สัญญาณโรคไต
สัญญาณโรคไต วิธีทำนายโรคไต ป่วยหรือไม่ใน 10 ปี
สัญญาณโรคไต เมื่อไหร่ต้องระวัง เมื่อไหร่จะป่วยเป็นโรคไต วันนี้ชีวจิตออนไลน์ จะชวนคุณผู้อ่านมาทำ “แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทย” อย่าเพิ่งทำหน้าเบ้พร้อมบ่นเบาๆว่า ก็ไม่เห็นจะน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้นตรงไหน เพราะแบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้นเคยทำมาเยอะแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องจริง เรามีแบบประเมินมากมาย แต่ส่วนใหญ่นั้นมักแปลเนื้อหามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีหัวข้อในการประเมินที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยนัก
แต่สำหรับแบบประเมินที่เรานำมาฝากนี้ทำการศึกษาในคนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยคนไทยและคิดวิธีการแปลผลโดยคนไทย ที่สำคัญ เป็นงานวิจัยเรื่องใหญ่ที่สุดและใช้เวลาทำการวิจัยยาวนานที่สุดในประเทศ จึงเชื่อได้ว่าให้ผลการทำนายหรือวิเคราะห์แม่นยำมาก
ร่วมภูมิใจ งานวิจัยเรื่องสำคัญของคนไทย นายแพทย์ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ ประจำหน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จัดการโครงการการประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทย เล่าถึงที่มาของแบบประเมินนี้ว่า
“ก่อนหน้านี้เราไม่มีแบบประเมินความเสี่ยง สัญญาณโรคไต เป็นของตัวเอง เราจึงนำแบบประเมินของต่างประเทศมาใช้ แต่ปรากฏว่า ผลประเมินที่ออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากแบบประเมินของต่างประเทศเขาเก็บข้อมูลจากประชากรในประเทศของเขา ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรม สภาพความเป็นอยู่หรือไลฟ์สไตล์ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่ไม่เหมือนเรา มาวิเคราะห์และทำเป็นแบบประเมิน ผลวิเคราะห์จึงไม่ตรงกัน”

Surgeon holding artificial kidney
สำหรับแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยนี้ เป็นงานวิจัยที่ต่อยอดมาจากงานวิจัยแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณหมอปริญญ์อธิบายรูปแบบการทำวิจัยว่า
“งานวิจัยนี้เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นงานวิจัยเรื่องใหญ่ที่สุด และใช้เวลาในการทำวิจัยยาวนานที่สุด คือเกือบ 30 ปี โดยการเก็บข้อมูลสุขภาพและติดตาม
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 คน ที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นเวลา 20 ปี ระหว่าง 20 ปีนี้ เราเก็บข้อมูลละเอียดมากตั้งแต่ผลเลือด พฤติกรรมการกิน การดื่ม เช่น ดื่มวันละเท่าไร ดื่มยี่ห้อไหน หรือ สูบบุหรี่ยี่ห้ออะไร วันละกี่มวน กี่ซอง เป็นต้น
เมื่อครบระยะเวลา 20 ปี เราก็จะทราบว่าใครมีสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้มาวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และล่าสุดนี้ จากข้อมูลที่เก็บมาได้มีการนำมาวิเคราะห์ว่าอะไรคือสาเหตุทำให้เกิดโรคไตในคนไทย และสามารถสร้างเป็นแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยออกมาได้แล้ว”
แบบประเมินความเสี่ยง สัญญาณโรคไต
วิธีสแกนแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตต่อคนไทยโดยใช้คิวอาร์โค้ด ทำได้ดังนี้
1. เข้าไปในแอพพลิเคชั่นไลน์
2. กดเพิ่มเพื่อน (Add Friends)
3. กดคิวอาร์โค้ด (QR Code)
4. สแกนคิวอาร์โค้ดในหน้านิตยสารเพื่อโหลดแบบประเมิน

อ่านต่อ>>เช็กสาเหตุเสี่ยงโรคไต
อ่านเพิ่มเติม วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต หนานเฉาเหว่ย : ผู้ป่วยโรคไต กินได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือเปล่าอะไรบ้าง คือสาเหตุเสี่ยงโรคไตของคนไทย
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงชาครีย์ กิติยากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายรายละเอียด ของแบบประเมินนี้ว่า “แบบประเมินนี้ช่วยวิเคราะห์ว่า คุณมีความเสี่ยงโรคไตในอีก 10 ปีข้างหน้ามากน้อยแค่ไหน โดยจะมี 2 รูปแบบ คือ แบบไม่ใช้ผลเลือด และแบบใช้ผลเลือด แบบไม่ใช้ผลเลือดเป็น รูปแบบการวิเคราะห์เบื้องต้น ในกรณียังไม่สะดวกเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและค่าไตซึ่งมีความแม่นยำ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบบใช้ผลเลือดต้องทราบระดับน้ำตาลในเลือดและค่าไตซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตรวจเลือดที่โรงพยาบาล แต่จะมีความแม่นยำเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์” แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยแบบไม่ใช้ผลเลือดนั้นมีข้อมูลจำเป็นที่ต้องกรอกอยู่ 5 ข้อ คือ 1. อายุ 2. เพศ 3. ค่าความดันโลหิตตัวบน 4. เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ 5. รอบเอว (นิ้ว) ส่วนแบบประเมินที่ใช้ผลเลือดนั้น มีข้อมูลจำเป็นอีก 2 ข้อ ที่ต้องกรอกเพิ่ม คือ 1. ค่าน้ำตาล (FBS) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2. ค่าไต (Creatinine) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

วิธีทำนายโรคไต ป่วยหรือไม่ใน 10 ปี
สัญญาณโรคไต วิธีทำนายโรคไต ป่วยหรือไม่ใน 10 ปี สัญญาณโรคไต เมื่อไหร่ต้องระวัง เมื่อไหร่จะป่วยเป็นโรคไต วันนี้ชีวจิตออนไลน์ จะชวนคุณผู้อ่านมาทำ “แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทย” อย่าเพิ่งทำหน้าเบ้พร้อมบ่นเบาๆว่า ก็ไม่เห็นจะน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้นตรงไหน เพราะแบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้นเคยทำมาเยอะแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องจริง เรามีแบบประเมินมากมาย แต่ส่วนใหญ่นั้นมักแปลเนื้อหามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีหัวข้อในการประเมินที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยนัก แต่สำหรับแบบประเมินที่เรานำมาฝากนี้ทำการศึกษาในคนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยคนไทยและคิดวิธีการแปลผลโดยคนไทย ที่สำคัญ เป็นงานวิจัยเรื่องใหญ่ที่สุดและใช้เวลาทำการวิจัยยาวนานที่สุดในประเทศ จึงเชื่อได้ว่าให้ผลการทำนายหรือวิเคราะห์แม่นยำมาก ร่วมภูมิใจ งานวิจัยเรื่องสำคัญของคนไทย นายแพทย์ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ ประจำหน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จัดการโครงการการประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทย เล่าถึงที่มาของแบบประเมินนี้ว่า “ก่อนหน้านี้เราไม่มีแบบประเมินความเสี่ยง สัญญาณโรคไต เป็นของตัวเอง เราจึงนำแบบประเมินของต่างประเทศมาใช้ แต่ปรากฏว่า ผลประเมินที่ออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากแบบประเมินของต่างประเทศเขาเก็บข้อมูลจากประชากรในประเทศของเขา ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรม สภาพความเป็นอยู่หรือไลฟ์สไตล์ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่ไม่เหมือนเรา มาวิเคราะห์และทำเป็นแบบประเมิน ผลวิเคราะห์จึงไม่ตรงกัน” สำหรับแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยนี้ เป็นงานวิจัยที่ต่อยอดมาจากงานวิจัยแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณหมอปริญญ์อธิบายรูปแบบการทำวิจัยว่า “งานวิจัยนี้เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นงานวิจัยเรื่องใหญ่ที่สุด และใช้เวลาในการทำวิจัยยาวนานที่สุด คือเกือบ 30 ปี โดยการเก็บข้อมูลสุขภาพและติดตาม พฤติกรรมการใช้ชีวิตของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 คน ที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นเวลา 20 ปี ระหว่าง 20 ปีนี้ เราเก็บข้อมูลละเอียดมากตั้งแต่ผลเลือด พฤติกรรมการกิน การดื่ม เช่น ดื่มวันละเท่าไร ดื่มยี่ห้อไหน หรือ สูบบุหรี่ยี่ห้ออะไร วันละกี่มวน กี่ซอง เป็นต้น เมื่อครบระยะเวลา 20 ปี เราก็จะทราบว่าใครมีสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้มาวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และล่าสุดนี้ จากข้อมูลที่เก็บมาได้มีการนำมาวิเคราะห์ว่าอะไรคือสาเหตุทำให้เกิดโรคไตในคนไทย และสามารถสร้างเป็นแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยออกมาได้แล้ว” แบบประเมินความเสี่ยง สัญญาณโรคไต วิธีสแกนแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตต่อคนไทยโดยใช้คิวอาร์โค้ด ทำได้ดังนี้ 1. เข้าไปในแอพพลิเคชั่นไลน์ 2. กดเพิ่มเพื่อน (Add Friends) 3. กดคิวอาร์โค้ด (QR Code) 4. สแกนคิวอาร์โค้ดในหน้านิตยสารเพื่อโหลดแบบประเมิน อ่านต่อ>>เช็กสาเหตุเสี่ยงโรคไต อ่านเพิ่มเติม วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต หนานเฉาเหว่ย : ผู้ป่วยโรคไต กินได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือเปล่า