึงค่อย ๆ ลดลง นอกจากนั้น ยังพบอาการต่อต้านอินซูลินและภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย อันเนื่องมาจากเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินถูกทำลายนั่นเอง จากสถิติพบโรคเบาหวานประเภทนี้ในเด็กและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน อาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนหยุดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินแล้วจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินทุกวัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes, Non Insulin Dependent […]
เป็นเบาหวาน ออกกำลังกายยังไงให้ปลอดภัย ลดน้ำตาลได้
ถึง เป็นเบาหวาน ก็ออกกำลังกายให้แข็งแรง ช่วยลดน้ำตาลได้ คนที่ เป็นเบาหวาน เรื่องการควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการควบคุมระดับน้ำตาลต้องทำทั้งการกินยาตามที่แพทย์สั่ง การระวังเรื่องน้ำตาลในอาหาร แต่นอกจากนั้นการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยควบคุมน้ำตาลได้นะคะ โดยในขณะที่ออกกำลังกายนั้นเซลล์ร่างกายจะไวต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดถูกนำไปใช้ การออกกำลังกายจึงช่วยทั้งลด และควบคุมระดับน้ำตาลได้นั่นเองค่ะ สำหรับการออกกำลังสำหรับคนที่เป็นเบาหวานนั้นควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ โดยแนะนำเป็นการออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือการฝึกทรงตัว เตรียมออกกำลังกายยังไงให้ปลอดภัย ออกกำลังกายหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง สวมใส่เสื้อผ้า และรองเท้าที่เหมาะสม เลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น วอร์มอัพ 5-10 นาที ก่อนออกกำลังกาย และคูลดาวน์ 5-10 นาที หลังออกกำลังกาย เลี่ยงการออกกำลังกายในที่ร้อน หรือหนาวจัด ควรดื่มน้ำก่อนและหลังออกกำลังกาย เลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ถ้ามีอาการผิดปกติเช่น ปวดหัว เวียนหัว เหนื่อยหอบ ให้หยุดทันที และปรึกษาแพทย์ […]
โรคเบาหวาน มองอย่างเข้าใจ รักษาหายได้ไม่ยาก
เข้าใจโรคเบาหวาน รู้ทัน รับมือได้ รักษาหาย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ณ ปี 2563 พบว่าเรามีผู้ป่วยเบาหวานราวๆ 5 ล้านคน 95% ของผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมาจากพฤติกรรม ในขณะที่เราต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่าการกินน้ำตาลมากๆ นั้นไม่ดี เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความรับรู้ของสังคมเกี่ยวกับโรคนี้อาจจะมีมุมที่ยังคลาดเคลื่อนและจำเป็นต้องแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ มาทำความ เข้าใจโรคเบาหวาน กันค่ะ ไม่ใช่แค่พันธุกรรมแต่เป็นพฤติกรรม แพทย์หญิงธนพร พุทธานุภาพ จากศูนย์โรคเบาหวาน โรงพยาบาลวิมุต ได้ให้ความรู้ในกรณีการส่งต่อโรคเบาหวานทางพันธุกรรมไว้ว่า นอกจากพันธุกรรมจะเพิ่มความเสี่ยงแล้ว พฤติกรรมก็สำคัญไม่แพ้กัน “ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรเฝ้าระวังตั้งแต่แรก ยิ่งถ้ามีคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวานหลายๆคน เนื่องจากมีเบาหวานบางชนิดที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบบ่อย ก็มีส่วนจากพันธุกรรมบ้างแต่มักเกิดร่วมกับการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารมากเกินไป ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือการที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งถ้าในครอบครัวมีพฤติกรรมเหล่านี้เหมือนๆกัน ก็สามารถเป็นเบาหวานกันทั้งบ้านได้” ไม่ใช่แค่ของหวานที่กินแล้วเป็นเบาหวาน “ต่อให้ไม่ชอบของหวานแต่ชอบรับประทานข้าว แป้ง ขนมปังเมื่อผ่านระบบการย่อยก็จะกลายเป็นน้ำตาลได้และทำให้น้ำตาลขึ้นสูงหลังกินได้มาก จึงเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและเบาหวานได้ ส่วนอาหารไขมันสูงก็ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะในช่องท้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มซอส น้ำจิ้ม […]
เบาหวานขึ้นตา อาการแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี
เบาหวานขึ้นตา อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน ที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี “หวานขึ้นตา” เป็นคำที่เรามักเอามาพูดเล่นๆ แต่ถ้าเกิดอาการ เบาหวานขึ้นตา ขึ้นมาจริงๆ บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้วค่ะ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้เลยทีเดียว เบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โดยเป็นผลมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดหลอดเลือดใหม่ ทำให้จอตาเสียหาย จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด ระยะการเกิดเบาหวานขึ้นตา แบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงแรก ที่ยังไม่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ เป็นระยะที่ผนังหลอดเลือดจอตาไม่แข็งแรง ทำให้หลอดเลือดโป่งพอง อาจทำให้มีเลือดหรือของเหลวรั่วออกมาในจอตาจนเกิดอาการบวม อาจไปกระทบการมองเห็น หรือทำให้จอตาขาดเลือดจนสูญเสียการมองเห็น ระยะก้าวหน้า เป็นช่วงที่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ ซึ่งหลอดเลือดเหล่านี้อาจมีปัญหาเปราะบาง ฉีดขาดง่ายจนมีเลือดออกในวุ้นตา เกิดพังผืด ทำให้จอตาลอก หรือทำให้ความดันตาสูง และเป็นสาเหตุของต้อหินได้ อาการของเบาหวานขึ้นตา ในหลายๆ รายอาจไม่แสดงอาการแม้อยู่ในระยะรุนแรงแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการตรวจตา โดยอาการที่แสดงว่าเบาหวานเริ่มขึ้นตา คือ มองเห็นจุดหรือเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา มองเห็นภาพบิดเบี้ยว ตามัว การมองเห็นแย่ลง แยกแยะสีได้ยาก เห็นภาพมืดเป็นบางจุด สูญเสียการมองเห็น ถึงแม้ว่าเบาหวานขึ้นตาจะน่ากลัว แต่ก็สามารถป้องกันการมองไม่เห็นได้อยู่นะคะ […]
โรคเบาหวาน กับความเข้าใจผิด ๆ ที่ทุกคนควรรู้ หมอตอบเอง
ว่าด้วยความเข้าใจผิด ๆ เรื่อง โรคเบาหวาน อีกหนึ่งภัยเงียบที่ทำร้ายสุขภาพและสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตของผู้คนคือโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานและไม่ได้รับข้อมูลความรู้ รวมถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง หากปล่อยไว้ อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ไตวาย โรคเกี่ยวกับดวงตา และอาจอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่รู้ตัวและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเสียแต่เนิ่น ๆ รู้รอบเรื่องเบาหวาน กับคำถามและความเข้าใจผิด ๆ ที่ (เคย) คิดว่าใช่ คำถาม/ความเชื่อ: จริงหรือไม่ที่โรคเบาหวานมักมาคู่กับความอ้วน คุณหมอตอบ: เป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่ง คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือคนที่เป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว เริ่มจากน้ำหนักตัวที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 เท่ากับเป็นเบาหวานแล้ว (เทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดปกติควรอยู่ที่ 100) เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก ๆ และมีภาวะอ้วน ร่างกายจะดื้อต่อการใช้อินซูลินและทำให้มีปริมาณน้ำตาลในร่างกายเกินความจำเป็น แม้น้ำหนักจะลดลงภายหลังก็ไม่ควรย่ามใจ เพราะแท้จริงอาจเป็นเบาหวานแล้ว ต้องเฝ้าระวังและหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะคนที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวานอยู่แล้ว รวมถึงคนที่มีภาวะอ้วนลงพุงก็เสี่ยงเช่นกัน โดยวัดจากขนาดรอบเอวที่เหมาะสมด้วยการนำส่วนสูงมาหารสอง ขนาดรอบเอวที่ดีไม่ควรเกินเลขส่วนสูงหารสอง หากมากกว่านั้นก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สองคือ เป็นเบาหวานที่พบตั้งแต่เด็ก […]
เคล็ดไม่ลับ ผู้ป่วยเบาหวาน กินอย่างไรให้น้ำตาลไม่ขึ้น
ผู้ป่วยเบาหวาน กับการกิน ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีมากถึง ร้อยละ 8.3 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 20-79 ปี และเป็นโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้รวมถึงเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนมากมายด้วย เพราะฉะนั้นการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้เป็นปกติจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเองและช่วยให้แพทย์ลดหรืองดการใช้ยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลได้ด้วย อาหารกับเบาหวาน นักกำหนดอาหาร ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ. กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าผู้ป่วยคุมอาหารหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม สามารถคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ โรคจะอยู่ในระยะสงบและจะไม่แสดงอาการเหมือนกับว่าไม่ได้เป็นโรคแล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่า Remissionและถ้าสามารถดูแลระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เรื่อยๆ จะช่วยให้แพทย์ลดหรืองดการใช้ยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลได้ โดยวิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีหลายวิธี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่งดอาหารเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ เลี่ยงการกินมื้อใดมื้อหนึ่งที่มากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลสูงได้ ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5 – 22.9 kg/m2) จะช่วยเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดภาวะเซลล์ดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) ทำให้น้ำตาลที่ลอยในกระแสเลือดถูกอินซูลินพาเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนควรลดน้ำหนักลง 5% ของน้ำหนักตัว ปรับอย่างไรดี ทั้งนี้การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารยังสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัวได้ เช่น การจำกัดปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว แป้ง ขนมปัง เส้นต่าง […]
เมื่อวัยเด็ก วัยทำงาน อาจเสี่ยง เบาหวานขึ้นจอตา โดยไม่รู้ตัว
เบาหวานขึ้นจอตา ในคนอายุน้อยลง เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ หรือการ Work From Home นั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่บ้านนาน ๆ รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป แล้วขาดการออกกำลังกาย อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้โดยไม่รู้ตัวและอาจมีโรคแอบแฝงที่เป็นอันตรายได้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงดวงตา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 25 เท่า ถ้า เบาหวานขึ้นจอตา การรู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เบาหวานกับดวงตา พญ.วีรยา พิมลรัฐ จักษุแพทย์ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กเพิ่มมากขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นในเด็ก โดยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ในวัยรุ่นก็พบได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย เพราะเด็กมักจะมีพฤติกรรมนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ แทนการวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬามากขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมถึงดวงตา ได้แก่ กล้ามเนื้อตา เลนส์ตา ขั้วประสาทตา […]
กินหวาน เพื่อดับร้อน ยิ่งเพิ่มความชรา บอกเลยอย่าหาทำ
กินหวาน เพื่อดับร้อน รู้หรือไม่ยิ่งเพิ่มความชรา บอกเลยอย่าหาทำ กินหวาน กินเข้าไป กินน้ำหวานๆ น้ำอัดลมเย็นๆ เพื่อสู้กับสภาพอากาศสุดจะร้อนอบอ้าว ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานและมีความเย็น ช่วยดับกระหายคลายร้อนของแต่ละคน อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีม ผลไม้ลอยแก้ว น้ำแข็งไส น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น จนเกิดเป็นความเคยชินว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทําให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หากไม่ได้รับประทานของหวานก็จะรู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย หงุดหงิด เราเรียกลักษณะอาการนี้ว่า “ภาวะติดนํ้าตาล” และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการ น้ำตาลเหล่านั้นก็จะแปรรูปเป็นไขมันสะสมไปทั่วร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย มาทําความรู้จักกับ Glycation และ AGEs การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจํานั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) อันเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปจะไปเกาะติดกับโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products) เมื่อสารตัวนี้ผ่านเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายก็จะส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นตายหรือเสื่อมสมรรถภาพในการทํางานลง จากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทําลายคอลลาเจนรวมไปถึงใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดําตามมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเซลล์สมองก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง […]
รู้จัก สารให้ความหวาน ทดแทนน้ำตาล
รู้จัก สารให้ความหวาน ทดแทนน้ำตาล ลดเสี่ยงเบาหวาน สารให้ความหวาน คือสารที่ใช้ทดแทนน้ำตาล ให้พลังงานน้อย ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงนิยมใช้แทนน้ำตาล รวมไปถึงผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนัก เนื่องมาจาก สารให้ความหวาน เหล่านี้ ให้พลังงานต่ำนั่นเอง หญ้าหวาน /สตีเวีย ให้ความหวาน 300 เท่า ของน้ำตาล 0 Kcal ใช้ในอาหารสำหรับผู้ต้องการลดน้ำหนักได้ ใช้ในอาหารร้อนและเครื่องดื่มได้ ไม่ควรได้รับในปริมาณที่มากเกินไป *สกัดจากธรรมชาติ แอสพาร์แทม ให้ความหวาน180 – 200 เท่า ของน้ำตาล 4 Kcal / กรัม ไม่ควรได้รับเกิน 50 มิลลิกรัม /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน ปรุงอาหารร้อนไม่ได้ จะทำให้มีรสขม * ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย แซคคาริน ให้ความหวาน 200-700 เท่าของน้ำตาล ไม่ให้พลังงาน […]
เชื้อราดำ ภัยร้ายจากโควิด ที่อินเดียต้องเผชิญ
เชื้อราดำ จากเชื้อหายาก สู่ภัยร้ายทางสาธารณสุขที่อินเดียต้องผ่านไปให้ได้ ในตอนนี้นอกจากโรคโควิด-19 ที่คุกคามชาวอินเดียอย่างหนักจนทำให้ระบบสาธารณะสุขล่มสลายแล้ว เชื้อราดำ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำซ้ำเติมให้สถานการณ์หนักขึ้น ซึ่งเขาบอกกันว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับโควิดด้วย เราจึงควรทำความรู้จักเอาไว้สักนิด เพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในไทยค่ะ เชื้อราดำ หรือโรคติดเชื้อรากินสมอง ในสถานการณ์ปกติแล้ว ในแต่ละปีอินเดียมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพียง 1-2 คนเท่านั้น แต่เพียงแค่ไม่นานหลังการระบาดระลอกใหญ่ของโควิดในประเทศอินเดีย ทำให้มีผู้ติดเชื้อนี้สูงถึง 9,000 ราย นอกจากอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อราดำจะสูงแล้ว ในการรักษาชีวิต ก็อาจต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน เช่น ดวงตา เลยทีเดียว เชื้อราดำ เป็นเชื้อราที่มีชื่อทางการว่า มิวคอร์ไมโคซิส (Mucormycetes) ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเชื้อราที่มีอยู่ตามสภาวะแวดล้อมทั่วไปที่เช่นในดิน ในแม่น้ำ เป็นต้น ที่มาของชื่อเชื้อราดำสีสันที่พบเห็นหลังจากการเพาะเลี้ยงในห้องแล็บแล้ว สาเหตุของการระบาด สำหรับสาเหตุของการระบาดเชื้อราดำที่แท้จริงนั้นยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่นายแพทย์ แลนเซล็อต พินโต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด ของโรงพยาบาล มุมไบ ฮินดูจา ได้ให้ความเห็นไว้ว่า อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ 2 ประการ คือ การให้ยาที่ไม่จำเป็นมากเกินไป เช่น ซิงค์ และสเตียรอยด์ […]
เพราะอะไร เราจึงควรกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
เพราะอะไร เราจึงควรกิน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เชื่อว่าใครหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น มีคุณประโยชน์มากมาย แต่การกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นก็ใช่ว่าจะกินได้ง่ายๆ จึงต้องมีสูตรในการกินต่างๆ นานา มากมาย เพื่อช่วยทำให้เรากินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้ง่ายขึ้น วันนี้ Goodlifeupdate ขอแชร์คุณสมบัติดีๆของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และวิธีกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ง่าย ขั้นตอนเดียวจบ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าว คือการที่เรานำเนื้อมะพร้าวมาสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันของมันออกมา หรือจะเป็นการต้มเนื้อมะพร้าวจนกลายเป็นไขมัน ซึ่งเราเรียกว่า “ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สายยาวปานกลาง” ที่จะทำให้เราได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือ Virgin Coconut Oil เมื่อร่างกายของเราได้รับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเข้าไป ก็จะช่วยในเรื่องของระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ตัวน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจให้แข็งแง และควบคุมการทำงานของความดันโลหิตอีกด้วย จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ได้รับความนิยมสูง แต่ก็ใช่ว่าการกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนั้นจะง่ายหรืออร่อยเสมอไป เพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นที่ทำให้กลืนได้ยาก เพราะอะไรเราจึงควรเลือก NBL – Coconut Oil 1000 MG 60 แคปซูล น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ขนาด 1000 MG ที่ส่งตรงจากออสเตรเลียของ NBL เป็นซอฟเจลเม็ดใส ที่ทานง่าย กลิ่นหอม เพียงแค่รับประทานวันละ […]
คนไทย ” ติดหวาน ” สถิติเบาหวานพุ่ง ผู้เชี่ยวชาญแนะลดด่วน
เมื่อคนไทย ติดหวาน แนวโน้มเบาหวานก็อยู่แค่เอื้อม สถานการณ์ปัจจุบันที่บ้านเรา ทุกวันนี้หันไปทางไหนก็พบแต่ผลิตภัณฑ์ขนมและของหวาน ภาพอาหารที่พบในโซเชียลมีเดียก็ล้วนแต่กระตุ้นให้อยากกินทั้งขนมและเครื่องดื่มหวานๆ ตลอดเวลา คนไทยจึง ติดหวาน ได้ไม่ยากเย็น สถิติที่พุ่งสูง ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ผู้ดูแลโครงการเด็กไทยดูดีมีพลานามัย ภายใต้แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ อธิบายถึงปัญหาคนไทยติดรสหวานไว้ดังนี้ “เกณฑ์มาตรฐานของปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวันสำหรับคนทั่วไปซึ่งต้องการพลังงานระหว่าง 1,600-2,400 กิโลแคลอรี คือบริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 4-8 ช้อนชา แต่ในความเป็นจริงจากรายงานการบริโภคน้ำตาลของคนไทย เมื่อปีพ.ศ. 2557 กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลเกิน 4-7 เท่าตัว หรือบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 28 ช้อนชาต่อคนต่อวัน“ การติดรสหวานของคนไทยส่งผลให้สถิติโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และเครื่อข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ ครั้งที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2557-2558 สุ่มตรวจสุขภาพประชากรไทย 21 จังหวัด พบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4 ล้านคน และกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงถึง […]
โรคเบาหวาน เยียวยาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน
เบาหวาน ถือว่าเป็นโรคที่มีมานาน โดยเฉพาะคนทางแถบเอเชียเป็นกันจำนวนมากในภาษาจีนเรียกโรคนี้ว่า “เฉ่าเข่อ” สาเหตุเนื่องมาจากการพร่องของหยินเเละสารน้ำในร่างกาย
” ภาวะติดน้ำตาล ” ตัวการแก่เร็ว เซลล์เสื่อมอายุ
ภาวะติดน้ำตาล ภัยจากของหวานที่ไม่ควรมองข้าม เชื่อว่าของหวานนั้นเป็นอาหารโปรดของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะสาวๆ การกินหวานนิดๆหน่อยๆ หรือกินพอหายอยากเป็นบางครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเท่าไรนัก แต่หากกินปริมาณมากๆ จนเคยชิน ต้องกินเป็นประจำทุกวัน ควรระวัง ภาวะติดน้ำตาลไว้ด้วย ของหวานทำเสียสุขภาพ อากาศร้อนๆ ของเมืองไทย การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานและมีความเย็น ทั้งนี้เพื่อช่วยดับกระหายคลายร้อน ซึ่งอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีม ผลไม้ลอยแก้ว น้ำแข็งไส น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น จนเกิดเป็นความเคยชินว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทําให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หากไม่ได้รับประทานของหวานก็จะรู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย หงุดหงิด เราเรียกลักษณะอาการนี้ว่า “ภาวะติดนํ้าตาล” และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการ น้ำตาลเหล่านั้นก็จะแปรรูปเป็นไขมันสะสมไปทั่วร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย มาทําความรู้จักกับ Glycation และ AGEs การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจําานั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับนํา้าตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) อันเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปจะไปเกาะติดกับโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products ) เมื่อสารตัวนี้ผ่านเข้าสู่เซลล์ต่างๆ […]
เบาหวานลงไต โรคพ่วงจากเบาหวานทำสุขภาพพัง
เบาหวานลงไต อีกหนึ่งอันตรายที่ไม่ควรปล่อยให้เป็น โรคไต ก็เป็นอีกหนึ่งโรคพ่วงที่ตามมาจากเบาหวานได้หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ เบาหวานลงไต สำหรับผู้ป่วยจะได้สามารถป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับผู้ที่เป็นแล้วมีข้อปฏิบัติอย่างไร มาอ่านข้อมูลจาก บทความสุขภาพโดย อ.นพ.ไพฑูรย์ ขจรวัชรา สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กันเลยค่ะ ว่าด้วยการเกิดโรคไตจากเบาหวาน หากกล่าวถึงโรคเบาหวานแล้วหลายคนอาจส่ายหน้าและรู้สึกกลัว แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมา ที่ล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่ และที่อยู่ในอันดับต้น ๆ คือ “โรคไตจากเบาหวาน” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคไตวาย” เป็นอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคไตจากเบาหวานมาย่างกราย เราควรรู้เท่าทันเพื่อป้องกันครับ เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคไตจากเบาหวาน เมื่อเป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ระบบประสาทส่วนปลาย ไต หัวใจและหลอดเลือด สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตจากเบาหวาน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจนเกิดอันตรายต่อเซลล์ที่ไตแล้ว ยังทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดฝอยในไต และอัตราการกรองของไตสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อไต โรคไตจากเบาหวานแบ่งได้เป็น 5 […]