รักษาแผล
สารอาหารสำคัญ ช่วย รักษาแผล หายไวใน 4 ขั้นตอน
สารอาหารสำคัญ ช่วย รักษาแผล เมื่อเกิดแผล หรือการบาดเจ็บ นอกจากการทำแผลแล้ว การกินสารอาหารที่ช่วยฟื้นฟู รักษาแผล ให้หายร่วมด้วยยิ่งมีความสำคัญมาก ลองมาดูกันว่าเมื่อเป็นแผล ควรจะกินอาหารแบบไหนบ้าง ช่วยแผลหายไวใน 4 ขั้นตอน ในขณะที่เรากำลังร้องโอดโอยเพราะถูกมีดบาด กลไกการรักษาบาดแผลก็เริ่มขึ้น Journal of Wound Care แบ่งการรักษาบาดแผลไว้4 ขั้นตอน และที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ แต่ละขั้นตอนต้องการสารอาหารแตกต่างกันเพื่อการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่หนึ่ง : ห้ามเลือด (Haemostasis) เมื่อเกิดบาดแผล ร่างกายจะรีบห้ามเลือด โดยหลอดเลือดที่ฉีกขาดจะหดตัวโดยอัตโนมัติเพื่อลดการไหลเวียนเลือดมายังบริเวณบาดแผล จากนั้นเกล็ดเลือดจะเข้ามายึดเกาะบริเวณแผลและรวมตัวกันกลายเป็นลิ่มเลือดอุดรูรั่วบริเวณหลอดเลือดที่ฉีกขาดเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหล โปรตีนและวิตามินเคคือ สารอาหารสำคัญที่ใช้รักษาบาดแผลในขั้นตอนนี้ โดยโปรตีนเป็นส่วนประกอบของเกล็ดเลือดและมีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่วนวิตามินเคช่วยให้เลือดหยุดไหล โดยปกติร่างกายมีวิตามินเคเพียงพอเพราะสามารถสร้างได้จากแบคทีเรียในลำไส้ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่การดูดซึมไม่ดี หรือผู้ที่กินยาปฏิชีวนะที่มีผลฆ่าแบคทีเรียในลำไส้ ร่างกายอาจได้รับวิตามินเคลดลง หากขาดวิตามินเค เลือดจะแข็งตัวช้า เลือดจึงไหลไม่หยุด เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ขั้นตอนที่สอง : อักเสบ (Inflammation) หลังจากเลือดหยุดไหลอาจมีอาการบวมแดงบริเวณแผลตามมา ไม่ต้องตกใจไป เพราะนั่นเป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาบาดแผลโดยเลือดจะไหลมายังบริเวณแผลมากขึ้นเพื่อนำสารอาหารมาสร้างเนื้อเยื่อ ขณะเดียวกันเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเคลื่อนเข้าสู่บาดแผลเพื่อดักจับเชื้อโรคและย่อยทำลายเนื้อตายพร้อมเริ่มซ่อมแซมเนื้อเยื่อและหลอดเลือดที่เสียหาย ระหว่างการซ่อมแซม ผนังหลอดเลือดที่เกิดขึ้นใหม่ยังไม่แข็งแรง อาจทำให้ของเหลวภายในไหลออกสู่ภายนอกได้ง่าย จึงเป็นที่มาของอาการบวม โปรตีน […]
ไซเดอร์ เครื่องดื่มรักษาอาการป่วยในเบื้องต้น
ไซเดอร์ เครื่องดื่มรักษาอาการป่วยในเบื้องต้น แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว มีกลิ่นฉุนขึ้นจมูก แต่บรรดาคนรักสุขภาพย่อมรู้ดีว่า ไซเดอร์ (Cider) เป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพและช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้ ยิ่งได้เดินสำรวจชั้นจำหน่ายอาหารสุขภาพในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพชั้นนำ เราก็จะพบไซเดอร์วางเรียงกันอยู่หลายชนิด ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้ ชีวจิต จะมาแนะนำกระบวนการผลิตไซเดอร์แต่ละชนิด พร้อมประโยชน์ ซึ่งสามารถรักษาอาการป่วยในเบื้องต้นได้ รู้ลึกเรื่องไซเดอร์ คุณเบน วัตสัน (Ben Watson) ผู้เขียนหนังสือ Cider Hard & Sweet: History Traditional And Making Your Own อธิบายประวัติความเป็นมาของไซเดอร์ว่า ไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจนว่าใครเป็นผู้ผลิตและบริโภคไซเดอร์เป็นคนแรก เนื่องจากหลักฐานต่างๆ ได้สูญหายไปตามกาลเวลานอกจากนี้อาจเป็นเพราะมีการปลูกแอ๊ปเปิ้ลหลากหลายสายพันธุ์กระจายไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าพื้นที่ใดมีการผลิตไซเดอร์เป็นแห่งแรก ส่วน ไซเดอร์ มีกระบวนการผลิตอย่างไรและมีกี่ชนิดนั้น ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายสรุปไว้ดังนี้ แอ๊ปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดแรกที่เรานำมาทำเป็น ไซเดอร์ อาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของไซเดอร์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสับปะรดไซเดอร์ข้าวโพดไซเดอร์ ข้าวไซเดอร์ สำหรับการผลิตแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ คือ การนำแอ๊ปเปิ้ลสดมาคั้นโดยไม่ต้องกรอง น้ำแอ๊ปเปิ้ล ที่ได้เรียกว่า ไซเดอร์ (Cider) จะมีสีน้ำตาลขุ่นรสหวานอมเปรี้ยว ฝาด และมีกลิ่นหอมโดยความหวานนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในพันธุ์แอ๊ปเปิ้ลที่นำมาใช้ หากเก็บไซเดอร์ไว้ในตู้เย็น 3 – 5 วัน ยีสต์ธรรมชาติบางชนิดจะเปลี่ยนโมเลกุลน้ำตาลในไซเดอร์ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกินร้อยละ 12 เราเรียกไซเดอร์ชนิดนี้ว่า ฮาร์ดไซเดอร์ (Hard Cider) หากหมักฮาร์ดไซเดอร์ต่อไป เชื้อแอซีโตแบคเตอร์ (Acetobacter) จะเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้กลายเป็นกรดแอซีติก (Acetic Acid) หรือกรดน้ำส้ม ซึ่งมีปริมาณกรดแอซีติกประมาณร้อยละ 5 น้ำไซเดอร์ชนิดนี้เรียกว่า ไซเดอร์วินีการ์ (Cider Vinegar) […]