วางแผนการเงิน
ตั้งสติเมื่อเจอ ปัญหาเรื่องเงิน เคล็ดลับวางแผนจัดการให้เป็นระบบ
เงินไม่พอใช้ เงินขาดมือ แก้ปัญหาไม่ได้ ขอบอกว่าปัญหาเหล่านี้แก้ได้ด้วยการมี “สติ” ค่ะ เพราะถ้าเราขาดสติการแก้ปัญหาก็จะไม่เกิดเพราะฉะนั้นสติสำคัญมากๆ
วางแผนหลังเกษียณ ออมเงินอย่างไรให้มีเงินใช้ไม่ลำบากในบั้นปลาย
วางแผนหลังเกษียณ ออมเงินอย่างไรให้มีเงินใช้ไม่ลำบากในบั้นปลาย เคยคิด หรือมีความคิดนี้เกิดขึ้นบ้างไหมว่า หากวันหนึ่งเราไม่มีเงินเดือนใช้แล้วจะทำอย่างไร การ วางแผนหลังเกษียณ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้มีเงินใช้ไม่ลำบากในชีวิตช่วงหลังเกษียณ เมื่อพูดถึงชีวิตหลังเกษียณก็ไม่อยากให้รู้สึกตึงเครียด หรือตีตนไปก่อนไข้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจออยู่แล้ว ลองจินตนาการดูว่า ในวันนี้ที่ยังมีเงินเดือนช่วยต่อลมหายใจให้กับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราไปได้อย่างเดือนชนเดือน แล้ววันหนึ่งเราไม่สามารถทำงานและสนุกสนานกับการใช้เงินเดือนได้อีกต่อไป เราในวันนั้นจะเป็นอย่างไร ภาพสีเทาแห่งความสิ้นหวังอาจฉายขึ้นมาในหัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้จำภาพนั้นเป็นแรงจูงใจ และบอกกับตัวเองว่าภาพแบบนั้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นกับเรา จึงขอแนะนำว่าอย่าได้กลัวหรือกังวลว่าเราจะออมเงินไม่สำเร็จ หรือมีการเงินที่ขัดสนในบั้นปลายชีวิต หากเริ่มต้นด้วยความเครียดนับว่าเป็นการเริ่มต้นเตรียมตัวหลังเกษียณที่ไม่ดีเลย ลองเปลี่ยนความคิดว่าเรากำลังจะมอบของขวัญให้กับตนเองในอนาคตดีกว่า คุณ Maibat (นามแฝง) ได้เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งไว้ในบทความชื่อว่า “วางแผนหลังเกษียณ ต้องเก็บเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ” ว่า “คุณครูเกษียณโรงเรียนเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่งจึงขอหยิบยกขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจ คุณครูกลุ่มนี้สอนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี แทบไม่เคยเปลี่ยนงานเลยเพราะภูมิใจในสถาบันการศึกษาแห่งนี้และได้ประกอบอาชีพสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพในสังคม แม้เงินเดือนที่ได้รับจะน้อยนิดอยู่จนเกษียณยังอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ เท่านั้นเอง ท่านยังมีความหวังพึ่งบำนาญที่จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของเงินเดือน ๆ สุดท้ายจ่ายไปเรื่อย ๆ จนสิ้นอายุขัย แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อจู่ ๆ โรงเรียนเปลี่ยนกฎข้อบังคับให้คุณครูทุกคนรับบำเหน็จแทน ซึ่งได้เงินเป็นก้อนครั้งเดียวเพียงหลักแสนไม่ถึงล้าน แล้วจะใช้อย่างไรให้พอกับชีวิตหลังเกษียณอีก 20 ปีหรือมากกว่านั้น ครูบางท่านต้องจำใจทำงานต่อจนถึงวันหมดสิ้นเรี่ยวแรง ครูบางท่านทนอยู่อย่างลำบากเก็บเงินไว้เป็นค่ารักษาตัว ครูบางท่านนำบำเหน็จไปลงทุนทำการเกษตรสุดท้ายเจ๊ง” […]
วิธีป้องกันโรคมะเร็ง ก่อนล้มละลาย
วางแผนการเงิน ด้านสุขภาพ ป้องกันโรค ป้องกันล้มละลาย วางแผนการเงิน เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิต โดยเฉพาะวางแผนการเงินด้านสุขภาพ จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทยและทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า วันนี้สถานการณ์ของโรคมะเร็งนั้นรุนแรงแค่ไหน รวมถึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจมากเพียงใด เราจะมาอัพเดตสถานการณ์โรคมะเร็งทั้งในประเทศ อาเซียน และทั่วโลกกันครับ เพื่อจะได้ วางแผนการเงิน ด้านสุขภาพ 14 ล้านคนทั่วโลก…เหยื่อมะเร็งร้าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเอื้อมแข สุขประเสริฐแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายว่า “ขณะนี้ทั่วโลกมีประชากรอยู่ประมาณ 7 พันล้านคน พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เกิดขึ้นปีละ 14 ล้านคน และเสียชีวิตปีละ 8 - 9 ล้านคน โดยมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้ชายและผู้หญิงนั้นแตกต่างกัน “ผู้ชายเป็นมะเร็งปอดมากที่สุด สาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ มีอุบัติการณ์เกิดโรคปีละ 1.2 ล้าน เสียชีวิตปีละ 1.09 ล้านคน ซึ่งจะเห็นว่าอุบัติการณ์เกิดโรคและเสียชีวิตนั้นใกล้เคียงกัน เนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มเป็นได้ และการรักษามะเร็งปอดนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่วนอันดับสองและสามของชนิดมะเร็งในผู้ชายคือ มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ ตามลำดับ” ส่วนมะเร็งในผู้หญิงนั้น คุณหมอเอื้อมแขอธิบายสรุปว่าอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิงคือมะเร็งเต้านม สองคือมะเร็งลำไส้ และสามคือมะเร็งปากมดลูก “อุบัติการณ์เกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วโลกอยู่ที่ปีละประมาณ 1.67 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 5 แสนคน ซึ่งจะเห็นว่าอุบัติการณ์เกิดโรคและเสียชีวิตของมะเร็งเต้านมนั้นต่างกันมาก เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งชนิดที่สามารถตรวจพบได้เร็วและมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถยืดอายุของผู้ป่วยออกไปได้” อ่านเพิ่มเติม :การแพทย์แม่นยำรักษามะเร็ง ประชากรอาเซียน ล้มละลายเพราะมะเร็ง ส่วนสถานการณ์มะเร็งในอาเซียนนั้น เราเก็บข้อมูลจากการศึกษาของ ASEAN Costs in Oncology (ACTION) การศึกษาชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 9,513 รายทั่วประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยสถาบันวิจัยจอร์จเพื่อสุขภาพระดับโลก และเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 พบว่า ผู้ป่วยจำนวนกว่า 3 ใน 4 (75 เปอร์เซ็นต์) จะเสียชีวิตหรือเผชิญกับปัญหาทางการเงินภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง และมักส่งผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยมากที่สุด จนเกิดการล้มละลายทางการเงิน เพราะไม่มีการ วางแผนการเงิน เมื่อเปรียบเทียบคนไข้จากประเทศในทวีปตะวันตกและทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว พบว่า คนไข้ชาวตะวันตกมักจะสามารถใช้ชีวิตต่อได้อีก 10 ปี ในขณะที่คนไข้จากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้โดยเฉลี่ยเพียงหนึ่งปี โดยปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเงิน การวางแผนการเงิน และการเสียชีวิตคือ ระยะของโรคมะเร็งที่พบ ประเภทของมะเร็งและฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่มีประกันสุขภาพจะประสบปัญหาทางการเงินและเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพ ส่วนผลการศึกษาของ ACTION ที่ทำการสำรวจผู้ป่วยมะเร็งในเมืองไทยกว่า 1,200 คน พบว่า ผู้ป่วยจำนวนกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ได้รับการวินิจฉัยเมื่อเป็นโรคมะเร็งในระยะท้าย ๆ (ระยะที่ 3 และ 4) และจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 (26 เปอร์เซ็นต์) เสียชีวิตภายในปีแรกหลังจากได้รับการวินิจฉัย ทั้งนี้ยังพบว่า การตรวจพบมะเร็งในระยะสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวอีกด้วย เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตขึ้นอีกถึง 5 เท่า และเพิ่มโอกาสที่จะประสบกับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นอีกถึง 2 เท่า หากไม่มีการ วางแผนการเงิน อ่านเพิ่มเติม :พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ โรคมะเร็ง รักษาได้ ไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป อ่านต่อ>> เทคนิควางแผนการเงิน ป้องกันล้มละลาย อ่านเพิ่มเติม […]
กรุงศรีคอนซูมเมอร์ ต่อยอดโครงการ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ ชวนคนรุ่นใหม่ ‘ใช้เงินเป็น เห็นทางรวย’
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดตัวโครงการ “ฉลาดคิด ฉลาดใช้” ภายใต้แนวคิด ใช้เงินเป็น เห็นทางรวย โครงการให้ความรู้ด้านการบริหารเงิน หวังส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีวินัยทางการเงินที่ดี ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน เผยกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มใช้จ่ายบ่อยครั้ง และมีอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายต่อปีสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งยังมีแนวโน้มผิดนัดชำระสูงกว่า และเสี่ยงก่อหนี้ นางสาวณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด และประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้สินเชื่อที่มีความรับผิดชอบ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้ริเริ่มโครงการ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ โดยกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ขึ้นตั้งแต่ปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีวินัยทางการเงินที่ดี ขอบเขตของโครงการในปีที่แล้ว ประกอบด้วยกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินผ่านทางสื่อออนไลน์สำหรับกลุ่มคนวัยเริ่มทำงาน และกิจกรรมประกวดสื่อให้ความรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้สนใจติดตามผ่านทางเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์เป็นจำนวนมาก และมีนักศึกษาส่งโครงการสื่อเข้าประกวดกว่า 100 โครงการจากทั่วประเทศ สำหรับในปีนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงวางแผนต่อยอด ขยายขอบเขตโครงการฉลาดคิด […]
ไม่อยากใช้เงินหมุน มีร้านค้าเล็กๆ แต่อยาก เก็บเงิน ได้สักที
เรื่อง เก็บเงิน อย่าคิดว่ายาก ยิ่งช่วงนี้ใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ยิ่งเป็นเด็กจบใหม่ไฟแรง มีความคิดความอ่าน ย่อมไม่อยากทำแล้วกับการเป็นมนุษย์เงินเดือน คิดไปไกลถึงอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่พอเริ่มทำก็เข้าสู่ธุรกิจเงินหมุน ต้องหมุนทุน กำไร มาจ่ายเข้าจ่ายออกจนปวดหัว วันนี้เราเลยจะขอแชร์เทคนิคสำหรับคนทำแบรนด์ร้านค้าขนาดเล็ก แต่อยากมีเงินเก็บเป็นของตัวเองเสียที มีหนี้ให้น้อยที่สุด ถ้าไม่ได้มีเงินถุงเงินถังมาจากพ่อแม่ แนะนำว่าให้เป็นนกน้อยทำรังแต่พอตัว ควรเริ่มต้นทำธุรกิจจากสิ่งเล็กๆ ก่อน ใช้เงินลงทุนน้อย เพื่อทดลอง ก่อนค่อยๆ ขยายฐานเงินทุนจากกำไรที่ได้ ต่อยอดไปเรื่อยๆ อาจจะช้าแต่ชัวร์แน่นอน แบ่งเงินให้เป็น อย่าดึงเงินส่วนตัวมาใช้กับร้าน วิธีการนี้จะคิดนึกในใจ แบ่งไว้ในอากาศไม่ได้ คุณต้องเขียนตารางแบ่งออกมาให้ชัดเจน ระหว่างเงินใช้จ่ายส่วนตัว กับเงินใช้จ่ายของร้าน แล้วจะแบ่งแบบไหน เงินส่วนตัว เงินใช้จ่าย กิน เที่ยว ค่าเดินทางในชีวิตประจำวัน เงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ อย่าลืมเงินออมสิ่งสำคัญ เงินของร้าน เงินใช้หนี้ที่กู้มาลงทุน ค่าจ้างพนักงานในร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโปโมทร้านใน Facebook เมื่อมีตรงไหนรั่ว เช่นเงินจากร้านขาดทุน […]