เมธี จันทรา กับการภาวนาด้วยขลุ่ยเซน เพื่อไปสู่ความสงบจากข้างใน

เมธี จันทรา กับการภาวนาด้วยขลุ่ยเซน เพื่อไปสู่ความสงบจากข้างใน เมธี จันทรา อดีตสมาชิกวงทีโบน และวงคำภีร์ ผู้หันหลังให้กับวงการดนตรี เพื่อมาทำในสิ่งที่เขารักคือการแสวงหาความรู้ในเรื่องที่เขาสนใจ นั่นคือการเล่นดนตรีเพื่อการภาวนา   นักดนตรีผู้สนใจการภาวนา แต่เดิมผมเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า และสนใจเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับเสียงความคิดของเราอยู่ก่อนแล้ว จึงเริ่มศึกษาจากกีต้าร์ไฟฟ้าที่ผมเล่นก่อน จนประมาณ ปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันธรรมคีตาโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยกลุ่มผู้ศรัทธาในองค์ทะไล ลามะ ผมก็ได้มีโอกาสไปเล่นดนตรีในงานนี้ด้วย ระหว่างที่เล่นกีต้าร์ไฟฟ้านาน ๆ ก็รู้สึกว่าน้ำหนักของเครื่องดนตรีเป็นอุปสรรคมาก ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง และพอได้ชมการแสดงขลุ่ยทิเบตของนาวัง เก ช็อก ก็เห็นว่าขลุ่ยเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับเสียงภายในของเรา กีต้าร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นแล้วจะเกิดเสียงจากข้างนอกมากกว่าข้างใน เป็นการกระทบกันระหว่างนิ้วมือกับเครื่องดนตรี แต่ขลุ่ยนั้นเสียงจะเกิดขึ้นจากสภาวะข้างในก่อนที่จะถ่ายทอดออกมาข้างนอก จึงเป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยในการภาวนาได้เป็นอย่างดี   ลองผิดลองถูก ผมเริ่มต้นจากขลุ่ยไทยก่อน แต่ขลุ่ยไทยยังไม่ตอบโจทย์บางอย่าง จึงเปลี่ยนไปลองเล่นขลุ่ยจีน ก็ยังไม่ตอบโจทย์อยู่ดี เลยเริ่มศึกษาลึกลงไปเรื่อย ๆ จนพบว่าพุทธศาสนามีอีกนิกายหนึ่ง (นิกายเซน) ที่ใช้ขลุ่ยในการภาวนา เลยหันมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง โดยการประดิษฐ์ขลุ่ยญี่ปุ่นจากท่อพีวีซี แล้วใช้บันไดเสียงแบบดนตรีตะวันตกเป็นการประสมประสานระหว่างดนตรีตะวันออกและตะวันตก ผมเป่าขลุ่ยนี้มาร่วม 10 ปี รู้สึกว่าสภาวะของเสียงยังไม่ตอบโจทย์ลึก ๆ เลยหวนกลับไปคิดว่าน่าจะลองเล่นขลุ่ยเซนที่ทำจากไม้ไผ่ดู […]

ความแตกต่างระหว่างการเจริญสติแบบเถรวาท VS เซนญี่ปุ่น

ความแตกต่างระหว่างการเจริญสติแบบเถรวาท VS เซนญี่ปุ่น ถ้าจะให้สรุปโดยย่อถึงข้อแตกต่างระหว่างการฝึกวิปัสสนาแบบเถรวาท กับการฝึกกายใจแบบ เซนญี่ปุ่น ขอตอบจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า “แบบเถรวาทมุ่งไปที่การดูกายใจของผู้ฝึกเป็นสำคัญ แต่แบบเซนนั้นจะเป็นการดูกายใจ ในฐานะที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ และสิ่งอยู่รอบตัวในขณะนั้นด้วย” ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเซนแบบญี่ปุ่นนั้น พัฒนาขึ้นมาในประเทศที่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม และลักษณะทางกายภาพของธรรมชาติตลอดเวลา เนื่องจากเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติถี่ ตลอด จนมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลตลอดปี อีกทั้งวัฒนธรรมที่ต้องใส่ใจผู้คนรอบตัวเป็นอย่างยิ่ง     ความหมายเชิงนัยยะอีกประการคือ พุทธศาสนิกายมหายานจะนึกถึงผู้อื่น นึกถึงสังคมที่อยู่รอบตนก่อนเสมอ โดยเน้นมุ่งรับใช้ และช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ก่อน ตนจึงจะยอมพ้นทุกข์ ส่วนเถรวาทจะเน้นพัฒนาตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ก่อน แล้วจึงช่วยผู้อื่น แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า ทั้งสองส่วนนั้นแท้จริงเกิดขึ้นคู่กัน การบรรลุธรรมของเถรวาทก็เป็นไปเพื่อช่วยผู้อื่น มิใช่เป็นการเอาตัวรอดคนเดียวอย่างที่เข้าใจผิด และระหว่างทางที่เรากำลังสะสม “เหตุ” เพื่อให้ตนได้บรรลุธรรมตามวิธีของเถรวาทนั้น เราย่อมเกิดเมตตาจิตคิดช่วยเหลือผู้อื่นไปเองตามธรรมชาติของจิตที่ได้ฝึกการเจริญสติแล้วอย่างถูกต้อง     สำหรับ มหายาน แม้จะเน้นการช่วยผู้อื่น และให้นึกถึงผู้อื่นก่อนก็จริง แต่มองว่านั่นคือ อุบายทางธรรมที่จะทำให้เราคลายความยึดมั่นในอัตตาตัวตน ลดละความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด แม้แต่ตัวตนก็ไม่เหลือ ทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนการที่นำเราไปสู่การบรรลุธรรมเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เส้นทางการบรรลุธรรมของทั้งสองนิกายนั้นเหมือนกัน ดังนั้น ผู้มีปัญญาย่อมไม่เลือกปฏิบัติ […]

keyboard_arrow_up