นางกาณา สตรีผู้ด่าพระภิกษุ แต่ได้เป็นพระธิดาบุญธรรมของพระราชา

นาง กาณา สตรีผู้ด่าพระภิกษุ แต่ได้เป็นพระธิดาบุญธรรมของพระราชา ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ได้เกิดเหตุการณ์ขึ้นกับสตรีนางหนึ่งที่มีชื่อว่า “ กาณา ” นางเกิดในครอบครัวที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทำให้นางกลายเป็นคนที่ชอบทำบุญสุนทานมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งนางได้แต่งงานเข้าไปอยู่ในตระกูลของสามี มารดาของนางได้ทำขนมถั่วแล้วส่งมาให้ นางจึงเก็บขนมถั่วนี้ไว้ใส่บาตรในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระภิกษุบิณฑบาตผ่านหน้าเรือน นางกาณาได้ลงมาใส่บาตร ขณะที่นางกำลังกล่าวคำจบของใส่บาตรอยู่นั่นเอง สามีขางนางพาเมียน้อยเข้ามาอยู้ในบ้าน ทำให้นางกาณาเกิดความโมโหจึงดุด่าพระภิกษุไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ไม่มีพระภิกษุรูปใดกล้าบิณฑบาตผ่านเรือนของนางอีกเลย ส่วนนางกาณาเองก็ย้ายกลับไปอยู่เรือนของมารดาดังเดิม พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณจึงเสด็จไปเรือนมารดาของนางกาณา เมื่อพระพุทธองค์มาถึง มารดาได้จัดเตรียมอาสนะอย่างดีมารับรองพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับถวายข้าวยาคูแด่พระองค์ พระพุทธองค์ตรัสถามถึงนางกาณาว่าเวลานี้อยู่ที่ไหน มารดาจึงชี้ไปยังที่นางกาณายืนอยู่ ซึ่งนางกำลังร้องไห้ พระพุทธองค์ตรัสขึ้นว่า “กาณาร้องไห้ทำไม” มารดาตอบว่า “ลูกสาวจของดิฉันเสียใจที่ได้ด่าพระสาวกของพระองค์ เจ้าข้า” พระพุทธองค์ตรัสว่า “สาวกของเราทำผิดอะไรหรือกาณา”     นางกาณาได้ยินดังนั้นก็เข้ามากราบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตอบว่า “พระสาวกของพระองค์ไม่มีความผิด มีเพียงดิฉันเท่านั้นที่ผิด เจ้าข้า” จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรื่องบุพกรรมของนางกาณา เมื่อนางได้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จกลับพระเชตวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์พอดีจึงเข้าทูลถามพระบรมศาสดาว่าพระองค์เสด็จมาจากที่ใด พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เรือนของมารดานางกาณาให้พระเจ้าปเสนทิโกศลสดับ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอยากทราบว่านางกาณาเป็นพระโสดาบันจริงหรือไม่ จึงทดสอบนางโดยการเชิญนางเข้าวัง แล้วแต่งตั้งให้นางเป็นพระธิดาบุญธรรม พระองค์ทรงบำรุงนางด้วยสมบัติต่าง ๆ นานา แล้วยังมอบหมายให้มหาอำมาตย์คนหนึ่งเป็นผู้รับเลี้ยงนางแทนพระองค์ […]

โจรลักทรัพย์ในพระเชตวันได้เป็นพระโสดาบัน

โจรลักทรัพย์ในพระเชตวันได้เป็น พระโสดาบัน โจรอาจเป็นอาชีพที่ไม่สุจริตตามทรรศนะของพระพุทธเจ้า แต่โจรคนนี้คงมีบุญเก่าอยู่ เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็น พระโสดาบัน เรื่องของโจรกลับใจที่ได้บรรลุธรรม ตอนที่เข้ามาขโมยของที่พระเชตวัน ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน พุทธกิจหลักของพระองค์คือการแสดงโปรดสาธุชนที่แวะเวียนเข้ามาฟังธรรมเสมอ ท่ามกลางมหาชนที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เพราะเลื่อมใสในคำสอนของพระบรมศาสดา กำลังจะมีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น โจร 2 คนเป็นเพื่อนกัน ได้วางแผนจะลักทรัพย์ของสาธุชนที่เข้ามาฟังพระธรรมเทศนาในพระเชตวัน ด้วยกรุงสาวัตถีเป็นนครมหาอำนาจ ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งยังเป็นชุมทางการค้าจึงมีมหาเศรษฐีอยู่หลายคน อย่างที่รู้จักและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากก็คืออนาถบิณฑิกเศรษฐี กับ นางวิสาขามหาอุบาสิกา จึงเป็นเมืองแห่งความมั่งคั่ง     พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองแห่งนี้นานถึง 25 พรรษา จะสังเกตได้ว่าในพระสูตรหลายเรื่องมักกล่าวว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ในกรุงสาวัตถี เป็นต้น นับว่าเมืองแห่งนี้เป็นอีกเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพุทธกาล โจรคนที่หนึ่งพยายามขโมยถุงเงินจากอุบาสกคนหนึ่ง ซึ่งเงินจำนวนนี้เขาต้องใช้เป็นค่าอาหารของคนในครอบครัว ขณะนั้นเองพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม โจรคนที่สองที่กำลังดูต้นทางได้มีใจโน้มไปในกระแสแห่งพระธรรมเทศนาก็บรรลุโสดาปัตติผล เมื่อโจรเป็นพระโสดาบันก็เกิดความละอายใจ เลิกเฝ้าต้นทางให้เพื่อนโจรด้วยกัน คิดเลิกเป็นโจรอย่างเด็ดขาดและขอนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนกว่าชีวิตจะหาไม่  เพื่อนโจรรู้ว่าเพื่อนเลิกเป็นโจรก็ขำคิดว่าเพื่อนตนนั้นโง่เขลาเสียเหลือเกิน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณ จึงตรัสขึ้นว่า “บุคคลใดรู้ว่าตนเองโง่ ย่อมถือได้ว่าเป็นบัณฑิต (รู้ว่าตนเองโง่เขลาเพื่อหาทางแก้ไขจากความโง่เขลา) แต่บุคคลใดโง่เขลาแต่กลับคิดว่าตนเองเป็นบิณฑิต บุคคลแบบนี้เรียกได้ว่าคนที่โง่ยิ่งกว่า”   ที่มา […]

พระนางธัมมทินนาเทวี สตรีผู้ได้รับความเคารพจากรุกขเทวดา

พระนางธัมมทินนาเทวี สตรีผู้ได้รับความเคารพจากรุกขเทวดา พระเจ้าพรหมทัตทรงเข้าพระทัยผิดคิดว่าสิ่งที่พระองค์บนบานไว้กับรุกขเทวดาได้สัมฤทธิ์ผล จึงจับคนมาบูชายัญ แต่แล้วก็มีสตรีนางหนึ่งช่วยให้ทุกคนพ้นจากการถูกบูชายัญ สตรีนางนั้นคือ พระนางธัมมทินนาเทวี  ครั้งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ยินเสียงประหลาดในยามวิกาล ทรงตกพระทัยมากจึงโปรดให้ปุโรหิตทำนายว่าจะเป็นลางบอกเหตุร้ายหรือไม่ ปุโรหิตเห็นเป็นช่องทางหาลาภสักการะจึงทูลพระองค์ว่า “เป็นลางบอกเหตุว่าจะเกิดภัยขึ้นกับมหาราช แต่วิธีแก้ยังพอมีคือพระองค์ต้องประกอบพิธีบูชายัญด้วยคนและสัตว์อย่างละ 100 ชีวิต” เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบจึงตรัสโน้มน้าวพระสวามีไม่ให้ทรงประกอบพิธีบูชายัญ เพราะการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นหนทางไปสู่ทุคติภูมิ พระนางทรงชักชวนพระเจ้าปเสนทิโกศลไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อทูลถามที่มาของเสียงประหลาดที่แท้จริงว่าเป็นตามที่ปุโรหิตทำนายหรือไม่ พระบรมศาสดาทรงเฉลยว่าเป็นเสียงของสัตว์นรก 3 ตนจากโลหกุมภีนรก สัตว์นรกเหล่านี้ต้องการให้ชนทั้งหลายทราบว่านรกมีอยู่จริง ไม่อยากให้ใครต้องทำอกุศลกรรมอีกเลย จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระนางมัลลิกาเทวีที่ได้ช่วยเหลือชีวิตผู้คนและสัตว์ทั้งหลายที่จะตกเป็นเหยื่อให้พิธีกรรมนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อในอดีตชาติ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงจะสังหารชนหมู่มากเพื่อสังเวยรุกขเทวดา แต่มีสตรีนางหนึ่งเตือนสติพระองค์ไว้ ครั้งสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายแห่งกรุงพาราณสี เจ้าชายได้ตรัสบนบานต่อรุกขเทวดาว่า หากตนได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา จะนำเลือดของพระราชาและพระราชินีจาก 101 เมืองในชมพูทวีปมาถวายเป็นเครื่องสังเวย วันเวลาผ่านไปพระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตลง เจ้าชายได้ขึ้นครองราชสมบัติและสถาปนาเป็นพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงจำคำตรัสบนบานได้จึงทำสงครามจับพระราชาและพระราชินีทั้ง 101 พระองค์มาบูชายัญ รุกขเทวดาไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นในบริเวณต้นไทรที่ตนสถิต จึงไปขอความช่วยเหลือจากเทวดาทั้งหลายทั่วจักรวาล แต่ก็ไม่มีเทวดาองค์ใดทำลายพิธีบูชายัญของพระเจ้าพรหมทัตได้ จนกระทั่งท้าวสักกะเทวราชทรงชี้แนะว่า ในบรรดาพระราชาและพระราชินีทั้งหลายในชมพูทวีป มีพระนางธัมมทินนาเทวีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถต่อกรกับพระเจ้าพรหมทัตได้     ในขณะที่พระเจ้าพรหมทัตกำลังจะสังหารพระนางธัมมทินนาเทวี รุกขเทวดาได้ปรากฏกายขึ้น พระเจ้าพรหมทัตทรงปีติหลงคิดว่ารุกขเทวดาแสดงตนเพื่อรับเครื่องสังเวย พระราชาตรัสให้พระนางธัมมทินนาเทวีกราบรุกขเทวดา แต่พระนางทรงไม่แสดงความเคารพ รุกขเทวดาทราบว่ามีเพียงพระราชินีพระองค์นี้เท่านั้นที่จะยุติพิธีกรรมอันเลวร้ายนี้ได้ จึงแสดงความเคารพต่อพระนางแทน ทำให้พระเจ้าพรหมทัตกริ้วที่เทวดาที่พระองค์ทรงบูชาต้องแสดงความเคารพต่อคนธรรมดา พระนางธัมมทินนาเทวีกรรแสง พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามว่า […]

พระนางมัลลิกาเทวี พระราชเทวีผู้เรียนธรรมะโดยเคารพ

พระนางมัลลิกาเทวี พระราชเทวีผู้เรียนธรรมะโดยเคารพ พระนางมัลลิกาเทวี เป็นหญิงชาวบ้านที่ได้ถวายขนมถั่วแด่พระบรมศาสดา แล้วพระองค์ตรัสต่อพระอานนท์ว่า “กุลธิดานางนี้จะได้เป็นพระมเหสี” ไม่นานนักพระเจ้าปเสนทิโกศลได้พบรักกับกุลธิดานางนี้ และสถาปนาไว้ในตำแหน่งพระมเหสี กุลธิดานางนี้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ประกอบทานกุศลอยู่เนืองนิจ แม้สุขสบายได้เป็นพระมเหสีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีปก็ไม่ละทิ้งการทำทานทำกุศล กุลธิดาแห่งนายมาลาการนางหนึ่งมีชื่อว่า “มัลลิกา” (มัลลิกา แปลว่า ดอกมะลิ) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่เด็ก เพราะบิดามักพานางไปฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่บ่อยครั้ง พลอยให้กุลธิดานางนี้ได้เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่เยาว์วัย (สำเร็จโสดาปัตติผล) นางมัลลิกาได้ถวายขนมแด่พระบรมศาสดา พระองค์แย้มพระสรวล พระอานนท์จึงทูลถามว่า “พระองค์ทรงหัวเราะด้วยเหตุใด” พระองค์ตรัสตอบว่า “กุลธิดานางนี้จะได้เป็นพระอัครมเหสีแห่งพระราชา” หลังนั้นนางมัลลิกากำลังเก็บดอกไม้ให้บิดาอยู่นั้น นางได้ร้องเพลงไปด้วย ชายรุ่นราวคราวกับบิดาปรากฏกายขึ้น เขาได้ชมเพลงของกุลธิดา และชื่นชมเสียงของนาง แต่หญิงสาวกลับไม่พอใจที่มีคนมาแอบเพลงเธอร้องเพลง ชายนิรนามจึงทำการขอโทษเธอจนเธอพอใจ เขาบอกว่าเขาเหนื่อยล้ามากจึงพาม้าที่ตนขี่มาพักอยู่ใต้ร่มไม้ของต้นไม้ในสวนแห่งนี้ ทั้งสองได้สนทนากันไม่เท่าไรนางมัลลิกากลับรู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก และชายนิรนามก็จากนางไป     หลายวันต่อมา ทางราชสำนักส่งคนมาเชิญนางมัลลิกาเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาผู้อยู่เบื้องหน้าของนางมัลลิกาคือชายนิรนามผู้นั้นนั่นเอง และพระองค์ได้สถาปนานางเป็นพระมเหสี ในอรรถกถาเล่าถึงบทบาทของพระนางมัลลิกาเทวีที่คอยเป็นที่ปรึกษาของพระสวามี และเป็นผู้ที่จะโน้มน้าวพระสวามีเข้าสู่เส้นทางแห่งพุทธธรรมเสมอ เช่น ครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงฝันประหลาดต่อเนื่องกันถึง 16 เรื่อง พระองค์ให้ปุโรหิตพยากรณ์ความฝัน ปรากฏว่าพระราชาต้องประกอบพิธีบูชายัญเพื่อเป็นการแก้จากร้ายให้กลายเป็นดี พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบว่าการพิธีบูชายัญจะทำให้พระสวามีต้องมีรับสั่งฆ่าสัตว์ เดี๋ยวพระสวามีจะเป็นบาปจึงได้แนะนำให้พระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทูลถามถึงเรื่องความฝันประหลาดนี้แทน (สามารถศึกษาเรื่องพระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศลเพิ่มเติมได้ที่ >>> อรรถกถามหาสุบินชาดก) […]

สุมนา เจ้าหญิงผู้ได้สัมผัสพระนิพพาน 

สุมนา เจ้าหญิงผู้ได้สัมผัสพระนิพพาน เจ้าหญิง สุมนา เป็นขัตติยนารีแห่งแคว้นโกศล ในหลายจุดของคัมภีร์ต่างกล่าวว่า สุมนาราชกุมารีเป็นพระภคินี (พระน้องนาง) ของพระเจ้าโกศลพระองค์ก่อน จึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา (พระเจ้าอา) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เป็นพระนัดดาปกครองกรุงสาวัตถีจนเจริญรุ่งเรือง และยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ราชสำนักแคว้นโกศลต่างยึดมั่นพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทำให้เจ้าหญิงสุมนา หนึ่งในขัตติยนารีชั้นผู้ใหญ่พลอยทรงศรัทธาพระพุทธเจ้าไปด้วย เจ้าหญิงสุมนาทรงเป็นเจ้าหญิงผู้มั่งคั่งพระองค์หนึ่งในชมพูทวีปเพราะ ทรงมีราชรถถึง 500 คัน และเด็กสาวเป็นบริวารถึง 500 นาง ครั้งใดที่เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จด้วยราชรถจำนวน 500 คัน และมีเหล่าเด็กหญิง 500 นางคอยติดตาม นับว่าเป็นขบวนเสด็จของสตรีชนชั้นสูงที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งเลยในสมัยนั้น พระไตรปิฎกกล่าวว่านอกจากเจ้าหญิงสุมนาแล้ว ยังมีเจ้าหญิงจุนที พระธิดาในพระเจ้าพิมพิสารทรงมีราชรถถึง 500 คัน และบุตรีของมหาเศรษฐีอย่างนางวิสาขาก็มีรถถึง 500 คัน เช่นกัน ครั้งหนึ่งเจ้าหญิงสุมนาเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และตรัสพระปุจฉาต่อพระพุทธองค์ว่า “บุรุษ 2 คน มีลักษณะนิสัยคล้ายกันคือ เป็นผู้มีศรัทธา ศีล และปัญญาเสมอกัน แต่สิ่งที่แตกกันคือ อีกคนเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา แต่อีกคนไม่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา หากภพหน้าของเขาทั้งสองเกิดเป็นเทวดา เราจะทราบได้อย่างไรว่าเทวดาองค์ใดเกิดเป็นในอดีตชาติเป็นคนที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา […]

วิบากกรรมของปลากปิละ ปลาปากเหม็นที่มีเกล็ดเป็นทองคำ

วิบากกรรมของ ปลากปิละ ปลาปากเหม็นที่มีเกล็ดเป็นทองคำ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เกิดเรื่องประหลาดขึ้นท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงนำปลาตัวใหญ่ที่มีเกล็ดเป็นทองคำชื่อว่า ” ปลากปิละ ” เข้ามาให้พระพุทธเจ้าทอดพระเนตร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ปลาตัวใหญ่ที่มีเกล็ดเป็นทองคำมาจากชาวประมงคนหนึ่ง เขาสามารถจับปลาตัวใหญ่ตัวนี้ได้  เพราะในอดีตชาติได้เกิดโจรแต่กลับใจมารักษาศีล อานิสงส์แห่งการถือศีล ทำให้เขาเกิดเป็นเทพบุตร และกลับชาติมาเกิดอีกครั้งในตระกูลชาวประมง  พระราชาทรงอยากทราบว่าเหตุใดปลาตัวนี้จึงมีเกล็ดเป็นทองคำ ซึ่งผิดธรรมชาติจากปลาทั่วไป เมื่อปลาตัวถูกนำเข้ามายังพระเชตวัน สาธุชนที่มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เห็นปลาประหลาด แต่เมื่อมันอ้าปากขึ้นกลับเกิดกลิ่นเหม็นไปทั่วพระเชตวัน เหตุการณ์นี้สร้างความสงสัยให้แก่สาธุชนเป็นอย่างมาก     พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึงอดีตชาติและวิบากกรรมของปลาตัวนี้ว่า ครั้งสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มีพี่ชายและน้องชาย คนพี่ชื่อว่า “โสธนะ” ส่วนคนน้องชื่อว่า “กปิละ” ชวนกันบวชเป็นพระภิกษุ คนพี่มุ่งมั่นปฏิบัติ (วิปัสสนาธุระ) แต่คนน้องเห็นว่าตนเองยังอายุไม่มาก ควรศึกษาปฏิเวธ (คันถธุระ) เสียก่อน พอศึกษามากเข้าก็สามารถแสดงธรรมได้ กลายเป็นที่ชื่นชอบของสาธุชนทั้งหลาย ยิ่งทำให้พระกปิละรู้สึกว่าตนเองมาถูกทาง พระภิกษุสายปฏิบัติเห็นว่า พระกปิละหลงใหลในปฏิเวธมากเกินไป ไม่ยอมปฏิบัติเสียที จึงตักเตือนเพื่อให้สนใจปฏิบัติบ้าง พระกปิละไม่พอใจจึงกล่าววาจาดูหมิ่นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แสดงให้เห็นว่าพระกปิละดื้อดึงที่จะมุ่งมาทางปฏิเวธ พระโสธนะทราบจึงเข้ามาตักเตือนพระน้องชาย แต่พระกปิละก็ต่อว่าพระโสธนะอย่างรุนแรง ภิกษุณีที่เป็นแม่และน้องสาวได้ตามมาบวชก็ต่อว่าพระภิกษุที่มาตักเตือนพระกปิละทุกรูป หลังจากนั้นจึงไม่มีใครกล้ายุ่งกับพระกปิละอีกเลย เมื่อพระโสธนะปลงสังขารและดับขันธปรินิพพาน เพราะมุ่งปฏิบัติ […]

ไม่มีใครสามารถชดใช้กรรมแทนกันได้ บทเรียนจากพระเจ้าวิฑูฑภะ

ไม่มีใครสามารถชดใช้กรรมแทนกันได้ บทเรียนจาก พระเจ้าวิฑูฑภะ ดังคำพูดหนึ่งที่ว่า “มนุษย์ต่างมีกรรมเป็นของตน” ท่าจะเป็นเรื่องจริง ไม่มีใครสามารถชดใช้กรรมแทนกันได้  แม้พระพุทธเจ้าจะทรงพยายามห้ามปรามวิบากกรรมของพระญาติแล้วก็ทรงไม่สำเร็จ ดังเรื่องราวของ พระเจ้าวิฑูฑภะ ที่จะเล่าต่อไปนี้ ครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงปรารถนาเกี่ยวดองเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า จึงส่งทูตไปสู่ขอพระธิดาศากยวงศ์มาสถาปนาเป็นพระอัครมเหสี ครั้งทูตเดินทางไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งปกครองโดยพระเจ้ามหานามะ พระอนุชาแห่งพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ส่งพระราชสาส์นขอเจ้าหญิงศากยวงศ์ไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล     เจ้าศากยวงศ์เห็นว่าสายโลหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่เสมอกับสายโลหิตศากยวงศ์ที่บริสุทธิ์ จึงลงมติว่าจะส่งพระธิดาของพระเจ้ามหานามะที่เกิดจากนางทาสี มีนามว่า “วาสภขัตติยา” ไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงดีพระทัย รักใคร่พระนางวาสภขัตติยาเป็นอย่างมาก มีพระดำริว่านับจากนี้ไปพระองค์ได้เป็นพระญาติกับพระผู้พระภาคเจ้า พระสาวกและพระสาวิกาที่เป็นเจ้าศากยวงศ์จะได้ไม่มองว่าพระองค์ทรงเป็นคนอื่นคนไกล พระนางวาสภขัตติยาให้ประสูติพระโอรสที่มีผิวพรรณดั่งทองคำ พระนางตั้งพระนามพระโอรสว่า “วัลลภา” แต่ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันเบามาก เพราะทรงเหน็ดเหนื่อยจากการให้ประสูติ อำมาตย์ได้ยินเฟี้ยนจึงถวายพระนามพระกุมารว่า “วิฑูฑภะ”     พระวิฑูฑภกุมารเจริญวัยเป็นหนุ่ม ไม่เคยเห็นพระญาติฝ่ายพระมารดามาเยี่ยมเยือน พระนางวาสภขัตติยาได้แต่ตรัสว่า กรุงกบิลพัสดุ์อยู่ไกลมาก เหล่าพระญาติจึงไม่สะดวกเสด็จมาเยี่ยม เจ้าชายหนุ่มดื้อดึงจะไปเยี่ยมพระญาติ พระนางวาสภขัตติยาจึงส่งพระราชสาส์นไปแจ้งเจ้าศากยวงศ์ให้ทราบว่า เจ้าชายวิฑูฑภะจะเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อเจ้าศากยวงศ์ได้พระราชสาส์น ทราบว่าเจ้าชายวิฑูฑภะ ผู้มีเชื้อสายนางทาสีจะทำให้กรุงกบิลพัสดุ์มัวหมอง จึงจัดแจงส่งเจ้าศากยวงศ์ที่มีพระชนมายุน้อยไปประทับที่ชนบท เจ้าชายหนุ่มเสด็จมาถึงกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมพลทหารจำนวนหนึ่ง เจ้าชายทรงแปลกพระทัยว่าพระญาติทั้งหลายต่างกระทำตนอย่างห่างเหิน […]

เศรษฐีตระหนี่ ทำบุญแล้วเสียดายทรัพย์ โดย ส.เขมรังสี (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)

เศรษฐีตระหนี่ ทำบุญแล้วเสียดายทรัพย์ โดย ส.เขมรังสี (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี – เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) บางคนเกิดมาร่ำรวยก็จริง แต่ไม่ได้ใช้ทรัพย์เหล่านั้นอย่างมีความสุข เป็นเศรษฐีแต่ไม่มีความสุขในทรัพย์ ไม่ได้กินได้ใช้อย่างมีความสุข ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเป็นการให้แล้วเกิดความหวงภายหลัง ให้ไม่เด็ดขาด เกิดความตระหนี่ขึ้นมา เลยเกิดมามีทรัพย์ แต่ได้กินได้ใช้ในสิ่งที่ดี ๆ เศรษฐีตระหนี่ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับ ณ วัดเชตวัน มีเศรษฐีท่านหนึ่งอยู่ที่เมืองสาวัตถี ชื่อ อปุตตกเศรษฐี (เศรษฐีที่ไม่มีบุตร) เขามีทรัพย์มาก แต่จะไม่กินอาหารดี ๆ คนนำอาหารดี ๆ ใส่ถาดทองคำมาให้ก็จะไล่ตะเพิดทันที ขว้างปาด้วยก้อนดิน ท่อนไม้ หาว่ามาเยาะเย้ย บางทีบริวารก็นำสิ่งของเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มดี ๆ มาให้ อปุตตกเศรษฐีก็จะตะเพิดไปหมด เขาจะบริโภคแต่ปลายข้าวกับน้ำผักดอง เป็นเศรษฐี ทรัพย์มีมาก แต่ไม่ได้กินอาหารดี ๆ สวมใส่เสื้อผ้าดี ๆ นุ่งแต่ผ้าป่าน ร่วมดี ๆ มีคนนำมาให้ใช้ก็ไม่ใช้ ใช้แต่ร่มใบไม้ ยานพาหนะดี ๆ […]

” ทุ.ส.น.โส. ” เสียงประหลาดจากมุมมืด

ในสมัยอดีต คืนหนึ่งพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสดับเสียงประหลาดจากมุมมืดว่า ทุ.ส.น.โส. พระองค์ทรงรู้สึกหวาดหวั่นพระทัยเป็นอย่างยิ่ง แต่ทรงอดกลั้นไว้จนรุ่งสาง

กินอย่างไรให้มีสติ…พุทธวิธีลดความอยาก (แถมลดน้ำหนักไปด้วยในตัว)

พุทธเจ้าตรัสสอนว่า ชาวพุทธควรมีสติทุกอิริยาบถ ตั้งแต่นั่ง ยืน เดิน นอน หรือแม้กระทั่งขณะกิน และนี่คือ พุทธวิธีลดความอยาก ที่ซีเคร็ตขอแนะนำ

“คาถาเรียกความผอม…!” สูตรลดความอ้วน จากพระพุทธเจ้า

ใครๆก็อยากมีใบหน้าที่เรียว…วีเชฟ… หุ่นเพรียวบาง…. แต่ก็ไม่มีใครที่จะโชคดีอย่างเกศสุรางค์ที่อยู่ๆก็ได้ร่างที่ผอมสวยของแม่นายการะเกดมาครอบครองโดยที่ไม่ต้องเหนื่อยกับการลดความอ้วน – สูตรลดความอ้วน จากพระพุทธเจ้า

keyboard_arrow_up