เจริญเมตตา
เมื่อ เจริญเมตตา ก็จะได้อานิสงส์จากการเจริญเมตตา 11 ประการ คือ ประการที่ 1 หลับเป็นสุข ไม่นอนกระสับกระส่าย หวาดระแวง ผู้เจริญเมตตาหยั่งลงสู่ความหลับก็เป็นสุข เพราะไม่มีใจขุ่นหมองเศร้าเร่าร้อน เป็นผู้ที่มองโลกแต่แง่ดีมีคุณ ประการที่ 2 ตื่นเป็นสุข ไม่แสดงอาการเป็นทุกข์ ผู้เจริญเมตตาไม่มีอาการผิดปกติ การตื่นเป็นสุขของผู้เจริญเมตตา เปรียบเสมือนดอกปทุมกำลังแย้มบานฉะนั้น ประการที่ 3 ไม่ฝันเห็นนิมิตที่ไม่ดี ฝันแต่เรื่องที่เจริญ เรื่องดีๆ เท่านั้น เช่น ฝันว่ากำลังไหว้พระเจดีย์ กำลังบูชาพระ หรือกำลังฟังธรรม ประการที่ 4 เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เจริญเมตตาย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเมื่อบุคคลนั้นจะคิด ก็คิดด้วยเมตตามโนกรรม เมื่อจะพูดก็พูดด้วยเมตตาวจีกรรม และเมื่อจะทำก็ทำด้วยเมตตากายกรรม มนุษย์ทั้งหลายจึงรักบุคคลผู้มีเมตตาธรรมนั้น เหมือนพวงมาลัยที่ประดับไว้บนศีรษะฉะนั้น ประการที่ 5 เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เจริญเมตตาเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายฉันใด ย่อมเป็นที่รักที่เกรงขามของมนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น ประการที่ 6 เทวดาย่อมรักษาคุ้มครองผู้เจริญเมตตา เหมือนมารดาบิดาถนอมรักษาบุตรฉะนั้น ประการที่ 7 ไฟย่อมไม่กล้ำกรายร่างกายของผู้อยู่ด้วยเมตตา เหมือนนางอุตตราอุบาสิกา ไฟย่อมไม่ทำอันตราย เป็นต้น ประการที่ 8 จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็ว คือ จิตของผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งมั่นได้รวดเร็ว เพราะความพยาบาทอาฆาตได้ถูกกำจัดออกไปด้วยเมตตาธรรม ประการที่ 9 สีหน้าผ่องใส คือ หน้าตาของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น เมื่อจิตใจของบุคคลนั้นสะอาดผ่องใส จึงแสดงออกทางใบหน้า และผิวให้ผ่องใสงดงามตามไปด้วย ประการที่ 10 ไม่หลงทำกาละ คือ ไม่มีความหลงลืมสติของผู้เจริญเมตตา เมื่อทำกาละกิริยาก็สงบเงียบ เหมือนการก้าวลงสู่ความหลับ ประการที่ 11 เมื่อไม่บรรลุพระอรหัตผลอันเป็นคุณวิเศษที่ยิ่งกว่า เมตตาสมาบัติ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงพรหมโลก เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น
ดับความโกรธเกลียดด้วยการเจริญเมตตา โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
ดับความโกรธเกลียดด้วยการ เจริญเมตตา โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ถ้าคนขี้โมโหอยากให้จิตใจสงบก็ต้อง เจริญเมตตา โทสะกับเมตตามันกลับข้างกัน โทสะมันเร่าร้อน คิดอะไรก็จะคิดร้ายตลอดเวลา เราก็มาคิดบวก คิดในทางดีกับคนอื่น คิดในทางดีกับสิ่งอื่น ทางที่เป็นมิตร เรียกว่าเจริญเมตตา คำว่าเมตตา คำว่าไมตรี คำว่ามิตร เป็นคำเดียวกัน รากเหง้าอันเดียวกัน อย่างเราเจริญเมตตา เริ่มจากการเมตตาตัวเองก่อนก็ได้ว่า เรารักเมตตาสิ่งที่เรารักทำง่าย เมตตาศัตรูทำยากที่สุดเลย ถ้าใจไม่ถึงก็ทำไม่ได้ เมตตาไม่ลง อยากให้มันตายเร็ว ๆ นึกไปบางคนนั่งภาวนาแล้วโมโหตัวเอง เคยเป็นไหมทำไมมันโง่อย่างนั้น โง่ 7 ชั่วโคตร ด่าบรรพบุรุษตัวเองด้วย รู้สึกโมโห อย่าไปโมโหมัน นั่งสงสารมัน โธ่น่าสงสารสัตว์ตัวนี้ทำไมมันขี้โมโหนัก น่าสงสารมันโมโหไรมันก็น่าสงสารทุกที สงสารตัวเรานี้ น่าสงสาร ถ้ามันดีจริงคงพ้นทุกข์ไปแล้ว ทุกวันนี้ก็ดิ้นกระด๊อกกระแด๊ก น่าสงสารอยากไปโหดร้ายกับมันนะ เมตตามัน ถัดจากนั้นก็เมตตาคนอื่น เมตตาคนที่เราชอบก่อน เมตตาคนที่เราชอบมันทำง่าย แล้วก็เมตตาคนที่กลาง ๆ ไม่ได้รัก ไม่ได้เกลียด ถ้าขั้นสุดเลยนะเมตตาศัตรู ทำได้ไหมเรานึกถึงคนที่เราเกลียดดูสิ บางทีเกลียดหมาข้างบ้าน มันชอบเห่า […]
เจริญเมตตาอย่างไม่มีประมาณด้วยคาถามหาเมตตาหลวงของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เจริญเมตตาอย่างไม่มีประมาณด้วย คาถามหาเมตตาหลวง ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คาถามหาเมตตาหลวง บทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์สายอรัญญวาสี (พระป่า) ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมักใช้สวดเจริญภาวนาอยู่เป็นประจำ เพื่อเป็นการเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่มีประมาณ ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน ผู้ที่ได้รับการสืบทอดคาถามหาเมตตาหลวงนี้จากหลวงปู่มั่นคือหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอดุรธานี และผู้ที่รับสืบทอดคือ หลวงพ่อเมตตาหลวง หรือ พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การสวดคาถามหาเมตตาหลวงควรเริ่มจาการบทบูชารัตนตรัยก่อน แล้วจึงเข้าสู่คาถามหาเมตตาหลวง จะสังเกตได้ว่าคาถาบทนี้เป็นการเจริญพรหมวิหาร ซึ่งเป็นหลักธรรมแห่งความเมตตาที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง 0 แผ่เมตตาให้ตนเอง เมตตายะ ภิกขะเว เจโต วิมุตติยา อะหังสุขิโต โหมิ นิททุกโข โหมิ อะเวโร โหมิ อัพยาปัชโฌ โหมิ อนีฆา โหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ คำแปล ขอให้ข้าพเจ้า จงถึงความสุข ขอให้ข้าพเจ้า พ้นทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้า อย่าได้มีเวรภัย ขอให้ข้าพเจ้า อย่าได้มีใครรังแก […]
เจริญเมตตาในช่วงระยะเวลาอันสั้น ได้อานิสงส์ขนาดนี้เชียวหรือ ?
เจริญเมตตา ในช่วงระยะเวลาอันสั้น ได้อานิสงส์ขนาดนี้เชียวหรือ ? การ เจริญเมตตา หมายถึง การแผ่ขยายไปยังสรรพสัตว์อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาเป็นการภาวนาองค์ธรรมหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ความเมตตาไม่ต่างจากน้ำที่ดับเปลวเพลิงแห่งความโกรธเกรี้ยว เมตตาสามารถทำให้เกิดปัญญาได้เช่นกัน แล้วปัญญานี้ก็เป็นเครื่องดับความโกรธได้อีกด้วย เพราะเมื่อเกิดความเมตตา ความเข้าอกเข้าใจก็จะเกิดตามมา กลายเป็นปัญญาในการประเมินว่าสิ่งที่เขากระทำต่อเรานั้น เป็นเพราะเขาอาจมีปม มีความหลังที่ไม่ดี จึงแสดงการกระทำที่ไม่ดีต่อเรา หลายคนอาจจะมองว่าการเจริญเมตตานั้น ต้องเจริญนาน ๆ ใช้เวลามาก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า เจริญเมตตาเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้อานิสงส์มหาศาลเช่นกัน ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรที่มีชื่อว่า “โอกขาสูตร” ครั้งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหารในกรุงสาวัตถี ที่ท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐีสร้างถวายเป็นพระอารามในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสอนเรื่องการเจริญเมตตาแก่เหล่าพระภิกษุว่า “ภิกษุท้้งหลาย ผู้ใดพึงให้ทานถึง 100 หม้อ ในตอนเช้า กลางวัน และเย็น ผู้ใดเจริญเมตตาเท่าเพียงชั่วการหยดของน้ำนมจากเต้าของแม่วัว ในตอนเช้า กลางวัน และเย็น (รศ.ดร.นฤมล มารคแมน ใช้คำว่า “รีดน้ำนม” ซึ่งทำให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น) การเจริญเมตตาจึงมีผลเท่ากับการทำทานด้วย 100 หม้อ […]