เทวดา
มงกุฎดอกไม้ทิพย์กับโทษของคนผิดศีล 5
มงกุฎดอกไม้ทิพย์กับโทษของ คนผิดศีล 5 ซีเคร็ตมีบทความเรื่องอานิสงส์แห่งศีล ประโยชน์ของการถือศีล และโทษของคนไม่มีศีล คราวนี้ซีเคร็ตขอนำนิทานชาดกเรื่องหนึ่ง มานำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องของ คนผิดศีล 5 ได้รับโทษอย่างไรจากเทวดา กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเทวดาอยู่พระองค์หนึ่ง เป็นผู้ครองครอบมงกุฎดอกไม้ทิพย์ที่งดงามที่สุดบนสรวงสวรรค์ เพราะอานิสงส์แห่งบุญที่สร้างไว้ตอนเป็นมนุษย์ วันหนึ่งพระราชาโปรดให้จัดการแสดงขึ้นเพื่อให้ชาวเมืองชมเพื่อสร้างความรื่นเริง เทวดาพระองค์หนึ่งได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงชวนเพลินเพลิดจึงลงจากวิมานมายังโลกมนุษย์ เทวดาชมการแสดงอยู่ท่ามกลางผู้คน แต่ไม่ปรากฏกายให้ใครเห็น สิ่งหนึ่งที่เทวดาไม่สามารถอำพรางได้คือกลิ่นหอมของดอกไม้ทิพย์บนมงกุฎ ปุโรหิตได้กลิ่นดอกไม้ทิพย์ก็อยากครอบครอง จึงตามหาที่มาของกลิ่น เทวดาปรากฏกายให้ปุโรหิตเห็น ปุโรหิตจึงขอมงกุฎดอกไม้ทิพย์จากเทวดา เทวดาถามปุโรหิตว่า “มงกุฎนี้ผู้ที่สามารถสวมใส่มันได้ ต้องเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่พูดปด ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม และไม่ดื่มสุราของมึนเมาต่าง ๆ ” ปุโรหิตผู้นี้เป็นคนเจ้าเล่ห์ ชอบพูดเอาดีเข้าตัว ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง ผิดลูกผิดเมียคนอื่น ชอบดื่มสุรา แต่ด้วยความโลภ อยากได้ดอกไม้ทิพย์บนมงกุฎจึงกล่าวเท็จว่า “ข้าแต่เทวดาผู้ทรงฤทธิ์ ข้านี้มีคุณสมบัติตามนี้ทุกประการ” เทวดามอบมงกุฎให้แก่ปุโรหิต แล้วอันตรธานหายไป ปุโรหิตสวมมงกุฎนั้นก็ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ดอกไม้ทิพย์กลายเป็นใบมีดบาดศีรษะจนเลือดอาบไปทั้งตัว พระราชาเห็นดังนั้นก็พยายามให้องครักษ์หาทางเเกะมงกุฎออก แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งทราบว่ามงกุฎนี้เป็นของเทวดาที่ลงมาชมการแสดงเมื่อวันก่อน พระราชาจึงโปรดให้จัดการแสดงขึ้นอีกครั้ง […]
ที่มาของนะโม ตัสสะ ไม่ธรรมดา
ที่มาของ นะโม ตัสสะ ไม่ธรรมดา นะโม ตัสสะ บทสวดที่ชาวพุทธตั้งแต่เด็กเล็กยังผู้สูงอายุต่างสวดเป็น “ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ” แปลว่า “ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” คุ้นกันไหม เชื่อว่าคุ้น แต่มีใครบ้างที่จะทราบว่า กว่าจะเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้าบทนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย ในคัมภีร์ฎีกานะโม เรียกง่าย ๆว่า คัมภีร์อธิบายความหมายของนะโม เล่าถึงความเป็นมาของบทสวดนี้ไว้ว่า ครั้งสมัยพุทธกาล มีเทพเจ้า 5 พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตามลำดับ เทพเจ้าพระองค์แรกคือ “สาตาคิรียักษ์” เป็นเทวดาประเภทภุมมเทวดา (พระภูมิ) สถิตอยู่ที่เขาสาตาคีรี ในหิมวันตประเทศ มีหน้าที่เฝ้าประตูของป่าหิมพานต์ทางทิศเหนือ เป็นหนึ่งในคณะบริวารของพระเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์เมื่อได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดจิตเลื่อมใสจึงเปล่งวาจาขึ้นว่า “นะโม” (ขอนอบน้อม) ต่อมาพระอสุรินทราหูทราบว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของโลก ทรงโปรดให้มนุษย์และเทวดาบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก จึงปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม แต่ด้วยพระองค์มีรูปร่างใหญ่โต หากเข้าใกล้พระพุทธเจ้าจะไม่สมควร พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเนรมิตร่างของพระองค์ให้ใหญ่โตกว่าพระอสุรินทราหูในท่าไสยาสน์ เมื่อพระอสุรินทราหูเห็นดังนั้นจึงมีจิตเลื่อมใส ยอมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม พอฟังจบแล้วจึงเปล่งวาจาด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าว่า “ตัสสะ” […]
ขวัญหนี (หาย) กับความเชื่อเรื่องสุขภาพ
ขวัญ ความเชื่อโบราณ กับสุขภาพ ขวัญ เอ๊ย ขวัญมา มาที่ไหน แลัวขวัญคืออะไร เเต่ที่เเน่ๆไม่ใช่ขวัญ อุษามณีนะ ฮ่าๆๆ มาหาคำตอบกันครับ ขวัญคือ ระบบความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของกลุมคนชาติพันธุ์ไท ทั้งในประเทศไทย จีน อินเดีย พม่า เวียดนาม ลาว ล้วนมีความเชื่อเรื่องขวัญ ที่ตรงกัน คือ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่แฝงอยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่จะมีผลทำให้เจ้าของร่างกายมีชีวิตชีวา เมื่อใดที่ขวัญหาย คือขวัญหนีหายออกจากร่าง เจ้าของร่างกายจะล้มป่วยหรือประสบความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยการทำพิธีเรียกขวัญ รับขวัญกลับคืนมา ขวัญอ่อน คือ ขวัญของเด็กยังอ่อนอยู่ มักตกใจง่าย นอนผวาและสะดุ้ง แล้วร้องไห้ผิดปรกติเพราะตกใจอะไร เมื่ออยู่ใกล้เด็กจะเอามือตบที่อกของเด็กเบาๆ แล้วกล่าวคำปลอบพร้อมไปด้วยในตัวว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าหลบลี้หนีไป ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข” เรียกว่า รับขวัญ นอกจากนี้กลุ่มคนไทต่างก็มีความเชื่อว่าขวัญมีจำนวนและตำแหน่งสถิตอยู่ตามอวัยวะ ของร่างกาย สำหรับคนไทย เชื่อว่าขวัญในร่างกายมีจำนวน 32 ตำแหน่ง เท่ากับจำนวนของธาตุดิน (32 ประการ) แต่เชื่อว่าขวัญในตำแหน่งของศรีษะเป็นจุดที่สำคัญที่สุด […]
Dhamma Daily : อุทิศบุญให้เทวดา เจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร…บุญจะถึงหรือไม่ – ท่าน ว. มีคำตอบ
อุทิศบุญให้เทวดาประจำตัว เจ้ากรรมนายเวร เจ้าที่เจ้าทางที่บ้าน หลังจากทำบุญเสร็จแล้ว ท่านเหล่านั้นจะได้รับจริงหรือไม่ ท่าน ว.วชิรเมธี มีคำตอบ