พริกแดง อาหารมาแรง ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ ลดไขมันในเลือด ปี 2021

พริกแดง ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ ลดไขมันในเลือด จับตาดู ปีหน้า (2021) มาแน่!!! พริกแดง 🌶 จะเป็นหนึ่งในวัตถุดิบคู่ครัวที่ตอบโจทย์สุขภาพเรามากที่สุด สรรพคุณมาเต็ม ทั้งช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็งได้ด้วย สรุปคือครบเลย ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ ลดไขมันในเลือด งานนี้ใครไม่ทานเผ็ดคงอยากจะลองทานดูบ้างแล้วค่ะ 🌶ต้านโรคหัวใจและมะเร็ง – จากงานวิจัยของthe Cleveland Clinic’s Heart, Vascular & Thoracic Institute ในเคลฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา ระบุว่า พริกแดงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคมะเร็งได้ด้วย เนื่องจากพริงแดง มีสารต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย ซึ่งเจ้าสารสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประกันนั่นก็คือ แคปไซซิน สารที่ทำให้พริกแดงมีรสเผ็ดร้อนนั่นเอง 🌶เสริมภูมิคุ้มกันเต็มพิกัด -พริกแดงอุดมไปด้วยวิตามินเอ ที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยเรื่องสุขภาพดวงตาอีกด้วย และอย่างที่ “ผู้อ่านชีวจิต” รู้ๆ กัน พริกแดงนั้นมีปริมาณวิตามินซีสูงมาก ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี แค่ 2 สารอาหารนี้ก็แทบจะทำให้พริกแดงโดดเด้งออกมาจากที่เป็นแค่เครื่องปรุงในครัวแล้วค่ะ 🌶ต้านอนุมูลอิสระดีเยี่ยม […]

3 สารอาหารบำรุงหัวใจ ต้านโรค ช่วยอายุยืน

3 อาหารบำรุงหัวใจ ช่วยอายุยืน หลายคนอยากทราบว่า  นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว  ยังมีสารอาหารหรือวิตามินอะไรบ้างที่ช่วยบำรุงหัวใจ คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ได้คัดเอาสุดยอด อาหารบำรุงหัวใจ ที่พบทั้งในอาหารธรรมชาติและในรูปแบบอาหารเสริมที่ใช้ป้องกันและช่วยสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจะแนะนำวิธีกินและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสุขภาพ โคเอนไซม์คิวเท็น ลดเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว เอนไซม์คิวเท็น ลดเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว โคเอนไซม์คิวเท็น (CoEnzyme Q10) คือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ ช่วยเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานแก่เซลล์ ลดอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการบำรุงผิว ป้องกันริ้วรอย ทั้งมีบทบาทเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland Medical Center) ให้ข้อมูลว่า โคเอนไซม์คิวเท็นอาจมีผลช่วยรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เมื่อกินเสริมควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้เลือดไหลเวียนออกจากหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดจากการคั่งของเลือดในหัวใจห้องซ้ายและปอด ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้หรือเกิดการคั่งของเลือดในหัวใจห้องขวา ทำให้หลอดเลือดดำที่คอโป่ง ตับโต จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ และมีอาการบวม การศึกษาหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่า โคเอนไซม์คิวเท็นอาจมีส่วนช่วยลดอาการต่างๆ โดยเฉพาะอาการบวมของขาและลดการคั่งของเลือดในปอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก นอก […]

แพทย์แนะนำ กิน-อยู่ ให้ห่างไกลโรคหัวใจ

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ อาหารต้านโรคหัวใจ กินอยู่อย่างไรให้ไกลโรค บทความนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ  มหานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ คุณหมอนิธิได้แนะนำการกิน อาหารต้านโรคหัวใจ ไว้ดังนี้ ปรับอาหาร  กินดีก่อนป่วย คุณหมอนิธิเล่าถึงการกินอาหารทั้งสำหรับคนที่สุขภาพปกติและคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจว่า “กรณีที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง  ไม่เป็นโรคหัวใจหรือโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ  เช่น  เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูง  ผมมีคำแนะนำที่สั้นมากๆ  คือ กินให้หลากหลายและหยุดก่อนอิ่ม “เหตุที่แนะนำเช่นนี้เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อมูลโภชนาการบอกว่า  ไม่ควรกินไขมัน  คนก็ทำตาม  กินไขมันน้อยลง  แต่ไปกินแป้งและน้ำตาลมากขึ้น  สรุปว่า  อ้วนและเสี่ยงโรคหัวใจอยู่ดี  ปัญหาสุขภาพทั้งหลายเกิดจากการกินไม่สมดุล ไม่หลากหลาย  พอให้ลดอาหารประเภทหนึ่ง  ก็จะไปเพิ่มปริมาณอาหารประเภทอื่นแทน” แล้วการ“กินน้อย”ดีกว่า “กินเกิน”อย่างไร คุณหมอนิธิอธิบายเพิ่มเติมว่า “ที่ผมบอกให้กินน้อย  หยุดก่อนอิ่ม  เพราะคนส่วนใหญ่มักจะกินเกิน  ขณะนี้มีรายงานวิจัยออกมาสนับสนุนแล้วว่า การกินน้อย  ไม่กินเกิน  ช่วยให้อายุยืน  โอกาสป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆก็ลดลง  ได้ผลชัดเจนทั้งในระดับยีน  ระดับเซลล์ระดับสัตว์ทดลอง  ซึ่งล้วนแต่พบตรงกันว่า  กินน้อย  สุขภาพจะแข็งแรง  และอายุยืนขึ้น “งานวิจัยของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า  ถ้ามีการอดระยะสั้นๆจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่  ดังนั้นอย่ากินให้อิ่ม แต่ให้หยุดก่อนอิ่มจึงจะพอดีต่อสุขภาพ  ข้อนี้ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งเสวยจุ มีพระวรกายใหญ่  จึงทำให้ประทับนั่งฟังเทศนาธรรมได้ไม่ถนัดว่า  การบริโภคมากเกินไปเป็นทุกข์” […]

keyboard_arrow_up