ปฏิบัติธรรม
อยากหมดทุกข์ต้องปฏิบัติทุกขณะ ธรรมะจากพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี)
อยากหมดทุกข์ต้องปฏิบัติทุกขณะ ธรรมะจาก พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี) การประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่ทำอยู่กับตัวเราเอง ทำอยู่กับร่างกายจิตใจนี้เอง ไม่ได้ทำที่ไหน แล้วก็ทำได้ทุกขณะ กำลังยืนก็มีรูปนามอยู่อย่างนี้ กำลังนั่งก็มีรูปนามอยู่อย่างนี้ กำลังนอนก็มีรูปนามอย่างนี้ กำลังคู้ เหยียด เคลื่อนไหวมันก็มีรูปนามอยู่ กำลังกิน กำลังถ่าย กำลังนุ่งห่มเสื้อผ้า มันก็มีอยู่อย่างนี้ มีรูป มีนามเป็นเหตุเป็นปัจจัย มีผัสสะกระทบ เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน เดี๋ยวรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสคิดนึก เจริญสติหยั่งรู้เข้าสู่ภายใน ภายนอกมันก็ทำไป แต่สติสัมปชัญญะเรียกว่าสัมผัสภายใน กายที่เคลื่อนไหว แต่ว่ามีสติรับรู้ความรู้สึกเคลื่อนไหว รู้ใจที่รับรู้ นั่งอยู่ สติก็ไปรับรู้ภายใน ไปรู้ความรู้สึก ไปรู้ที่ใจที่รับรู้ นอน สติสัมปชัญญะก็ไปรับรู้ความรู้สึกที่กาย รับรู้ความรู้สึกที่จิตใจ รับรู้ตัวรู้ ยืน สติสัมปชัญญะก็ไปรู้ที่ความรู้สึกที่กายที่ยืน รู้จิตใจอยู่ มันก็มีอย่างนี้ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันก็มีสภาวะ มีรูปมีนามเป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิด-ดับเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นธรรมะพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็น อกาลิโก ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล […]
ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : ทำไมการภาวนาจึงเป็นยอดแห่งบุญ
ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : ทำไมการภาวนาจึงเป็น ยอดแห่งบุญ ปัญหาธรรม : ทำไมการภาวนาจึงเป็น ยอดแห่งบุญ ตอบปัญหาธรรม : การภาวนาเป็นตัวสุดท้ายของบุญกิริยาวัตถุ 10 เพราะภาวนานั่นก็คือพัฒนาจิต เป็นสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนาก็ได้อภิญญา 5 สูงสุด ความรู้สูงสุดที่เขาเรียก ญาณ โลกียญาณหรืออภิญญา 5 แต่วิปัสสนาภาวนาได้ปัญญาเห็นแจ้ง ตัวนี้ที่ทำให้พ้นทุกข์ บุญไหม จะใส่บาตร 100 ชาติก็สู้นั่งหลับตา พองหนอยุบหนองไม่ได้ นี่ไงคือการกำจัดกิเลส พอเกิดปัญญาเห็นแจ้ง เอาปัญญาเห็นแจ้งมากำจัดกิเลสที่อยู่ในใจ ให้มันหมดไป นี่เขาเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท พอหมดไปก็เป็นจิตบริสุทธิ์ล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ ก็โคจรไปอยู่ในมิติที่บริสุทธิ์ นิพพาน นี่ไง บุญใหญ่ ใส่บาตร 100 ชาติก็เข้าไม่ถึงนิพพาน ทำอะไรก็ไม่เข้าถึงนิพพาน เพราะอะไร เพราะเจตสิกที่เป็น โลภ โกรธ หลง เมตตา สติปัญญา มันยังมีอยู่ในใจ มันขจัดไม่ออก แต่ถ้ามาปฏิบัติธรรม […]
แก้กรรมด้วยตัวเอง ธรรมะจาก หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
แก้กรรมด้วยตัวเอง ธรรมะจาก หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ เวลาเราเห็นผิด เราเปลี่ยนเป็นถูก เวลาใดเป็นทุกข์ เราเปลี่ยนเป็นความไม่ทุกข์ เวลาใดเห็นมันโกรธ เราเปลี่ยนเป็นไม่โกรธ จุดนี้เป็นกรรมของเรา คนอื่นช่วยไม่ได้หรอก ความคิด เวลาใดที่เราคิด คนอื่นมาเห็นกับเราไม่ได้ เราเห็นเอง ความโกรธ คนอื่นก็ไม่เห็น เราต้องเห็นเอง ความโลภ ความหลง กิเลส ตัณหา ราคะ ความง่วงเหงาหาวนอน คนอื่นไม่เห็น เราเห็น คนอื่นอาจจะเห็นบ้างจากลักษณะภายนอก แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้าเราเห็นขึ้นมา เราก็แก้ได้ ก็ลองแก้ลองดู อย่าเพิ่งไปหมดตัวกับมัน พอมันง่วงก็หลับตาปี๋เข้าไป หาว อ้าปาก ก็เรียกว่าร่วมกับมัน เป็นแนวร่วมไปกับมัน มันก็ง่วงง่าย เราหาวิธีดูซิ พอมันง่วงทำอย่างไร อย่าเพิ่งไปยอมแพ้มัน สู้มันสักหน่อย อาจจะไปมองท้องฟ้า มองยอดไม้ ดูวัน ดูเวลา ดูทิศ ดูทาง เอาความรู้สึกออกไปไกล ๆ มองก้อนเมฆ ท้องฟ้า ทำความเห็นว่าเวลานี้เป็นเวลากลางวัน ไม่ใช่เวลานอน […]
“โปรเม-โปรโม” สองพี่น้องโปรกอล์ฟฝึกสมาธินั่งวิปัสสนากรรมฐาน ระหว่างพักการแข่งขัน
“โปรเม-โปรโม” สองพี่น้อง โปรกอล์ฟ ฝึกสมาธินั่งวิปัสสนากรรมฐาน ระหว่างพักการแข่งขัน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา เดลินิวส์ได้นำเสนอข่าวว่า “โปรเม-โปรโม” 2 พี่น้อง โปรกอล์ฟ ชื่อดัง ร่วมปฏิบัติธรรม นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่นันทาธรรมสถาน อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการฝึกสมาธิในระหว่างหยุดพักการแข่งขันแอลพีจีเอทัวร์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 “โปรเม” เอรียา และ “โปรโม” โมรียา จุฑานุกาล 2 โปรกอล์ฟสาวได้โพสต์รูปและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเป็นภาพการเข้าร่วมปฏิบัติธรรม หลังจากที่ โปรโม และ โปรเม เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา และเข้ารับการกักตัวตามนโยบายของรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประจวบกับช่วงนี้ยังไม่มีโปรแกรมแข่งขันแอลพีจีเอทัวร์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สองพี่น้องจึงชวนกันไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานที่นันทาธรรมสถาน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 4 วัน พร้อมด้วย คุณแม่นถมล, โปรแจน – วิชาณี มีชัย และ โปรพริม […]
การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
การปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ หลายคนอาจมองว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องยากที่จะนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยภาระงานและวิถีชีวิตที่ไม่มีเวลาว่าง แต่จริง ๆ แล้วการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ซึ่งพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ได้อธิบายถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรมไว้ดังนี้ เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งที่อยากจะบอกว่าเป็นความจำเป็น มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะชีวิตทุกชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ ชีวิตทุกชีวิตต้องการที่จะมีกำลังใจ ที่จะต่อสู้และฟันฝ่ากับปัญหาและอุปสรรค โดยเฉพาะที่จะเอาชนะใจตัวเองจากสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลย ที่จะสอนให้ทำใจเป็นสุข สอนให้จิตใจมีกำลังที่จะต่อสู้กับกิเลส เอากิเลสออกได้ เหมือนวิชาทางธรรมเลย ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลยที่จะใช้ไปได้ทุกวันจนวันตาย มีแต่ธรรมะที่ใช้ได้ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก และโดยเฉพาะสุดท้าย วันตายของเราด้วยใช้ธรรมะอย่างมากเลย ส่วนการทำงาน เมื่อเราแก่แล้วต้องเกษียณไป คนที่สัมพันธ์กับเรานับวันก็ต้องจากกันไป มีอะไรบ้างที่จะเป็นที่พึ่งของชีวิตได้อย่างจริง ๆ บ้านช่องก็เป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าก็สักแต่เป็นของใช้ รถลาสักแต่เป็นของใช้ แต่ธรรมะนั่นแหละเป็นที่พึ่งของจิตใจได้อย่างแท้จริง คนไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม ก็ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ แต่วันหนึ่งถ้าเข้าใจธรรม จะเห็นคุณค่าของธรรมะอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นอย่ายกเวลาในชีวิตของเราทั้งหมด ให้กับสิ่งอื่น หรือให้กับคนอื่นเสียทั้งหมด ควรแบ่งปันเวลาในชีวิตของเราให้กับตัวเองบ้าง อย่าไปรักแต่คนอื่นโดยไม่รักตัวเอง อย่าไปสงสารแต่คนอื่นโดยไม่รู้จักสงสารตัวเอง ต้องรักต้องห่วยใยต้องสงสารตัวเองบ้าง […]
ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : การปฏิบัติธรรมสามารถเป็นที่พึ่งของเราได้อย่างไร
ปัญหาธรรมประจำวันนี้ : การปฏิบัติธรรม สามารถเป็นที่พึ่งของเราได้อย่างไร ทุกวันนี้พบเจอแต่ปัญหา การเอาตัวเองออกจากปัญหาเหล่านั้น สามารถอาศัย การปฏิบัติธรรม เป็นที่พึ่งของเราได้หรือไม่ พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญได้ตอบปัญหาธรรมนี้ไว้ดังนี้ เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ที่อยากจะบอกว่าเป็นความจำเป็น แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เลย เพราะชีวิตทุกชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ ชีวิตทุกชีวิต ต้องการที่จะมีกำลังใจ ที่จะต่อสู้ ที่จะฟันฝ่ากับปัญหากับอุปสรรค โดยเฉพาะที่จะเอาชนะใจตัวเองจากสิ่งที่ไม่ดีนั่นแหละ ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลย ที่สอนให้ทำใจเป็นสุข ที่สอนให้จิตใจมีกำลังที่จะต่อสู้กับกิเลส เอากิเลสออกได้ เหมือนวิชาทางธรรมเลย ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลยที่จะใช้ไปได้ทุกวันจนวันตาย มีแต่ธรรมะนั่นแหละ ที่ใช้ได้ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก และโดยเฉพาะสุดท้าย วันตายของเราด้วยต้องใช้ธรรมะอย่างมากเลย งานการ เมื่อเราแก่แล้วก็ต้อง Retire ไป นี่แหละคนที่สัมพันธ์กับเรานับวันก็ต้องจากกันไป มีอะไรที่จะเป็นที่พึ่งของชีวิตได้อย่างจริง ๆ บ้านช่องก็เป็นเครื่องอยู่อาศัย เสื้อผ้าก็สักแต่เป็นของใช้ รถลาสักแต่เป็นของใช้ของอาศัย แต่ธรรมะนั่นแหละ เป็นที่พึ่งของจิตใจได้อย่างแท้จริง คนไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม ก็ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ แต่วันหนึ่งถ้าเข้าใจธรรม จะเห็นคุณค่าของธรรมะอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นอย่ายกเวลาในชีวิตของเราทั้งหมด ให้กับสิ่งอื่นหรือให้กับคนอื่นเสียทั้งหมด ควรจะแบ่งปันเวลาในชีวิตของเราให้กับตัวเองบ้าง อย่าไปรักแต่คนอื่นโดยไม่รักตัวเอง อย่าไปสงสารแต่คนอื่นโดยไม่รู้จักสงสารตัวเอง ต้องรักต้องห่วยใยต้องสงสารตัวเองบ้าง […]
“ยึกยือ” ศิลปะภาวนาพัฒนาจิต ดร.พลเดช วรฉัตร
“ยึกยือ” ศิลปะภาวนาพัฒนาจิต ดร.พลเดช วรฉัตร ดร.พลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ที่ใช้เวลาหลังวัยเกษียณกับการภาวนาด้วยงานศิลปะที่ตนเองค้นพบ ลายเส้นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความงามของทะเลมัลดีฟส์ ซึ่งท่านเรียกว่า “ยึกยือ” งานศิลปะนี้ช่วยให้ผู้วาดพัฒนาจิตได้อย่างไร การปฏิบัติธรรมคือเครื่องมือพัฒนาจิต การพัฒนาจิตต้องรู้วิธีการเหมือนกับเราเรียนวิทยาศาสตร์ คือต้องมีเครื่องมือและวิธีการแต่ที่เป็นอยู่คือการปฏิบัติธรรม เช่น นั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา บางทีเป็นเรื่องยากและหลายคนเข้าใจผิดว่าการปฏิบัติธรรมต้องเข้าวัดไปนั่งสมาธิหลับตา ที่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมคือการพัฒนาจิต เป็นการปฏิบัติกับจิต ก็มักจะนั่งสมาธิเพราะเห็นพระพุทธรูปอยู่ในท่านั่งมากที่สุดก็จริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็อยู่ในท่านั่ง แต่ที่จริงแล้วพระพุทธรูปในท่าเดิน ท่ายืน ท่านอนมีไหม ก็มี ดังนั้นไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนทำสมาธิได้หมด การปฏิบัติธรรมจริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องไปวัดอย่างเดียวเท่านั้นเพราะเราปฏิบัติที่ใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถสอดแทรกในชีวิตประจำวันได้เสมอ บวชที่ใจ ครั้งหนึ่งผมเคยนึกเกลียดความทุกข์ เกลียดกิเลส มองว่าเป็นความไม่ดีของมนุษย์ เคยคิดจะบวช ถ้าไม่เจอวิปัสสนาก็คงจะบวชไปแล้ว ตอนนั้นคิดว่าจะหนีความทุกข์ หนีภัยสังคม ไปบวชดีกว่า แต่ก็พบว่าชีวิตของพระก็มีความทุกข์ มีกิเลสแบบพระไม่ต่างจากฆราวาส พอได้ฝึกวิปัสสนาทำให้มีสติรู้ว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ จะอยู่ในสถานะใดก็ทำตรงนั้นให้ดีด้วยสติได้ ก่อนหน้านั้นเคยตระเวนไปศึกษาและอ่านเรื่องพลังจิต ไปแสวงหาอาจารย์จากที่ต่าง […]
เพศมีผลต่อการปฏิบัติธรรมหรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เพศมีผลต่อ การปฏิบัติธรรม หรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนก็สงสัยไปถึงขั้นว่า ถ้าไม่บวชจะบรรลุธรรมได้ไหม ถ้าเป็นฆราวาส คฤหัสถ์เป็นเครื่องเนิ่นช้า เครื่องขัดขวางใน การปฏิบัติธรรม รวมถึงการบรรลุธรรมหรือเปล่า ถ้าเรามองประเด็นที่ว่า ในสมัยพุทธกาล เขาบรรลุธรรมก่อนบวช ลองนึกประเด็นนี้ดูบ้างสิ สมัยพุทธกาล บรรลุธรรมก่อนบวช บรรลุธรรมเสร็จแล้วจึงขอบวช เป็นส่วนมากเป็นส่วนใหญ่ ถ้าอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว เราจะได้คลายไปเยอะกับเพศภาวะ เราเป็นคฤหัสถ์ ฆราวาส เราก็ปฏิบัติตามคำสอน ตามวิธี เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ผลของการปฏิบัติก็เกิดขึ้น แล้วถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่มีเครื่องกีดขวาง หรือแรงเสียดทานในใจว่า เราเป็นคฤหัสถ์ เป็นชาวบ้าน เป็นคน ไม่ใช่นักบวช ไม่ได้บวช มันจะกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าหรือไม่ ตรงนี้กลับกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าเสียเอง ความลังเล ความสงสัย หรือความคิด ความตริ ความตรึก ความดำริอย่างนี้ กลายเป็นแรงเสียดทาน เครื่องเนิ่นช้าจึงไม่ใช่เพศภาวะแล้ว ไม่ใช่รูปแบบภายนอก เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ กลายเป็นข้างในของคุณเอง คิดอย่างนี้มันจึงเป็นเครื่องเนิ่นช้า มันจึงไม่ก้าวหน้า จึงไม่บรรลุธรรม เพราะคิดอย่างนี้ […]
หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ คำภาวนา พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ มีความหมายว่า “ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก” ซึ่งจะขอขยายความเทียบตามหลักของ วิสุทธิมรรคคัมภีร์ ที่รจนาโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้ ๑. ฐานของจิต การกำหนดฐานของจิต ให้กำหนดไว้ที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้วทั้งสอง ตามหลักของ วัดประดู่ทรงธรรม และของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดพลับ ถือว่าเป็นฐานที่ ๗ ซึ่งตามหลักท่านวางไว้ถึง ๙ ฐาน โดยฐานต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนทางผ่านของลมหายใจที่ไปกระทบ เหมือนกับหลักของอานาปานสติ ฐานทั้ง ๙ ฐานที่กำหนดไว้ มีดังนี้ ฐานที่ ๑ อยู่ต่ำกว่าสะดือ ๑ นิ้ว ฐานที่ ๒ อยู่เหนือสะดือ ๑ […]
การอยู่กับปัจจุบันขณะคืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
การ อยู่กับปัจจุบันขณะ คืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี อยู่กับปัจจุบันขณะ หมายความว่าอยู่ที่นี่แล้ว ก็เดี๋ยวนี้ ขณะอึดใจนี้ คำว่าอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่มิติของสถานที่ แต่อยู่กับปัจจุบันนี้มันเป็นมิติของจิตวิญญาณ หมายความว่าขณะใดก็ตามที่เรามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่หลุดไปอยู่ในโลกของความคิดในอนาคต หรือโลกของความคิดในอดีต แต่เป็นการที่เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาในทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกคำที่พูดและทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว อาการที่เรารู้ตัวอยู่ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยตัณหา อวิชชา และอุปาทาน หรืออวิชชา ตัณหา ทิฐิ อวิชชาก็คือความหลง ตัณหาคือความอยาก ทิฐิคือชุดความคิดต่าง ๆ แต่เรารู้ตัวอยู่ที่นี่แล้วก็เดี๋ยวนี้ สด ๆ ในปัจจุบันขณะ โดยไม่ผ่านกระบวนการทางความคิด แต่เป็นความรู้สึกตัวสด ๆ ร้อน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเอง ณ เดี๋ยวนี้ ที่นี่ เช่น เราหายใจอยู่ เราก็รู้ว่าเราหายใจ อันนี้คือการอยู่กับปัจจุบันขณะที่แท้จริง ฉะนั้นเมื่อพูดถึงปัจจุบันขณะ เราไม่พูดถึงวัน เดือน ปี เลย เพราะว่ามันเป็นมิติทางจิตวิญญาณ และลมหายใจเป็นอุปกรณ์ของปัจจุบันขณะจริง […]
วิธีแก้นิมิต โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วิธีแก้นิมิต โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่าง ๆ มาปรากฏในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกใจประหม่ากระดากและอย่าทำความกลัวจนเสียสติและอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลายไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่าเป็นเงา ๆ พอให้เห็นปรากฏแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ นิมิตที่ปรากฏนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตที่ปรากฏเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี เรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัวฯ นิมิตที่ปรากฏเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้วย่อมไม่กลัว ยิ่งเป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียว และน้อมเข้ามาพิจารณาภายในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิมีกำลังยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไร ๆ มาปรากฏ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไปตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป […]
ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) ” ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ” ที่ท้อใจ หงุดหงิดใจ ฟุ้งซ่านใจ กลุ้มใจในการปฏิบัติธรรม แสดงว่าวางใจไม่ถูก คือปฏิบัติด้วยอำนาจของตัณหา ( ความทะยานอยาก ) แสดงว่าทำด้วยความทะยานอยาก จะเอาให้ได้อย่างนั้น จะเอาให้ได้อย่างนี้ ทำไมไม่สงบ ทำไมไม่นิ่ง ทำไมฟุ้งซ่านอยู่ อยากจะหายฟุ้ง อย่างนี้คือการปฏิบัติธรรมที่มีตัณหาเข้าไปบงการ เพราะฉะนั้นแทนที่มันจะเบาใจ แทนที่มันจะสงบใจ มันก็กลับเพิ่มความวุ่นวายใจมากขึ้น อุปมาเหมือนคนที่จะดับไฟ ว่ากิเลสทั้งหลายเหล่านี้เปรียบเหมือนไฟ เวลาที่ไปดับไฟ ใช้อะไรดับ ก็ใช้น้ำดับใช่ไหม น้ำก็เปรียบเสมือนสติสัมปชัญญะเข้าไประลึกรู้ แต่นี่ไม่เอาน้ำอย่างเดียวไปดับ เผลอ ๆ เอาน้ำมันไปฉีด จะดับไฟ แต่ใส่ฟืน ไม่ได้เอาสติสัมปชัญญะ เข้าไประลึกรู้ด้วยความบริสุทธิ์ ใจของสติสัมปชัญญะ แต่เอาตัณหาเข้าไปด้วย เอาความทะยานอยาก เอาความอภิชฌา ความเพ่งเล็งจะเอาให้ได้ เอาโทมนัส ยินร้าย ไม่ชอบ ไม่เอา เกลียดใส่เข้าไปด้วย มันเหมือนกับเอาเชื้อเพลิงเข้าไปใส่ […]
อานิสงส์จากการปฏิบัติธรรมมีจริง
อานิสงส์จากการ ปฏิบัติธรรม มีจริง แม้วันเวลาจะล่วงเลยมาแล้วถึง 17 ปี แต่ผมยังจำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดี (ปฏิบัติธรรม) เช้าวันนั้นผมตื่นนอนประมาณ 6.00 น. รู้สึกแขนขวาชา ความคิดแรกคือ ผมคงจะนอนทับแขนนาน พอลุกจากที่นอนก็หยิบแปรงมาหวีผม ปรากฏว่าแขนขวาไม่มีแรง จึงเดินลงมาชั้นล่างเพื่อถอยรถออกจากบ้าน (บ้านเป็นตึกแถว) พอเหยียบคันเร่ง รถพุ่งออกจากบ้านอย่างแรงจนเกือบชนประตูเพื่อนบ้านฝั่งตรงข้าม เนื่องจากขาขวาเหยียบคันเร่งแล้วไม่ยอมถอน ผมลงจากรถแบบงง ๆ เอ…เราเป็นอะไรนี่ เช้านี้รู้สึกแปลก ๆ รีบไปนอนพักบนโซฟาในห้องรับแขก พอสาย ๆ เริ่มพูดไม่ค่อยได้ ลิ้นแข็ง แขนและขาไม่มีแรง มึนศีรษะเล็กน้อย เห็นท่าจะไม่ค่อยดี ผมจึงรีบนั่งแท็กซี่ไปหาหมอ (ไม่กล้าขับรถเอง) พอถึงโรงพยาบาล หมอตรวจอาการแล้วรีบให้ยา พร้อมกับบอกว่าผมเป็นอัมพฤกษ์ ผมใจหายวูบ เป็นไปได้อย่างไร ผมเพิ่งจะอายุ 43 ปีเอง ความคิดสับสนไปหมด หลังจากนั้นหมอเอาผมเข้าตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผลปรากฏว่ามีเส้นเลือดตีบในสมอง หมอบอกว่า ถ้าผมมาช้าอีกสองสามชั่วโมงเส้นเลือดในสมองที่ตีบอาจแตกได้ โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาตก็จะค่อนข้างสูง เจ็ดวันที่อยู่โรงพยาบาล ผมนอนรับยาละลายลิ่มเลือดผ่านทางสายน้ำเกลือ ต้องให้ภรรยาคอยป้อนอาหารและน้ำ ระหว่างอยู่โรงพยาบาล หมอมาตรวจอาการเพิ่มเติม […]
“จิตสัมผัส” เมื่อพระพุทธคุณบังเกิดขึ้นในจิต – ครูหนุ่ย งามจิต มุทะธากุล
ครั้งหนึ่งในฤดูหนาว ครูไปเข้ากรรมฐานที่วัดแห่งหนึ่ง พักในกุฏิหลังสุดท้าย ที่วัดนี้รับประทานอาหารมื้อเดียว พอถึงเวลาอาหาร ครูก็เดินไปตักอาหารใส่กะละมังสีขาวรวม ๆ กันไป แล้วก็เดินกลับไปนั่งรับประทานที่กุฏิ เวลาที่ครูไปเข้ากรรมฐาน ครูจะปิดวาจา ไม่พูดไม่คุยกับใคร สำรวมตา ไม่สอดส่ายสายตามองโน่นมองนี่ สำรวมหู ไม่เงี่ยหูฟังเสียงพูดคุยของคนอื่น สำรวมใจ คอยดูจิตไม่ให้ฟุ้งไปตามอารมณ์ เรียกว่า สำรวมอินทรีย์ ให้จิตมีสติรู้อยู่ภายในกายภายในใจของเราเท่านั้น (จิตสัมผัส) การสำรวมอินทรีย์นี้เป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติธรรมมาก แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักไม่เคร่งครัดในการนี้ ความจริงสำนักปฏิบัติธรรมที่ดี ๆ ท่านก็บอกไว้แล้วทั้งนั้นว่าให้งดพูด แต่ไม่ค่อยจะปฏิบัติกัน มุ่งแต่การปฏิบัติในห้องกรรมฐานอย่างเดียว พอออกจากห้องกรรมฐานหรือห้องปฏิบัติรวมบ้างก็เดินชมนกชมไม้ไปเรื่อย บ้างก็แอบคุยกัน บ้างก็แอบเขียนแอบจด สติจึงไม่ต่อเนื่อง สมาธิไม่รวม ขาด ๆ วิ่น ๆ จิตไม่ตั้งมั่น การปฏิบัติธรรมจึงไม่สัมฤทธิผล ทำให้เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “ปฏิบัติธรรมมาตั้งนานไม่เห็นจะได้อะไรเลย” ยังขี้โกรธเหมือนเดิม ปากมากเหมือนเดิม ชอบนินทาเหมือนเดิม ขี้อิจฉาเหมือนเดิม ยังถือตัวถือตน ดูถูกคนเหมือนเดิม ไปมากไปบ่อย แต่ปฏิบัติจริง ๆ น้อย ก็ได้มรรคได้ผลตามเหตุปัจจัย เช้าวันนั้นพระท่านบิณฑบาตได้อาหารมาไม่มากนัก ครูตักข้าวกับผัดถั่วฝักยาวมารับประทาน […]
“ชนะใจ” ลูกน้องทันที…ที่ “ไม่โกรธ” – พิทยากร ลีลาภัทร์
เชื่อไหมว่า ผมเป็นคนโทสะแรงมาก ก่อนที่ผมจะฝึกเจริญสติเมื่อหลายปีก่อน แค่คนขับรถปาดหน้าก็จะลงจากรถเข้าไปต่อยเขาแล้ว ไม่เคยกลัวใคร ตายเป็นตาย! แต่หลังจากเริ่มดูกายดูใจตัวเองเป็น โทสะที่เคยแรงมากก็ลดระดับลงแทบไม่เหลือ อย่างเมื่อวันก่อนกำลังยืนต่อแถวเพื่อจ่ายสตางค์ในห้างดัง อยู่ ๆ ก็มีคนเดินมาแซงคิวแบบเนียน ๆ ผมก็ขัดใจ แต่รู้ทันและมีสติพิจารณาบอกได้ว่า เราไม่รีบ การได้จ่ายเงินช้าลง 1 – 2 นาที คงไม่ได้เปลี่ยนชีวิตเราขนาดนั้น แต่บางครั้งหากโกรธมาก ๆ เราพิจารณาไม่ทัน ก็ต้องให้สติเข้ามาช่วย อย่างเช่นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้… หลังจากผมพบว่าลูกน้องทำงานผิดพลาดในสิ่งที่ไม่ควรผิด รับปากอะไรแล้วไม่ดำเนินการให้เรียบร้อย ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ในฐานะผู้จัดการ ผมเรียกเขาเข้ามาคุยและตักเตือน แต่ลูกน้องคนนั้นกลับมีข้ออ้างและข้อแก้ตัวแบบเดิม ๆ ที่ใช้มาแล้วหลายรอบ และไม่เคยแก้ไขตัวเองเลย ผมเริ่มโมโหจนหน้าแดง ใจเต้นแรง มือสั่น หายใจถี่ รู้สึกเหมือนอยากจะต่อว่าลูกน้องคนนั้นแรง ๆ ให้สะใจ ซึ่งหากไม่เคยฝึกสติดูจิตดูใจ ปฏิบัติธรรมมาก่อน ผมอาจต่อยอดจากการต่อว่าเป็นการกระโดดเข้าไปต่อยลูกน้องแล้วก็ได้ วินาทีนั้นรู้สึกเหมือนภายในตัวมีแรงดันคล้ายกับท่อที่มีน้ำร้อน ๆ กำลังพลุ่งขึ้นมา จิตของผมคล้ายมีทางแยกเป็นสองทาง ทางแรกคือ ด่าลูกน้องออกไปแรง ๆ อีกทางคือ บอกกับตัวเองว่าถ้าพูดออกไปตอนนี้จะเป็นการใช้อารมณ์ […]
“ด้วยรักและเมตตา” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ
ผมมักสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับความจริงของโลก ชีวิต จิตวิญญาณ ศาสนา และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวเองมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (นายแพทย์ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ) อาจจะด้วยความที่เป็นเด็กช่างสงสัย ผมจึงไม่เคยหยุดที่จะหาคำตอบหรือยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ในเรื่องการรู้แจ้งในความจริงของชีวิตก็เช่นกัน ผมจึงลงมือหาคำตอบด้วยการปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ 12 – 13 ปี โดยฝึกสมาธิทุกวัน รวมทั้งอ่านคัมภีร์ทางศาสนา เช่น มิลินทปัญหา ซึ่งผมอ่านตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมและชอบหนังสือเล่มนี้มาก เพราะได้แสดงให้เห็นการปุจฉา – วิสัชนาอย่างลึกซึ้งตลอดทั้งเล่ม รวมไปถึงหนังสือ กรรมฐาน 40 ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ และหนังสือ คู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือหลักของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน จากประสบการณ์ในวิปัสสนากรรมฐานทำให้ผมตระหนักรู้ในทุกข์คือตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของคนเราคือกองทุกข์ หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ทุกข์ หายใจออกแล้วไม่ได้หายใจเข้าก็ทุกข์…ทุกข์นี้คือความจริง แต่ทุกข์นั่นเองที่เป็นเงื่อนไขสำคัญให้จิตพ้นทุกข์ อาจเรียกได้ว่าเป็น “ข้อดี” ของความทุกข์ก็น่าจะได้ เพราะทุกข์เป็นเครื่องช่วยให้เรามีความรักความเมตตาต่อทุกชีวิต และยังช่วยให้แสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยสติปัญญา ทุกครั้งที่มีเวลาว่าง ผมจึงมักจะเฟ้นหาสถานที่ที่สงบเพื่อไปเก็บตัวปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิตามที่ต่าง ๆ หากมีเวลามากหน่อยก็ไปพักฝึกจิตใจที่วัดป่าสัก 3 – 4 วัน ถ้าไม่มีเวลาก็อาศัยการนั่งที่ข้างสระน้ำแถว […]
ปล่อยจิตให้เป็นโสด (บ้างเถอะ!) – ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
คนเราทำอะไรต้องมีเป้าหมาย โดยเริ่มจากการตั้งหางเสือ แล้วพุ่งไปที่เป้าหมาย (ปล่อยจิตให้เป็นโสด) …ดังเช่นตัวผมตั้งเป้าที่จะไปนิพพาน ผมจึงปักธงชัยไว้ที่นิพพานแล้วเดินตามเส้นทางแห่งการหลุดพ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อยก็พัก แต่ไม่เคยหยุด ทำให้ไม่ทุกข์ ไม่คาดหวัง แต่ไม่เลิก ฝึกไปเรื่อย ๆ โดยไม่ประมาท ถึงไม่ถึงเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน เหมือนการอิ่มข้าว ซึ่งเจ้าตัวเท่านั้นที่รู้ ผมใชัหลักการที่ว่า หากเส้นทางเดินถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะไว้ อย่างไรก็ไม่หลงทาง ตราบใดที่เรามั่นใจในกระบวนการ ซึ่งระหว่างทางก็อาจทำเพื่อโลกบ้าง เพื่อธรรมบ้าง ตราบนั้นเราเดินทางถึงแน่นอน มีคนเคยถามผมว่า ทำไมผมถึงตั้งเป้าเช่นนั้น หากอุปมาก็เหมือนกับคนที่เคยกินมะม่วงแล้วพบว่า อร่อย ก็เลยกินต่อ กับคนเคยกินของบูดเน่าแล้วรู้ว่าไม่อร่อย เลยเข็ดขยาดไม่กินอีก…มะม่วงอร่อยที่กล่าวถึงคือความสุขทางธรรมระดับลึก ๆ ที่เกิดขึ้นกลางใจ ทำให้ใจโล่งโปร่งสบาย ซึ่งยิ่งใหญ่และลึกซึ้งกว่าความสุขแบบโลก (สุขทางเนื้อหนัง วัตถุ สิ่งสมมุติทั้งหลาย) อย่างไม่สามารถเปรียบเทียบได้ ดังนั้นการที่ผมตั้งเป้าหมายที่จะไปนิพพานจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่กระนั้นการที่ผมทำงานเยอะและหลากหลายทำให้ตัวเองไม่ค่อยมีเวลา ผมจึงใช้หลักการ “บวชอยู่กับงาน” ดังที่ท่านพระอาจารย์พุทธทาสเคยสอนว่า “งานคือธรรม ธรรมคืองาน” แทน…ในงานทั้งหลายที่เราจำเป็นต้องทำนั้น มีทั้งโจทย์และแบบฝึกหัดให้ฝึกสติมากมาย ตั้งแต่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต จนถึงธรรมในธรรม ทุกวินาที ทุกอิริยาบถที่ผ่านไป […]
เณรตรัย สามเณรน้อยแห่งวัดบวรฯ มีจิตศรัทธาปฏิบัติธรรมที่ วัดป่าธรรมคีรี
เณรตรัย สามเณรน้อยแห่งวัดบวรฯ มีจิตศรัทธาปฏิบัติธรรมที่ วัดป่าธรรมคีรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา เพจ วัดป่าธรรมคีรี ได้โพสต์รูปถ่ายพร้อมข้อความว่า “ สามเณร นพสิทธิ์ เขมสิทฺธิโก (โชติสุริยสินสุข) หรือ “เณรตรัย” สามเณรรูปเดียวที่อยู่ประจำภายในวัดบวรนิเวศวิหาร มีจิตศรัทธากราบขออนุญาตพระผู้ใหญ่ทางวัดบวรนิเวศวิหารมาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าธรรมคีรี (จันดีอนุสรณ์) ก่อนที่จะเดินทางกลับไปศึกษาฝ่ายปริยัติต่อไป “ ลูกเณรกราบเรียนพระอาจารย์คม อภิวโร ว่า “ถ้าผมมีวันหยุดจากการเรียนพระปริยัติอีก ผมขออนุญาตมาฝึกตนที่วัดป่าธรรมคีรีนะครับ” “ ลูกเณรตรัยเคยบรรพชาสามเณรฤดูร้อนหลายครั้ง จากนั้นจึงตั้งใจว่าจะออกบวชจริงจังด้วยศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย อ้อนวอนคุณพ่อคุณแม่จนได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม “ ลูกเณรมีความน่ารักตามประสาเด็กน้อยที่อาจมีอะไรขาดบ้างเกินบ้าง ถูกบ้างพลาดบ้างเป็นธรรมดา แต่ด้วยจิตที่เคารพรักในพระรัตนตรัยและพระนิพพานจึงทำให้เป็นที่รักของหลวงพี่และอุบาสกอุบาสิกาวัดป่าธรรมคีรีทุกท่าน ” ที่มาและภาพ : www.facebook.com/WatPaThammakeeree บทความน่าสนใจ ดารา-คนดังร่วมงานแถลงข่าวโครงการบรรพชาสามเณร บวชเด็กอินเดียรุ่นที่ 3 อาลัย พระใบฎีกาธีระศักดิ์ ธัมมธีโร พระอาจารย์หนุ่มช่วยเหลือสามเณรจนมรณภาพ […]