ป้องกันโรคสมองเสื่อม
ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ป้องกันโรคสมองเสื่อม : ในวันอัลไซเมอร์โลก ประจำปี 2018
ชวน ป้องกันโรคสมองเสื่อม ทุกวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวันอัลไซเมอร์โลก ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล และรศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงมีเรื่องหลากหลายสาระ ที่เลือกนำมาแบ่งปันกัน หลังจากที่คนทั่วไปมักที่จะมีข้อสงสัยกันว่า
1. โรคสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์คือโรคเดียวกันหรือไม่
2. อาการโรคอัลไซเมอร์ แตกต่าง จาก อาการหลงลืม ของผู้สูงวัย อย่างไร
3.วิธี ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ป้องกันได้หรือไม่
เราลองมาคำตอบกัน
ข้อ 1 โรคสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์ คือโรคเดียวกันหรือไม่
โรคสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมของความจำ การคิดอ่าน การวางแผน ตัดสินใจการใช้ภาษา ทักษะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมหรืออาชีพที่เคยทำได้ตามเดิม และอาจมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 พบถึงร้อยละ 60-70 ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองเสื่อม
ส่วนสาเหตุของสมองเสื่อมที่พบบ่อยอันดับ 2 คือ สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบในผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะผสมกันทั้ง 2 อย่าง ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมจากเซลล์สมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ เช่น Dementia with Lewy bodies (DLB) หรือ fronto temporal lobar dementia (FTLD)
นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ที่มีสมองเสื่อม เกิดจากภาวะสมองเสื่อมที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, ขาดวิตามินบี 12, โพรงสมองคั่งน้ำ, ภาวะซึมเศร้า, ยาบางชนิดที่รบกวนการทำงานของระบบประสาท และดื่มเหล้าจัด เป็นต้น
[caption id="attachment_115307" align="aligncenter" width="640"]
เซลล์สมองเสื่อม ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์[/caption]
ข้อ2 อาการโรคอัลไซเมอร์แตกต่างจากอาการหลงลืมของผู้สูงวัยอย่างไร
- อาการหลงลืม เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีอาการหลงลืมในเรื่องราวที่พึ่งเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือหลงลืมความรู้ใหม่ แต่เหตุการณ์ในอดีตจะจำได้ดีและอาการหลงลืมนี้ จะรวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น งานแต่งงานแต่ถ้าเป็นผู้สูงวัย อาจจะลืมเรื่องชื่อหรือการนัดหมาย แต่มักจะนึกออกได้ในภายหลัง
- การแก้ไขปัญหาและการวางแผน ผู้ป่วยจะพบความเสื่อมในเรื่องการวางแผน การทำงาน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต รวมไปถึงการบริหารจัดการเกี่ยวกับตัวเลขทั้งหลายและเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุ อาจมีปัญหาเรื่องการบริหารบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นบางครั้งหรือเกี่ยวกับการเขียนเช็คเป็นบางครั้ง
- การทำกิจกรรมในบ้าน ในที่ทำงานหรือการพักผ่อน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขับรถหลงทาง แม้จะเป็นสถานที่ ๆ เดินทางเป็นประจำ รวมไปถึงการทำงบดุล รายจ่ายประจำตัว หรือการเล่นเกมที่เคยเล่น ส่วนผู้สูงวัยอาจจะมีปัญหาเรื่องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านที่ยุ่งยาก อาทิ เช่น การปรับไมโครเวฟหรือการเปิดโทรทัศน์ที่มีโปรแกรมที่หลากหลาย
- การมองเห็นและการปรับระยะทาง ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือ การกะระยะทาง ความแตกต่างของสี ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาในการขับรถหรือ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัย ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ แต่สาเหตุจะมาจากโรคทางจักษุวิทยา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือการเสื่อมของม่านตา
- ปัญหาเกี่ยวกับการพูดและการเขียน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกใช้คำพูด ซึ่งจะทำให้ขาดการเชื่อมต่อของประโยค จึงทำให้พูดไม่ประติดประต่อ หรือพูดไม่จบประโยคเนื่องจากหาคำที่เหมาะสมไม่ได้ บางครั้งก็จะทำให้หงุดหงิด เพราะหาคำพูดที่ถูกต้องไม่ได้ และหรือบางครั้งก็จะเรียกชื่อสิ่งของผิด ๆ เช่น เรียกปากกาเป็นดินสอ หรือแว่นตา เป็นนาฬิกา แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัย ก็อาจจะมีปัญหาในการหาคำพูดที่ถูกต้องบ้างเป็นบางครั้ง
- การวางของผิดที่หรือหาของไม่เจอ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะวางของในที่ที่ไม่เคยวาง หรือไม่ถูกต้อง เช่น ใส่แว่นตาในตู้เย็น และลืมสนิท และไม่สามารถจะคิดย้อนกลับได้เลย และบางครั้งก็จะกล่าวหาว่าผู้ใกล้ชิดขโมยของไปเพราะหาไม่เจอ แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัยอาจวางของผิดที่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถนึกออกได้ในภายหลัง
- การตัดสินใจผิดพลาด ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มมีการตัดสินใจผิดพลาดและเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน การตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การรักษาความสะอาดตัวเอง แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัย การตัดสินใจผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ไม่บ่อย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
- การเข้าสังคมและการทำงาน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มเก็บตัวลดงานอดิเรกกิจกรรมทางสังคม แม้แต่กีฬาที่ชื่นชอบ เพราะไม่สามารถจะทำได้ดีแบบเดิม แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัยบางทีอาจจะเก็บตัวเนื่องจากเบื่องาน เบื่อครอบครัว กิจกรรม ทางสังคม หรือมีปัญหาด้านสุขภาพทางกาย
- การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และบุคลิกภาพ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะแรก ๆ และจะเป็นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะซึมเศร้า มึนงง วิตกกังวล หวาดกลัว นอนไม่หลับ เห็นภาพหลอน โดยไม่มีสาเหตุซึ่งสามารถเกิดขึ้น ทั้งในที่บ้าน และที่ทำงาน แต่ถ้าเป็นผู้สูงวัยก็อาจจะมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือหงุดหงิดได้บ้าง ถ้ามีสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมที่ทำเป็นประจำถูกเปลี่ยนแปลง
[caption id="attachment_115309" align="aligncenter" width="640"]
โรคอัลไซเมอร์ มีแตกต่างจากอาการหลงลืมของผู้สูงวัย ในหลายๆ ประเด็น[/caption]
ข้อ3 ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อม
มีข้อมูลดี ๆ จากการประชุม Alzhimer’s Association International Conference 2017 (AAIC 2017) ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ผ่านมาว่า ถ้าสามารถลดปัจจัยเสี่ยง 9 อย่างของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 1 ใน 3 ของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งจัดแบ่งออกตามอายุ ดังนี้ คือ วัยเด็ก การศึกษาน้อยคือปัจจัยเสี่ยงจนถึงอายุ 15 ปี ,วัยกลางคน ความดันโลหิตสูง,โรคอ้วน,โรคหูตึงและวัยผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้า, โรค เบาหวาน, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่ และการไม่เข้าสังคม
ดังนั้นการ ป้องกันอัลไซเมอร์ จึงสามารถจะทำได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยสามารถทำได้โดย
- มีการศึกษาที่เหมาะสมตามเกณฑ์
- รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดทั้งหลาย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน โดยการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
- แก้ไขโรคหูตึง โรคซึมเศร้า ตั้งแต่วัยกลางคน
- ปรับปรุงการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน เดินเล่น รำมวยจีนรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นต้น
- การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อย ๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่าง ๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
- พยายามมีสติในสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ง่ายๆ ใครๆก็ทำได้
อ่านเพิ่มเติม
อาหารเมดิเตอร์เรเนียน กินทุกวันป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
DOS & DON’TS ช่วยสมองไบรท์ ห่างไกลอัลไซเมอร์
18 สารอาหาร บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้!
โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ หลายคนจะเข้าใจว่าคือโรคอัลไซเมอร์ แต่จริงแล้วนั้น คือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโรคสมองเสื่อมส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่ผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ได้ แต่อาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ได้ ดังนี้ 1.ผู้สูงอายุ เพราะว่าผู้สูงอายุบางครั้งก็ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้มีการบริหารสมองจึงทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าวัยอื่น 2.เพศที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด คือเพศหญิง 3.ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อมนั้นอาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะว่าผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับครอบครัวว่าเคยเป็นโรคนี้ ในอัตราส่วน 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่พบได้บ่อยมาก มี 2 ชนิด ที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ 1.ชนิดไม่ทราบสาเหตุ อันนี้ผู้ป่วยก็เกิดสมองฝ่อขึ้นมาโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคอัลไซเมอร์) 2.เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง และทำให้หลอดเลือดแข็งตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ยังมีสาเหตุอีกมากมายที่ยังเกิดขึ้นได้ในทุกวันอย่างเช่น อาจเกิดจากการติดเชื้อในสมอง เช่นการที่ได้รับเชื้อไวรัสทำให้สมองเสื่อมได้ รวมถึงการที่ร่างกายของผู้ป่วยขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 หรือวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยประเภทนี้เซลล์สมองจะทำงานไม่ปกติ ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุอาจจะให้ท่านกินอาหารประเภทตับ นม ผักใบเขียว ถั่วเหลือง และข้าวกล้อง เพราะอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้ไปช่วยในการทำงานของเซลล์สมองให้ปกติดีขึ้น ส่วนระยะความรุนแรงของสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ระยะแรก ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมในเรื่องเพิ่งเกิดขึ้นอย่างเช่นจำไม่ได้ว่าวางของที่ไหน […]
ความเเตกต่างอัลไซเมอร์ VS สมองเสื่อม และวิธีป้องกันแบบง่ายที่คุณไม่เคยรู้
ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ : ในวันอัลไซเมอร์โลก ประจำปี 2018 ทุกวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวันอัลไซเมอร์โลก ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล และรศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงมีเรื่องหลากหลายสาระ ที่เลือกนำมาแบ่งปันกัน หลังจากที่คนทั่วไปมักที่จะมีข้อสงสัยกันว่า 1. โรคสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์คือโรคเดียวกันหรือไม่ 2. อาการโรคอัลไซเมอร์ แตกต่าง จาก อาการหลงลืม ของผู้สูงวัย อย่างไร 3.วิธี ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ป้องกันได้หรือไม่ เราลองมาคำตอบกัน ข้อ 1 โรคสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์ คือโรคเดียวกันหรือไม่ โรคสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมของความจำ การคิดอ่าน การวางแผน ตัดสินใจการใช้ภาษา ทักษะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมหรืออาชีพที่เคยทำได้ตามเดิม และอาจมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 พบถึงร้อยละ 60-70 ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองเสื่อม ส่วนสาเหตุของสมองเสื่อมที่พบบ่อยอันดับ 2 […]