มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ 466,000 คน เสียชีวิตปีละ 231,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติได้ก่อน ซึ่งการรักษาได้ผลดี
ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กันเถอะสาวๆ ทำตามด่วน มีแต่ข้อดี
ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กันเถอะสาวๆ ทำตามด่วน มีแต่ข้อดี การ ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสาวๆ เพราะมะเร็งเจ้านี้คือ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของหญิงไทย ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ หากได้รับการครวจคัดกรองเเละฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งปี 2562 ประมาณการจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ราว 5500 คน หรือคิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรค 9.3 คนต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2200 คน สาเหตุหลัก ๆ มาจากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัส HPV พบมากกว่า 130 สายพันธุ์ แต่มีประมาณ 40 สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก ดังนั้น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าปกติ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ […]
อายุเท่าไร ถึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่อไรดี คำถามจากทางบ้าน : คุณแม่ของดิฉันอายุ 75 ปีแล้ว อยากทราบว่ายังจำเป็นต้องไป ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อยู่อีกหรือไม่ แพทย์ตอบ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคุณป้าชื่อสมศรี(นามสมมุติ) อายุ 65 ปีมาตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือแปปสเมียร์(Pap Smear)ตามนัดทุกปี คุณป้าถามฉันว่า “คุณหมอ ป้าจะเลิกตรวจภายในได้หรือยัง ปกติเขาจะเลิกตรวจหามะเร็งปากมดลูกตอนอายุเท่าไรกัน” ฉันคุ้นเคยกับป้าสมศรีมาก เพราะตรวจกันมานานกว่า 20 ปี จึงพูดกับป้าว่า “เลิกตรวจภายในเมื่อป้าเบื่อชีวิต” ป้าสมศรีหัวเราะ ตอบว่า “ป้าคงไม่เบื่อชีวิตง่ายๆหรอกหมอ” สำหรับการตอบคำถามที่ว่า… เมื่อไรจึงจะเลิกตรวจแปปสเมียร์ ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องการตรวจภายในกับการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก(แปปสเมียร์)ก่อนนะคะ การตรวจภายในคือการตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ โดยแพทย์จะตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก แล้วใส่เครื่องมือที่เรียกว่าสเป็คคูลัม ซึ่งมีลักษณะเหมือนปากเป็ด เข้าไปตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ ช่องคลอดปากมดลูก และคลำดูขนาดมดลูกรวมถึงคลำตรวจปีกมดลูกด้วยส่วนแปปสเมียร์คือการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกผ่านการตรวจภายใน โดยใช้ไม้ง่ามหรือพู่กันป้ายเอาเซลล์ที่ปากมดลูกไปตรวจทางเซลล์วิทยา ดังนั้นคุณสามารถตรวจภายในได้โดยไม่ต้องตรวจแปปสเมียร์ แต่คุณไม่สามารถตรวจแปปสเมียร์โดยไม่ตรวจภายในได้แปปสเมียร์นั้นมีประโยชน์ เพราะสามารถตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที ลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ลดอัตราการตายและอัตราทุพพลภาพจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกไม่ติดอันดับการเสียชีวิต 1 ใน 5 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง พบว่าเพราะมีการรณรงค์ให้ทำแปปสเมียร์ในปีค.ศ.1950 […]
รู้จัก การตรวจมะเร็งปากมดลูกทางปัสสาวะ อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนขี้เขิน
เชื่อว่าในปัจจุบัน ยังมีผู้หญิงไม่น้อยที่ไม่กล้าตรวจภายใน รวมไปถึงตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะเขินอาย กลัวเจ็บ แต่ในปัจจุบัน มีการตรวจที่เรียกว่า การตรวจมะเร็งปากมดลูกทางปัสสาวะ ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
“มะเร็งปากมดลูก” โรคร้ายที่ป้องกันได้
“มะเร็งปากมดลูก” โรคร้ายที่ป้องกันได้ “มะเร็งปากมดลูก” เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิง และทำให้เสียชีวิตมากถึง 14 คนต่อวัน สิ่งที่หลายคนไม่ทราบ คือ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่ป้องกันได้ คือ มีระยะก่อนมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ เพื่อหาทางป้องกัน ดูแลรักษาที่เหมาะสม และลดความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ เรายังสามารถฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคได้อีกด้วย บทความตอนนี้จึงได้เชิญ พญ.ชลิดา เรารุ่งโรจน์ แพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา-มะเร็งนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนวเวช มาให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งวิธีคัดกรอง และป้องกัน เพื่อสาวๆ อยู่ห่างไกลจากโรคร้ายนี้ อาการของมะเร็งปากมดลูก อาการในระยะเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูกมักไม่ปรากฏให้เห็นชัด แต่สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่ออาการเริ่มรุนแรงอาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีตกขาวผิดปกติ ส่วนอาการในมะเร็งระยะลุกลาม ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ขาบวม ต่อมน้ำเหลืองโต ไตวาย ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน สาเหตุ มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันอย่างไร นอกจากการรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก […]
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เรื่องดีๆ ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เรื่องดีๆ ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ รู้ไหมว่า มีโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่า “HPV” (เอชพีวี) ซึ่งเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus (ฮิวแมน แพพพิโลม่า ไวรัส) เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไป ซึ่งอาจทําให้เกิดการติดเชื้อทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ก็ยังมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่ช่วยคุณได้ คอลัมน์ Health Station สถานีสุขภาพ อธิบายไว้ดังนี้ เชื้อ HPV นี้มีมากมายกว่า 100 สายพันธุ์ที่อาจทําให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นอันตราย เช่น สายพันธุ์ที่ทําให้เกิดหูดที่มือ และเท้า แต่ HPV บางสายพันธุ์ก็ทําให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและนําไปสู่มะเร็งปากมดลูก เซลล์ผิดปกติของปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง..มะเร็งปากมดลูก “มะเร็งปากมดลูก” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคุณผู้หญิง และเป็นกลุ่มโรคมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย รองจากอันดับ 1 คือ มะเร็งเต้านม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อย่างที่ทราบไปแล้วว่าคือเชื้อ HPV ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่มักพบว่า สายพันธุ์ที่ […]
อายุ 40+ ประจำเดือนมาน้อย อ่อนเพลีย เป็นโรคอะไรได้บ้าง
อายุ 40+ ประจำเดือนมาน้อย อ่อนเพลีย เป็นโรคอะไรได้บ้าง วันนี้ ชีวจิต นำคำถามจากทางบ้าน ที่ถามเข้ามาผ่านคอลัมน์ เปิดห้องหมอสูติมาค่ะ เรื่อง ประจำเดือน มาน้อย อ่อนเพลีย บางทีปัญหาของแฟนชีวจิตท่านนี้ อาจตรงกับหลายๆ คน เลยเอาคำแนะนำจากคุณหมอมาให้ได้อ่านกันเลย เมื่อเริ่มมีอาการในวัย 40+ คำถาม : เรียนคุณหมอชัญวลี ดิฉันอายุ 40 ปีแล้วค่ะ เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน คือมาน้อยกว่าเดิมมากและรู้สึกหงุดหงิดง่าย บางครั้งก็มีอาการอ่อนเพลีย จึงกังวลใจว่า เมื่อเข้าสู่ภาวะ หมดประจำเดือน นั่นหมายถึงความแก่มาเยือน ขอสอบถามคุณหมอว่า ดิฉันสามารถยืดภาวะหมดประจำเดือน ออกไปได้ไหมคะ เพราะยังไม่อยากแก่ค่ะ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ มีความเชื่อที่ไม่เป็นจริงในสังคมไทย คือ ประจำเดือนมามากเป็นเรื่องดี เป็นการขับของเสีย ทำให้ผิวพรรณผุดผ่องส่วนประจำเดือนมาน้อยไม่ดี เพราะแสดงว่าประจำเดือนใกล้หมดทำให้แก่เร็ว ความเชื่อนี้ทำให้คนที่ประจำเดือนมามากไม่มาพบแพทย์จึงทำให้เกิดอันตราย เพราะประจำเดือนมามากส่วนใหญ่เกิดจากโรค เช่น เนื้องอกมดลูก มดลูกอักเสบ มะเร็งปากมดลูกมะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น ส่วนคนที่ ประจำเดือนมาน้อย ไม่อยากแก่เร็ว […]
รวมวิธีรับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อ่านจบ ทำตามได้จริง
รับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อย่างเป็นขั้นตอน โรคมะเร็ง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมาก และกลุ่มมะเร็งที่พบบ่อยมากก็คือ มะเร็งผู้หญิง วันนี้เราจึงรวบรวบมะเร็งผู้หญิง 5 ชนิด พร้อมแนะวิธีรับมืออย่างครบถ้วน ลองมาดูกันค่ะ อันดับ 1 มะเร็งเต้านม เป็นชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โดยความเสี่ยงต่อโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ พันธุกรรม การกลายพันธุ์ของยีน BRCA การสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานาน และการใช้ชีวิตในแบบที่ทำลายสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย หรือการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อ่าน : ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม อ่าน : แนวทางการรักษา อ่าน : หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรทำท่าบริหารตามนี้ อ่าน : ข้อเท็จจริงของโรคมะเร็งเต้านม อันดับ 2 มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิง โดยเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากกว่าร้อยละ 90 […]
การเดินทางหลังความตายที่ไม่สิ้นสุดของ เฮนเรียตตา แล็กส์ ตัวตายไปแล้วแต่เซลล์ยังอยู่
เฮนเรียตตา แล็กส์ ได้เดินทางไปยังห้องทดลองมาแล้วทั่วโลก แถมยังได้ขึ้นไปกับยานอวกาศ แต่ที่น่าประหลาดใจคือการเดินทางทั้งหมดนี้ ตัวเธอเองไม่มีโอกาสได้รับรู้เลย
สารพัดวิธีรบ…สยบ มะเร็ง ผู้หญิง
ชีวจิต จึงขออาสาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรค มะเร็ง ในผู้หญิง คือ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ผ่านแง่มุมของผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ในสมรภูมิมะเร็ง
รู้หรือไม่ เชื้อเอชพีวี ติดจากทางไหนได้บ้าง?
รู้หรือไม่ เชื้อเอชพีวี ติดจากทางไหนได้บ้าง? เมื่อไม่นานมานี้มีทางบ้านถามเข้ามา เกี่ยวกับการรับ เชื้อเอชวีพี ว่านอกจากการมีเพศสัมพันธ์แล้ว เราจะยังสามารถติดเชื้อนี้จากทางอื่นบ้างหรือไม่ ซึ่ง แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตก็มีคำตอบมาให้ คำถามจากทางบ้าน : เราสามารถรับเชื้อเอชพีวีจากทางไหนได้อีกบ้างคะ ก่อนจะตอบคำถามนี้ คุณหมออธิบายเกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชพีวีเอาไว้ได้น่าสนใจ ไวรัสเอชพีวีมีหลายสายพันธุ์ นับตั้งแต่การค้นพบของศาสตราจารย์นายแพทย์เฮาเซ่น (Harald Zur Hausen) ในปีพ.ศ.2523 ว่า ไวรัสเอชพีวีมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรี ความรู้ความเข้าใจนี้ทำให้เราสามารถป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกอย่างได้ผล ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลงได้ จนทำให้ท่านได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลสาขาการแพทย์ ประจำปี2548 และรางวัลโนเบล ในปีพ.ศ.2551 งานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับไวรัสเอชพีวีทั่วโลกขยายความรู้เกี่ยวกับไวรัสเอชพีวีไปอย่างกว้างขวาง วันนี้หมอจึงชวนผู้อ่านมาอัพเดตความรู้เกี่ยวกับไวรัสเอชพีวีกันค่ะ 1. เอชพีวี เป็นดีเอ็นเอไวรัสที่จำเพาะเจาะจงต่อมนุษย์ คือ ติดเชื้อเฉพาะคนไม่ติดเชื้อในสัตว์ ดังนั้นความเชื่อที่ว่า สามารถติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมาจากลิงหรือมาจากสัตว์อื่นๆได้นั้นไม่เป็นความจริง 2. ไวรัสเอชพีวีมีกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ส่งผลต่อการเกิดหูดและมะเร็งต่างกันไป เช่น 2.1 สายพันธุ์ที่ 1 2 4 สร้างหูดบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Common […]
สาวๆ ควรทำอย่างไร เมื่อมีพันธุกรรมมะเร็ง “ปากมดลูก”
พันธุกรรมมะเร็ง “ปากมดลูก” หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ลดความเสี่ยงได้ เวลามีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่ย่ายายเป็น คุณแม่เป็น พี่หรือน้องสาวเป็น เป็นธรรมดาที่เราจะเริ่มเกิดความวิตกกังวล ว่า พันธุกรรมมะเร็ง อาจทำให้เราไม่วายต้องเป็นไปกับเขาด้วย เช่นเดียวกับความข้องใจของคนไข้สาวท่านหนึ่งที่มาระบายความกังวลนี้กับแพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตของเรา ความกังวลจากทางบ้าน คุณนิพพาดา (นามสมมติ) มาหาดิฉันด้วยเรื่อง “อยากปรึกษาวิธีป้องกันมะเร็ง” เมื่อถามเหตุผลว่าทำไม เธออธิบายว่า “หมอจะไม่ให้ฉันกลัวมะเร็งได้อย่างไร แม่ของฉันเป็นมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต พี่สาวเป็นมะเร็งมดลูกเสียชีวิต และตอนนี้น้องสาวก็กำลังเป็นมะเร็งรังไข่ ฉันจึงอยากหาวิธีป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง” วันนี้มาคุยกันเรื่องวิธีป้องกันมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่มักพบในกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกกันค่ะ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(HPV: Human Papilloma Virus) ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูง ซึ่งมักเกิดในผู้หญิงที่แต่งงานเร็ว มีคู่นอนหลายคน ภูมิต้านทานต่ำ สูบบุหรี่ ฯลฯ อาการแสดงอย่างไร หากเป็นระยะเริ่มแรกหรือระยะที่เซลล์ผิดปกติมักไม่แสดงอาการใดๆ หากเป็นระยะลุกลามอาจมีตกขาว ตกขาวปนเลือด เลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติหรือเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 9 วิธีป้องกันก่อนมะเร็งปากมดลูกถามหา • ฉีดวัคซีน เนื่องจากร้อยละ 99.7 ของมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี จึงแนะนำว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีในผู้หญิงที่มีอายุ9 – 26 […]
ประสบการณ์สุขภาพ : เอาชนะโรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิถี “ชีวจิต”
สู้ โรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิถีชีวจิต โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงไทยเป็นอันดับต้นๆ วันนี้ เรานำประสบการณ์ของ คุณเดือนเพ็ญ วัย 39 ปี ซึ่งตัดสินใจสู้โรคร้ายด้วยวิธีการดูแลสุขภาพแบบ “ชีวจิต” ไปอ่านเรื่องราวของเธอกันเลยค่ะ สัญญาณส่อโรค มาตอนอายุยังน้อย เธอเล่าว่า หลังจากเรียนจบพยาบาลไม่กี่ปี เธอก็ออกมาใช้ชีวิตคู่จนมีลูกสาว-ลูกชายสมใจ หลังจากนั้น 10 ปี คุณเดือนเพ็ญในวัย 33 ปีก็เริ่มสังเกตเห็นอาการผิดปกติอันเป็นสัญญาณของโรคร้าย “ช่วงนั้นมีอาการภูมิแพ้อย่างหนัก ที่สำคัญ ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ แถมมีลักษณะเป็นลิ่ม พอไปตรวจร่างกายและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ จึงพบว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกใกล้เข้าสู่ระยะที่ 2 แล้วค่ะ “ตอนที่รู้ตกใจมาก คิดไม่ต่างจากคนอื่นว่า ‘ทำไมต้องเป็นเรา’ เพราะเพิ่งอายุ 33 ปีเอง ยังมีสิ่งที่อยากทำมากมาย ที่สำคัญ ลูกยังเล็กมาก หมอแนะนำให้ผ่าตัดเอามดลูกออกเพื่อระงับการกระจายของเซลล์มะเร็งและรับเคมีบำบัดต่อ ฉันก็ตกลง เพราะเราเองก็เป็นพยาบาล คิดว่าในเวลานั้นทางเลือกนี้น่าจะเหมาะที่สุด “แต่เมื่อกลับมาบ้าน ฉันก็หันมาดูแลตัวเองด้วยหลักการชีวจิตทันที เริ่มจากเปลี่ยนเครื่องครัวจากเมลามีนเป็นสเตนเลส และกินอาหารตามสูตรที่ดร.สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตผู้ล่วงลับ แนะนำทุกอย่าง” รวมวิธีรับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง […]
หมอสูติแชร์ประสบการณ์ คนไข้มะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มต้น
มะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มต้น ในผู้ป่วยอายุน้อย เรื่องนี้บอกเล่าผ่านคอลัมน์ เปิดห้องหมอสูติ โดยแพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข เกี่ยวกับการตรวจพบ มะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มต้น ในเด็กหญิงวัย 16 ปี ลองมาฟังเรื่องราวจากคุณหมอกันเลยค่ะ ผู้ป่วยวัยใส วันนี้ในห้องผ่าตัดมีการเตรียมกล้องคอลโปสโคป (Colposcope) ไว้ให้ฉันส่องดูปากมดลูกของคนไข้ เพื่อตรวจและรักษามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก กล้องคอลโปสโคปนี้เป็นกล้องส่องขยายที่วางบนล้อเลื่อนเหมือนกล้องจุลทรรศน์ ขยายภาพได้สิบเท่าจากภาพขนาดปกติ เมื่อผู้ป่วยมาถึง เหลียง พยาบาลผู้ช่วยผ่าตัด จัดท่าคนไข้ให้อยู่ในท่านอน ขาสองข้างพาดบนขาหยั่ง วิสัญญีแพทย์วางยาสลบฉันจึงเริ่มใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเหมือนปากเป็ดถ่างขยายช่องคลอด แล้วใช้กล้องคอลโปสโคปส่องดูปากมดลูก “เฮ้อ เป็นมากจัง” ฉันบ่นเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งเป็นวงกว้าง “คนไข้หน้าตาน่ารัก ดูอายุน้อยนะคะหมอ ไม่น่าจะเป็นมาก” เหลียงเอ่ยขึ้น “ใช่แล้ว คนไข้หน้าตาน่ารักดี อายุก็16 ปีเอง” “แล้วคนไข้แต่งงานแล้วหรือคะหมอ” เหลียงถามอย่างแปลกใจ ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 99.7 เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ “ไม่ได้แต่ง ยังเป็นนักเรียนอยู่” ฉันตอบแค่นั้นเหลียงก็เงียบเสียงไป ฉันใช้ห่วงลวดไฟฟ้า รูปร่างเป็นด้ามถือ ปลายมี ห่วง เตรียมตัดปากมดลูก ฉันเล็งดูปากมดลูกบริเวณที่กำลังจะเป็นมะเร็ง ซึ่งลุกลามเป็นวงกว้าง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบหนึ่งเซนติเมตร กะว่าจะต้องตัดเนื้อเยื่อบริเวณนี้ออกให้หมด […]
คุณผู้หญิงต้องรู้จักและเข้าใจ ไวรัสเอชพีวี เพื่อป้องกัน มะเร็งปากมดลูก
เรียนคุณหมอชัญวลี ดิฉันอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากเชื้อ ไวรัสเอชพีวี (HPV) เพราะเคยอ่านเจอว่าทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่สามารถป้องกันได้