พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์ แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษาวิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ในปีเดียวกันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาดเจ็บที่พระพักตร์ พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิดพระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
พระพุทธศาสนาใน พระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราโชวาทต่อพสกนิกรมากมาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรที่หมู่เหล่า พระองค์ทรงเป็นธรรมราชาพระองค์หนึ่งเลยก็ว่าได้ พระองค์ทรงมี พระราชดำริ ต่อพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏในพระราชดำรัสเพื่อเชิญไปอ่านในการเปิดประชุมใหญ่ ณ สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2518 ดังนี้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ปฏิบัติเพื่อความสุข พระพุทธศาสนา ชี้ทางดำเนินชีวิตปราศจากโทษ ช่วยให้เกิดความเจริญร่มเย็นได้อย่างแท้จริง เพราะมีคำสั่งสอนที่มีลักษณะพิเศษ ประเสริฐ ในประการที่อาศัยเหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรงตามความเป็นจริงพื้นฐาน และแสดงคำอธิบายที่ครบถ้วนชัดเจน อันบุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตาม และหยิบยกขึ้นปฏิบัติเพื่อความสุขความเจริญและความบริสุทธิ์ ได้ตามความสามารถและอัธยาศัยของตน จึงเป็นศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ได้แท้จริงแก่ทุกคนที่จะพอใจหันเข้ามาศึกษาเลือกสรรหัวข้อธรรมที่เหมาะสมไปปฏิบัติ พระพุทธศาสนาคือสิ่งที่สร้างเสริมศีลธรรม และจริยธรรม การที่ท่านทั้งหลายจะทะนุบำรุงส่งเสริมเผยแผ่ให้แพร่หลาย มั่นคงควรจะได้ยึดเหตุผลเป็นหลักการ เลือกเฟ้นนำข้อธรรมะที่เหมาะแก่เหตุการณ์แก่บริษัท และแก่บุคคล มาชี้แจงให้ถูกต้องตรงตามเนื้อแท้ของธรรมะนั้น ๆ พร้อมทั้งแสดงการกระทำที่มีเหตุผล และมีความบริสุทธ์ให้เป็นตัวอย่างด้วยตนเองให้ครบถ้วน การบำรุงพระพุทธศาสนาตลอดจนการสร้างเสริมศีลธรรม จริยธรรมทั้งในผู้ใหญ่ ผู้เยาว์ของท่าน จึงจะบรรลุผลที่น่าพึงพอใจได้ […]
เหตุการณ์ความประทับใจของลูกศิษย์หลวงพ่อคูณ ครั้ง ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินวัดบ้านไร่
เหตุการณ์ความประทับใจของลูกศิษย์หลวงพ่อคูณ ครั้ง ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินวัดบ้านไร่ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินวัดบ้านไร่ ในครั้งนั้นมีเหตุการณ์ความประทับใจเกิดขึ้น จนกลายเป็นที่จดจำของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธมาจนถึงทุกวันนี้ พระหัตถ์ “ในหลวง” เป็นมือคนทำงาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่บุษบกด้านบนของอุโบสถ ซึ่งวัดบ้านไร่ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุมาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในคราวนั้นทั้งสองพระองค์ทรงปลูก “ต้นคูณ” ณ ลานกลางวัดบ้านไร่ ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดพระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ เล่าว่าวันนั้นเป็นวันที่หลวงพ่อคูณภาคภูมิใจมากที่สุดในชีวิต ตนจึงได้ถามหลวงพ่อว่า “ในหลวงตรัสอะไรกับหลวงพ่อบ้าง ?” หลวงพ่อคูณเงียบไปครู่หนึ่งแล้วตอบกลับมาเบาๆ ว่า “มึงรู้ไหม มือพระองค์เป็นมือคนทำงานอย่างก๊ะชาวไร่ชาวนา […]
การฝึกสติ “พละ ๕ คือกำลังหนุนจิต” – พระราชหฤทัยจากในหลวงรัชกาลที่ ๙
การฝึกสติ “พละ ๕ คือกำลังหนุนจิต” – พระราชหฤทัยจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ การฝึกสติ “พละ ๕ คือกำลังหนุนจิต” – พระราชหฤทัยจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฝึกฝนพระราชหฤทัย ตามหลัก พละ ๕ ในพระพุทธศาสนา อันเป็นธรรมเทศนาที่ได้สดับระหว่างทรงพระผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ หลังจากนั้นได้ทรงศึกษา ปฏิบัติ และมีพระราชปฏิสันถารสนทนาธรรมด้วยพระอริยสงฆ์หลายรูป ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามหัวเมือง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พละ ๕ ที่ทรงฝึกฝนนี้ได้แก่ ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อมั่นในทางที่ถูกต้อง เป็นกำลังหนุนจิตให้เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ วิริยะ หมายถึง กล้าต่อสู้กับอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ เป็นกำลังหนุนจิตใจเดินหน้า สติ หมายถึง ความระลึกได้ เป็นกำลังช่วยความจำ ปลุกใจให้ตื่นจากกิเลส สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นของจิต เป็นกำลังให้มั่นคงไม่ไหวเอนไปตามอารมณ์ และ ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว เป็นกำลังสำคัญยิ่งของจิต เป็นแสงส่องให้รู้ เห็น […]
3 เรื่องเล่าในหลวง จากองคมนตรี…ความทรงจำประทับใจที่ไม่มีวันลบเลือน
เรื่องเล่าในหลวง ภาพจำที่องคมนตรีมีต่อพระมหากษัตริย์ผู้เปี่ยมพระวิริยอุตสาหะ พระมหากษัตริย์ผู้มีแต่ “ให้” พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รัก
รัฐบาลเตรียมจัด พิธีบำเพ็ญกุศล และกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9
รัฐบาลเตรียมจัด พิธีบำเพ็ญกุศล และกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 รัฐบาลเตรียมจัด พิธีบำเพ็ญกุศล และกิจกรรมน้อมรำลึก วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมพิธีบำเพ็ญกุศล และกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาล และประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงพร้อมใจแสดงความจงรักภักดีที่มีต่อพระองค์ โดยวันที่ 13 ตุลาคม 2561 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์-สามเณรจำนวน 890 รูป ในเวลา 06.15 น. ที่พระลานพระราชวังดุสิต จากนั้น 09.00 น. เป็นพิธีวางพวงมาลาและถวายบังคมหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ที่ท้องสนามหลวง และ 19.00 น. เป็นพิธีถวายบังคมและจุดเทียนเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ช่วงเย็นของวันที่ 13 ตุลาคม 2561 มีพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยในวันดังกล่าวประชาชนสามารถสวมใส่เสื้อสีเหลือง […]
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับพระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย )
พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย ในเรื่องเกี่ยวกับ “ความตาย”
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงนำสิ่งที่รักมาช่วยพัฒนาประเทศ
ภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นตาเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร หรือเสด็จไปยังที่ใดก็ตาม พระองค์จะสะพายกล้อง
พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่างในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี การที่มีคนป่วนข่าวทำให้เสียชื่อเสียง จะปฏิบัติตนเช่นไร เมื่อมีการเช่นนี้เกิดขึ้น
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จัดตั้งโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2539เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ประกาศ 25 บุคคลคุณธรรม “ทำดีตามรอยพ่อ สานต่องานที่พ่อทำ” ปี 2561
ประกาศ 25 บุคคลคุณธรรม “ทำดีตามรอยพ่อ สานต่องานที่พ่อทำ” ปี 2561 โครงการค้นหา บุคคลคุณธรรม “ทำดีตามรอยพ่อ สานต่องานที่พ่อทำ” โดยมีคุณสมบัติว่าต้องมีคุณธรรม 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ (1) พอเพียง (2) วินัย (3) สุจริต และ (4) จิตอาสา มาใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อบ้านเมือง เพื่อประเทศชาติและประชาชน ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตจนเกิดผลสำเร็จและเป็นที่ประจักษ์อีกด้วย ทั้งยังเป็นบุคคลที่น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ โครงการนี้ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกองค์กรคุณธรรม ซึ่งมี 3 ระดับ คือ (1) องค์กรส่งเสริมคุณธรรม (2) องค์กรคุณธรรม และ (3) องค์กรคุณธรรมต้นแบบ ซึ่งประเด็นคือคณะกรรมการมีความเห็นว่า เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ และของประชาชนตั้งแต่เด็กจึงอยากให้ส่งเสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรด้วย เพราะฉะนั้นในปี 2561การคัดเลือกจะเน้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรและบุคคล ศูนย์คุณธรรม แจ้งผลคัดเลือกจาก 800 คน เหลือ 25 […]
ในหลวง รัชกาลที่ 9 – พระราชาผู้ทรงศรัทธาในธรรม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและสนพระราชหฤทัยในการศึกษาพระธรรมและการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง หลังจากทรงพระผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499…