อนัตตา
มรรคาแห่งเอกภาพ “เอกายโน มคฺโค” ธรรมะโดย หลวงพ่อโพธินันทะ
พระรัตนตรัยย่อมยังประโยชน์ต่อสรรพสัตว์เสมอ การบรรลุถึงความเป็นอนัตตา – สุญญตาย่อมพ้นจากสังสารวัฏ (กิเลส กรรม วิบาก) ละเปี่ยมอยู่ด้วยปัญญาญาณที่รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ในความเป็นสุญญตาของสรรพสิ่ง ย่อมเข้าถึงสภาวะแห่งความสุขที่แท้จริง การบำเพ็ญภาวนาบนสัมมาอริยมรรคด้วยการบ่มเพาะบารมีทั้งสิบย่อมได้รับธรรมโอสถ คือ “สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ”* (รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง) ซึ่งเป็นอานิสงส์อันเกิดจากความมั่นใจต่อวิถีทางของการปฏิบัติภาวนาจนบรรลุถึงพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งอันเกษม ผู้บรรลุอุภโตภาควิมุตติซึ่งสมบูรณ์ทั้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติย่อมสว่างไสวอยู่ด้วยปัญญาญาณ รู้แจ้งอยู่ในความเป็นองค์รวมกับสรรพสิ่งร่วมกับกิจการงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และอิ่มเอิบเบิกบานด้วยประสบการณ์ของความเป็นพุทธะ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา การเข้าถึงธรรมชาติของจิตประภัสสรย่อมไม่กำหนดหมายสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเจตนา (มีตัวตนเราเขา) อีกต่อไป สัมมาอริยมรรคที่ดำเนินไปสู่สภาวะแห่งความสุขอย่างยิ่งนั้น ก็คือการบำเพ็ญภาวนาเพื่อลดละปล่อยวางวิญญาณ 6 (การรับรู้อารมณ์)** ให้เป็นอิสรภาพอย่างแท้จริง มรรคาแห่งการหลอมรวมเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง “เอกายนมรรค” ด้วยพลังของปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่แห่งสัจจะคือจุดเริ่มต้นของสภาวะจิตที่ไปพ้นจิตสามัญสำนึก (conscious mind) อันเป็น “หนทาง” ของการปฏิบัติภาวนาร่วมกับการงานในชีวิตประจำวัน นิมิตหมายภายในของกิเลสนิวรณ์ทั้งห้าย่อมเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ จนเราเกิดความเข้าใจที่แท้จริง และเกิดการละวางความคิดปรุงแต่งเหล่านั้น ทำให้จิตเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น ผู้ที่มิได้เรียนรู้สิ่งเหล่านั้นย่อมถูกจองจำและหมดโอกาสสำหรับความเป็นอิสระหลุดพ้นจากตัณหาอุปทานทั้งปวง (มรรคาแห่งเอกภาพ) *สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ (รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง) ที่มา : อรรถกถาสังยุตตนิกาย…เล่มที่ 11 (สารัตถปกาสินี […]
“อนัตตา” สภาวธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เราทั้งหลายไม่ควรยึดติด
” อนัตตา ” สภาวธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เราทั้งหลายไม่ควรยึดติด พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าไม่มีสิ่งใดหนีพ้นไปจากไตรลักษณ์ได้ หมายความว่าทุกสิ่งล้วนตกอยู่ในสามัญลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หลายท่านอาจสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์มิใช่หรือ โกณฑัญญะยังเกิดมีดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุในที่สุดเลย ขอรับรองว่าข้อมูลเหล่านี้ถูกจริง แต่ตั้งข้อสังเกตบ้างไหมว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตรกล่าวเพียงว่าโกณฑัญญะบรรลุธรรม แล้วปัญจวัคคีย์ที่เหลือจะบรรลุธรรมตอนไหน ซึ่งคำตอบมีอยู่ใน “อนัตตลักขณสูตร” พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องขันธ์ 5 เป็นอนัตตา (ขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) คำสอนนี้ทำให้ปัญวัคคีย์ที่เหลือบรรลุธรรม ทำไมพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) แสดงความหมายของอนัตตาไว้ว่า “ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน” หมายความว่า อนัตตา เป็นสิ่งตรงข้ามกับคำว่า “อัตตา” ซึ่งหมายถึง ตัวตน หรือที่ท่านพุทธทาสภิกขุมักเรียกว่า “ตัวกูของกู” อนัตตาจึงหมายถึง “ไม่ใช่สิ่งที่เป็นของเรา” สุนทร ณ […]
“จริงตามความเป็นจริง” ฝึกยอมรับความจริงตามวิถีชาวพุทธ
มีความจริงสองประเภทในโลกมนุษย์นี้ ความจริงประเภทแรกคือ ความจริงที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาหรือบัญญัติขึ้นมา เรียกว่า จริงตามสมมุติ
เพราะ ” ปล่อยวาง ” ได้จึงจากโลกไปด้วยใจที่ดี เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล
ปล่อยวาง ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งไม่ไยดีหรือไม่รับผิดชอบ หากหมายถึงการมีจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น แม้ยังเกี่ยวข้องอยู่ แต่ก็ไม่สยบมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น
ไตรลักษณ์ ประตูสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น
ไตรลักษณ์ ประตูสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสามประการที่พระพุทธเจ้าทรงสังเกตการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หลักธรรมนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นกฎแห่งธรรมชาติ ผู้พิจารณา อนิจจัง ควรน้อมจิตที่สงบไปดูอารมณ์ที่ปรากฎชัดขณะนั้น ผู้ที่เห็นลมหายใจเข้า-ออกได้ชัดเจนก็จับลมหายใจเป็นสิ่งพิจารณา ส่วนผู้เห็นนามธรรมอื่น ๆ ได้ชัดเจนก็จับลมหายใจเป็นสิ่งพิจารณา ส่วนผู้เห็นนามธรรมอื่น ๆ ได้ชัดก็จับนามธรรมชนิดนั้น ๆ ขึ้นพิจารณา เคยพูดมาแล้วว่า ผู้สำเร็จอานาปานสติจะเป็นผู้มีกำลังจิตมาก มีกำลังความสงบสูง เรียกว่า “สมถยานิก” ผู้ปฏิบัติกลุ่มนี้จะพิจารณาเห็นนามธรรมได้ชัดเจน ควรเริ่มจับนามธรรมที่ปรากฏชัดขณะนั้น มองดูอาการเปลี่ยนแปลงและอาการเกิด-ดับของนามธรรมชนิดนั้น ๆ เช่น เกิดความรู้สึกเอิบอิ่ม เบากาย เบาใจ อย่าปล่อยให้จิตหลงเตลิดไปกับความรู้สึกเอิบอิ่ม ทรงจิตเป็นกลาง ๆ มองดูอาการเอิบอิ่มขณะนั้นอย่างมีสติและปัญญา จะเห็นอาการเอิบอิ่มตามเป็นจริง คือ อาการเปลี่ยนแปลงและเกิด-ดับ เหมือนกระแสน้ำหรือกระแสลม เมื่อเข้าใจธรรมชาติความเอิบอิ่มตามที่เป็นแล้ว ก็จะเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ เหมือนกัน ไม่ว่าอารมณ์ความรู้สึกนั้นจะดีวิเศษขนาดไหนก็มีธรรมชาติเหมือนกัน อดีต – ปัจจุบัน – อนาคตก็เป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธองค์จะทรงอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธรรมชาติรูปและนามทั้งหมดก็เป็นอย่างนี้คือ อนิจจัง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็แตกดับไปทันที ผู้ปฏิบัติที่พิจารณาอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะสงสัย […]