อานาปานสติ
“ลมหายใจ” จัดการความเครียด โดย ท่าน ส. ชิโนรส
“ลมหายใจ” จัดการความเครียด โดย ท่าน ส. ชิโนรส นักวิทยาศาสตร์บอกว่า แต่ละวันมนุษย์คิดกว่า 60,000 ความคิด จริงแท้อย่างไรไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักจัดการความคิด ลมหายใจ จัดการความคิด คือ คิดได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบระเบียบเมื่อต้องการใช้ความคิด หยุดคิดพักจิตให้สงบได้เมื่อต้องการหยุดพักผ่อน ผู้ที่ไม่รู้จักจัดการความคิด คือผู้ที่คิดไม่รู้จักหยุด หรืออยากหยุดแต่ก็หยุดไม่ได้ จิตใจเตลิดเปิดเปิงไปกับอารมณ์ต่าง ๆ วางอารมณ์ไม่ลง เกิดปัญหาทางจิต เรียกว่า “ความเครียด” (Stress) ภาษาพระเรียกความเครียดว่า “ปปัญจสัญญา” แปลตามศัพท์ว่า “สัญญาเป็นเหตุให้เนิ่นช้า” หรือ “ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญต่าง ๆ ที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง พร่ามัว ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส” ความเครียดเป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เกิดแก่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัย มนุษย์ยุคปัจจุบันเหมือนจะมีความเครียดมากกว่ามนุษย์ยุคอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีมากกว่ามนุษย์ยุคก่อน แต่ความเครียดไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย แต่กลับมีมากขึ้นกว่าเดิม มนุษย์แต่ละคนต่างมีวิธีแก้เครียดไม่เหมือนกัน บางคนกินยาแก้เครียด บางคนไปเที่ยวพักผ่อน บางคนหันไปพึ่งพาไสยศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ แต่หลงไปแก้อาการของความเครียดมากกว่า […]
“อิติปิโสถอยหลัง” คำบริกรรมช่วยเร่งให้จิตสงบ
“อิติปิโสถอยหลัง” อุบายเร่งจิตให้สงบ โดย ส. ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส) วิธีบริกรรม “อิติปิโสถอยหลัง” นั้นมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ท่องจำ ท่องจำคือวิธีทำจิตให้สงบอย่างหนึ่ง ช่วยให้จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่องจำอิติปิโสฯ ผู้ปฏิบัติต้องใช้กำลังสติอย่างมากเพ่งพินิจ จึงจะจำอิติปิโสฯแต่ละอักขระได้อย่างชัดเจนไม่ผิดพลาด ผู้เขียนแบ่งอิติปิโสฯเป็น 6 บรรทัดเพื่อให้ง่ายต่อการท่องจำ ดังนี้ “ติ-วา-คะ-ภะ โธ-พุท นัง-สา-นุส-มะ-วะ-เท ถา-สัต-ถิ-ระ-สา-มะ-ทัม-สะ-ริ-ปุ โร-ตะ-นุต-อะ ทู-วิ-กะ-โล โต-คะ-สุ โน-ปัน-สัม-ณะ-ระ-จะ-ชา-วิช โธ-พุท-สัม-มา-สัม หัง-ระ-อะ วา-คะ-ภะ โส-ปิ-ติ-อิ” เมื่อท่องจำได้จนขึ้นใจแล้ว ควรฝึกขั้นต่อไป ขั้นที่ 2 บริกรรม ก่อนบริกรรมทุกครั้งควรเลือกจุดที่จับลมได้อย่างชัดเจนมากที่สุดในกาย เช่น ปลายจมูก หรือกลางสะดือ แล้วเริ่มบริกรรมไปทีละจังหวะ บริกรรมจังหวะใดแล้วจิตสงบนิ่งแน่วแน่ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ดับลงไป ควรข้ามไปขั้นที่ […]
“อานาปานสติ” กรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ
ท่านพุทธโฆสะ ปราชญ์เลื่องชื่อทางพุทธศาสนา ประมวลแนวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ 40 อย่าง หรือกรรมฐาน 40 เมื่อเปรียบเทียบกรรมฐานทั้ง 40 แล้ว อานาปานสติ หรือการพิจารณาลมหายใจ คือแนวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญมากกว่ากรรมฐานใด ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติว่าดีกว่าแนวปฏิบัติอื่น ๆ ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. ปฏิบัติง่าย ไม่ต้องเตรียมการหรือพกพาเหมือนการฝึกกสิณ เช่น การใช้กสิณที่ต้องเพ่งลูกแก้วใส ผู้ปฏิบัติต้องเตรียมซื้อลูกแก้ว เตรียมที่วางให้เหมาะสม เตรียมห้องให้สงบเงียบ เวลาเปลี่ยนสถานที่ปฏิบัติ ก็ต้องพกพาติดตัวไปด้วย เหล่านี้ล้วนยุ่งยากและเป็นภาระ ฯลฯ แต่ลมหายใจนั้นมีอยู่กับตัวผู้ปฏิบัติตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อยู่ที่ไหน ไปที่ใด ลมหายใจก็ติดตามไปเสมอ ไม่ต้องเตรียมการ ไม่ต้องพกพา ผู้ปฏิบัติเพียงแค่น้อมจิตเข้าไปกำหนดรู้ลมหายใจเท่านั้น 2. สุขสบาย เมื่อจิตเป็นหนึ่งเดียวกันกับลมหายใจ และความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ จางหายไป จะรู้สึกเบากาย – เบาใจเหมือนตัวลอยอยู่กลางอากาศ มีความรู้สึกดื่มด่ำ เอิบอิ่ม อยู่ก็เป็นสุข ไปก็สบาย พระพุทธองค์ พระมหาสาวก พระอรหันตสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้า ต่างใช้ลมหายใจเป็นที่พักจิต […]
การประพฤติพรหมจรรย์ (พรัหมะจะริยัญจะ) อีกหนึ่งมงคลชีวิตอันประเสริฐ
มงคลชีวิต 38 ประการ : มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ (พรัหมะจะริยัญจะ) คําว่า พรหมจรรย์ แปลตามศัพท์หมายถึง ความประพฤติอันประเสริฐ ในพระไตรปิฎกท่านแยกแยะพรหมจรรย์ เป็น 10 อย่าง ได้แก่ 1. การให้ข้าวน้ํำ และปัจจัยใช้สอยแก่การดํารงชีวิตแก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน จะเป็นผู้ให้ตามกาล หรือให้เป็นนิตย์ก็ตามที 2. การช่วยขวนขวายจัดทําช่วยเหลือกิจการอันเป็นกุศลของผู้อื่น ให้เจริญก้าวหน้าสําเร็จลุล่วงด้วยความชุ่มชื่นโสมนัสไม่เบื่อหน่ายท้อถอย 3. การรักษาศีล 5 เพื่องดเว้นจากการล่วงบาปกรรม 5 ประการ 4. การแผ่พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปในสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง 5. การไม่เสพกามอันเป็นความกําหนัดยินดีในแนวทางของสามี ภรรยา 6. ความสันโดษมักน้อยในวัตถุข้าวของเครื่องใช้ ไม่ทะเยอทะยานมักมากในวัตถุกาม กิเลสกาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีในผัวเดียวเมียเดียว 7. การที่มีความเพียรกล้าแข็งไม่ย่อท้อต่อการกุศลต่าง […]
Dhamma Daily : แนะวิธีการปฏิบัติธรรมฉบับมนุษย์เงินเดือนที่มีเวลาไม่มาก
ชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ก็อยากปฏิบัติธรรม แต่อาจมีเวลาไม่มากนัก แล้วจะทำอย่างไรดี ซีเคร็ตมีเคล็ดลับ การปฏิบัติธรรมแบบมนุษย์เงินเดือน มากฝากค่ะ
อานาปานสติ ใช้ลมหายใจนี้จัดการความเครียดกันเถอะ
อานาปานสติ ใช้ลมหายใจนี้ จัดการความเครียด กันเถอะ คนเราเครียดเพราะจัดการความคิดของตนเองไม่ได้ ผู้คิดไม่รู้จักหยุดคิด หรืออยากหยุดแต่หยุดไม่ได้ วางอารมณ์ลงไม่ได้ ภาษาพระเรียกว่า “ปปัญจสัญญา” แปลตามศัพท์ว่า “สัญญาเป็นเหตุให้เนิ่นช้า” หรือ “ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญต่าง ๆ ที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง พร่ามัว ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส” ลองมาใช้สิ่งที่อยู่กับเราทุกวัน และเราก็ใช้อยู่ทุกวันเพื่อ จัดการความเครียด คือ การหายใจ หรือการทำอานาปานสติ ความเครียดเป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เกิดแก่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัย มนุษย์ยุคปัจจุบันเหมือนจะมีความเครียดมากกว่ามนุษย์ยุคอื่น ๆ ทั้งๆ ที่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่ามนุษย์ยุคก่อน แต่ความเครียดกลับไม่ลดน้อยถอยลงเลย กลับทวีมากขึ้นกว่าเดิม มนุษย์แต่ละคนมีวิธีแก้เครียดที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ แต่หลงไปแก้อาการของความเครียดมากกว่า ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุของความเครียด ยังคงลอยนวลอยู่เหมือนเดิม จะจัดการความเครียดได้ มนุษย์ต้องรู้จักจัดการกับความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ วิธีจัดการความคิดฟุ้งซ่านที่ดีที่สุดคือ สมาธิ ฝึกจิตให้สงบนิ่ง แน่วแน่จิตที่สงบ แน่วแน่ จะมีพลังมหัศจรรย์ในตัวเอง กำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญต่าง ๆ ให้กระจุยกระจายไปได้ ศาสนาพุทธมีวิธีการทำสมาธิ หรือที่เรียกอย่างว่า […]
อานาปานสติ แบบฉบับ ท่านพ่อลี ธัมมธโร
อานาปานสติ แบบฉบับ ท่านพ่อลี ธัมมธโร ท่านพ่อลี ธัมมธโร พระอาจารย์กรรมฐานชื่อดังและศิษย์รูปสำคัญของหลวงปูมั่น ท่านชอบธุดงค์ไปบำเพ็ญสมาธิตามป่าเขาลำเนาไพร ประสบการณ์ทางสมาธิของท่านลึกล้ำมหัศจรรย์ ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปถึงอินเดีย ฝึกสมาธิกับพวกโยคี หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยกย่องท่านว่า “เป็นพระผู้ทรงพลังจิตที่แข็งกล้า” ท่านเคยทดสอบความมหัศจรรย์ของจิต โดยใช้พลังจิตยกอาจารย์เฟื่อง โชติโก และศิษย์ฆราวาสให้ตัวลอย แนวปฏิบัติของท่านผสมผสานระหว่างการภาวนาพุทโธและการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติ) แนวปฏิบัตินี้ช่วยให้สติคมชัดเร็ว จิตสงบนิ่งไว มีกำลังกล้าแข็งอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวนี้ควรสร้างความรู้สึกที่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่เห็นลมเข้าออกได้ชัดเจน แล้วทำดังนี้ แนวที่ 1 กำหนด “พุทโธ” 1 จังหวะลมหายใจ หายใจเข้าภาวนาว่า “พุท” ให้นับ 1 หายใจออกภาวนาว่า “โธ” ให้นับ 2 กำหนดลมหายใจ กล่าวคำภาวนาและนับพร้อมกันไปจนถึง 10 แล้วกลับมาตั้งต้นนับใหม่ แต่ลดลงเหลือแค่ 9 ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนร่นลงมาเหลือ 0 ดังนี้ (1) พุท (หายใจเข้า) 1 โธ […]
ทำไมต้อง เจริญอานาปานสติ
อานาปานสติ คือ การระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกในปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญา ด้วยการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนด สาเหตุที่เราเจริญอานาปานสติก็เป็นไปเพื่อเหตุผลหลักๆ 4 ประการ ตามที่พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้จำแนกไว้ดังนี้