พระนิพพาน ไม่ได้เป็นเรื่องของชาติกำเนิด

พระนิพพาน ไม่ได้เป็นเรื่องของชาติกำเนิด เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้นพบ พระนิพพาน เป็นหนทางที่พาสรรพสัตว์ออกจากห้วงน้ำแห่งสังสารวัฏได้ และพระองค์ทรงเผยแผ่คำสอนของพระองค์ จนกระทั่งมีพุทธบริษัท 4 ครบถ้วนบริบูรณ์ เรียกได้ว่าพระพุทธศาสนามั่งคงในดินแดนชมพูทวีปอย่างสมบูรณ์แบบ ในสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในชมพูทวีป ก็มีเจ้าลัทธิมากมายเกิดขึ้นด้วย ในสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิชื่อว่า ” ปูรณกัสสปะ” ลัทธินี้เชื่อว่า วิญญาณ (จิต) เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ และเรื่องกรรมไม่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ แต่รูป (ร่างกาย) ต่างหากที่เป็นผู้กระทำ ไม่ได้เกิดจากการบงการของวิญญาณ เมื่อรูปได้ทำสิ่งที่ถูกหรือผิดก็ไม่ถือว่าเป็นบุญหรือบาป เห็นได้ว่าเพียงคำสอนเรื่องจิตหรือวิญญาณของลัทธินี้ก็ไม่ตรงกับทรรศนะของพระพุทธศาสนา     เจ้าลัทธินี้ได้เสนอคำสอนของตนเรื่องชาติ 6 ขึ้น ซึ่งแต่ละชาติจะเรียกตามสี เช่น ชาติดำ ชาติเขียว ชาติแดง ชาติเหลือง ชาติขาว และชาติขาวสุด โดยในแต่ละชาติทั้ง 6 จะจำแนกคนตามอาชีพ สีผิว และการกระทำ เช่น  คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมง โจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ ก็หรือคนที่ทำงานหยาบช้า เป็นต้น ว่าเป็นชาติดำ […]

การประพฤติพรหมจรรย์ (พรัหมะจะริยัญจะ) อีกหนึ่งมงคลชีวิตอันประเสริฐ

มงคลชีวิต 38 ประการ : มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์ (พรัหมะจะริยัญจะ) คําว่า พรหมจรรย์ แปลตามศัพท์หมายถึง ความประพฤติอันประเสริฐ ในพระไตรปิฎกท่านแยกแยะพรหมจรรย์ เป็น 10 อย่าง ได้แก่ 1. การให้ข้าวน้ํำ และปัจจัยใช้สอยแก่การดํารงชีวิตแก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน จะเป็นผู้ให้ตามกาล หรือให้เป็นนิตย์ก็ตามที 2. การช่วยขวนขวายจัดทําช่วยเหลือกิจการอันเป็นกุศลของผู้อื่น ให้เจริญก้าวหน้าสําเร็จลุล่วงด้วยความชุ่มชื่นโสมนัสไม่เบื่อหน่ายท้อถอย 3. การรักษาศีล 5 เพื่องดเว้นจากการล่วงบาปกรรม 5 ประการ 4. การแผ่พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปในสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง 5. การไม่เสพกามอันเป็นความกําหนัดยินดีในแนวทางของสามี ภรรยา 6. ความสันโดษมักน้อยในวัตถุข้าวของเครื่องใช้ ไม่ทะเยอทะยานมักมากในวัตถุกาม กิเลสกาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีในผัวเดียวเมียเดียว 7. การที่มีความเพียรกล้าแข็งไม่ย่อท้อต่อการกุศลต่าง […]

มงคลสูตร (แปล) มงคลชีวิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ

มงคลสูตร คือพระสูตรว่าด้วยมงคลแห่งชีวิต หากสวด เข้าใจและปฏิบัติตามแล้ว ชีวิตก็จะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา

การสงเคราะห์บุตรทั้งในทางโลกและทางธรรม คือมงคลอันประเสริฐ

มงคลที่ ๑๒ การสงเคราะห์บุตร (ปุตตะ สังคะโห)  โดย พระชุมพล พลปญฺโญ บุคคลใดมี การสงเคราะห์บุตร หญิงชายทั้งหลายด้วยอามิสปัจจัย ๔ สั่งสอนส่งเสริมให้เรียนรู้ศิลปศาสตร์วิทยาการในทางโลก และได้รู้จักอันใดคือบาปบุญคุณโทษมีปัญญาทางธรรม ได้เล่าเรียนศึกษาปฏิบัติธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นมงคลอันประเสริฐ ใน สิงคาลกสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้บิดามารดาสงเคราะห์บุตรด้วยคุณธรรม ๕ ประการคือ ๑. จงห้ามบุตรธิดาอย่าให้ทำบาปทำชั่วผิดศีลผิดธรรม มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มสุราเมรัยเป็นต้น ๒. จงสั่งสอนบุตรธิดาให้กระทำการกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรมเทศนาเป็นต้น ๓. จงให้บุตรธิดาได้เล่าเรียนศึกษาในศิลปศาสตร์วิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรม ๔. หาสามีภรรยาที่สมควรแก่ตระกูลให้แก่บุตรธิดาตามประเพณีคดีแห่งชาวโลก ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้แก่บุตรธิดาตามกาลเวลาที่จะพึงให้ การสงเคราะห์บุตรธิดาให้ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการเครื่องมือประกอบอาชีพ ช่วยเหลือให้สามารถตั้งหลักตั้งฐานมีฐานะสมบูรณ์พออยู่พอกิน มีหน้ามีตาในสังคมนั้น ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ความสุขในชาตินี้ เป็นการสงเคราะห์ที่ยังจัดอยู่ในชั้นต่ำ ส่วนการสงเคราะห์ชั้นสูงนั้นคือการสงเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ความสุขในชาติหน้า คือสั่งสอนบุตรธิดาให้ขวนขวายในการกุศลมีทานศีลภาวนาบูชาพระรัตนตรัยฟังธรรมเทศนา เกื้อหนุนให้ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุสามเณร ปฏิบัติบูชาในพระพุทธศาสนารักษาพรหมจรรย์ ได้สืบก่อต่อเนื่องพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นสิ้นกาลนาน เป็นการเปิดทางสวรรค์และนิพพานแก่บุตรธิดา ดังที่พระศาสดาทรงมีพระกรุณาแก่พระราหุลพุทธชิโนรส ดังมีเรื่องเล่ามาว่า พระนางพิมพาซึ่งเป็นสมเด็จพระมารดาของพระราหุล ได้ส่งพระราหุลไปขอทรัพย์คือขุมทองที่เกิดขึ้นโดยบุญบารมีของพระสิทธัตถราชกุมาร […]

ชีวิตดีเมื่อกล่าว วาจาอันเป็นสุภาษิต มงคลที่ 10 ในมงคลชีวิต 38 ประการ

ชีวิตดีเมื่อกล่าว วาจาอันเป็นสุภาษิต มงคลที่ 10 ในมงคลชีวิต 38 ประการ มงคลที่ 10 การกล่าว วาจาอันเป็นสุภาษิต (สุภาสิตา จะ ยา วาจา) วาจาอันใดที่ไพเราะอ่อนหวานไม่รำคาญแก่โสต เป็นประโยชน์ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า วาจานั้นชื่อว่า วาจาสุภาษิต วาจาสุภาษิตประกอบด้วยองค์ 5 ประการ และเว้นจากองค์ 4 ประการ ที่ว่าประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ 1. กล่าวในกาลอันสมควร เพราะว่าถ้อยคำแม้จะดีปานใด ถ้าหากกล่าวผิดเวลาก็เป็นโทษได้ 2. กล่าวแต่คำสัตย์จริงไม่กล่าวคำเท็จ เพเราะว่าคำสัตย์ย่อมเป็นที่สรรเสริญแก่บัญฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น 3. กล่าวคำอ่อนหวานสุขุมละเอียดไม่หยาบคายให้เคืองใจผู้อื่น คือ สามารถประดิดประดอยถ้อยคำให้นุ่มนวลไม่ทิ่มแทงใจผู้ฟัง ใช้ถ้อยคำชาวเมืองที่สุภาพเรียบร้อย มีกุศโลบายในการใช้ถ้อยคำมิให้ออกไปทิ่มแทงจิตใจผู้ฟัง แม้จำเป็นจะต้องพูดเรื่องรุนแรงก็รู้จักใช้ถ้อยคำนุ่มนวลมิให้ผู้ฟังต้องเคืองใจ 4. กล่าวคำที่มีประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า ที่มีประโยชน์ในชาตินี้ เช่น ถ้อยคำที่แนะนำให้รู้จักปฏิบัติตัวให้ถูกแบบแผนของสังคม ถ้อยคำที่แนะนำให้ปฏิบัติให้สุขภาพแข็งแรง และถ้อยคำแนะนำการทำมาหากินดำรงชีวิต เป็นต้น ที่มีประโยชน์ในชาติหน้า เช่น ถ้อยคำที่แนะนำเรื่องบาปเรื่องบุญ […]

keyboard_arrow_up