พระมหาสุภา ชิโนรโส
จิตสงบด้วยการภาวนา “ พุท–โธ ” ธรรมะโดย ส. ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส)
ภาวนา “พุท–โธ” เป็นแนวปฏิบัติที่นิยมแพร่หลายแนวหนึ่ง หลวงปู่มั่นและศิษยานุศิษย์ใช้ “พุท–โธ” เป็นคำภาวนาให้จิตสงบรวมตัวจนได้สำเร็จมรรคผล ภาวนา “พุท–โธ” คือการน้อมนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก การฝึกสมาธิด้วยวิธีนี้ทำได้หลายอย่าง ดังนี้ 1. กำหนดรู้ที่ปลายจมูก หายใจเข้า ภาวนาว่า “พุท” หายใจออก ภาวนาว่า “โธ” จะภาวนาว่า “พุท” ทันทีที่รู้สึกว่าลมแตะปลายจมูก หรือภาวนาว่า “พุท” หลังจากลมเข้าสู่ปลายจมูกจนหมดแล้วก็ได้ คำว่า “โธ” ก็เช่นกัน ภาวนาว่า “โธ” ทันทีที่ลมเริ่มออกจากปลายจมูก หรือออกจากปลายจมูกไปหมดแล้ว ขณะที่จิตยังไม่สงบดี จะรู้สึกว่าลมหายใจกับคำภาวนายังแยกกันอยู่ ควรกำหนดรู้ทั้งคำภาวนาและลมหายใจไปพร้อมกัน หากรู้สึกว่าอารมณ์อื่น ๆ เข้ามาแทรกขณะที่ภาวนา อย่าได้ตำหนิตัวเอง หรือพยายามบีบจิตให้สงบ ควรวางจิตให้เป็นกลางแล้วกำหนดใหม่ กำหนดอย่างนั้นเรื่อยไปจนกระทั่งรู้สึกว่าคำภาวนากับลมหายใจกลายเป็นอันเดียวกัน นั่นแสดงว่าจิตสงบมากขึ้น เมื่อจิตสงบเต็มที่ คำภาวนาและลมหายใจจะหายไปเอง เหลืออยู่แต่ความนิ่ง เช่นนี้แล้วผู้ปฏิบัติไม่ต้องคิดถึงคำภาวนาและลมหายใจอีกต่อไป เพราะขณะนั้นจิต ลมหายใจ และคำภาวนากลายเป็นอันเดียวกัน ควรกำหนดรู้อยู่เฉพาะจุดนิ่งนั้น จิตจะรวมลงสู่ความสงบที่ละเอียดขึ้น 2. ภาวนา “พุท–โธ” […]
เมื่อความหลงปลงชีวิตคน โดย พระมหาสุภา ชิโนรโส (ส. ชิโนรส)
ความหลง คือ การขาดสติปัญญาพิจารณาหาเหตุผลและการหลงเชื่อข้อมูลข่าวสารที่ผิดเพี้ยนและบิดเบือน เมื่อมนุษย์ถูกความลุ่มหลงเข้าครอบงำบงการชีวิต เขาจะไม่รับรู้เหตุรู้ผล แยกแยะไม่ออกว่าอะไรผิดอะไรถูก มองเห็นกงจักรเป็นดอกบัว มองไม่เห็นมหันตภัยจากการกระทำของตัวเอง พฤติกรรมที่แสดงออกภายใต้อิทธิพลของความหลงย่อมนำความวิบัติมาสู่ชีวิตได้อย่างไม่คาดฝัน การหลงมัวเมาในกิน – กาม – เกียรติ หรือภาษาพระเรียกว่า “กาม” ถือเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งสำหรับการตายของมนุษย์ พระพุทธองค์ได้ตรัสผลร้ายหลายประการของการหลงมัวเมาในการกิน – กาม – เกียรติไว้ในมหาทุกขักขันธสูตร เช่น ก่อการทะเลาะวิวาท สร้างความขัดแย้งแตกแยก ทำให้เกิดศึกสงคราม จูงใจมนุษย์ให้ทำชั่วจนได้รับโทษทัณฑ์ถึงชีวิต เมื่อมองสังคมมนุษย์ปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ไม่ผิดนัก มนุษย์ส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันต่างหลงเชื่อว่า “กิน – กาม – เกียรติเท่านั้นคือเป้าหมายสูงสุดในชีวิต ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะดีวิเศษไปกว่านี้” มนุษย์จึงไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม ใช้เล่ห์เพทุบายต่าง ๆ กระโจนเข้าแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ ความเครียด ความขัดแย้ง และการฆ่าฟันกันและกัน เพราะแย่งชิงกิน – กาม – เกียรติจึงเป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่ดาษดื่น แม้บางคนอาจจะแย้งว่า “กิน – กาม – เกียรติ” ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดที่ทำให้มนุษย์ก่อความขัดแย้งและฆ่าฟันกันและกัน […]
รู้จัก “ให้” สุขใจกว่ารู้จัก “รับ” ธรรมะโดย พระมหาสุภา ชิโนรโส (ส. ชิโนรส)
เคยคุยกับพระรูปหนึ่ง ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านบอกว่า แต่ก่อนนิสัยท่านไม่ดีอย่างหนึ่ง คือ มักอิจฉาคน เห็นคนอื่นดีกว่าตัวเองจะรู้สึกหมั่นไส้ อิจฉาตาร้อน แต่ไม่ถึงกับลงมือทำอะไรให้เขาได้รับความเดือดร้อน ตัวท่านเองมักจะรู้สึกกระวนกระวายใจ จิตใจไม่สงบเมื่อเกิดความอิจฉา (รู้จัก “ให้”) ท่านรู้ว่าการอิจฉาคนอื่นไม่ดี มีแต่ทำจิตใจให้เร่าร้อนวุ่นวาย พระพุทธองค์ทรงตำหนิ แต่ก็ไม่รู้จะจัดการกับความอิจฉาของตัวเองได้อย่างไร พยายามคิดถึงผลร้ายของความอิจฉาก็ไร้ผล ความรู้สึกอิจฉายังคงลอยนวลอยู่ในใจ วันหนึ่งท่านจึงลองวิธีใหม่ หนามยอกเอาหนามบ่ง ท่านรู้ว่าความอิจฉาเกิดจากการไม่อยากเห็นคนอื่นดีกว่าตัวเอง ท่านจึงทำสิ่งตรงกันข้าม คือ หาสิ่งของไปให้แก่คนที่ท่านอิจฉา ต้องเป็นสิ่งของที่เขาชอบ หรือทำให้เขามีความสุขมากขึ้น ท่านบอกว่า ขณะที่ให้สิ่งของแก่คนที่ท่านอิจฉาไป จิตใจท่านพลันเกิดความสดชื่นเบิกบาน มีความเอิบอิ่มอย่างบอกไม่ถูก จิตใจสงบเยือกเย็นลง ความคิดอิจฉาริษยาที่เคยมีหายไปทันที ไม่กลับมารบกวนจิตใจท่านอีกเลย การให้จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการทำจิตใจให้สงบ เพราะขณะที่ให้ เท่ากับเพิ่มความสำคัญให้แก่คนอื่น ความสำคัญเกี่ยวกับตัวเองจะน้อยลง พลันที่ความสำคัญเกี่ยวกับตัวตนลดลง จิตใจก็จะเปิดกว้างเบิกบานแจ่มใส จิตจะสงบลงอย่างอัตโนมัติ การปฏิบัติตามแนวนี้ ผู้ปฏิบัติควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการในการให้ ดังนี้ 1. ผู้รับดี ผู้รับมีผลอย่างสูงต่อจิตใจผู้ให้ หากผู้ให้รู้ว่าผู้รับเพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จิตใจผู้ให้ก็จะมีความเอิบอิ่มมีความสุข และสงบได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีความภูมิใจว่าการให้แก่คนที่มีศีล […]
รักตนเหมือนรักคนอื่น ธรรมะโดย ท่าน ส.ชิโนรส
งานศึกษาหลายชิ้นบอกว่า “เด็กอ่อนที่ถูกแม่สัมผัสด้วยความรักอย่างทะนุถนอมจะเจริญเติบโตได้อย่างมีสติปัญญามากกว่าเด็กอ่อนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย” ความรักจึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ ทุกคนจึงโหยหาความรักกันอยู่เสมอ โดยฉพาะอย่างยิ่งการรักตัวเอง “รักตน”จึงเป็นสุดยอดแห่งความรักสำหรับมนุษย์ การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระมเหสีชื่อมัลลิกา สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติข้อนี้ได้เป็นอย่างดี บนปราสาทที่โอ่อ่าสูงลิบลิ่วแห่งหนึ่ง จอมรชันย์ซื่อปเสนทิโกศล จ้าครองแควันโกศล กำลังพร่ำรักอยู่กับหญิงงามบ้านนอกชื่อมัลลิกา หญิงงามนางนี้เป็นลูกสาวชาวบ้านธรรมคาสามัญ ท้าวเธอได้พบนางเข้ายามที่เดินตราทัพไปทำสงครามกับพระเจ้าอชาดศัตรูเจ้าครองแคว้นมดข ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้อภิเษกนางขึ้นเป็นพระมเหสี เพราะทรงพอพระทัยในความเฉลียวฉลาดและความเป็นกุลสตรีของนาง “ใครหนอคือคนที่น้องพี่รักมากที่สุดในปฐพี” จอมราชันย์เริ่มตันด้วยคำหวานหู พร้อมกับกระหยิ่มอยู่ในพระทัยว่า “ข้านี่แหละคือคนที่นางรักมากที่สุด” เพราะไม่มีพระองค์เสียแล้ว หญิงบ้านนอกอย่างมัลลิกาหรือจะได้เป็นถึงพระมเหสี “อุ๊ย…เสด็จพี่ช่างเขลานัก” มัลลิกาตอบอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม “ผู้ที่น้องรักมากที่สุดนะหรอเพคะ ก็คือตัวน้องน่ะซีคะ แล้วเสด็จพี่ล่ะเพคะ” พอถูกย้อนถามอย่างไม่ตั้งตัวเช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารมณ์พร่ำรัก เพราะมันไม่ใช่เวลาพูดเรื่องธรรมะธัมโม “อือ…พี่นี่แหละคือสุดที่รักของเสด็จพี่” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตอบกลับอย่างมะนาวไม่มีน้ำ แต่เมื่อทรงครุ่นคิดถึงสิ่งที่มัลลิกาพูดอีกที พระองค์ก็ร้องอ๋อว่า “ตัวกูคือสุดที่รักของมนุษย์” เหมือนอย่างมัลลิกาว่า การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาบอกเราว่า “ตัวกูคือยอดแห่งความรักของคน” ความรู้สึกรักตัวรักตนจึงเป็นยอดแห่งความรักทั้งผองของมนุษย์ เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เมื่อเหลียวดูทั่วสารทิศ ไม่พบใครอื่นสุดที่รักเท่ากับตน….” ความรักตัวรักตนจึงอยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมค้นความคิด คำพูด หรือการกระทำ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนสะท้อนออกจากความรักตัวรักตนทั้งนั้น แต่การแสดงความรักตัวเองออกมาของมนุษย์มีอยู่ 2 ลักษณะคือ สร้างสรรค์ และ ทำลาย […]
“มิจฉาทัศน์” สาเหตุทุกข์ โดย พระมหาสุภา ชิโนรโส (ส.ชิโนรส)
“มิจฉาทัศน์” สาเหตุทุกข์ โดย พระมหาสุภา ชิโนรโส (ส. ชิโนรส) สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้เห็นกระแสเกิด-ดับ และดับ-เกิด คือ การเจาะเข้าไปถึงสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ หรือ มิจฉาทัศน์ ที่ฝังลึกอยู่ในจิตสันดานของมนุษย์แต่ละคนมาชั่วกัปชั่วกัลป์ มิจฉาทัศน์ที่ว่ามี 4 อย่าง ดังนี้ 1. เชื่อว่าสรรพสิ่งเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) ความเห็นผิดเช่นนี้ เชื่อว่าจะมีรูปแบบชีวิตที่จีรังยั่งยืนตลอดไป มีสุขสมหวัง-มั่งคั่งร่ำรวย-มีอำนาจวาสนาตลอดไป หรือเมื่อตายไปแล้วก็เกิดในมิติที่เป็นอมตะตลอดไป ความเชื่อว่าสรรพสิ่งเที่ยงแท้เกิดจากศาสนาต่าง ๆ ที่สอนให้เชื่อพระเจ้า ศาสนาเหล่านี้สอนมนุษย์มาหลายพันปีว่า ชีวิตเริ่มจากจุดที่สร้างโดยพระเจ้า แล้วจะพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุด เที่ยงแท้ชั่วนิรันดร์ ไม่เกิดไม่ตายอีก ความเชื่อเหล่านี้จึงฝังลึกอยู่ในจิตสันดานของมนุษย์อย่างไม่รู้ตัว คอยบงการจิตใจมนุษย์ให้แสวงหารูปแบบชีวิตที่เที่ยงแท้ หรือความสุขสมหวังที่ยั่งยืนอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดไป เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นการเกิด-ดับของสรรพสิ่งในรูปกระแส ความเชื่อดังกล่าวก็ถูกท้าทายทันที เพราะเมื่อสรรพสิ่งเป็นกระแสเกิด-ดับอย่างนั้น จะมีสิ่งที่เที่ยงแท้เป็นอมตะค้ำฟ้าได้อย่างไร 2. เชื่อว่าสรรพสิ่งสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ความเห็นผิดเช่นนี้ เชื่อว่าชีวิตตายแล้วสูญ ชีวิตโลกหน้าไม่มีอีกต่อไป เคยได้ยินบางคนพูดว่า “ชีวิตเกิดหนเดียว ตายหนเดียว” นั่นคือความคิดที่สะท้อนออกจากความเชื่อว่า สรรพสิ่งสูญ นักวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า สรรพสิ่งสูญ ความจริงมีเพียงแค่วัตถุ เมื่อวัตถุแตกสลาย […]
“ลมหายใจ” จัดการความเครียด โดย ท่าน ส. ชิโนรส
“ลมหายใจ” จัดการความเครียด โดย ท่าน ส. ชิโนรส นักวิทยาศาสตร์บอกว่า แต่ละวันมนุษย์คิดกว่า 60,000 ความคิด จริงแท้อย่างไรไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักจัดการความคิด ลมหายใจ จัดการความคิด คือ คิดได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบระเบียบเมื่อต้องการใช้ความคิด หยุดคิดพักจิตให้สงบได้เมื่อต้องการหยุดพักผ่อน ผู้ที่ไม่รู้จักจัดการความคิด คือผู้ที่คิดไม่รู้จักหยุด หรืออยากหยุดแต่ก็หยุดไม่ได้ จิตใจเตลิดเปิดเปิงไปกับอารมณ์ต่าง ๆ วางอารมณ์ไม่ลง เกิดปัญหาทางจิต เรียกว่า “ความเครียด” (Stress) ภาษาพระเรียกความเครียดว่า “ปปัญจสัญญา” แปลตามศัพท์ว่า “สัญญาเป็นเหตุให้เนิ่นช้า” หรือ “ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญต่าง ๆ ที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง พร่ามัว ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส” ความเครียดเป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เกิดแก่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัย มนุษย์ยุคปัจจุบันเหมือนจะมีความเครียดมากกว่ามนุษย์ยุคอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีมากกว่ามนุษย์ยุคก่อน แต่ความเครียดไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย แต่กลับมีมากขึ้นกว่าเดิม มนุษย์แต่ละคนต่างมีวิธีแก้เครียดไม่เหมือนกัน บางคนกินยาแก้เครียด บางคนไปเที่ยวพักผ่อน บางคนหันไปพึ่งพาไสยศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ แต่หลงไปแก้อาการของความเครียดมากกว่า […]
“อิติปิโสถอยหลัง” คำบริกรรมช่วยเร่งให้จิตสงบ
“อิติปิโสถอยหลัง” อุบายเร่งจิตให้สงบ โดย ส. ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส) วิธีบริกรรม “อิติปิโสถอยหลัง” นั้นมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ท่องจำ ท่องจำคือวิธีทำจิตให้สงบอย่างหนึ่ง ช่วยให้จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่องจำอิติปิโสฯ ผู้ปฏิบัติต้องใช้กำลังสติอย่างมากเพ่งพินิจ จึงจะจำอิติปิโสฯแต่ละอักขระได้อย่างชัดเจนไม่ผิดพลาด ผู้เขียนแบ่งอิติปิโสฯเป็น 6 บรรทัดเพื่อให้ง่ายต่อการท่องจำ ดังนี้ “ติ-วา-คะ-ภะ โธ-พุท นัง-สา-นุส-มะ-วะ-เท ถา-สัต-ถิ-ระ-สา-มะ-ทัม-สะ-ริ-ปุ โร-ตะ-นุต-อะ ทู-วิ-กะ-โล โต-คะ-สุ โน-ปัน-สัม-ณะ-ระ-จะ-ชา-วิช โธ-พุท-สัม-มา-สัม หัง-ระ-อะ วา-คะ-ภะ โส-ปิ-ติ-อิ” เมื่อท่องจำได้จนขึ้นใจแล้ว ควรฝึกขั้นต่อไป ขั้นที่ 2 บริกรรม ก่อนบริกรรมทุกครั้งควรเลือกจุดที่จับลมได้อย่างชัดเจนมากที่สุดในกาย เช่น ปลายจมูก หรือกลางสะดือ แล้วเริ่มบริกรรมไปทีละจังหวะ บริกรรมจังหวะใดแล้วจิตสงบนิ่งแน่วแน่ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ดับลงไป ควรข้ามไปขั้นที่ […]