“หัวใจล้มเหลว” ภัยเงียบที่มักเกิดเฉียบพลัน อายุน้อยก็เสี่ยงได้!

“หัวใจล้มเหลว” ภัยเงียบที่มักเกิดเฉียบพลัน อายุน้อยก็เสี่ยงได้! “หัวใจล้มเหลว” นาทีนี้ยังคงเป็นที่พูดถึงอย่างมาก โรคนี้คือ หนึ่งในภาวะของ โรคหัวใจ ที่อันตรายจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ แต่โดยทั่วไปเรามักจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะความเชื่อที่ว่าการเป็นโรคหัวใจ หรือจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้นั้น ก็ต้องสูงวัยก่อน รอให้อายุเยอะ ค่อยดูแล ป้องกันตัวเองก็ยังทัน แต่ในความเป็นจริงนั้น ต่อให้เป็นคนหนุ่มสาว เป็นวัยรุ่น วัยทำงาน ก็มีโอกาสเผชิญหน้ากับภาวะหัวใจล้มเหลวได้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ แนวโน้มที่ชี้ว่าคนอายุน้อยๆ มีอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นผลมาจากสาเหตุใด วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลตัวเองให้รอดพ้นจากภัยร้ายของภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากยิ่งขึ้น หัวใจล้มเหลวคืออะไร ทำไมหัวใจถึงได้ล้มเหลว? คำถามว่าหัวใจล้มเหลว คืออะไร แล้วทำไมหัวใจเราถึงล้มเหลวได้ คำตอบก็คือ  ภาวะที่หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เพราะหัวใจคนเรานั้นเปรียบได้กับ ปั๊มน้ำ ถ้าหากปั๊มอ่อนแรง ก็จะไม่สามารถส่งน้ำออกไปใช้งานได้ ดังนั้น เมื่อหัวใจอ่อนแรงไม่สามารถปั๊มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็ อวัยวะต่างๆ ของร่างกายก็จะเริ่มขาดเลือด หรือไม่สามารถใช้เลือดได้ ไม่สามารถนำเอาออกซิเจนในเลือดไปใช้งานได้ ซึ่งมักนำมาสู่อาการวูบ  เป็นลม หรือถ้าหากเป็นถึงขั้นรุนแรง คือปั๊มเลือดออกไม่ได้เลย ก็จะทำให้ เลือดท่วมท้นอยู่ในปอด ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า น้ำท่วมปอด หายใจไม่ทัน กลายเป็นหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดเต้น […]

รู้ทันภาวะหัวใจวายของ พิศาล อัครเศรณี ความอันตรายที่ป้องกันได้

พิศาล อัครเศรณี ผู้กำกับ นักแสดงรุ่นใหญ่ ชื่อดัง วัย 73 ปี เสียชีวิตแล้วด้วยภาวะหัวใจวาย พิศาล อัครเศรณี เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อกลางดึก วันที่ 4 ธ.ค. โดยคุณเปี๊ยก มีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านี้ เรามีหนทางป้องกันได้ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คุณเปี๊ยก พิศาล บ่นกับภรรยาว่า ปวดหลัง ทางครอบครัวจึงได้พาไปโรงพยาบาล หมอได้ฉีดยาให้ จากนั้นก็กลับบ้าน แต่ช่วงค่ำ อาการปวดหลังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจ ครอบครัวจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่รักษาโรคหัวใจอยู่เป็นประจำ แพทย์ได้เอกซเรย์กระดูกหลังอย่างละเอียดไม่พบอะไร แต่ยังปวดหลังรุนแรง จึงให้ยาแก้ปวดก่อนให้แอดมิดที่ห้องพักฟื้น คุณพิศาลก็ยังรู้สึกตัวดี แต่บ่นปวดหลัง เป็นระยะๆ จนช่วง 5 ทุ่ม คุณเปี๊ยกให้ปิดไฟ จะนอน จู่ๆ เกิดอาการหายใจไม่ออก ภรรยาและลูก รีบตามหมอมาดู พบว่า คุณเปี๊ยกเกิดอาการน็อก หมอปั๊มหัวใจ […]

หัวใจล้มเหลว เฉลี่ยวันละ 150 คนทั่วโลก ถึงเวลาเช็กหัวใจตัวเองแล้ว!

หัวใจล้มเหลว ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวมาพอสมควร แต่ทราบหรือไม่ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตด้วยภาวะนี้ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกรายงานแต่ละปี พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 17 ล้านคนทั่วโลกประสบปัญหาภาวะหัวใจล้มเหลว และหากไม่เร่งป้องกันแก้ไขปัญหา คาดว่าในปี 2573 หรือในอีก 13 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตภาวะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคน และสำหรับสถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย   มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2556 และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จากประชากรทั้งโลก 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่งโมงละ 6 คน ซึ่งนับว่ามีจำนวนอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมากทุกปี นพ.นรศักดิ์ สุวจิตตานนท์ แพทย์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า หัวใจนับว่าเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมงและทำหน้าที่ส่งเลือดผ่านไปยังหลอดเลือดผ่านไปยังหลอดเลือดอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย รวมไปถึงการเลี้ยงหัวใจหากหลอดเลือดใดหลอดเลือดหนึ่งของหัวใจมีความผิดปกติไป หัวใจก็จะทำงานหนักมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาหัวใจวาย หรือที่เรียกกันว่า หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจล้มเหลวนับว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หรือแม้กระทั่งรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจหยุดทำงาน หากจะอธิบายได้โดยง่ายคือ หากมองหัวใจเปรียบเสมือนเขื่อนหรือปั๊มน้ำที่คอยส่งน้ำไปเลี้ยงตามบ้านเรือน หรือแปลงเกษตรกรรม ภาวะหัวใจล้มเหลวก็คือ การที่เขื่อนไม่สามารถทำหน้าที่ส่งน้ำไปยังบ้านเรือนหรือแปลงเกษตรกรรมได้ตามความต้องการ ทำให้น้ำเหนือเขื่อนอาจจะล้นเขื่อนจนก่อให้เกิดน้ำท่วม […]

keyboard_arrow_up