บอกลาคุณคนเก่า ที่แสนเฉื่อยไม่สดใส ด้วยการเติมสารอาหารบำรุงสมอง

เคยไหมที่ คิดงานไม่ออก ลืมข้าวของ ความเครียดสะสม การทำงานหนัก รวมทั้งปัญหาการนอนไม่หลับ หรือแม้แต่ความรู้สึกเหี่ยวเฉากับการใช้ชีวิต ยิ่งในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การปล่อยให้สมองของเราช้า เฉื่อย เหนื่อยล้า ย่อมส่งผลเสียอยู่เช่นกัน ดังนั้น วิธีการดูแลและบำรุงสมองมีหลายวิธี เพราะสมองของเราถูกทำลายทีละน้อย จากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต รวมไปถึง ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนเร่งให้สมองเกิดความเสื่อมก่อนวัย ซึ่งเราจะรู้ได้จากสัญญาณเตือนเล็กๆ น้อยๆ ที่ผิดปกติ เช่น คิดอะไรไม่ค่อยออก ,ขี้ลืมบ่อย ,เหนื่อยล้า เป็นต้น ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงภาวะสมองล้า บทความจากโรงพยาบาลสมิติเวช โดย แพทย์หญิงจิตแข เทพชาตรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แนะนำวิธีจัดการกับภาวะสมองล้าแบบง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ -จัดลำดับงานที่สำคัญจากมากไปน้อย -หยุดเล่นโทรศัพท์สักพัก หรือหยุดเสพติดข่าว หรือสื่อที่ทำให้เครียดในช่วงที่กำลังเครียดจากงาน -มองโลกในแง่บวก และหาเวลาทำกิจกรรมโปรด เพื่อปรับอารมณ์และผ่อนคลาย -นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง -รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเช้า -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ -หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ […]

สมองจ๋า ต้องการอาหารอะไรไปเลี้ยงบ้าง ?

อาจารย์ศัลยา  คงสมบูรณ์เวชแนะนำว่า สมองต้องการสารอาหารสำคัญ  เพื่อความอยู่รอด ดังนี้ 1.คาร์โบไฮเดรต เนื้อเยื่อสมองเป็นเนื้อเยื่อที่หิวโหย เพราะเซลล์สมองมีจำนวนมาก จึงต้องใช้พลังงานประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวัน เซลล์สมองใช้พลังงานในรูปแบบกลูโคสสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของที่ร่างกายใช้ แหล่งกลูโคสมาจากอาหารคาร์โบไฮเดรตขัดสีที่ไม่ให้สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ ผัก ผลไม้   2.โปรตีน สมองใช้โปรตีนในรูปกรดแอมิโนในการนำไปผลิตสารสื่อประสาท (Neutotransmitters) ซึ่งทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทตามคำสั่งของระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย   3.ไขมัน เนื้อเยื่อสมองประกอบด้วยไขมัน 60 เปอร์เซ็นต์ และ 25 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้เป็นกรดไขมันดีเอชเอ สมองจึงต้องการกรดไขมันที่ดี เช่น กรดโอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลา ซึ่งประกอบด้วยกรดอีพีเอและดีเอชเอ อาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันไม่ดี (ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ คอเลสเตอรอล) และอาหารแคลอรีสูงจะเร่งอัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด   4.วิตามินและแร่ธาตุ จำเป็นต่อการทำงานของสมอง เช่น วิตามินบี ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม […]

keyboard_arrow_up