อาทีนวะ
เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ จิตมีความผูกพันกับกายและใจมากเพียงไร จึงทำให้การปล่อยวางกาย-ใจเป็นไปได้ยากยิ่งนัก เรื่องนี้พระอาจารย์นวลจันทร์เปรียบเทียบไว้อย่างน่าฟังว่า… เห็นไตรลักษณ์ เราอยู่กับกายใจนี้ก็เหมือนว่าเราได้แต่งงานกับกายกับใจแล้ว เรายึดว่ากายนี้เป็นของเรา ใจนี้เป็นของเรา เราจึงต้องดูแลรับผิดชอบเหมือนสามี-ภรรยาที่ต้องรับผิดชอบดูแลกันอย่างดีที่สุด เต็มที่ที่สุดจริงไหม แต่พออยู่มาอยู่ไป เมื่อเราเริ่มเห็นโทษ เห็นภัย เห็นความไม่ดีไม่งามของกาย-ใจ เช่น เห็นไตรลักษณ์ บ่อยขึ้น ๆ เราก็เริ่มรู้สึกว่าชักจะยังไง ๆ อยู่ สุดท้ายจึงเซ็นใบหย่าเสียเลย ไม่เอาแล้วสามีคนนี้ ไม่เอาแล้วภรรยาคนนี้ เมื่อเซ็นใบหย่าเสร็จก็คือเป็นอิสระแล้ว เป็นอิสระจากกาย-ใจ เป็นอิสระจากธาตุขันธ์ แต่จู่ ๆ จะให้จิตเซ็นใบหย่า วางธาตุขันธ์เลยย่อมเป็นไปไม่ได้ จิตต้องเห็นโทษเห็นภัยของขันธ์นี้ก่อน เห็นโทษเห็นภัยของการยึดก่อน เพราะธรรมชาติของการที่เราจะวางสิ่งไหนหรือจะไปจากสิ่งไหน กฎง่าย ๆ คือเราต้องเห็นโทษของสิ่งนั้นก่อน ถ้ายังไม่เห็นโทษก็จะยังไม่ไป ยังอยากจะกำเอาไว้อยู่อย่างนั้น คนเรามักจะกำสิ่งต่าง ๆ ไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ถ้าจะให้ไปจากสามี เราก็ต้องเห็นโทษของสามีก่อน ถ้าไม่เห็นโทษของสามี เราย่อมต้องการจะอยู่กับสามีไปตลอดกาลนานเทอญ อยู่กับสามีไปจนสามีอยู่กับเราไม่ได้ สามีทนไม่ได้ สามีก็ไปเสียเอง […]