ไม่มีถูกกับผิด มีแต่ ทุกข์กับพ้นทุกข์ – นิตยสาร Secret

เรื่องนี้จะไม่จบแค่เพียงที่ใครถูกใครผิด แต่มันจะมีคำถามที่ลึกซึ้งกว่านั้นคือ ใครจะ พ้นทุกข์ ได้เร็วกว่ากัน ใครจะพ้นทุกข์จากการมีมิจฉาทิฏฐิได้เร็วว่ากัน

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์นี่เอง ทุกข์จนสุดทนก็ไม่ทน ทุกข์ ไม่ทนที่จะทุกข์เอง เป็น “ธัมมนิยามตา” (เป็นกฎตายตัวของธรรมดา) ทุกข์จนไม่อาจทุกข์ ไม่อาจที่จะให้ทุกข์อยู่ต่อไปได้อีกแล้ว ก็จะ “อตัมมยตา” (ความที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งนั้นอีกต่อไป) พ้นทุกข์ เพราะทนที่จะทุกข์ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะทุกข์กับทุกข์ไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะอยู่กับทุกข์ ทนที่จะกำทุกข์เอาไว้ไม่ได้อีกแล้ว ไม่สามารถที่จะให้ทุกข์อยู่ได้อีกต่อไปแล้ว กักขังหน่วงเหนี่ยวหรือยึดเอาไว้ไม่ได้อีกต่อไปแล้วจึงปล่อยไป ปล่อยให้ทุกข์ไหลออกไป ไหลออกไปจนหมดนั่นแหละ ทุกข์จึงหมดไปหรือหมดไปจากทุกข์ ก็เพราะทุกข์ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะทุกข์ได้ทำให้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้ว จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็เพราะว่าได้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้วนั่นเอง เมื่อทุกข์สุด ๆ ก็สุดที่จะทุกข์ ที่สุดแห่งทุกข์มาจากทุกข์ที่สุด พ้นทุกข์ได้เพราะทุกข์มาทำให้พ้นทุกข์ (ดังนั้นขอบคุณมาก เจ้าความทุกข์เอ๋ย) ทุกข์ดับสนิทได้เพราะไม่ได้เข้าไปดับทุกข์ ทุกข์อยู่ไม่ได้เพราะอยู่กับทุกข์ได้ อยู่กับทุกข์ได้จนทุกข์อยู่ไม่ได้ ทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ทุกข์จึงต้องพรากจากจรไป เพราะไม่มีเยื่อใยสายใยต่อทุกข์เลย ทุกข์เกาะเกี่ยวผูกพันไม่ได้เพราะไม่มีความอาลัยไยดีเป็นมิตรไมตรีกับทุกข์เลย พ้นจากสังสารวัฏทุกข์ได้ เพราะไม่มีความสงสารเห็นอกเห็นใจต่อทุกข์เลย ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสารอยู่ ก็จำต้องเวียนว่ายในวัฏสงสารอีกต่อไป เพราะความสงสารแท้ ๆ จึงทำให้ยังข้องอยู่ในวัฏสงสาร ผู้ที่ยังไม่พ้นทุกข์ ก็เพราะยังทนทู่ซี้กำทุกข์อยู่นั่นเอง ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็เพราะทุกข์ยังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง “ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีแก่เราได้” นี้เป็นบททำวัตรสวดมนต์บทหนึ่งที่ชาววัดทั้งหลายใช้สวดกันเป็นประจำ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้คำตอบแล้วจากบทความนี้ […]

พึ่งตัวเองให้ได้แล้วผู้อื่นจะได้พึ่งเรา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เมื่อผู้อื่นมีทุกข์และถ้าเรายังมีทุกข์อยู่เช่นผู้อื่น  แล้วเราผู้มีทุกข์จะไปช่วยให้ผู้อื่นไม่ทุกข์หรือพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร  ดีไม่ดีอาจเป็นการไปเพิ่มทุกข์  หรือไปทำให้เขาทุกข์หนักขึ้นก็ได้นะ  ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองพ้นไปจากทุกข์ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า  ถ้าเรายังทุกข์เต็มที่อยู่  ยังกลัดกลุ้มร้อนรุ่ม  หงุดหงิดโมโห  อาฆาตพยาบาท  อิจฉาริษยาอยู่  ยังเปล่าเปลี่ยวอ้างว้างหงอยเหงาอยู่  หรือยังอยากไม่รู้จบไม่รู้สิ้นอยู่  หรือพร่องอยู่เป็นนิจ  ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ  ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม  ยังต้องการความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นอยู่  ยังต้องการกำลังใจจากผู้อื่นอยู่  ยังต้องหวังให้ผู้อื่นปลุกใจปลอบใจอยู่ ฯลฯ  แล้วอย่างนี้เราจะไปช่วยใคร ๆ ได้  เพราะแม้ตัวเราก็ยังเป็นที่พึ่งให้กับตัวไม่ได้ ช่วยตัวเราก่อนท่าน  ก่อนที่จะไปช่วยผู้อื่น  ดูแลตัวเอง  ชื่อว่าดูแลผู้อื่น  รักษาตัวเราก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นไปด้วย  เพราะผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยดูแลเรา  ผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยรักษาเรา  เราก็จะไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่น  และถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้  ต่างก็ทำกิจทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง  ให้ดีที่สุด  สังคมก็จะมีความสงบสุข  สันติภาพก็จะเกิดขึ้นจริง ๆ โดยธรรมดาทั่วไปแล้ว  ถ้าเรามีสิ่งใด  เราก็ย่อมจะนำสิ่งนั้นไปให้ผู้อื่นได้  แต่ถ้าตัวเราไม่มีสิ่งนั้น  เราก็ไม่สามารถให้สิ่งนั้นกับใคร ๆ ได้จริง ๆ  ตัวเราไม่มีความสงบสุข  แล้วเราจะไปทำให้ผู้อื่นมีความสงบสุขได้อย่างไรถ้าเราไม่มีธรรมะ  เช่น  เมตตา  กรุณา  เป็นต้น  แล้วผู้อื่นจะได้รับธรรมะจากเราได้อย่างไร ตรงข้าม  ถ้าเรามีความทุกข์  […]

ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทางพ้นทุกข์ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ขึ้นชื่อว่า “ความรัก” น้อยคนที่จะกล้าปฏิเสธว่า ไม่ต้องการรับรัก หรือไม่เคยมอบความรักให้แก่ใคร เพราะความสุขจากความรักนั้นช่างหอมหวาน ในขณะเดียวกันความทุกข์ที่เกิดจากความรักก็สุดแสนทรมานเช่นกัน เมื่อความรักเป็นดั่งดาบสองคมเช่นนี้ พุทธศาสนาจะมีวิธีการจัดการกับความรักอย่างไร พ้นทุกข์ พระอาจารย์คะ พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความรักไหมคะ ให้ความสำคัญสิ พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรักที่บริสุทธิ์เชียวละ ความรักที่บริสุทธิ์ในที่นี้คือการให้ พระพุทธเจ้าทรงให้ในสิ่งที่ดีที่สุดแก่มนุษย์ เป็นการให้เพียงฝ่ายเดียว ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แม้กระทั่งคำขอบคุณหรือความรักตอบ สิ่งที่ดีที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้มนุษย์ทุกคนไม่ใช่ทรัพย์สมบัติหรือแก้วแหวนเงินทองใดๆ แต่ ท่านทรงให้ในสิ่งที่มนุษย์พึงได้รับเมื่อเกิดมาชาติหนึ่ง นั่นคือ การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ท่านปรารถนาให้เราพ้นทุกข์เข้าสู่นิพพาน ซึ่งจะทำให้มนุษย์เกิดปัญญา ตื่น เบิกบาน มีอิสระ ปล่อยวาง ปลอดโปร่ง โล่ง เบาสบาย ไม่เวียนวน ไม่มีทุกข์ และได้สัมผัสถึงความสงบร่มเย็น ในสังคมปัจจุบันมีข่าวฆาตกรรมหรือคดีความสืบเนื่องจากความรักฉันท์หนุ่มสาวมากมาย พระอาจารย์มีข้อคิดเตือนใจอย่างไรบ้างคะ คดีความต่างๆ โดยมากเกิดขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่มีเจตนาในการมอบความรักในวงจำกัด เป็นต้นว่า ความสุขของเขาคนนั้นจะต้องเกิดจากฉันเท่านั้น ห้ามเกิดจากคนอื่น อย่างนี้เรียกว่าเป็นความรักที่มีราคะมาเจือปน มีอกุศล มีความเป็นเจ้าของ ยึดครองถือครอง หวงแหน ยึดมั่นถือมั่นให้เป็นของเรา พอเห็นเขาไปควงกับคนอื่นก็ทนไม่ได้ เพราะความสุขนั้นไม่ได้เกิดจากฉัน แต่ในทางพุทธศาสนา ความรักที่มีอานุภาพมากเกิดประโยชน์สูงสุดคือ ความรักอย่างมีเมตตา […]

“รู้แล้ววาง” คือ “ทางพ้นทุกข์” ข้อธรรมให้แง่คิดโดย ส. ชิโนรส

ท่าน ส. ชิโนรส ได้แสดงข้อธรรมให้แง่คิดในเรื่องของการพ้นทุกข์ไว้ดังนี้ ธรรมชาติของกายและใจตามเป็นจริง คือ “มันเป็นอย่างนั้นเอง” กายและใจ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมด มีแต่เกิดกับดับ เกิดกับตายทุกวินาที (อนิจจัง) มีเหตุปัจจัยต่าง ๆ บีบคั้น บีบบังคับให้ต้องเกิด – ดับอยู่ตลอดเวลา (ทุกขัง) และไม่มีใครมีอำนาจสั่งให้เป็นไปตามความต้องการ ไม่มีตัวกูของกูที่แน่นอน ไม่มีค่าที่ตายตัวเที่ยงแท้ ว่างเปล่าจากตัวตน (อนัตตา) “อนิจจัง – ทุกขัง -อนัตตา” คือ ธรรมชาติแท้ของกายและใจมันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไร  ผู้เจริญวิปัสสนาเคยเห็นธรรมชาตินี้มาแล้ว ก่อนที่ยังไม่พ้นวิปัสสนูปกิเลส แต่ตอนนั้นสติปัญญายังไม่แจ่มแจ้งเต็มร้อย เพราะวิปัสสนูปกิเลสทำให้เขว และยังมีความสงสัยคลำหาทางออกไม่พบ แต่ตอนนี้มองเห็นได้แจ่มแจ้งแล้วว่า “กายและใจมันเป็นอย่างนี้เอง เราหนีธรรมชาตินี้ไม่พ้น ต้องยอมรับมัน” การเห็นอนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตาได้ชัดเจนกว่ากันหรือไม่ แต่ละคนไม่เหมือนกัน บุญใครบุญมัน ผู้ที่มีความเชื่อเลื่อมใสมาก (ศรัทธา) จะเห็นการเกิด – ดับได้ชัดเจน ผู้ที่มีความเพียรมาก (วิริยะ) จะเห็นความทุกข์ได้ชัดเจน ส่วนผู้ที่มีปัญญามาก (ปัญญา) จะเห็นอนัตตาความว่างได้ชัดเจน […]

keyboard_arrow_up