ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : ทำไมการภาวนาจึงเป็นยอดแห่งบุญ

ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : ทำไมการภาวนาจึงเป็น ยอดแห่งบุญ ปัญหาธรรม : ทำไมการภาวนาจึงเป็น ยอดแห่งบุญ  ตอบปัญหาธรรม :  การภาวนาเป็นตัวสุดท้ายของบุญกิริยาวัตถุ 10 เพราะภาวนานั่นก็คือพัฒนาจิต เป็นสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนาก็ได้อภิญญา 5 สูงสุด ความรู้สูงสุดที่เขาเรียก ญาณ โลกียญาณหรืออภิญญา 5 แต่วิปัสสนาภาวนาได้ปัญญาเห็นแจ้ง ตัวนี้ที่ทำให้พ้นทุกข์ บุญไหม จะใส่บาตร 100 ชาติก็สู้นั่งหลับตา พองหนอยุบหนองไม่ได้ นี่ไงคือการกำจัดกิเลส พอเกิดปัญญาเห็นแจ้ง เอาปัญญาเห็นแจ้งมากำจัดกิเลสที่อยู่ในใจ ให้มันหมดไป นี่เขาเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท พอหมดไปก็เป็นจิตบริสุทธิ์ล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ ก็โคจรไปอยู่ในมิติที่บริสุทธิ์ นิพพาน นี่ไง บุญใหญ่ ใส่บาตร 100 ชาติก็เข้าไม่ถึงนิพพาน ทำอะไรก็ไม่เข้าถึงนิพพาน เพราะอะไร เพราะเจตสิกที่เป็น โลภ โกรธ หลง เมตตา สติปัญญา มันยังมีอยู่ในใจ มันขจัดไม่ออก แต่ถ้ามาปฏิบัติธรรม […]

การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ 

การปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ หลายคนอาจมองว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องยากที่จะนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยภาระงานและวิถีชีวิตที่ไม่มีเวลาว่าง แต่จริง ๆ แล้วการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ซึ่งพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ได้อธิบายถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรมไว้ดังนี้ เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งที่อยากจะบอกว่าเป็นความจำเป็น มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะชีวิตทุกชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ ชีวิตทุกชีวิตต้องการที่จะมีกำลังใจ ที่จะต่อสู้และฟันฝ่ากับปัญหาและอุปสรรค โดยเฉพาะที่จะเอาชนะใจตัวเองจากสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลย ที่จะสอนให้ทำใจเป็นสุข สอนให้จิตใจมีกำลังที่จะต่อสู้กับกิเลส เอากิเลสออกได้ เหมือนวิชาทางธรรมเลย ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลยที่จะใช้ไปได้ทุกวันจนวันตาย มีแต่ธรรมะที่ใช้ได้ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก และโดยเฉพาะสุดท้าย วันตายของเราด้วยใช้ธรรมะอย่างมากเลย ส่วนการทำงาน เมื่อเราแก่แล้วต้องเกษียณไป คนที่สัมพันธ์กับเรานับวันก็ต้องจากกันไป มีอะไรบ้างที่จะเป็นที่พึ่งของชีวิตได้อย่างจริง ๆ บ้านช่องก็เป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าก็สักแต่เป็นของใช้ รถลาสักแต่เป็นของใช้ แต่ธรรมะนั่นแหละเป็นที่พึ่งของจิตใจได้อย่างแท้จริง คนไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม ก็ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ แต่วันหนึ่งถ้าเข้าใจธรรม จะเห็นคุณค่าของธรรมะอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นอย่ายกเวลาในชีวิตของเราทั้งหมด ให้กับสิ่งอื่น หรือให้กับคนอื่นเสียทั้งหมด ควรแบ่งปันเวลาในชีวิตของเราให้กับตัวเองบ้าง อย่าไปรักแต่คนอื่นโดยไม่รักตัวเอง อย่าไปสงสารแต่คนอื่นโดยไม่รู้จักสงสารตัวเอง ต้องรักต้องห่วยใยต้องสงสารตัวเองบ้าง   […]

อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม มหัศจรรย์แห่งการเดินโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

อานิสงส์แห่ง การเดินจงกรม มหัศจรรย์แห่งการเดินโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม การเดินจงกรม เป็นวิธีการปฏิบัติและการเจริญสติอย่างหนึ่งตามแนวทางของสติปัฏฐาน 4 ถ้าเราได้ทำความเข้าใจในการเดินจงกรมแล้ว ว่าเดินแล้วมีประโยชน์อย่างไร ก็จะทำให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมเกิดกำลังใจในการที่จะเดิน มาพูดถึงเรื่องการเดินจงกรมเป็นวิธีการเจริญสติชนิดหนึ่ง การเจริญสติก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดมุ่งหมายของการเจริญสติคือเราต้องการให้มีสติว่องไว เมื่อสติว่องไวก็จะสามารถตามรู้ทันใจ ความรู้สึก ความนึกคิดของตนเอง พอเราตามความคิดทัน จิตของเราที่เคยวุ่นวายมันก็จะลดความวุ่นวายลง อานุภาพของการดูตามจิตตัวเองทัน มันมีอานุภาพมาก สามารถที่จะเข้าไปหยุด ยุติความรู้สึกที่เลวร้ายให้มันหยุดลงได้ทันที ในปัจจุบันทันทีเลยถ้าเรารู้ทัน ความรู้สึกเลวร้ายมันเป็นอย่างไร คือความรู้สึกเลวร้าย ความรู้สึกเสียใจ ความรู้สึกไม่สบายใจ ความรู้สึกคับแค้นใจ ความรู้สึกเป็นทุกข์ใจ ความรู้สึกระทมขมขื่น ถ้าเรามองความรู้สึกนั้นได้ มองความรู้สึกนั้นทัน แล้วเห็นความรู้สึกนั้นได้ อานุภาพของการเข้าไปมองทัน มองเห็น มันจะหยุดความรู้สึกนั้นให้หยุดลงทันที พอเรามองใจที่กำลังทุกข์ ใจมันโดนพรากออกจากการไปคิดถึงสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ ถ้าเรากำลังคิดถึงใครคนใดคนหนึ่งและเราทุกข์เพราะเขา เรามองใจที่กำลังทุกข์ก็จะหยุดคิดถึงคนนั้นทันที พอหยุดคิดถึงคน ๆ นั้นแล้วมันก็จะหยุดทุกข์ทันที อานุภาพของการตามดูใจทัน ถ้าตามดูใจได้ทุกความรู้สึกเลย แบบนี้เป็นพระอรหันต์เลยนะ คือพระอรหันต์เป็นอย่างไร พระอรหันต์จะมีสติสมบูรณ์ สติสมบูรณ์คือท่านจะไม่หลงลืม เมื่อใจคิดท่านก็รู้ทัน มีความรู้สึกท่านก็รู้ทัน พอท่านเห็นความรู้ทัน และเห็นตามความเป็นจริง พอเราไปเห็นความรู้ทันก็ต้องเห็นตามความเป็นจริงอีก […]

การอยู่กับปัจจุบันขณะคืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี

การ อยู่กับปัจจุบันขณะ คืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี อยู่กับปัจจุบันขณะ หมายความว่าอยู่ที่นี่แล้ว ก็เดี๋ยวนี้ ขณะอึดใจนี้ คำว่าอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่มิติของสถานที่ แต่อยู่กับปัจจุบันนี้มันเป็นมิติของจิตวิญญาณ หมายความว่าขณะใดก็ตามที่เรามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่หลุดไปอยู่ในโลกของความคิดในอนาคต หรือโลกของความคิดในอดีต แต่เป็นการที่เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาในทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกคำที่พูดและทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว อาการที่เรารู้ตัวอยู่ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยตัณหา อวิชชา และอุปาทาน หรืออวิชชา ตัณหา ทิฐิ อวิชชาก็คือความหลง ตัณหาคือความอยาก ทิฐิคือชุดความคิดต่าง ๆ แต่เรารู้ตัวอยู่ที่นี่แล้วก็เดี๋ยวนี้ สด ๆ ในปัจจุบันขณะ โดยไม่ผ่านกระบวนการทางความคิด แต่เป็นความรู้สึกตัวสด ๆ ร้อน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเอง ณ เดี๋ยวนี้ ที่นี่ เช่น เราหายใจอยู่ เราก็รู้ว่าเราหายใจ อันนี้คือการอยู่กับปัจจุบันขณะที่แท้จริง ฉะนั้นเมื่อพูดถึงปัจจุบันขณะ เราไม่พูดถึงวัน เดือน ปี เลย เพราะว่ามันเป็นมิติทางจิตวิญญาณ และลมหายใจเป็นอุปกรณ์ของปัจจุบันขณะจริง […]

ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)  

ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) ” ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ” ที่ท้อใจ หงุดหงิดใจ ฟุ้งซ่านใจ กลุ้มใจในการปฏิบัติธรรม แสดงว่าวางใจไม่ถูก คือปฏิบัติด้วยอำนาจของตัณหา ( ความทะยานอยาก ) แสดงว่าทำด้วยความทะยานอยาก จะเอาให้ได้อย่างนั้น จะเอาให้ได้อย่างนี้ ทำไมไม่สงบ ทำไมไม่นิ่ง ทำไมฟุ้งซ่านอยู่ อยากจะหายฟุ้ง อย่างนี้คือการปฏิบัติธรรมที่มีตัณหาเข้าไปบงการ เพราะฉะนั้นแทนที่มันจะเบาใจ แทนที่มันจะสงบใจ มันก็กลับเพิ่มความวุ่นวายใจมากขึ้น อุปมาเหมือนคนที่จะดับไฟ ว่ากิเลสทั้งหลายเหล่านี้เปรียบเหมือนไฟ เวลาที่ไปดับไฟ ใช้อะไรดับ ก็ใช้น้ำดับใช่ไหม น้ำก็เปรียบเสมือนสติสัมปชัญญะเข้าไประลึกรู้ แต่นี่ไม่เอาน้ำอย่างเดียวไปดับ เผลอ ๆ เอาน้ำมันไปฉีด จะดับไฟ แต่ใส่ฟืน ไม่ได้เอาสติสัมปชัญญะ เข้าไประลึกรู้ด้วยความบริสุทธิ์ ใจของสติสัมปชัญญะ แต่เอาตัณหาเข้าไปด้วย เอาความทะยานอยาก เอาความอภิชฌา ความเพ่งเล็งจะเอาให้ได้ เอาโทมนัส ยินร้าย ไม่ชอบ ไม่เอา เกลียดใส่เข้าไปด้วย มันเหมือนกับเอาเชื้อเพลิงเข้าไปใส่ […]

จิตสงบด้วยการภาวนา “ พุท–โธ ” ธรรมะโดย ส. ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส)

ภาวนา “พุท–โธ” เป็นแนวปฏิบัติที่นิยมแพร่หลายแนวหนึ่ง หลวงปู่มั่นและศิษยานุศิษย์ใช้ “พุท–โธ” เป็นคำภาวนาให้จิตสงบรวมตัวจนได้สำเร็จมรรคผล ภาวนา “พุท–โธ” คือการน้อมนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก การฝึกสมาธิด้วยวิธีนี้ทำได้หลายอย่าง ดังนี้ 1. กำหนดรู้ที่ปลายจมูก หายใจเข้า ภาวนาว่า “พุท” หายใจออก ภาวนาว่า “โธ” จะภาวนาว่า “พุท” ทันทีที่รู้สึกว่าลมแตะปลายจมูก หรือภาวนาว่า “พุท” หลังจากลมเข้าสู่ปลายจมูกจนหมดแล้วก็ได้ คำว่า “โธ” ก็เช่นกัน ภาวนาว่า “โธ” ทันทีที่ลมเริ่มออกจากปลายจมูก หรือออกจากปลายจมูกไปหมดแล้ว ขณะที่จิตยังไม่สงบดี จะรู้สึกว่าลมหายใจกับคำภาวนายังแยกกันอยู่ ควรกำหนดรู้ทั้งคำภาวนาและลมหายใจไปพร้อมกัน หากรู้สึกว่าอารมณ์อื่น ๆ เข้ามาแทรกขณะที่ภาวนา อย่าได้ตำหนิตัวเอง หรือพยายามบีบจิตให้สงบ ควรวางจิตให้เป็นกลางแล้วกำหนดใหม่ กำหนดอย่างนั้นเรื่อยไปจนกระทั่งรู้สึกว่าคำภาวนากับลมหายใจกลายเป็นอันเดียวกัน นั่นแสดงว่าจิตสงบมากขึ้น เมื่อจิตสงบเต็มที่ คำภาวนาและลมหายใจจะหายไปเอง เหลืออยู่แต่ความนิ่ง เช่นนี้แล้วผู้ปฏิบัติไม่ต้องคิดถึงคำภาวนาและลมหายใจอีกต่อไป เพราะขณะนั้นจิต ลมหายใจ และคำภาวนากลายเป็นอันเดียวกัน ควรกำหนดรู้อยู่เฉพาะจุดนิ่งนั้น จิตจะรวมลงสู่ความสงบที่ละเอียดขึ้น 2. ภาวนา “พุท–โธ” […]

เมธี จันทรา กับการภาวนาด้วยขลุ่ยเซน เพื่อไปสู่ความสงบจากข้างใน

เมธี จันทรา กับการภาวนาด้วยขลุ่ยเซน เพื่อไปสู่ความสงบจากข้างใน เมธี จันทรา อดีตสมาชิกวงทีโบน และวงคำภีร์ ผู้หันหลังให้กับวงการดนตรี เพื่อมาทำในสิ่งที่เขารักคือการแสวงหาความรู้ในเรื่องที่เขาสนใจ นั่นคือการเล่นดนตรีเพื่อการภาวนา   นักดนตรีผู้สนใจการภาวนา แต่เดิมผมเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า และสนใจเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับเสียงความคิดของเราอยู่ก่อนแล้ว จึงเริ่มศึกษาจากกีต้าร์ไฟฟ้าที่ผมเล่นก่อน จนประมาณ ปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันธรรมคีตาโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยกลุ่มผู้ศรัทธาในองค์ทะไล ลามะ ผมก็ได้มีโอกาสไปเล่นดนตรีในงานนี้ด้วย ระหว่างที่เล่นกีต้าร์ไฟฟ้านาน ๆ ก็รู้สึกว่าน้ำหนักของเครื่องดนตรีเป็นอุปสรรคมาก ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง และพอได้ชมการแสดงขลุ่ยทิเบตของนาวัง เก ช็อก ก็เห็นว่าขลุ่ยเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับเสียงภายในของเรา กีต้าร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นแล้วจะเกิดเสียงจากข้างนอกมากกว่าข้างใน เป็นการกระทบกันระหว่างนิ้วมือกับเครื่องดนตรี แต่ขลุ่ยนั้นเสียงจะเกิดขึ้นจากสภาวะข้างในก่อนที่จะถ่ายทอดออกมาข้างนอก จึงเป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยในการภาวนาได้เป็นอย่างดี   ลองผิดลองถูก ผมเริ่มต้นจากขลุ่ยไทยก่อน แต่ขลุ่ยไทยยังไม่ตอบโจทย์บางอย่าง จึงเปลี่ยนไปลองเล่นขลุ่ยจีน ก็ยังไม่ตอบโจทย์อยู่ดี เลยเริ่มศึกษาลึกลงไปเรื่อย ๆ จนพบว่าพุทธศาสนามีอีกนิกายหนึ่ง (นิกายเซน) ที่ใช้ขลุ่ยในการภาวนา เลยหันมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง โดยการประดิษฐ์ขลุ่ยญี่ปุ่นจากท่อพีวีซี แล้วใช้บันไดเสียงแบบดนตรีตะวันตกเป็นการประสมประสานระหว่างดนตรีตะวันออกและตะวันตก ผมเป่าขลุ่ยนี้มาร่วม 10 ปี รู้สึกว่าสภาวะของเสียงยังไม่ตอบโจทย์ลึก ๆ เลยหวนกลับไปคิดว่าน่าจะลองเล่นขลุ่ยเซนที่ทำจากไม้ไผ่ดู […]

พุทธรักขิต นกแขกเต้าเจริญสติปัฏฐาน

พุทธรักขิต นกแขกเต้าเจริญสติปัฏฐาน ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแสดงธรรมไปในมหาชนบททั้งหลาย แคว้นกุรุเป็นแคว้นหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรม แล้วทรงแสดงธรรมไว้ถึง 7 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ มหานิทานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกขูปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร และอานัญชสัปปายสูตร พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่นี่หลายเรื่องเพราะ ชาวกุรุเป็นผู้มีกำลังปัญญา สามารถฟังธรรมของพระองค์ได้ รวมทั้งบรรยากาศร่มรื่น ทำให้ชาวแคว้นแห่งนี้มีใจที่เปิดรับฟังธรรมของพระองค์ ถึงชาวกุรุจะได้รับคำสอนเรื่องสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นคำสอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เห็นธรรมได้จากการพิจารณากาย, เวทนา (ความรู้สึก) , จิต และ ธรรม และยังปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังเจริญสติปัฏฐาน 4 เช่นเดียวกัน สัตว์ตัวนั้นคือนกแขกเต้าที่มีชื่อว่า “พุทธรักขิต” มีหญิงช่างฟ้อนรำนางหนึ่งจับลูกนกแขกเต้าตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้ และฝึกให้มันพูดภาษาคนได้ นางเดินทางไปแสดงฟ้อนรำที่ใดก็จะพาลูกนกตัวนี้ไปด้วยเสมอ จนกระทั่งมาถึงแคว้นกุรุ นางขออนุญาตพระเถรีพักค้างแรมในสำนักภิกษุณี แต่พอถึงวันที่นางต้องออกเดินทาง กลับลืมเจ้านกแขกเต้าไว้     สามเณรีจึงเลี้ยงนกแขกเต้าตัวนี้แทน และตั้งชื่อนกน้อยว่า “พุทธรักขิต” ซึ่งมีความหมายว่า “พุทธรักษา” วันหนึ่งพระเถรีรูปหนึ่งขานชื่อของมัน นกน้อยขานรับว่า “มีอะไรคะ ท่านแม่” พระเถรีถามต่อว่า “เจ้าเจริญภาวนาอย่างไรบ้าง” […]

รวมข้อสงสัย สำหรับมือใหม่หัด ” ภาวนา “

การ ภาวนา มักเข้าใจว่าเป็นของชาวพุทธ แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด ความจริงมีอยู่แล้วเหมือนกับความจริงทางวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย

ซีเคร็ตรีวิว : งานวัดน้อย ๆ ลอยฟ้า ธรรมเทศกาลขนาดมินิใจกลางเมือง เพื่อความสุขน้อย ๆ กลางใจคุณ

ซีเคร็ตรีวิว : งานวัดน้อย ๆ ลอยฟ้า ธรรมเทศกาลขนาดมินิใจกลางเมือง เพื่อความสุขน้อย ๆ กลางใจคุณ   วันนี้แอดมินมาเที่ยว งานวัดน้อย ๆ ลอยฟ้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือสวนโมกข์กรุงเทพ ใช้พื้นที่ชั้น 5 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเนรมิตเป็นงานวัดเล็ก ๆ ที่นอกจากความรื่นเริงแล้วยังได้ธรรมะและข้อคิดกลับบ้านไปด้วย ตรงตามสโลแกนของงานนี้ที่ว่า “ธรรมเทศกาลขนาดมินิใจกลางเมือง เพื่อความสุขน้อย ๆ กลางใจคุณ” กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ กิจกรรมหลักที่จัดในออดิทอเรียมมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) งานเปิดตัวสารคดีเรื่อง “ตามรอยพระพุทธเจ้า 2”  (2) ภาวนากับหมู่บ้านพลัม (3) ทิดทอล์ค TID TALKS (4) เห็นธรรมเมื่อฮัมเพลง และ (5) ดูหนังหาแก่นธรรม ในหัวข้อ “บนทางเถื่อน พบทางธรรม” กิจกรรมมีตติ้งอีก 2 กลุ่ม […]

การเจริญภาวนาพรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน ไม่ยากอย่างที่คิด

การเจริญภาวนา พรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน ไม่ยากอย่างที่คิด พรหมวิหาร 4 เป็นคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ที่มีความหมายว่า เครื่องแห่งพรหม พรหมในคติของพระพุทธศาสนาหรือในสมัยพุทธกาลเชื่อว่า เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นนิสัยของพรหม หากผู้ใดมีนิสัย 4 อย่างนี้ ก็มีความเป็นพรหมอยู่กับตัว หากสิ้นบุญก็จะเกิดยังพรหมโลก ถึงจะเป็นคำสอนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ก็จริง แต่เหมือนว่าจะปฏิบัติตามได้ยาก เพราะมีอุปสรรคตัวสำคัญคือความโกรธ บทความนี้จะมุ่งเรื่องการภาวนาด้วยพรหมวิหาร 4 ซึ่งสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน คัมภีร์วิมุตติมรรคบรรยายไว้ว่า เมตตา เปรียบเหมือนพ่อแม่มองดูลูกของตน ทำจิตด้วยความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อลูก หากกระทำให้จิตมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ได้เฉกเช่นพ่อแม่เมตตาลูก อานิสงส์แห่งเมตตาภาวนาย่อมเกิดขึ้นคือ (1) เธอหลับเป็นสุข (2) ตื่นเป็นสุข (3) ไม่ฝันร้าย (4) เป็นที่รักของมนุษย์ (5) เป็นที่รักของอมนุษย์ (6) เทวดาย่อมรักษาคุ้มครองเธอ (7) ไฟ ยาพิษ และอาวุธทำอันตรายไม่ได้ (8) จิตจะเป็นสมาธิ ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพาน ก็จะได้เกิดยังพรหมโลก เมตตาภาวนาคือการแผ่เมตตา การที่จะประคับประคองให้จิตมีเมตตา […]

พุทธจิตวิทยา สู่ความงามสง่าที่แท้จริง

พุทธจิตวิทยา สู่ความงามสง่าที่แท้จริง จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่สอนด้วยเรื่องการสร้างบุคลิกภาพให้งามสง่า และพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่สอนเรื่องจิตของมนุษย์ ก็มีคำสอนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น พุทธจิตวิทยา ที่จะส่งเสริมสร้างความงามภายนอก ภายใน เพื่อผสานสู่ความงามสง่าที่แท้จริง   “การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานี้  เป็นโชคดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขอให้มีความสนใจในพุทธศาสนาให้มาก” – พุทธทาสภิกขุ   ผู้เขียน รู้สึกว่าตัวเองโชคดี ที่มีความสนใจในพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้เขียนศึกษาโดยตรงจากพระไตรปิฎก และคำสอนจากท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้เขียนยิ่งรู้สึกว่าตัวเองโชคดี ที่เลือกเรียนปริญญาโททางด้านจิตวิทยา เพราะจิตวิทยาเป็นวิชาที่สนุกมาก มีการทดลองเพื่อพิสูจน์ และทดสอบสมมติฐานอย่างเป็นขั้นตอน บางครั้งมีผลการวิจัยที่น่าแปลกใจ และชวนให้เกิดจินตนาการ เพราะการจินตนาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา และการต่อยอดความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอส่งต่อความโชคดีแบบสองชั้นนี้ มอบแด่ผู้อ่านทุกท่าน เพื่อส่งเสริมงานพุทธจิตวิทยาร่วมกัน ในการดับทุกข์ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์     การที่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบ  ผู้คนให้ความสนใจเรื่องสุขภาพและความงามมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ จึงขอแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านความงามและคุณภาพชีวิต ด้วยการใช้หลักพุทธจิตวิทยา โดยในฉบับนี้จะขอนำเสนอเคล็ดลับความงามสง่า ที่จะช่วยจุดประกาย เปลี่ยนคุณให้เป็นคนใหม่ ได้ภายในเสี้ยววินาที! […]

ปราภวสูตร (แปล) สวดภาวนาเพื่อไม่ให้ชีวิตตกต่ำไปสู่ความเสื่อม

ปราภวสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งที่ปรากฏใน ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หมวดขุททกนิกาย แห่ง พระสุตตันตปิฎก มีเนื้อหาว่าด้วยมูลเหตุแห่งความเสื่อม

keyboard_arrow_up