พระมหากัสสปะ
พระมหากัสสปะ มีนามว่า ปิปผลิ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านมหาติตถะ แคว้นมคธ เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี มารดาบิดาของท่านรบเร้าให้ท่านแต่งงาน
พระมหากัสสปะ ท่านปฏิเสธเพราะตั้งใจว่าเมื่อดูแลมารดาบิดาจนทั้งสองเสียชีวิตแล้วก็จะออกบวช แต่มารดาบิดาของท่านยังยืนยันให้ท่านแต่งงานเพื่อดำรงวงศ์ตระกูล ปิปผลิจึงจ้างช่างหล่อทองคำเป็นรูปหญิงสาว ประดับด้วยผ้านุ่งสีแดง ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ แล้วบอกมารดาว่าถ้าหาหญิงสาวลักษณะตามรูปปั้นนี้ได้จึงจะยอมแต่งงาน มารดาของท่านจึงให้พราหมณ์ ๘ คนนำรูปหล่อไปตามหาหญิงสาวที่มีลักษณะตามนั้น เมื่อได้พบนางภัททากาปิลานี จึงแจ้งให้กบิลพราหมณ์ทราบ ทั้งปิปผลิและภัททาต่างไม่อยากแต่งงานจึงแอบส่งจดหมายขอให้อีกฝ่ายหาคู่ครองใหม่ แต่คนถือจดหมายได้แปลงข้อความในจดหมาย ทั้งสองจึงได้แต่งงานกันในที่สุด
วันหนึ่ง ปิปผลิไปตรวจนาเห็นฝูงนกจิกกินไส้เดือน จึงถามบริวารว่าบาปของสัตว์พวกนั้นตกแก่ใคร บริวารว่าตกแก่ท่านปิปผลิ ท่านสังเวชใจว่าถ้าอกุศลกรรมแบบนี้ตกแก่ท่านแล้ว ถึงเวียนว่ายตายเกิดสักพันชาติก็คงไม่พ้นทุกข์ กลับถึงบ้านแล้วจึงบอกภรรยาว่าจะออกบวช ภรรยาของท่านก็จะออกบวชเช่นกัน ทั้งสองปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสายะ ตั้งใจออกบวชเพื่ออุทิศพระอรหันต์ในโลก แล้วออกจากไปจนถึงทางแยกก็แยกกันเดินทาง ขณะที่แยกทางกันนั้นก็เกิดแผ่นดินไหว
หลังจากบวชได้ครบ 7 วัน เข้าวันที่ 8 พระมหากัสสปะก็พบพระพุทธเจ้าขณะประทับที่พหุปุตตเจดีย์ พระองค์ประทานโอวาทแก่ท่าน 3 ข้อ คือ
- มีหิริและโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
- ฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิตมาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม
- ไม่ละกายคตาสติที่ประกอบด้วยความยินดี
พระมหากัสสปะฟังแล้วก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากนั้นท่านนำผ้าสังฆาฏิของตนปูถวายพระพุทธเจ้าให้ทรงประทับนั่ง พระพุทธเจ้าจึงประทานผ้าป่านบังสุกุลให้ท่านใช้แทน ขณะนั้นแผ่นดินก็ไหวขึ้นเพราะไม่เคยมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประทานจีวรที่ทรงใช้แล้วแก่พระสาวก พระมหากัสสปะประทับใจมากด้วยระลึกว่าท่านเป็น “บุตรของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว”
พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุผู้บวชเมื่อแก่รูปหนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญเลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น“ พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้นก็ดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำสังคายนาและจะชักชวนพระอรหันต์เถระทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ ใช้เวลา 7 เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้อุปถัมภ์
การสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธจึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรม พระอุบาลีเป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก การสังคายนาครั้งนั้นนับเป็นต้นกำเนิดของพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ใช้ในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน
วาระสุดท้ายของพระมหากัสสปะ
วาระสุดท้ายของพระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะเป็นพระเถระผู้เป็นเลิศในด้านถือธุดงควัตร และยังเป็นพระมหาสาวกที่มีความสำคัญอีกรูปหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า วาระสุดท้ายของพระมหากัสสปะ เป็นอย่างไร หลังจากใช้เวลาร่วม 7 เดือน ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหาทำการสังคายนา รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็รหมวดหมู่ชัดเจนแล้ว พระมหากัสสปะได้พำนักอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร โดยยังคงสมาทานธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด แม้อายุขัยของท่านจะล่วงเข้าสู่วัยชรา ท่านก็ยังยินดีในการอยู่ป่า ฉันอาหารที่ได้จากการบิณฑบาต และห่มผ้าบังสุกุลเป็นประจำ จวบจนอายุของท่านดำเนินมาถึง 120 ปี พระมหากัสสปะได้ตรวจดูสังขารของตน ทราบว่าเหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งวันก็จะถึงคราวที่ต้องสละทิ้งธาตุขันธ์เสียแล้ว ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์เพื่อให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย โดยเทศนาสั่งสอนภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามกระทำความเพียรมิให้ขาด ดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาท และปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาอยู่เสมอ พระมหากัสสปะเข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรูจากนั้นท่านพาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกฏสัมปาตบรรพต ท่านเข้าผลสมาบัติ ก่อนจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ อธิษฐานจิตขอให้ภูเขาเวภาระสถานที่ทำปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย ด้วยอานุภาพแห่งคุณธรรมที่ท่านน้อมนำปฏิบัติมาชั่วชีวิต พระมหากัสสปะอธิษฐานจิตขอให้สรีระร่างกายของท่านคงอยู่จนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อกาลนั้นมาถึง พระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรยจะทรงพาหมู่ภิกษุมายังภูเขากุกกกุฏสัมปาตบรรพตนี้ เพื่อประกาศสรรเสริญว่า พระมหากัสสปะเป็นผู้สมาทานธุดงค์เป็นเลิศ แล้วเตโชธาตุก็จะบังเกิดขึ้นเผาสรีระของท่าน ณ บัดนั้น ครั้นสิ้นการอธิษฐานจิต พระมหากัสสปะก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน คงเหลือเพียงคุณูปการที่ท่านทำให้แก่พระศาสนา พระมหากัสสปะเป็นบุคคลที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว ละทิ้งความสุขทางกาย ใช้ชีวิตมักน้อย สมถะ เรียนรู้ความจริงอันสูงสุด กระทั่งหลุดพ้นจากวัฏวังวนแห่งทุกข์ ศาสนิกชนชาวพุทธจึงมีท่านเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ […]
ทำไมเทวดาถึงอยากใส่บาตรพระมหากัสสปะ
ทำไมเทวดาถึงอยากใส่บาตร พระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะ เป็นพระสาวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ (เอตทัคคะ) ในด้านทรงธุดงควัตรและสรรเสริญการธุดงค์ เดิมทีท่านเป็นกุลบุตรในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งแคว้นมคธ หลังจากได้รับมรดกจากครอบครัวจึงคิดได้ว่าบาปในสมบัติเหล่านี้ย่อมตกแก่ตนจึงสละเรือนออกบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งพระมหากัสสปะออกจากนิโรธสมาบัติ ได้คิดว่าจะบิณฑบาตโปรดสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงภิกขาจารไปยังตรอกในกรุงราชคฤห์ เทพธิดาทั้ง 500 นาง ซึ่งเป็นข้าบาทบริจาริกาแห่งท้าวสักกะเทวราชได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตามจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เกิดอยากใส่บาตรพระมหากัสสปะ พระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติในธุดงควัตร เพราะได้กลิ่นหอมจากกายของพระเถระฟุ้งไปถึงสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหล่านางเทพธิดาลงมายังโลกมนุษย์พร้อมกับอาหารทิพย์ที่ประณีตบรรจง รอพระมหากัสสปะผ่านมาตรงที่พวกตนรออยู่ เมื่อพระเถระภิกขาจารมาถึงเหล่าเทพธิดาพากันขอร้องให้พระเถระได้อนุเคราะห์รับอาหารทิพย์ที่พวกนางนำมาถวาย พระมหากัสสปะกล่าวต่อเหล่าเทพธิดาว่า “พวกท่านโปรดกลับไปเถิด บาตรนี้มีไว้สำหรับผู้ที่เข็ญใจเท่านั้น” เทพธิดาตอบพระเถระว่า “ขอพระคุณเจ้าได้โปรดเห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจของพวกดิฉันด้วยเถิดเจ้าคะ” พระมหากัสสปะดีดนิ้วขึ้นพร้อมกับกล่าวว่า “พวกท่านเป็นถึงเทวดา โปรดประมาณตนเถิดว่าสมควรแล้วหรือที่จะทำเช่นนี้ พวกท่านอย่าได้รบกวนเราอีกเลย” เทพธิดาได้ยินดังนั้นก็พากันกลับสวรรค์ ท้าวสักกะเทวราชทรงเห็นเหล่าเทพธิดาก็ทรงแปลกพระทัยจึงตรัสถามว่า “พวกเธอไปไหนกันมา” เทพธิดาทูลว่า “พวกหม่อมฉันตั้งใจนำอาหารทิพย์ไปใส่บาตรพระมหากัสสปะ ซึ่งท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติมา แต่กลับถูกท่านปฏิเสธเพคะ ท่านไม่รับอาหารทิพย์จากพวกเรา เพราะท่านต้องการที่จะโปรดทุกข์ผู้เข็ญใจเท่านั้น” ท้าวสักกะเทวราชทรงถามต่อว่า “แล้วพวกเธอลงไปใส่บาตรท่านด้วยอากัปกิริยาอย่างไร” เทพธิดาตอบว่า “ในรูปลักษณ์นี้เพคะ” ท้าวสักกะเทวราชตรัสขึ้นว่า “พวกเธอต้องไปในรูปลักษณ์นี้” จากนั้นท้าวสักกเทวราชได้จำแลงกายเป็นชายชรา และเนรมิตพระนางสุชาดา พระมเหสีเป็นหญิงชรา จากนั้นก็ทรงชักชวนพระนางสุชาดาลงไปใส่บาตรพระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะภิกขาจารมาจนถึงกระท่อมหลังหนึ่งซึ่งมีตายายอยู่ 2 คนกำลังนั่งเย็บและทอผ้าอยู่ภายใน พระเถระกล่าวขึ้นว่า […]
พระมหากัสสปะ ผู้เลือกเดินบนหนทางสมถะ
เมื่อพบว่าทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ มิใช่ปัจจัยที่จะเกื้อหนุนให้ชีวิตเดินทางถึงฝั่ง พระมหากัสสปะ จึงขอตัดส่วนเกินเหล่านั้นทิ้ง
สักการะพระปางอัฏฐมีบูชา วัดอินทาราม สันติสถานแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สักการะพระปางอัฏฐมีบูชา วัดอินทาราม สันติสถานแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระพุทธรูปปางอัฏฐมีบูชา สร้างเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์กราบพระสรีระของพระพุทธเจ้าของพระมหากัสสปะและพระภิกษุอีก 500 รูป ที่ไปปฏิบัติกิจธุดงภ์ที่กรุงปาวามา พระพุทธรูปปางนี้ที่วัดอินทารามนี้มีความงดงามมากอีกแห่งหนึงในประเทศไทย วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกกันว่า “วัดบางยี่เรือนอก” เป็นวัดคู่กับวัดราชคฤห์ ที่เรียกว่า “วัดบางยี่เรือใน” ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี พระองค์ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทารามแห่งนี้ และทรงโปรดให้วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เผาพระศพของพระราชชนนี สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงรับวัดอินทารามเป็นวัดพระอารามหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นตระกูล “ศรีเพ็ญ” ได้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมาเป็นพระประธาน คือ พระพุทธชินวร พระยาศรีสหเทพทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร จึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดอินทารามวรวิหาร” และได้รับบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระทักษิณสร อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธินิมิตร และมีการบูรณะวัดแห่งนี้สืบต่อมาจนเป็นวัดที่มีความงดงามอย่างในปัจจุบัน วัดอินทารามแห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระเจดีย์คู่กู้ชาติ ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่บรรลุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับพระมเหสี […]
พระอรหันต์ฉุดช่วยให้พ้นจากการตกนรก
พระอรหันต์รูปนี้สมแล้วที่เป็นเนื้อหาบุญแห่งโลก ท่านเมตตาโปรดหญิงสาวนางหนึ่ง เพราะนางมีวิบากกรรมรุนแรงติดตามมา หากสิ้นบุญก็ไม่พ้น ตกนรก
เทพธิดาข้าวตอก
เทพธิดา ข้าวตอก จิตอันเป็นกุศลก่อนตายนั้นสำคัญนัก สตรีนางหนึ่งก่อนสิ้นลม ได้มีจิตระลึกถึงบุญกุศลที่ถวาย ข้าวตอก แด่พระมหากัสสปะ แล้วนางก็เกิดเป็นเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ มีหญิงสาวนางหนึ่งเลื่อมใสในจริยวัตรของพระมหากัสสปะ จึงนำข้าวตอกที่นางคั่วเองมาถวาย หลังจากนั้นหญิงสาวเดินไปยังนาไม่ทันระวังตัวก็ถูกงูฉก พิษของงูแล่นเข้าสู่หัวใจ แต่เธอกลับไม่ทรมานจากพิษงูเลย เธอปีติและความสุขเพราะเธอระลึกถึงบุญที่เธอใส่ข้าวตอกแด่พระมหาเถระ นางไปบังเกิดยังสรวงสวรรค์ สถิตในวิมานที่ประดับประดาด้วยแก้ว 7 ประการ เธอมีทิพยสมบัติและเทพบริวารมากมาย อันเกิดขึ้นจากอานิสงส์ที่เธอถวายข้าวตอก เมื่อเทพธิดาระลึกถึงกรรมแต่หนหลัง ก็ปีติถึงภาพที่นางถวายข้าวตอกแด่พระมหากัสสปะ นางปรารถกับตนว่า การถวายข้าวตอกอันน้อยนิดแก่พระมหาเถระอันได้ผลานิสงส์แห่งบุญถึงเพียงนี้ เราต้องต่อยอดผลบุญให้นานโข จะได้สถิตอยู่บนแดนสวรรค์นี้ไปได้นาน เทพธิดาคิดได้ดังนั้นก็ลงจากสวรรค์มายังกุฎิของพระมหากัสสปะ นางกวาดใบไม้ทำความสะอาด แล้วถังน้ำอาบใส่ถังไว้ พระมหากัสสปะไม่ทันสงสัย คิดว่าเป็นพระภิกษุและสามเณรในกุฏิใกล้ๆทำให้ จนกระทั่งวันหนึ่งพระมหากัสสปะได้ยินเสียงกวาดใบไม้ จึงแอบมอง พระเถระทราบทันทีว่า มีเทพธิดามากวาดใบไม้ทำความสะอาดบริเวณรอบนอกของกุฏิให้ พระมหาเถระจึงออกไปแล้วกล่าวต่อเทพธิดาว่า เป็นสิ่งไม่สมควร เดี๋ยวชนทั้งหลายจะพาหาว่า เรามีนางฟ้าคอยรับใช้ ขอเจ้าจงกลับไปยังวิมานของเจ้าเถิด เทพธิดาได้ยินดังนั้นก็บังเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ เสียร่ำไห้ได้ยินไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสแก่เทพธิดาว่า พระมหากัสสปะกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของเขา ส่วนเจ้าที่มุ่งแต่ผลของบุญ ก็เป็นอุปนิสัยของผู้ทำบุญ เทพธิดาฟังดังนั้นก็เข้าใจแล้วว่า การกระทำของนางเป็นการรบกวนให้พระมหาเถระเสื่อมเสีย เพราะเนื่องมาจากความกระหายใคร่ในบุญของนาง หลังจากนั้นนางจึงบรรลุโสดาบัน แล้วกราบลาพระพุทธเจ้าและพระมหากัสสปะกลับสู่วิมานตามเดิม ที่มา : […]