วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย
วิธีชะลอวัยเพื่อผู้สูงวัย ผู้สูงวัย อายุมากกว่า 60 ปี วัยที่มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของร่างกาย ตาพร่ามัว การทำงานของระบบทางเดินอาหารช้าลง ย่อยช้า การขับถ่ายช้า ข้อเสื่อม กระดูกบาง สมองฝ่อ หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน ผิวหนังหย่อนยาน สัดส่วนน้ำกับไขมันใต้ผิวหนังลดลง กลุ่มโรคของผู้สูงอายุ เช่น สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ กระดูกพรุน ข้อเสื่อม โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย และปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง ผู้สูงวัยหรือผู้ย่างเข้าสู่วัยสูงอายุควรเข้ารับการตรวจวัดมวลกระดูก เพื่อดูระดับความเปราะบางและความพรุนของกระดูก จะได้ทราบว่ามีความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยวิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุนที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป แต่โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่มักได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมเพิ่มเติม นอกจากนี้การออกกำลังกาย เช่น เดิน หรือวิ่ง ก็มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น แต่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายด้วยการกระโดด เพราะอาจส่งผลกับหัวเข่าได้ ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง มีลักษณะเด่นคือความจำที่แย่ลง หลงๆ ลืมๆ โดยอาการเตือนภัยของสมองเสื่อม ได้แก่ ลืมจนกระทบชีวิตประจำวัน มีปัญหาในการวางแผนหรือการแก้ปัญหา มีปัญหาในการทำกิจกรรมที่คุ้นเคย มีความสับสนกับสถานที่และเวลา มีปัญหาในการใช้ภาษา นึกคำไม่ออก มีปัญหาในการมองรูปหรือภาพหลายมิติ ทำของหายและไม่สามารถจำได้ ความสามารถในการเข้าสังคมลดลง เก็บตัวมากขึ้น อารมณ์และนิสัยเปลี่ยนแปลงไป
วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย สดใส แข็งแรง
วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย สดใส แข็งแรง ไม่เจ็บโน่นปวดนี่ให้รำคาญใจ วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย ต้องทำอย่างไร หลายคนขวนขวายหาทางหยุดความเสื่อมของสุขภาพไว้ที่วัยซึ่งแข็งแรงที่สุด โดยมีตัวช่วยเป็นมีดหมอ ยา เทคโนโลยี ซึ่งก็มักมีผลข้างเคียงร้ายแรงแถมมาด้วยเสมอ วันนี้ เราจึงมีแนวทางธรรมชาติเข้ามาดูแลสุขภาพตัวเองมาฝาก รู้ได้อย่างไรว่าร่างกายเสื่อม คนเราปกติมักสามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีคุณภาพตามหลักพื้นฐานของปัญจกิจ ได้แก่ กิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย และทำงาน แต่เมื่อวัยเพิ่มขึ้นจนแตะมาตรฐานสังคมที่บอกไว้ว่า คนที่มีอายุเลยวัยเกษียณคือ 60 ปี (ปัจจุบันลดลงเหลือ 55 ปี) ก็ให้ถือได้ว่าเป็นวัยผู้สูงอายุ แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องสุขภาพก็ใช่ว่าจะวัดกันที่อายุ บางคน 60 แล้วยังแข็งแรง สุขภาพดี แต่บางคนอายุยังไม่ทันถึง 30 กลับป่วยกระเสาะกระแสะ หากยังไม่แน่ใจว่าร่างกายตัวเองเสื่อมหรือยัง สามารถสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้ คือ ทำงานได้น้อยลง งานที่เคยทำเป็นปกติทุกวันก็มักจะใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนก่อน หลงๆ ลืมๆ อาการหลงลืมเป็นอีกสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่าเวลาของคุณมาถึงแล้ว เมื่อใดที่คุณเริ่มนึกชื่อเพื่อนหรือญาติที่ไม่ได้เจอกันนานไม่ออก ลืมของที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น แว่นตา หมวก ไม้เท้า […]