ปัญหาธรรม : ถ้าไม่กรวดน้ำ ญาติจะได้บุญหรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ปัญหาธรรม : ถ้าไม่ กรวดน้ำ ญาติจะได้บุญหรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ การ กรวดน้ำ เป็นเพียงแค่รูปแบบ แล้วก็เป็นรูปธรรมที่มันสามารถมองเห็นได้โดยตาว่า บัดนี้กำลังจะมีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล โดยวิธีการเทน้ำ เป็นรูปแบบที่เห็น อันนี้เป็นรูปแบบภายนอก ซึ่งมันพอเห็นได้ด้วยตา แต่ถ้าเราไปเน้นเรื่องรูปแบบ หรือสิ่งที่เป็นภายนอกมากเกินไป มันอาจจะขาดสาระของภายใน คือเจตนาที่จะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลน้อมนึกถึงบรรดาญาติทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว อย่างนี้ ท่านมักจะได้รูปแบบเทน้ำ จ๊อก ๆ ๆ ๆ ๆ เท ๆ ๆ ๆ ๆ ไป เทมาเทไป ก็ตามองนู่นมองนี่ไป หรือไม่ก็เล่นไลน์ไปด้วย เทไป พระก็ยถาวาริวะหา ก็เทไปอะไรอย่างนี้ มันก็ได้แค่รูปแบบ แต่ถ้าเราไม่ต้องไปเน้นตรงนี้มากเกินไปอะไรอย่างนี้ เน้นที่ว่าเรานึกน้อมไปถึงบรรดาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เราเป็นเครื่องระลึกนึกถึงกัน แล้วก็มีการทำคุณงามความดี แล้วก็อุทิศส่งไปให้ เมื่อเขารับทราบโดยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว ปกติถ้าเขาทราบก็จะมีการอนุโมทนาอยู่แล้วว่า ญาติก็ไม่ลืมเรานะ ยังนึกถึงเรา เขาก็อนุโมทนาเป็นกุศล เมื่อจิตเขามีกุศลเขาก็เลยเสวยโสมนัสเวทนาหรือสุขเวทนา เขาก็บรรเทาคลาย มันก็ตัดตอนในช่วงที่เขาเสวยอารมณ์หรือความสุขที่เป็นทุกข์ เป็นโทมนัสในอบายภูมิ […]

อาถรรพ์และคำสาปแช่งมีผลต่อชีวิตจริงหรือไม่  พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

อาถรรพ์และ คำสาปแช่ง มีผลต่อชีวิตจริงหรือไม่  พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ เจริญพรเป็นคำถามที่น่าใจมาก คำสาปแช่ง มีจริงไหม แต่ผลจะเป็นไปตามคำสาปแช่งหรือไม่ ตรงนี้น่าสนใจ ผลก็มาจากเหตุ เช่น การที่คนนั้นถูกรถชน หรือว่าร่ำรวย หรือว่ายากจน หรือว่าเจริญ หรือว่าเสื่อม อันนี้เป็นผลที่เกิดจากการกระทำของเขาเอง ไม่เกี่ยวกับใครจะสาปหรือไม่สาป ใครจะยกย่องหรือไม่ยกย่อง มีกรรม ทำกรรมสิ่งไหนไว้ ก็เป็นเจ้าของแห่งกรรม เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ถ้าเรายกตัวอย่างว่า ในสมัยพุทธกาล ถ้าบุคคลนั้น ประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ต่อให้คนทั้งโลก มาสวดอ้อนวอนขอร้อง ขอให้เขาไปสู่สุคติเถอะ ขอให้เขาไปสวรรค์ สู่นิพพาน เขาคนนั้นจะเป็นไปได้ไหม เพราะเขาประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ตามกฎธรรมชาติมันผิด มันเป็นไปไม่ได้ ในทางกลับกัน ถ้าบุคคลคนนั้นในช่วงที่มีชีวิตอยู่ เขาเป็นผู้ที่ประพฤติกายสุจริต วาจาสุจริต และวจีสุจริต คือประพฤติดีทางกาย ทางวาจา และใจ ต่อให้คนทั้งโลกมาสาปแช่งเขา ขอให้แกจงชิบหาย ขอให้แกจงชิบหาย […]

เมื่อรู้สึกแพ้แล้วใจเป็นทุกข์ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เมื่อรู้สึกแพ้แล้ว ใจเป็นทุกข์ ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนไม่ยอมพ่ายแพ้ คิดแต่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียว แต่พอต้องแพ้ขึ้นมา ใจเป็นทุกข์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครที่เป็นแบบนี้แล้วกำลังทุกข์อยู่กับความพ่ายแพ้ อยากให้ลองเปลี่ยนความคิดและมองความพ่ายแพ้เสียใหม่ มันอาจเป็นความโชคดีก็ได้ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญได้กล่าวไว้ดังนี้ ชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว บางทีก็ล้มบ้าง แพ้บ้าง อะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องไปชนะตลอด มันมีรสชาติแห่งชีวิต ถ้าชนะตลอด เกรดเอตลอด เกรดสี่ตลอด เกียรตินิยมตลอด ไม่ค่อยมีรสชาติ ไม่ค่อยตื่นเต้นแล้ว บางทีถ้ามองว่าเป็นสีสัน สีสันแห่งการใช้ชีวิต มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แม้แต่นักมวยบางคน เขาชนะมาตลอดบางทีเขารู้สึกว่ามันจืดชืดมากเลย  แต่บางทีพอเจอแพ้บ้าง เขารู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจอะไรบางสิ่งบางอย่าง แล้วก็จะได้ประสบการณ์ในความพ่ายแพ้ แล้วก็ได้เห็นจิตเห็นใจอะไรบางอย่าง แต่สุดท้าย ถ้าในแง่อยากฝากสำนวนไว้ก็คือว่า   “ ชนะได้เพราะไม่เอาชนะ บุคคลเมื่อไม่อาจพ่ายแพ้ ใหญ่ไม่พ่ายแพ้หมดจด ถ้าไม่อาจพ่ายแพ้ นั่นนับเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ ”   เราจะมีความดิ้นรนทางใจอย่างเหลือประมาณที่จะกันทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พ่ายแพ้ เพื่อรักษาความเป็นเลิศ ความเป็นหนึ่ง เพื่อที่จะต้องชนะ […]

เพศมีผลต่อการปฏิบัติธรรมหรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เพศมีผลต่อ การปฏิบัติธรรม หรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนก็สงสัยไปถึงขั้นว่า ถ้าไม่บวชจะบรรลุธรรมได้ไหม ถ้าเป็นฆราวาส คฤหัสถ์เป็นเครื่องเนิ่นช้า เครื่องขัดขวางใน การปฏิบัติธรรม รวมถึงการบรรลุธรรมหรือเปล่า ถ้าเรามองประเด็นที่ว่า ในสมัยพุทธกาล เขาบรรลุธรรมก่อนบวช ลองนึกประเด็นนี้ดูบ้างสิ สมัยพุทธกาล บรรลุธรรมก่อนบวช บรรลุธรรมเสร็จแล้วจึงขอบวช เป็นส่วนมากเป็นส่วนใหญ่ ถ้าอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว เราจะได้คลายไปเยอะกับเพศภาวะ เราเป็นคฤหัสถ์ ฆราวาส เราก็ปฏิบัติตามคำสอน ตามวิธี เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ผลของการปฏิบัติก็เกิดขึ้น แล้วถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่มีเครื่องกีดขวาง หรือแรงเสียดทานในใจว่า เราเป็นคฤหัสถ์ เป็นชาวบ้าน เป็นคน ไม่ใช่นักบวช ไม่ได้บวช มันจะกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าหรือไม่ ตรงนี้กลับกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าเสียเอง ความลังเล ความสงสัย หรือความคิด ความตริ ความตรึก ความดำริอย่างนี้ กลายเป็นแรงเสียดทาน เครื่องเนิ่นช้าจึงไม่ใช่เพศภาวะแล้ว ไม่ใช่รูปแบบภายนอก เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ กลายเป็นข้างในของคุณเอง คิดอย่างนี้มันจึงเป็นเครื่องเนิ่นช้า มันจึงไม่ก้าวหน้า จึงไม่บรรลุธรรม เพราะคิดอย่างนี้ […]

ควรวางใจอย่างไรเมื่อมีคนคิดร้ายกับเรา ธรรมะเตือนใจจาก พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ควรวางใจอย่างไรเมื่อมี คนคิดร้ายกับเรา ธรรมะเตือนใจจาก พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ ถ้ามีคนคิดร้ายต่อเรา มี คนคิดร้ายกับเรา เราควรจะมีวิธีวางจิตวางใจหรือปฏิบัติการกับเขาเยี่ยงไรอย่างไรดี ดีมากเลยนะ ซึ่งในสังคมอย่างนี้มันต้องเกิดแน่นอนเลย การที่เราจะไปห้ามไม่ให้ใครคิดร้ายกับเรา คิดไม่ดีกับเรา ปองร้ายเรา หรือนินทา หรืออิจฉาต่าง ๆ นานา ทำไม่ได้อยู่แล้ว มันทำไม่ได้ ยังไงก็ต้องมี พูดถึงประเด็นนี้ก่อน ยังไงก็ต้องมี ยังไงก็ต้องเจอ เช่นบทกลอนไง ที่โบร่ำโบราณท่านกล่าวมาไว้เสมอ ๆ ว่า อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้แต่องค์พระสัมมายังราคิน พระอาจารย์นวลจันทร์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา สมมติไม่มีทาง ฉะนั้นก็คือหลักปฏิบัติ ปฏิบัติการคือเมื่อมีคนคิดไม่ดีกับเรา มีคนคิดร้ายกับเรา ตามกฎแห่งแรงดึงดูด เราเองนั่นแหละเคยคิดไม่ดีกับเขา เคยคิดร้ายกับเขา ไม่ดีมันจึงดูดไม่ดีมาตามกฎธรรมชาติ กฎแรงดึงดูด กฎพลังงาน เมื่อเราจุดเริ่มต้น เหตุหนึ่งก็คือว่า เราเคยคิดไม่ดีกับเขา เคยมุ่งร้าย เคยไม่ปรารถนาดี เคยนินทาเขาไว้ มันก็เลยดึงดูด ทำให้มีสิ่งหนึ่ง ๆ เขาก็เป็นแค่ตัวละครซึ่งมันเป็นกฎธรรมชาติ เป็นตัวละครว่าเขาก็คิดไม่ดีกับเรา พูดไม่ดีกับเรา ทำไม่ดีกับเรา […]

หัวใจของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่การเจริญกุศล โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ช่วงหนึ่งในโทรทัศน์เคยมีรายการเกม กำจัดจุดอ่อน เป็นการกำจัดคู่แข่งออกไปเรื่อย ๆ แต่เวลามาปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะการมาทำวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นการทำงานทางจิตนี้ ไม่ได้เป็นการมาเล่นเกมกำจัดจุดอ่อน แต่เป็นการสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้น เมื่อจุดเด่นโตเต็มที่ เต็มเปี่ยม สมบูรณ์ บริบูรณ์ จุดด้อยย่อมอยู่ไม่ได้และไม่เกิดขึ้น (เจริญกุศล) การทำวิปัสสนานั้นไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อดับหรือละกิเลส แต่เป็นการมาเจริญกุศลในหมวดสติปัฏฐาน และเจริญสติสัมปชัญญะให้มีสติอยู่กับกายกับใจ ทำให้สิ่งอื่นเข้ามาไม่ได้ เมื่อกุศลเต็มเปี่ยมแล้ว อกุศลย่อมเกิดไม่ได้ เพราะเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งจะไม่เกิด เราจึงมีหน้าที่ เจริญกุศล ไม่ได้มีหน้าที่ไปดับอกุศล เกมนี้เล่นง่าย ๆ แบบนี้ละ หากปฏิบัติตามนี้แล้วเราจะมีความผ่อนคลาย สบาย และสงบร่มเย็นในจิตใจ เพราะในขณะที่กุศลเกิด อกุศลที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดไม่ได้ ส่วนอกุศลที่เคยเกิดขึ้นแล้วย่อมสลายหมดไป และขณะที่เจริญกุศลอยู่นั้น กุศลที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ส่วนกุศลที่เกิดแล้วก็จะยิ่งพัฒนาต่อไป เรียกว่าถึงพร้อมด้วยสัมมาวายามะ 4*** แต่ถ้าเราต้องไปจงใจละอกุศลก่อน แล้วค่อยมาเจริญกุศลต่อ ย่อมเหมือนการแยกส่วนปฏิบัติทีละข้อ เมื่อกุศลเกิด อกุศลเช่นโลภะ โทสะ โมหะย่อมเกิดไม่ได้ เราจึงไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับโลภะ โทสะ โมหะ แค่ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งอกตั้งใจเจริญกุศลอยู่เนือง ๆ เมื่อสติหมดก็ตั้งสติใหม่ ตั้งใหม่ ๆ […]

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์นี่เอง ทุกข์จนสุดทนก็ไม่ทน ทุกข์ ไม่ทนที่จะทุกข์เอง เป็น “ธัมมนิยามตา” (เป็นกฎตายตัวของธรรมดา) ทุกข์จนไม่อาจทุกข์ ไม่อาจที่จะให้ทุกข์อยู่ต่อไปได้อีกแล้ว ก็จะ “อตัมมยตา” (ความที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งนั้นอีกต่อไป) พ้นทุกข์ เพราะทนที่จะทุกข์ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะทุกข์กับทุกข์ไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะอยู่กับทุกข์ ทนที่จะกำทุกข์เอาไว้ไม่ได้อีกแล้ว ไม่สามารถที่จะให้ทุกข์อยู่ได้อีกต่อไปแล้ว กักขังหน่วงเหนี่ยวหรือยึดเอาไว้ไม่ได้อีกต่อไปแล้วจึงปล่อยไป ปล่อยให้ทุกข์ไหลออกไป ไหลออกไปจนหมดนั่นแหละ ทุกข์จึงหมดไปหรือหมดไปจากทุกข์ ก็เพราะทุกข์ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะทุกข์ได้ทำให้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้ว จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็เพราะว่าได้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้วนั่นเอง เมื่อทุกข์สุด ๆ ก็สุดที่จะทุกข์ ที่สุดแห่งทุกข์มาจากทุกข์ที่สุด พ้นทุกข์ได้เพราะทุกข์มาทำให้พ้นทุกข์ (ดังนั้นขอบคุณมาก เจ้าความทุกข์เอ๋ย) ทุกข์ดับสนิทได้เพราะไม่ได้เข้าไปดับทุกข์ ทุกข์อยู่ไม่ได้เพราะอยู่กับทุกข์ได้ อยู่กับทุกข์ได้จนทุกข์อยู่ไม่ได้ ทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ทุกข์จึงต้องพรากจากจรไป เพราะไม่มีเยื่อใยสายใยต่อทุกข์เลย ทุกข์เกาะเกี่ยวผูกพันไม่ได้เพราะไม่มีความอาลัยไยดีเป็นมิตรไมตรีกับทุกข์เลย พ้นจากสังสารวัฏทุกข์ได้ เพราะไม่มีความสงสารเห็นอกเห็นใจต่อทุกข์เลย ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสารอยู่ ก็จำต้องเวียนว่ายในวัฏสงสารอีกต่อไป เพราะความสงสารแท้ ๆ จึงทำให้ยังข้องอยู่ในวัฏสงสาร ผู้ที่ยังไม่พ้นทุกข์ ก็เพราะยังทนทู่ซี้กำทุกข์อยู่นั่นเอง ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็เพราะทุกข์ยังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง “ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีแก่เราได้” นี้เป็นบททำวัตรสวดมนต์บทหนึ่งที่ชาววัดทั้งหลายใช้สวดกันเป็นประจำ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้คำตอบแล้วจากบทความนี้ […]

เล่นไพ่วิถีพุทธ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

มีอยู่ครั้งหนึ่ง อาตมาได้รับนิมนต์ไปฉันเพลที่บ้านของกัลยาณมิตร เมื่อฉันเสร็จ ก่อนกลับอาตมาก็มอบใบโพธิ์จากพุทธคยาให้โยม แล้วบอกว่า “ใบโพธิ์ใบนี้ไม่ใช่โพดำ ไม่ใช่โพแดงนะ แต่เป็นโพธิ์จากพุทธคยา ถ้าโยมได้ใบโพธิ์ใบนี้ไปแล้ว โยมจะไม่ตีโง่!”   (เล่นไพ่วิถีพุทธ) ที่พูดแบบนั้นก็เพราะว่า หลังจากพระกลับแล้ว โยมที่มาร่วมงานกลุ่มหนึ่งเขาจะตั้งวงเล่นไพ่กัน อาตมาเลยแนะนำ “การดูจิตในการเล่นไพ่” ให้แก่พวกเขา คราวนี้ก็คุยกันยาวเลย เขาว่ารูปนี้มาแปลก พูดแบบนี้ก็เข้าท่าสิ เพราะมีแต่พระห้ามไม่ให้เล่น แต่รูปนี้มาสอนดูจิต สอนธรรมะให้ขณะเล่นไพ่ โอ้! เขาชอบมากเลย คนที่ตั้งป้อมอะไรไว้แล้ว บางครั้งจะห้ามอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์นะ ท่านเทียบเคียงกับปืนที่สับนกแล้ว หรือธนูที่ง้างแล้ว ถึงอย่างไรก็ต้องยิงไปก่อนสักหนึ่งนัด เดี๋ยวค่อยว่ากันใหม่ ไหน ๆ คนมันจะเล่นอยู่แล้ว ถ้ายิ่งห้ามก็ยิ่งขัดใจ เดี๋ยวจะเกิดปฏิฆะ ทำให้พาลพาโลกันไปเสียเปล่า ๆ ประเด็นก็คือ ถ้าจะเล่นแล้วควรเล่นแบบไหน และจะเล่นแบบมีคุณภาพได้อย่างไร…ก็เล่นแบบวิถีพุทธไงล่ะ อาตมาจึงแนะนำไป จนเขาตื่นเลยทีนี้ เข้าใจเลย เพราะในระหว่างเล่นไพ่เราจะเห็นกิเลสชัด เห็นโลภะความอยากได้ชัดเจน เวลาที่ไพ่ใบโน้นใบนี้โผล่ขึ้นมา หรือเวลาที่คนอื่นเก็บไพ่ใบที่เราอยากได้ไปก็เห็นโทสะความโกรธชัดเจน แม้แต่โมหะความหลงก็ค่อย ๆ เห็นไปได้เช่นกัน แรก ๆ ตัวดูตัวรู้ยังมีกำลังอ่อน ส่วนกิเลสมีกำลังแก่กล้า […]

นิพพานในออฟฟิศ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

นิพพานในออฟฟิศ: ทำงานแล้วพักไปในตัว จะได้ไม่ต้องเอาตัวไปพัก เวลาของคนส่วนใหญ่นั้นหมดไปในที่ทำงาน ความเครียดส่วนมากก็อยู่ที่การทำงานนั่นเอง คงจะดีไม่น้อย ถ้าเราใช้การทำงานเป็นการพักผ่อนไปในตัว จะได้ไม่ต้องเอาตัวไปพัก หรือพูดง่าย ๆ ว่า นิพพานในออฟฟิศ ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ขณะทำงานนั้น จิตเราอยู่ในแดนบวกหรือแดนลบ เช่น ตอนนี้เจ้านายชมจนจิตมัน +9 แล้วนะ หรือว่าเมื่อตะกี้ถูกเพื่อนร่วมงานนินทาจนจิตมัน -20 แล้ว ต้องรู้ตัวเองก่อน จากนั้นเราก็ค่อยใช้เจตนา ใช้ความจงใจให้จิตมาอยู่ตรงเลขศูนย์ คือมารู้กายรู้ใจ เนื้อเรื่องที่เรากำลังฟูหรือแฟบนั้นให้ตัดไปเลย ไม่ต้องไปรู้คำชม ไม่ต้องไปสนใจคำนินทา กลับมารู้กายรู้ใจเราก่อนที่จะเตลิดเปิดเปิงจนกู่ไม่กลับ วิธีเดียวคือต้องอาศัยเจตนาเป็นเบื้องต้น แต่เจตนาตัวนี้เป็นมหากุศล เป็นความจงใจที่จะเจริญสติ จงใจดึงจิตกลับมายังฐานที่มั่นเพื่อสะสมความคุ้นเคย หากเราทำอย่างต่อเนื่อง ต่อไปเวลาจิตออกจากฐาน มันจะกลับเข้ามาเอง คล้าย ๆ ว่าเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน จิตจะเข้า safe-house เข้าหลุมหลบภัยโดยอัตโนมัติ เรียกว่าสติเกิดเอง ถ้ามีสติรู้กายรู้ใจ นิพพานก็เกิดที่นี่และเดี๋ยวนี้แล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถหล่อเลี้ยงนิพพานไว้ได้ตลอดเวลา เราต้องอยู่กับกิจการงาน ต้องขับรถ ต้องคิดเลข จิตก็ไม่สามารถมาอยู่กับกายกับใจได้ตลอด จิตออกจากกายไปอยู่กับบัญญัติ เนื้อเรื่อง เหตุการณ์ […]

พึ่งตัวเองให้ได้แล้วผู้อื่นจะได้พึ่งเรา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เมื่อผู้อื่นมีทุกข์และถ้าเรายังมีทุกข์อยู่เช่นผู้อื่น  แล้วเราผู้มีทุกข์จะไปช่วยให้ผู้อื่นไม่ทุกข์หรือพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร  ดีไม่ดีอาจเป็นการไปเพิ่มทุกข์  หรือไปทำให้เขาทุกข์หนักขึ้นก็ได้นะ  ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองพ้นไปจากทุกข์ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า  ถ้าเรายังทุกข์เต็มที่อยู่  ยังกลัดกลุ้มร้อนรุ่ม  หงุดหงิดโมโห  อาฆาตพยาบาท  อิจฉาริษยาอยู่  ยังเปล่าเปลี่ยวอ้างว้างหงอยเหงาอยู่  หรือยังอยากไม่รู้จบไม่รู้สิ้นอยู่  หรือพร่องอยู่เป็นนิจ  ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ  ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม  ยังต้องการความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นอยู่  ยังต้องการกำลังใจจากผู้อื่นอยู่  ยังต้องหวังให้ผู้อื่นปลุกใจปลอบใจอยู่ ฯลฯ  แล้วอย่างนี้เราจะไปช่วยใคร ๆ ได้  เพราะแม้ตัวเราก็ยังเป็นที่พึ่งให้กับตัวไม่ได้ ช่วยตัวเราก่อนท่าน  ก่อนที่จะไปช่วยผู้อื่น  ดูแลตัวเอง  ชื่อว่าดูแลผู้อื่น  รักษาตัวเราก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นไปด้วย  เพราะผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยดูแลเรา  ผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยรักษาเรา  เราก็จะไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่น  และถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้  ต่างก็ทำกิจทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง  ให้ดีที่สุด  สังคมก็จะมีความสงบสุข  สันติภาพก็จะเกิดขึ้นจริง ๆ โดยธรรมดาทั่วไปแล้ว  ถ้าเรามีสิ่งใด  เราก็ย่อมจะนำสิ่งนั้นไปให้ผู้อื่นได้  แต่ถ้าตัวเราไม่มีสิ่งนั้น  เราก็ไม่สามารถให้สิ่งนั้นกับใคร ๆ ได้จริง ๆ  ตัวเราไม่มีความสงบสุข  แล้วเราจะไปทำให้ผู้อื่นมีความสงบสุขได้อย่างไรถ้าเราไม่มีธรรมะ  เช่น  เมตตา  กรุณา  เป็นต้น  แล้วผู้อื่นจะได้รับธรรมะจากเราได้อย่างไร ตรงข้าม  ถ้าเรามีความทุกข์  […]

เคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมให้มีชีวิตชีวา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เคล็ดลับของการปฏิบัติธรรม ให้มีชีวิตชีวา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ คำหนึ่งที่น่าสนใจคือคำว่า “ชีวิตชีวา” บางคนมีแต่ชีวิต แต่ไม่มีชีวา หรือบางโรงเรียนเข้าไปเรียนแล้วมีแต่ชีวิต แต่ไม่มีชีวา เด็กไม่มีความสุข ไม่มีความเบิกบานแจ่มใส ไม่มีความพึงพอใจ ต่างจากบางโรงเรียนที่เข้าไปเรียนแล้วมีชีวิตชีวา เด็กร่าเริง เบิกบาน ตื่นตัว ไม่ซึม แล้วก็มีอัจฉริยภาพ มีความฉลาดด้วย หลักสูตรปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน บางหลักสูตรเข้าไปแล้ว โอ้โห! จิตตื่น กายก็ตื่น มีชีวิตชีวา สีหน้าแววตาแจ่มใส เบิกบาน มีความพึงพอใจ มีความสงบร่มเย็น กระฉับกระเฉง แต่บางหลักสูตรเข้าไปแล้วโยคีกลับตาลอย ๆ เหม่อ ๆ ไม่มีแววเลย เคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมให้มีชีวิตชีวาอยู่ที่การ “ปฏิบัติให้เหมือนไม่ได้ปฏิบัติ” ถ้าปฏิบัติเหมือนปฏิบัติก็คล้ายกับว่าเรามีคำว่า “ต้อง” จิตของเราจะถูกบีบเข้าไปในกรอบทันที ทำให้อึดอัด นานเข้า ๆ เพียงแค่นึกถึงการปฏิบัติขึ้นมาก็รู้สึกเข็ดขยาด เริ่มทุกข์ เริ่มหนาวสะท้าน แค่นึกว่าจะต้องไปเดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถูกบีบคั้นแล้ว แค่ได้ยินคำว่า “ปฏิบัติธรรม” ก็ไม่เอาแล้ว อันที่จริงธรรมะนี้ควรเป็นเรื่องที่แค่นึกถึงก็มีความสุขแล้ว […]

ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : เรายังเชื่อถือใน ความดีและความยุติธรรม ได้หรือไม่

พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ พระวิปัสสนาจารย์ที่เน้นสอนด้านการปฏิบัติ โดยสอนที่พุทธิกสมาคมฯ จะมาตอบปัญหาเรื่อง “ความดีและความยุติธรรม”

ทุกคนมีนัดกับความตาย พร้อมหรือยังที่จะไปตามนัด โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ทุกคน มีนัดกับความตาย พร้อมหรือยังที่จะไปตามนัด โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ ทุกคน มีนัดกับความตาย ท่านพร้อมหรือยังที่จะไปตามนัด สมมติว่าก่อนจะมาเกิดในเมืองมนุษย์ เราได้ทำสัญญาไว้ฉบับหนึ่ง คือสัญญาเกิด – ตาย พญามัจจุราชก็ให้เราเซ็นสัญญาไว้ เพราะธรรมชาติการเกิดก็ย่อมมีการตายเป็นของคู่กันอย่างนี้ แต่ทีนี้ประเด็นอยู่ที่ว่า เราไม่รู้ว่าสัญญาเกิดของเรามีอายุกี่ปี ดังนั้น วันคืนที่ล่วงไป ๆ วันเวลาของเราที่จะอยู่บนเมืองมนุษย์ก็ลดลงไป ๆ ทุกวัน เรากำลังก้าวเดินเข้าไปสู่ความตายทุก ๆ ขณะ พญามัจจุราชกำลังรอเราอยู่ บางคนก็เริ่มหนาวสะท้าน หวั่นเกรงหรือหวาดกลัวต่อความตายกันบ้างแล้ว และพยายามทำบุญสืบอายุต่อชะตาชีวิตกันยกใหญ่ เพื่อผัดผ่อนกับพญามัจจุราช ผัดผ่อนไม่ได้หรอกท่าน ครบกำหนดสัญญาเมื่อไร เขาก็มาฉุดคร่าเอาชีวิตไปเมื่อนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เมื่อถึงเวลาแล้ว แม้จะหนีไปอยู่ ณ ที่แห่งหนตำบลใด ส่วนไหน ๆ ของโลกหรือจักรวาลก็หนีความตายไปไม่พ้น เหตุนั้นเรามีเวลามากพอหรือที่จะหลงระเริงประมาทมัวเมาไร้สาระ หลับใหลลุ่มหลงอยู่ ตื่นกันได้แล้วนะ ช่วงชีวิตที่ผ่านมาทำดีไว้กี่ขีด ทำอัปรีย์ไว้กี่กิโล ทำบุญกุศลไว้กี่กิโล หรือทำบาปอกุศลไว้เป็นตัน อันที่จริงช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้ นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ระทึกขวัญตื่นเต้นเร้าใจเป็นอย่างยิ่ง ท่านพร้อมหรือยังกับการเผชิญหน้าพญามัจจุราช ท่านพร้อมหรือยังที่จะไปตามนัด หรือท่านคิดว่าจะเบี้ยวไม่ไปตามนัด […]

สมถะ : แผนสำรองสู้ทุกข์ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

สมถะ : แผนสำรองสู้ทุกข์ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ หลายท่านเคยอ่านหนังสือธรรมะ เคยได้ยินได้ฟังมามาก ก็ถูกต้องทั้งหมดไม่ผิดเพี้ยนเลยนะ แต่ไหนล่ะ ตอนภาวนาจิตมีกำลังพอไหม ไม่มี! รู้ทั้งรู้ก็ยังหายวูบไปหมดเลย แล้วจะซื่อบื้อเจริญปัญญาต่อไหมล่ะ  สมถะ ถ้าความตั้งมั่นไม่พอ สติยังเกิดเองไม่ได้ เมื่อเรารู้ทุกข์แล้วใจก็ย่อมยังไหลไป จมไป โดนดูดไป ใจยิ่งตกต่ำลงเรื่อย ๆ เราต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องใช้ แพลนบี (Plan B) คือใช้แผนสอง ใช้เทคนิคเข้าช่วย ด้วยการเปลี่ยนผัสสะเป็นอะไรก็ได้ หลีกเลี่ยงไปก่อน เพื่อไม่ให้ไหลไปกับสภาพที่เป็นอยู่ สมถะมีประโยชน์ตรงนี้ละ ถึงตอนนี้ให้เราเลือกบริกรรมอะไรสักอย่าง มีอะไรเป็นหลักให้ใจสักอย่าง จะคิดถึงเรื่องที่ดีงาม เรื่องที่ผ่อนคลาย สบาย ไม่ทุกข์ ไม่กดดัน ไม่บีบคั้น หรือจะส่งใจออกนอก เพื่อไปดูอะไรอย่างอื่นก่อนก็ได้ทั้งนั้น ไปรู้ไปดูอะไรที่ไม่ใช่ทุกข์ ส่วนทุกข์ไม่ต้องไปดู ไม่ต้องไปรู้ ไม่ต้องไปทน ไม่ต้องไปท้าชนกับทุกข์เลย ความรู้สึกทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุข ทุกข์ ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ง่วง หรือแม้แต่เบื่อ […]

เหตุให้ได้มาซึ่งสมาธิ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เหตุให้ได้มาซึ่ง สมาธิ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ เมื่อสมาธิเกิดขึ้น สมาธิ จะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา คือการเห็นสภาพจริงตามความเป็นจริง แต่ เหตุที่จะให้ได้มาซึ่งสมาธินั้นมีวิธีการอยู่ 2 ลักษณะ คือ วิธีแรก ตั้งใจทำสมถกรรมฐานไปเลย คือตั้งใจทำสมาธิอย่างเดียวโดด ๆ โดยเอาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเพ่งเทียน เพ่งดิน เพ่งไฟ ใช้คำบริกรรมภาวนา ดูลมหายใจ ดูท้องพอง – ยุบ ยกไม้ยกมือ ฯลฯ ได้ทั้งนั้น ขอเพียงทำให้จดจ่อต่อเนื่อง เพ่งอยู่ที่นั่นที่เดียว ไม่คิดถึงเรื่องอื่นใด ไม่หวังสติ ไม่หวังปัญญา มุ่งหมายเพียงเพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว กระชับ แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์นั้น เมื่อจดจ่อต่อเนื่องนานเข้า บริกรรมถี่เข้า ๆ สมาธิก็จะค่อย ๆ รวมลง จิตก็ค่อย ๆ อ่อนสลวย อ่อนโยนลง ซ่านไปที่อื่นน้อยลง อยู่กับสิ่งนั้นมากขึ้น ใกล้ชิดมากขึ้น ท่านเรียกสมาธิแบบนี้ว่า “อุปจารสมาธิ” เทียบกับการตักน้ำใส่ขันแล้วนำไปใส่ช่องฟรีซ ตอนที่เป็นวุ้นยังไม่เป็นก้อนน้ำแข็ง […]

4 วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

4 วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ นวลจันทร์ กิตติปัญโญ สิ่งที่สะอาดเท่านั้นจึงจะสามารถไปทำให้สิ่งอื่นสะอาดได้  วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม สิ่งที่บริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะทำให้สิ่งอื่นบริสุทธิ์ขึ้นได้ ถ้าตัวของตัวเองสกปรกเปรอะเปื้อนอยู่ แล้วจะไปทำให้สิ่งอื่นสะอาดหมดจดได้อย่างไร รังแต่จะเพิ่มความสกปรกเลอะเทอะให้กับสิ่งนั้น ๆ เท่านั้นเอง การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน วิธีการ กระบวนการ หลักการ และปฏิบัติการในการปฏิบัติต้องขาวสะอาด ฉะนั้นการที่กิเลสเกิดขึ้น แล้วเราไปมีกิเลสกับกิเลส ไปมีอารมณ์กับอารมณ์ ไปมีเรื่องกับเรื่อง คือไปมีอะไรกับอะไร สุดแท้แต่ โดยเฉพาะวิธีการที่จะเข้าไปฆ่ากิเลส ไปดับอารมณ์ ไปทำอะไรให้เป็นอะไร เป็นต้น วิธีการอย่างนี้จัดได้ว่า เป็นวิธีการที่ “ไม่บริสุทธิ์” เรากำลังเล่นสกปรกเสียแล้ว ใช้วิชามารเสียแล้ว ไม่ Fair Play เสียแล้ว นี่คือสาวกของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่บริสุทธิ์หมดจดไปจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย แต่เหตุไฉนเล่า เหล่าบรรดาสาวกสาวิกาทั้งหลายจึงมีสภาพจิตใจเป็นเช่นนี้ หรือเป็นแค่เพียง “มือถือสากปากถือศีล” เท่านั้น เป็นผู้ดีจอมปลอมเท่านั้น เบื้องหน้าดูเหมือนทำดีมีคุณธรรม แต่เบื้องหลังกลับทำไม่ดี เล่นสกปรก (กับกิเลส) และถ้าเราใช้วิธีการที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วเราจะเข้าถึงความสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้หรอกท่าน เริ่มต้นก็ทำบาปทำอกุศลกรรมเสียแล้ว หลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า […]

อย่าอยู่อย่างคนรกโลก ข้อคิดเตือนสติ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

อย่าอยู่อย่าง คนรกโลก โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ มีพระบาลีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า  คนรกโลก นะ สิยา โลกะ วัฑฒะโน อย่าเป็นคนรกโลก หรือจมโลก ติดข้องอยู่ในโลก ที่ว่า “คนรกโลก” นั้นก็หมายเอาคนที่มาอยู่ในโลกแล้ว เกิดมาบนโลกแล้วมีแต่จะมาเอา มากอบ มาโกย มาโกง มากิน มาเก็บ มากัก มากำ มากก มากอด รวมทั้งเกรี้ยวกราดและโกรธเกลียดโลกด้วย แต่ไม่เคยให้อะไร ๆ กับโลกเลย ไม่เคยแม้คิดที่จะทำประโยชน์ต่อโลกเลย หรือถ้าจะให้อะไร ๆ แก่โลกหรือแก่ใคร ๆ ก็ต้องมีเงื่อนไข มีผลประโยชน์ที่ตัวองจะได้รับเป็นการตอบแทน เสมือนเป็นการลงทุน การให้แบบนั้นแท้จริงแล้วจึงไม่เรียกว่าการให้ แต่เรียกว่าเป็นการเอารูปแบบหนึ่งนั่นเอง คนประเภทนี้มักจะมีคำพูดในทำนองที่ว่า “จะให้กันฟรี ๆ ได้อย่างไร” หรือ “ของฟรีไม่มีในโลก” ฯลฯ แต่ แท้ที่จริงแล้วทุกอย่างในโลกนั้นล้วนได้มาฟรี ๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นของฟรี โลกหรือธรรมชาติให้เรามาฟรี ๆ […]

เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ จิตมีความผูกพันกับกายและใจมากเพียงไร จึงทำให้การปล่อยวางกาย-ใจเป็นไปได้ยากยิ่งนัก เรื่องนี้พระอาจารย์นวลจันทร์เปรียบเทียบไว้อย่างน่าฟังว่า… เห็นไตรลักษณ์ เราอยู่กับกายใจนี้ก็เหมือนว่าเราได้แต่งงานกับกายกับใจแล้ว เรายึดว่ากายนี้เป็นของเรา ใจนี้เป็นของเรา เราจึงต้องดูแลรับผิดชอบเหมือนสามี-ภรรยาที่ต้องรับผิดชอบดูแลกันอย่างดีที่สุด เต็มที่ที่สุดจริงไหม แต่พออยู่มาอยู่ไป เมื่อเราเริ่มเห็นโทษ เห็นภัย เห็นความไม่ดีไม่งามของกาย-ใจ เช่น เห็นไตรลักษณ์ บ่อยขึ้น ๆ เราก็เริ่มรู้สึกว่าชักจะยังไง ๆ อยู่ สุดท้ายจึงเซ็นใบหย่าเสียเลย ไม่เอาแล้วสามีคนนี้ ไม่เอาแล้วภรรยาคนนี้ เมื่อเซ็นใบหย่าเสร็จก็คือเป็นอิสระแล้ว เป็นอิสระจากกาย-ใจ เป็นอิสระจากธาตุขันธ์ แต่จู่ ๆ จะให้จิตเซ็นใบหย่า วางธาตุขันธ์เลยย่อมเป็นไปไม่ได้ จิตต้องเห็นโทษเห็นภัยของขันธ์นี้ก่อน เห็นโทษเห็นภัยของการยึดก่อน เพราะธรรมชาติของการที่เราจะวางสิ่งไหนหรือจะไปจากสิ่งไหน กฎง่าย ๆ คือเราต้องเห็นโทษของสิ่งนั้นก่อน ถ้ายังไม่เห็นโทษก็จะยังไม่ไป ยังอยากจะกำเอาไว้อยู่อย่างนั้น คนเรามักจะกำสิ่งต่าง ๆ ไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ถ้าจะให้ไปจากสามี เราก็ต้องเห็นโทษของสามีก่อน ถ้าไม่เห็นโทษของสามี เราย่อมต้องการจะอยู่กับสามีไปตลอดกาลนานเทอญ อยู่กับสามีไปจนสามีอยู่กับเราไม่ได้ สามีทนไม่ได้ สามีก็ไปเสียเอง […]

keyboard_arrow_up