พระสมณโคดมพุทธเจ้า
พระสมณโคดมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า “ภควา” (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราชจนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิ เพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าลุมพินีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติแล้ว พระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าวทันที พร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจา ว่า “เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว 3 วัน มีฤๅษีตนหนึ่งนามว่า “อสิตะ” ได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมาร เมื่อพิจารณาดูก็พยากรณ์ว่าพระราชกุมารนี้จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างแน่นอน เมื่อพระชนมายุ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา 108 คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมาร จึงได้พระนามว่า “สิทธัตถะ” จากนั้น พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ 8 คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์ พราหมณ์ 7 คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น 2 สถาน คือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เว้นแต่พราหมณ์อายุน้อยสุดชื่อ “โกณฑัญญะ” พยากรณ์ว่า พระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว 7 วัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคต ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัย จึงต้องอยู่ในการดูเแลของพระนางปชาบดีโคตมี หรือพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีในเวลาต่อมา
อานิสงส์ที่ทำให้ สุเมธดาบส ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
อานิสงส์ที่ทำให้ สุเมธดาบส ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต สุเมธดาบส เป็นอดีตพระชาติหนึ่งของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ได้สร้างมหากุศลคือสละกายเป็นสะพานให้อดีตพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามว่า “ทีปังกรพุทธเจ้า” และพระสาวกทั้งหลายข้ามพ้นจากเปือกตม ครั้งพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ มีชื่อว่า สุเมธบัณฑิต แม้ว่าจะเป็นพราหมณ์ที่มั่งคั่ง มีสมบัติสะสมอยู่มากมาย ทั้งยังเป็นผู้คงแก่เรืยน เชี่ยวชาญในพระเวท คัมภีร์ และศาสตร์ต่าง ๆ เมืองอมรวดี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระโพธิสัตว์มีความรื่นรมย์ไม่ต่างจากแดนสวรรค์ แต่พระโพธิสัตว์กลับเบื่อหน่ายทางโลก ปรารถนาพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จึงออกจากเรือนไปบำเพ็ญภาวนาในป่าหิมพานต์ ท้าวสักกะเทวราชทรงทราบว่าพระดาบสตนนี้คือพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมาหลายภพชาติ จึงมอบหมายให้พระวิษณุกรรมเนรมิตอาศรมถวาย สุเมธดาบสบำเพ็ญภาวนาจนบรรลุอภิญญา และมีความสุขจากการทำสมาบัติ ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งได้ถืออุบัติขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นเจ้าชายแห่งรัมมนครมีพระนามว่า “ทีปังกร” เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้าสุเทวะกับพระนางสุเมธา มีพระชายานามว่า พระนางปทุมา และพระโอรสนามว่า อุสภักขันธกุมาร พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการ (เทวทูต 4) ทำให้ทรงเบื่อหน่ายทางโลก ปรารถนาแสวงหาความหลุดพ้นจึงเสด็จออกผนวช พระองค์ทรงใช้เวลาเพียง 10 เดือนจึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ภายใต้ต้นเลียบ (ต้นมะกอก) หลังจากทรงประกาศพระธรรมแล้ว ทรงมีพระอัครสาวกคือ พระสุมังคลเถระ และ พระติสสเถระ ทรงมีพระอัครสาวิกาคือ […]
หนทางพระพุทธเจ้า หนทางของมหาบุรุษ
หนทาง พระพุทธเจ้า หนทางของ มหาบุรุษ ขึ้นชื่อว่า“ชีวิต”การเดินทางสู่จุดหมายปลายทางย่อมไม่มีวันราบเรียบเป็นเส้นตรง และยิ่งเป็นการเดินทางสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ด้วยแล้ว หนทางของ มหาบุรุษ นามว่า“เจ้าชายสิทธัตถะ”ก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่พระองค์จะทรงสั่งสมพระบารมีจนตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า นามว่า“สมณโคดม”นั้น หนทางของพระองค์ต้องปูลาดด้วยความพากเพียรพยายามอย่างถึงที่สุด ในอดีตชาติก่อนหน้าพระพุทธเจ้าของเรานั้นมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นแล้วหลายพระองค์ หนึ่งในนั้นมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งนามว่า“พระทีปังกร” หลังจากที่พระทีปังกรครองผ้าไตรบำเพ็ญเพียรจนบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ชาวโลก ด้วยความเมตตาโลกมนุษย์ที่เคยวิบัติอัตคัดกลับคืนเป็นปกติสุขได้ ก็ด้วยพระบารมีของพระองค์ ก้าวย่างที่สำคัญก้าวหนึ่งของ“พระสมณโคดม”หรือพระพุทธเจ้าของเราเกิดขึ้นในพุทธสมัยของพระทีปังกรนี้เอง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าของเราเสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบสดาบส ผู้นี้ได้มีโอกาสแสดงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ต่อพระทีปังกรพุทธเจ้า “ขออาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย ทรงพระดำเนินเหยียบไปบนกายข้าพระองค์ ที่จักทอดเป็นสะพานนี้อย่าได้ทรงย่างพระบาทหลีกหนีลงลุยเลนเหลวนี้เลย” นี่คือคำอธิษฐานของสุเมธดาบสเพื่อให้พระทีปังกร พุทธเจ้าทรงพระดำเนินเหยียบย่างบนร่างของท่าน เมื่อเห็นว่าหนทางเสด็จพระดำเนินของพระทีปังกรนั้นถูกคั่นขวางด้วยเลนตม สุเมธดาบสทอดกายเป็นสะพานอย่างมั่นคงเพื่อให้พระทีปังกรและพระสาวกเหยียบย่างข้ามไป โดยมิให้พระบาทของพระพุทธองค์ต้องแปดเปื้อนโคลนตม เหตุการณ์ครั้งนั้นพระทีปังกรได้มีพุทธทำนายไว้ว่าในอนาคตสุเมธดาบสจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า“สมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครู”ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้นั่นเอง พระพุทธเจ้าของเราต้องเดินทางไกลหลายอสงไขย กว่าจะถึงซึ่งจุดหมายแห่งชีวิต?คือการตรัสรู้สู่นิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แม้พระองค์จะยุติการเดินทางไปสองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว แต่หลักธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงค้นพบยังคงดำรงอยู่ เป็นหมุดหมายให้แก่ศาสนิกชนชาวพุทธที่ยังคงต้องเดินเวียนวนไปบนเส้นทางของชีวิตอย่างไม่เสื่อมคลาย เรื่อง อิสระพร บวรเกิด Photo by Mattia Faloretti on Unsplash บทความน่าสนใจ เรื่องเล่าวันพระพุทธเจ้าลอยถาดลงในแม่น้ำก่อนตรัสรู้ บทความเตือนสติ จากท่าน ว.วชิรเมธี พระพุทธเจ้าผู้ทลาย ชนชั้นวรรณะ 3 […]