อนิจจัง
ที่จริงร่างกายนี้ไม่ใช่ของดี ธรรมะละ สักกายทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้า
ที่จริงร่างกายนี้ไม่ใช่ของดี ธรรมะละ สักกายทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้า สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นที่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นเรา เช่น การหลงใหลในรูปลักษณ์ของตนเอง ดังเช่น เจ้าหญิงอภิรูปนันทา และเจ้าหญิงสุนทรีนันทาที่ทรงหลงใหลในความงามของพระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานทำให้เจ้าหญิงทั้งสองทรงสามารถละสักกายทิฏฐิได้ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด ผู้ที่ละจากสักกายทิฏฐิได้นั้นคือพระโสดาบัน และพระอริยบุคคล พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สักกายทิฏฐิสูตรว่า “ผู้ที่จะละสักกายทิฏฐิได้คือผู้ที่เห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์” สอดคล้องกับกรณีของเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์อยู่เหมือนกัน ขัตติยนารีในสมัยพุทธกาลมีหลายพระองค์ที่ทรงหลงในรูปโฉมอันงดงามของพระองค์เอง แต่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ปราบพยศลงได้เช่นกัน และส่งเสริมให้พระนางทั้งหลายสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ อาทิเช่น พระนางเขมา พระมเหสีแห่งพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน ซึ่งเป็นป่าที่มีนางยักษ์ชื่อว่า “เภสกฬา” อาศัยอยู่ เป็นเขตให้อภัยทานของกวาง อยู่ใกล้เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท นกุลคหบดีได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยไม้เท้า เมื่อมาถึงเบื้องพระพักรตร์แล้วได้นั่งลงและกราบอภิวาทพระองค์อยู่ข้างหนึ่ง นกุลคหบดีผู้นี้เป็นเศรษฐีเฒ่า ครองรักกับภรรยามานานเป็นสิบปี ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่เมื่อได้พบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งกลับเรียกพระองค์ว่า “ลูก” สร้างความแตกตื่นให้กับพระภิกษุ และประชาชนที่กำลังใส่บาตรพระองค์อยู่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเฉลยว่า นกุลคหบดี และภรรยาเคยเป็นบิดาและมารดาของพระองค์มาหลายร้อยชาติ จึงไม่แปลกที่ทั้งสองจะจดจำพระองค์ในฐานะลูก แต่ที่จริงในภพชาตินี้พระบิดาและพระมารดาที่แท้จริงคือ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา ผู้อธิษฐานเป็นพุทธบิดา และพุทธมารดา […]
เพราะ ” ปล่อยวาง ” ได้จึงจากโลกไปด้วยใจที่ดี เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล
ปล่อยวาง ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งไม่ไยดีหรือไม่รับผิดชอบ หากหมายถึงการมีจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น แม้ยังเกี่ยวข้องอยู่ แต่ก็ไม่สยบมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น
พระราชินีมีอายุกับปุโรหิตหนุ่ม นิทานธรรมะสะท้อนความเป็นอนิจจัง
พระราชินีมีอายุกับปุโรหิตหนุ่ม นิทานธรรมะสะท้อนความเป็น อนิจจัง ไม่มีใครหนีพ้นจากความเป็น อนิจจัง ไปได้ อย่างสุสีมะ แม้จะยังหนุ่ม แต่ก็ยังเข้าใจและปลงต่อความเป็นอนิจจัง จนกระทั่งแสวงหาความสงบในช่วงวัยหนุ่ม กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อพระราชาสวรรคตลง พระราชโอรสนามว่า พรหมทัตกุมาร ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร์ โปรดให้สุสีมะราชปุโรหิตติดตามพระองค์ด้วย เพราะเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก พระมารดาทอดพระเนตรชมขบวนพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นพระโอรสนั้น ทรงสะดุดสายพระเนตรที่สุสีมะราชปุโรหิต บุรุษรูปงามที่ยังเยาว์วัย พระนางบังเกิดจิตปฏิพัทธ์ต่อปุโรหิตหนุ่ม พระนางไม่เสวยพระกระยาหาร พระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นห่วงว่าพระมารดาจะพระประชวร จึงโปรดให้พระมเหสีเสด็จไปดูพระอาการ พระมเหสีทูลถามพระอาการจนทรงทราบแน่ชัดว่า พระมารดาเป็นเช่นนี้เพราะหลงรักสุสีมะราชปุโรหิต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทราบดังนั้น ด้วยความรักพระมารดามาก จึงสละราชบัลลังก์ยกให้สุสีมะ พระสหายรักขึ้นปกครองบ้านเมืองแทน หลายปีผ่านไป พระมารดาเข้าสู่วัยชรา พระองค์เกรงว่าพระสวามีหนุ่มจะเบื่อหน่ายพระนาง วันหนึ่งขณะที่พระนางกำลังลูบพระเศียรของพระสวามี พระนางสวมรอยว่าพบเส้นผมหงอก ซึ่งที่จริงแล้วคือเส้นพระเกษาหงอกของพระนางเอง สุสีมะเห็นดังนั้นถึงกับปลงอนิจจังว่าตนชราภาพแล้วหรือนี้ จึงเปรยกับพระชายาว่า จะสละราชบัลลังก์และออกบวช เพราะตามจริงก็เบื่อหน่ายชีวิตตามโลกแล้ว พระนางจึงตรัสความจริงว่า เส้นผมนี้เป็นของพระนาง พระนางคิดว่าหากพระสวามีมีเส้นผมหงอกเหมือนพระนาง จะไม่ทอดทิ้งพระนางไปหาสตรีสาวอื่น สุสีมะถึงจะทราบความจริงแล้ว แต่ใจที่ปรารถนาความสุขจากภายใน ก็มีใจมุ่งมั่นไปหาความสงบจากการบวชภาวนาอยู่ดี สุดท้ายสุสีมะก็สละราชสมบัติคืนพระเจ้าพรหมทัตตามเดิม ส่วนสุสีมะแล้วก็เดินทางแสวงหาสถานที่สงบ บำเพ็ญภาวนาจนกระทั่งหมดบุญไปบังเกิดยังพรหมโลก ที่มา : หนังสือเรื่อง […]
ชีวิตคือความไม่แน่นอน โอ๋ - เพชรลดา เทียมเพ็ชร
สมัยเรียนมัธยม โอ๋(เพชรลดา เทียมเพ็ชร เป็น “เด็กกิจกรรม” ตัวยงของโรงเรียนไม่ว่าดรัมเมเยอร์ ถือป้าย แสดงความสามารถพิเศษ ฯลฯ โอ๋ทำหมด