วัคซีน
GSK ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนายาและ วัคซีนนวัตกรรม รับรางวัล AMCHAM CSR Excellence 2022
GSK ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนายาและ วัคซีนนวัตกรรม รับรางวัล AMCHAM CSR Excellence 2022 GSK ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนายาและ วัคซีนนวัตกรรม รับรางวัล AMCHAM CSR Excellence Recognition Award ประจำปี 2565 ระดับแพลตินัม จากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 ในฐานะองค์กรที่มีผลงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่น จากการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วย นายเจฟฟรีย์ ไนการ์ด ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีที่ได้รับรางวัล AMCHAM CSR Excellence Recognition Award […]
รู้หรือไม่ ฉีดแอสตร้าเซเนก้า 3 เข็ม ป้องกันโควิดโอไมครอนได้
รู้หรือไม่ ฉีดแอสตร้าเซเนก้า 3 เข็ม ป้องกันโควิดโอไมครอนได้ หลายคนได้ ฉีดแอสตร้าเซเนก้า ครบแล้ว 2 เข็ม ซึ่งถ้าฉีดเพิ่มอีก 1 เข็ม จะช่วยกระตุ้นระดับแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ บริษัท แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) ออกแถลงการณ์ ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ช่วยกระตุ้นระดับแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดสนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม ในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่3 ต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการล่าสุด บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 โดยพบว่า ระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า) โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่า ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า1 (ซึ่งการศึกษาจากการใช้จริงในหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าสองโดสสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้) สำหรับการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 […]
สหรัฐฯ แนะนำฉีดโมเดอร์นาให้เป็น วัคซีนกระตุ้น ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง
สหรัฐฯ แนะนำฉีดโมเดอร์นาเป็น วัคซีนกระตุ้น ให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ เอฟดีเอ แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากบริษัทโมเดอร์นา เพื่อเป็น วัคซีนกระตุ้น ให้แก่ชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง และผู้ทำงานที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องของเอฟดีเอ ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 19 ต่อ 0 เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้วัคซีนโมเดอร์นา เป็นวัคซีนกระตุ้น ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ยังคงไม่ครอบคลุมมากพอ เนื่องจากแต่ละบุคคลนั้นมีปริมาณแอนติบอดีไม่เท่ากัน แม้ว่าเอกสารของ เอฟดีเอ จะชี้ว่า การฉีดวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่สามนั้นสามารถเพิ่มปริมาณแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันโรคได้ก็ตาม ด้านบริษัทโมเดอร์นา ได้ยื่นขออนุมัติฉีดเข็มที่ 3 ในขนาด 50 ไมโครกรัม ต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ 30 ไมโครกรัม ซึ่งวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่สามนั้นจะฉีดหลังจากได้รับวัคซีนครบสองเข็มเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุข ได้รับแรงกดดันให้อนุมัติการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากที่ทำเนียบขาวประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า เตรียมเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการรออนุมัติจาก เอฟดีเอ และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ออนไลน์ บทความอื่นที่น่าสนใจ […]
เปิดแผน ฉีดโมเดอร์นา เมื่อไหร่ เมื่อรับวัคซีนอื่นมาแล้ว
เปิดแผน ฉีดโมเดอร์นา เมื่อไหร่ เมื่อรับวัคซีนอื่นมาแล้ว ช่วงนี้ใครหลายคนน่าจะกำลังมองหาทั้งวัคซีนทางเลือก และแผนการการฉีดวัคซีนว่าควรจะฉีดห่างกันเมื่อไหร่ดี และสำหรับคนที่ ฉีดโมเดอร์นา ชีวจิตก็นำแผนการฉีดวัคซีนมาฝากกันค่ะ โดยเป็นแผนการฉีดที่แนะนำโดยโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค ใครที่รับวัคซีนอะไรไปแล้ว และควรฉีดเมื่อไหร่อย่างไร มาอ่านกันได้เลยค่ะ ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม ในกรณีที่ ฉีดมาแล้ว 1 เข็ม ฉีดวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 1 เดือน ฉีดโมเดอร์นา 1 เข็ม ฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 1 เดือน ฉีดโมเดอร์นา 2 เข็ม ในกรณีที่ ฉีดมาแล้ว 2 เข็ม ฉีดวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ฉีดโมเดอร์นา 1 เข็ม ฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 6 เดือน ฉีดโมเดอร์นา 2 เข็ม แอสตาเซเนก้า ฉีดโมเดอร์นา 1 เข็ม หลังฉีดวัคซีนเข็มแรก […]
วัคซีนผู้สูงอายุ มีอะไรบ้างที่ต้องฉีด เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง
วัคซีนผู้สูงอายุ มีอะไรบ้างที่ต้องฉีด เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง วัคซีนผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง หลายคนอาจคิดว่า วัคซีนนั้นมีแค่เด็กๆ เท่านั้นที่ต้องใช้ แต่ความจริงแล้ว เมื่ออายุมากขึ้น วัคซีนต่างๆ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน ส่วนจะมีอะไรบ้าง เรามีบทความดีๆ จาก ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาบอกต่อ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 จึงจำเป็นที่เราควรหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านมีความสุข ปราศจากโรคภัยและเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลานผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนวัยหนุ่มสาว ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย รวมถึงมีการติดเชื้อรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อน และต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งแท้จริงแล้วโรคติดเชื้อบางอย่าง สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แม้วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การได้รับวัคซีนจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดโรค ลดความรุนแรงของโรค ประหยัดค่ารักษาพยาบาล จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนรับรู้ว่า วัคซีนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเด็กเท่านั้น ผู้สูงอายุก็มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเช่นกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวัคซีน 4 ชนิดที่จำเป็นในผู้สูงอายุ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุที่เป็นไข้หวัดใหญ่ อาจเกิดหลอดลมอักเสบและปอดบวม หรือบางรายมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากอาการรุนแรงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ […]
รู้จักวัคซีนสักนิด ก่อนต้องฉีด เพื่อรับมือโควิด-19
รู้จักวัคซีนสักนิด ก่อนต้องฉีดวัคซีน เพื่อรับมือโควิด-19 รู้จักวัคซีนสักนิด น่าจะดี เพราะอีกไม่นาน หลายคนคงจะได้ ฉีดวัคซีน กันแล้ว ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนกันสักหน่อยจะดีกว่า มนุษยชาติมีความพยายามที่จะป้องกันตัวเองจากการเจ็บป่วยต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีการสังเกตเห็นว่าเมื่อมีการระบาดของโรคใดๆ ผู้ที่เคยเป็นโรคนั้นแล้วหาย มักจะไม่ป่วยเป็นโรคเดิมซ้ำอีก!! นั้นคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองด้วยหลากหลาย ในอดีตเคยพิศดารไปถึงขั้น กินงูพิษ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันจากพิษงู การดื่มเลือดเป็ดที่เคยกินยาพิษมาก่อน เพราะเชื่อว่าจะป้องกันพิษได้หากถูกวางยาพิษ…โอ้โน!! ราวศตวรรษที่ 10 พบบันทึกว่า ประเทศจีนเริ่มมีการพยายามหาวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้ทรพิษ ด้วยวิธีหลากหลาย เช่น นำเอาสะเก็ดแผลจากผื่นที่เกิดจากผื่นของโรคไปบดแล้วเอาไปใส่ในจมูกของผู้ไม่เคยเป็นไข้ทรพิษดังกล่าวมาก่อน นอกจากนี้ ยังมีวิธีเอาเข็มสะกิดตุ่มหนองของผู้ป่วยแล้วนำไปสะกิดที่ผิวหนังของผู้ยังไม่เคยติดโรค ซึ่งภายหลังเรียกวิธีการนี้ว่า การปลูกฝี วิธีการดังกล่าวถูกเผยแพร่และนำไปปฏิบัติในหลายๆ ประเทศ ทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ศตวรรษที่ 17 ดร.เอดเวิร์ด เจนเนอร์ สกัดนำเชื้อไข้ทรพิษหรือ cowpox จากหญิงเลี้ยงวัวที่ติดเชื้อดังกล่าวจากวัวที่เธอเลี้ยง ไปให้เด็กชายวัย 8 ปี ซึ่งหลังจากให้เชื้อฝีดาษดังกล่าวแก่เด็กชายผู้นั้น 6 สัปดาห์ พบว่า เด็กชายไม่ป่วยหรือมีอาการสำแดงถึงโรคฝีดาษ ดร.เจนเนอร์ จึงเรียกหนองฝีวัวนั้นว่า “VACCINE” […]
เปิด 4 ขั้นตอน กว่าจะได้ วัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยเพียงพอ ต้องผ่านอะไรบ้าง
4 ขั้นตอน กว่าจะเป็น วัคซีนโควิด-19 ต้องผ่านอะไรบ้าง ในปัจจุบัน มี วัคซีนโควิด-19 หลากหลายยี่ห้อสู่ท้องตลาด วัคซีนเหล่านี้ไว้ใจได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเขาผ่านขั้นตอนอะไรบ้างที่จะการันตีความปลอดภัยให้กับประชากรโลกส่วนใหญ่ที่ต้องฉีดเข้าไป มาอ่านกันเลยค่ะ ขั้นตอนผลิตวัคซีน สำหรับวัคซีนและยาใหม่ที่จะถูกคิดค้นขึ้นมาสักตัว ต้องผ่านการทดสอบมากมายเพื่อประเมินระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาและวัคซีน โดยจะต้องถูกทดสอบในห้องแล็บ และทดสอบกับสัตว์ ก่อนที่จะนำมาใช้ทดสอบกับคน หรือเรียกว่า ระดับพรีคลีนิก ส่วนในขั้นคลินิก (Clinical Testing) หรือทำการทดลองในคน แบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ทดสอบกับอาสาสมัครที่สุขภาพแข็งแรง เพื่อทดสอบความปลอดภัยและความทนทาน มากกว่าประสิทธิภาพของตัวยา ระยะที่ 2 ทดสอบกับผู้ป่วย อย่างน้อยมากกว่า 100 ราย เน้นประสิทธิภาพของยาหรือวัคซีนในการรักษาโรค ระยะที่ 3 ทดสอบกับผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มได้รับยาจริง และกลุ่มได้รับยาหลอก(Randomized Controlled Trial) โดยทดลองกับอาสาสมัครจำนวนมาก และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตัวยาทดลอง เพื่อนำไปสู่การขึ้นทะเบียนยา และระยะที่ 4 เก็บข้อมูลความปลอดภัยของยาจากประชาชนที่ใช้ยาทั่วไป หรือเรียกว่าการศึกษาหลังการวางจำหน่าย โดยเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยง สรรพคุณในระยะยาว […]
ฉีด วัคซีนโควิด – 19 แล้วติดโรคได้ยังไง? และแอสตร้าเซนเนก้าฉีดแล้วจะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า?
ฉีด วัคซีนโควิด – 19 แล้วติดโรคได้ยังไง? และ แอสตร้าเซนเนก้าฉีดแล้วจะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า? กลายเป็นประเด็นที่ค้างคาใจทุกคนมาสักระยะแล้ว สำหรับ 2 คำถามยอดนิยมนี้ โดยเฉพาะในช่วงนี้มีข่าวออกมามากทั้งคนที่ ฉีดวัคซีนโควิด ไปแล้วยังป่วยได้ ทั้งปัญหาลิ่มเลือดในผู้ที่ฉีดวัคซีน วันนี้มีคำตอบมาให้แล้วค่ะ โดยแพทย์หญิงสาริษฐา สมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนไทเอจจิ้ง ด้านระบบประสาทและสมอง และด้านกุมารเวช ประเด็นแรก ฉีดไปแล้วทำไมยังเป็นโรคโควิด-19 ได้ ในการฉีดวัคซีนนั้น เป็นการฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน โดยหากนับวันที่ฉีดวัคซีนโดสแรกเป็นวันที่ 0 และโดสที่สองในวันที่ 14 – 28 นั้น ร่างกายจะค่อยๆ เรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา และจะมีภูมิคุ้มกันสูงสุดเต็มประสิทธิภาพ ประมาณวันที่ 48 นับจากวันที่ฉีดวัคซีนโดสแรก แต่หากได้รับเชื้อไวรัสโควิด ก่อนวันที่ 0 หรือในช่วงระยะเวลา ก่อนครบ 48 วัน นับจากวันที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก ก็อาจจะมีโอกาสป่วยได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเกิดภูมิคุ้มกันนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย ประเด็นที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้าฉีดได้ไหม จะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า? […]
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เมื่อไม่นานมานี้จากการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์เผย การฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ผลวิจัยใหม่ล่าสุดที่เผยแพร่ในการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ หรือ Alzheimer’s Association International Conference® (AAIC®) 2020 ระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ข้อมูลสำคัญจาก 3 การวิจัยที่เปิดเผยในการประชุม AAIC 2020 มีดังนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หนึ่งครั้งทำให้อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ลดลง 17% และการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่บ่อยกว่านั้นทำให้อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ลดลงอีก 13 เปอร์เซ็นต์ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมให้ผู้สูงวัยอายุ 65-75 ปี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงสุด 40% ขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตหลังติดเชื้อสูงกว่า (6 เท่า) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม (3 เท่า) “วัคซีนเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในวงการสาธารณสุขท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราจำเป็นต้องศึกษาประโยชน์ของวัคซีนทั้งในแง่ของการป้องกันการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และการยกระดับการดูแลสุขภาพในระยะยาว” ดร.มาเรีย ซี คาร์ริลโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ กล่าว “การฉีดวัคซีนเป็นการดูแลสุขภาพง่าย ๆ แต่ได้ประโยชน์หลายทาง หนึ่งในนั้นคือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม” ดร.คาร์ริลโล กล่าว “การวิจัยนี้กระตุ้นให้เกิดการวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติมที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายมากขึ้น เพื่อยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเป็นกลยุทธ์ด้านสาธารณสุขที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น” วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลอาจลดการเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ผลวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนอาจมีคุณสมบัติในการป้องกันการเสื่อมถอยของสมอง แต่ยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่และครอบคลุมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะ เพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว อัลเบิร์ต […]
รวม วัคซีนสำหรับแต่ละช่วงวัย วัยไหนควรฉีดอะไรบ้าง
วัคซีนสำหรับแต่ละช่วงวัย ปัจจุบันโรคธรรมดากลายเป็นโรครุนแรงที่ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไม่น้อย หรือบางโรคก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันโรคและความรุนแรงของโรคสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ซึ่งควรฉีดทั้งวัคซีนเด็กและวัคซีนผู้ใหญ่เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว วัคซีนป้องกันโรคร้ายในปัจจุบันมีอะไรบ้าง โรงพยาบาลบางปะกอก 8 มีเช็คลิสต์ วัคซีนสำหรับแต่ละช่วงวัย มาแนะนำ 6 โรคร้ายที่เด็กและผู้ใหญ่ควรป้องกัน โรคธรรมดาอย่างโรคหวัด ไข้หวัดกลับมีความรุนแรงมากขึ้นที่ทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีอาการป่วยรุนแรง รักษานานขึ้น ดื้อยา หรือในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกเหนือจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว ยังมีเชื้อโรคอื่นๆ ที่รุนแรงไม่แพ้กันและเป็นโรคที่ไม่จำกัดอายุ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดเวลาหากได้รับเชื้อโรคหรือความเสี่ยงในการรับเชื้อโรค นี่คือ 6 โรคร้ายที่เด็กและผู้ใหญ่ควรฉีดวัคซีนป้องกันควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้อไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ IPD vaccine โรคท้องร่วง ท้องเสียจากไวรัสโรต้า ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า Rotavirus vaccine โรคมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก HPV vaccine โรคอีสุกอีใส ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส โรคที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ B ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B วัคซีนเด็กและวัคซีนผู้ใหญ่ป้องกัน 6 โรคร้ายข้างต้น สำหรับเด็กๆ เราจะเรียกว่าวัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก […]
ให้นมลูก ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้หรือไม่ ?
ให้นมลูก ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้หรือไม่ ? ให้นมลูก ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้หรือไม่ ลูกปลอดภัยหรือเปล่า เป็นคำถามที่คุณพ่อ คุณเเม่ หลายคนอาจสงสัย เเละต้องการคำตอบ เพราะในเเต่ละปีโรคไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์ระบาดหนักแทบทั้งปี จะสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ ไขข้อข้องใจไปพร้อมๆกัน ข้อมูลจาก Centres for Disease Control and Prevention ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังต่อไปนี้ 1. ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ตอบ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไข้หวัด ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจนไปถึงมีอาการที่รุนแรง และในบางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นสตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป และคนผู้ที่มีโรคประจำตัว มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ ส่งผลต่อชีวิตได้ 2. ไข้หวัดใหญ่สามารถถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมแม่ได้หรือไม่? ตอบ บอกเลยว่าไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถแพร่กระจายไปยังทารกผ่านทางน้ำนมแม่ได้ เเต่ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเเละติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ละออง เมื่อคนไอ จาม พูดคุย และสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่มีเชื้อไวรัส อาจทำให้เป็นไข้หวัดใหญ่ได้ 3. นมแม่สามารถช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ […]
เช็กแพ็คเก็จ+ราคา วัคซีนแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ จากโรงพยาบาลชั้นนำ
รวม วัคซีนแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ จากโรงพยาบาลชั้นนำ อายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันอาจอ่อนแอลง นอกจากการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิเสียหน่อย เพื่อต่อสู้กับโรคภัยที่ร้ายกาจขึ้นทุกวันนับเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ วันนี้ชีวจิตจะมาบอก วัคซีนแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมเปรียบเทียบราคาจากโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ ให้ลองไปเลือกใช้บริการกันตามสะดวก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดทุกปี โดยเฉพาะควรฉีดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เชื้อไข้หวัดใหญ่พบได้มากขึ้นในช่วงฤดูฝนและช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนทุกปีแม้จะเป็นสายพันธุ์เดิมของวัคซีนที่เคยฉีดก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลรัฐบาล ราคาเข็มละประมาณ 500-600 บาท สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ราคาเข็มละ 450 บาท โรงพยาบาลเอกชน – โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ประมาณ 1,220+ บาท -โรงพยาบาลกรุงเทพประมาณ 790+ บาท -โรงพยาบาลพญาไทประมาณ 900 บาท -โรงพยาบาลสมิติเวชประมาณ 990 บาท วัคซีนโรคงูสวัด แนะนำให้ฉีดเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี เพราะผู้สูงอายุมีภูมิต้านทานต่ำจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้สูงมาก ซึ่งอาการปวดแสบร้อนตามแนวประสาทของผู้สูงอายุจะรุนแรงกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อย โดยจะฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังจำนวน 1 เข็มครั้งเดียว วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสามารถให้ในผู้สูงอายุได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเคยเป็นโรคงูสวัดหรืออีสุกอีใสมาก่อน โรงพยาบาลรัฐบาล […]
วัคซีนไข้เลือดออก ป้องกันโรคไข้เลือดออก
วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนไข้เลือดออก ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกและแบบประเมินก่อนการฉีดวัคซีน เริ่มต้นอย่างไรดี ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย และมักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก อาหารของผู้ติดเชื้อ ไข้เลือดออก อาจมีอาการไข้เฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามตัว บางครั้งอาจพบจุดเลือดออก ผื่นตามตัว โดยอาการจะเป็นราว 1 สัปดาห์ เรียกลักษณะอาการนี้ว่า ไข้เดงกี (dengue fever) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง คือมีลักษณะเหมือนผู้ป่วยไข้เดงกี ร่วมกับ มีเกล็ดเลือดต่ำมาก และมีภาวะสารน้ำรั่วจากหลอดเลือด ซึ่งอาจพบมีภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ เรียกโรคนี้ว่าไข้เลือดออก ในปัจจุบันยังไม่มียาที่จำเพาะต่อเชื้อดังกล่าวการรักษาทำได้เพียงดูแลประคับประครอง ซึ่งผู้ป่วยมักหายดีเป็นปกติ ภายใน 1 สัปดาห์ วัคซีนไข้เลือดออก มีจริงหรอ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกในหลายบริษัท ส่วนใหญ่ในอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนา แต่มีวัคซีนไข้เลือดออก (Dengvaxia; CYD TDV ) จาก บริษัทซาโนฟี่ ที่เริ่มใช้ในประเทศแถบลาตินอเมริกาและฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ.2558 และวัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยในช่วงปลายปี 2559 และจะเริ่มจำหน่ายในปี 2560 […]
7 วัคซีนจำเป็น ก่อนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
วัคซีนสำหรับเดินทางต่างประเทศ วัคซีนสำหรับเดินทางต่างประเทศ เป็นวัคซีนประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นการฉีดเพื่อป้องกันโรคก่อนออกเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ เพราะในเเต่ละประเทศนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่เเตกต่างกัน ข้อมูลจาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สำหรับวัคซีนที่ใช้ในนักท่องเที่ยวนั้น สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. วัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับก่อนการเดินทาง (Required vaccine) เป็นวัคซีนที่ถูกกำหนดว่านักเดินทางจำเป็นต้องได้รับก่อนการเดินทาง ซึ่งเป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (WHO IHR) ซึ่งปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือ วัคซีนไข้เหลือง นักท่องเที่ยวที่จะต้องเดินทางไปยังดินแดนที่มีการระบาดของไข้เหลือง คือประเทศในแถบแอฟริกา และอเมริการใต้ จำเป็นต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน อ่านเพิ่มเติม : Vaccine Guide 9 วัคซีน ที่ทุกคนต้องฉีด 2. วัคซีนที่แนะนำให้ใช้ในนักท่องเที่ยวตามความเหมาะสม (Recommended vaccine for travelers) วัคซีนในกลุ่มนี้ เป็นวัคซีนที่แนะนำให้ใช้ในนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบางกลุ่ม/บางคน ตามความเหมาะสม โดยแพทย์จะพิจารณาปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันเช่น ประเทศหรือสถานที่ที่จะไปมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากแค่ไหน ระยะเวลาที่จะไป กิจกรรมที่จะไปทำ (เช่นไปทำงาน ไปเรียน หรือไปท่องเที่ยว) ตลอดจนต้องพิจารณาถึงตัวนักท่องเที่ยว/นักเดินทางและตัวโรคด้วย การพิจารณาดังกล่าวจะทำในการให้คำปรึกษาก่อนการเดินทาง วัคซีนในกลุ่มดังกล่าวคือ วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ […]
7 กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อย่าชะล่าใจ มีโอกาสเสียชีวิตสูง กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทั้ง 7 กลุ่มเสี่ยงอย่าชะล่าใจกับมหันตภัยไข้หวัดใหญ่ เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อชีวิตสูง เตือนเเล้วนะ ใกล้โรงพยาบาลไหนรีบไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เลย ล่าสุดคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ส่งสัญญาณเตือน 7 กลุ่มเสี่ยงอย่าชะล่าใจกับ มหันตภัยไข้หวัดใหญ่ เส่ียงสูงกับโอกาสเสียชีวิต ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั้งปี ปัจจุบัน ไข้หวัดใหญ่ ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยอันดับต้นๆ และส่งผลกระทบถึงความสูญเสียในระบบ เศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลการศึกษาถึงภาระของโรคไข้หวัดใหญ่พบว่า ในปี 2547 มีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสำหรับประเทศไทย อยู่ระหว่าง 928 –2,360 ล้านบาท และจาก ประมาณการต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์กรณีเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในปี 2551 อยู่ระหว่าง 4.74 – 46.15 พันล้านบาท ในปี 2552 อยู่ระหว่าง 4.78 -46.60 พันล้านบาท และปี 2553 อยู่ระหว่าง 4.84 -47.20 พันล้านบาท ถึงแม้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค […]
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ มีขายในท้องตลาดแล้วนะรู้ยัง ? ใกล้ฤดูฝน หน้าหนาว โรคที่มาพร้อมกัน คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถติดเชื้อไวรัสได้ทั้งปี แต่สูงสุดจะอยู่ในช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และอีกช่วงจะสูงขึ้นในหน้าหนาว เราจะเตรียมพร้อมอย่างไร เรามีแพทย์ผู้เชียวชาญมาบอกครับ โรคไข้หวัดใหญ่ระบาดจริงหรอ รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ อาจารย์พิเศษ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีมานานแล้ว มีหลากหลายสายพันธุ์ และมีการสลับเปลี่ยนแปลงเชื้อไวรัสในแต่ละฤดูกาลของแต่ละปี ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เพราะโดยธรรมชาติเชื้อไวรัสต้องการความอยู่รอด และหากไปติดในคน สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันดี เชื้อไวรัสจะอยู่ไม่ได้และสูญพันธ์ในที่สุดดังนั้นเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่จึงกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ “อย่างไรก็ตามหากผู้ใดติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แล้วจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ง่าย ซึ่งเกิดขึ้นได้ ทุกเพศ ทุกช่วงอายุ และสามารถแพร่เชื้อทางระบบทางเดินหายใจ โดยละออง เสมหะ จากผู้ป่วยไอ หรือจาม ไปยังผู้ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมากมักพบอัตราการติดเชื้อสูงสุดในกลุ่มเด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจเกิดอาการป่วยรุนแรงมากขึ้น มีโรคแทรกซ้อนจนต้องมาตรวจรักษาจากแพทย์หรือโรคมีความรุนแรงจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือ […]
Vaccine Guide 9 วัคซีน ที่ทุกคนต้องฉีด
วัคซีนที่ต้องฉีด ในผู้ใหญ่มีอะไรบ้าง ประชาชนทุกคนควรมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ อย่างเหมาะสม หนังสือตําราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี2556 โดยสํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข แนะนําวัคซีนที่แพทย์ควรพิจารณาให้ผู้ใหญ่หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุได้รับ ดังนี้