นิพพานเทียม
พระนิพพานเป็นอุดมคติสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเข้าถึงความหลุดพ้น ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก นิพพานเทียม เป็นอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจถึง นิพพานเทียม ควรทำความรู้จักกับ ความหมายของพระนิพพานเสียก่อน ซึ่งรัชกาลทรงเคยสงสัยเรื่องความหมายของพระนิพพาน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสงสัยความหมายของพระนิพพานจึงทรงมีพระราชปุจฉา (คำถาม) นี้ถึงพระราชาคณะหลายรูป พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่หลายรูปถวายวิสัชชนา (ตอบ) พระองค์ถึงความหมายของพระนิพพานไว้น่าสนใจ จึงขอคัดวิสัชชนาของพระราชาคณะบางรูปที่วิสัชชนาได้อย่างลึกซึ้งและทำให้เข้าใจ ความหมายของพระนิพพาน มากขึ้น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมพระ
นิพพานนั้น คือ ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาแลตัณหา ความไม่รู้และความทะยานอยาก จนขันธ์ทั้งห้าไม่มีไม่เป็นต่อไป ความที่อวิชชาแลตัณหาดับไม่เหลือ ด้วยอริยมรรคสมุจเฉทปหานนี้แลชื่อว่านิพพาน
หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปีลันทน์ แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
วานยโต นิกฺขนฺติ นิพฺพานํ อถวา วานสงฺขาตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺติ นิพฺพานํ นิพฺพาติ เอเตนาติ นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติออกจากธรรมร้อยไว้ซึ่งสัตว์ ชื่อว่านิพพานนัยหนึ่งว่า ธรรมชาติออกจากตัณหา อันกล่าวคือวานะชื่อนิพพาน อีกนัยหนึ่ง นิพพานํ แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องดับแห่งเพลิง คือราคะ เป็นต้น
สมเด็จพระวันรัต (ทับ) แห่งวัดโสมนัสวิหาร ครั้งยังเป็นพระพิมลธรรม
นิพพานะ แปลว่า ดับเหตุเกิดทุกข์ ดับทุกข์เสียหมด จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง ผู้ใดทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยความรู้ความเห็นเองแล้วผู้นั้นก็ดับทุกข์สิ้นทุกข์หมด แปลนิพพานนี้ไม่ยากนัดดอก แต่ความทำให้แจ้งด้วยความรู้ความเห็นจริงนี้ยากนักเทียว ผู้ที่หลงงมอยู่ไม่รู้จักทุกข์แล้วไม่ชอบไม่อยากได้นิพพานเลย ถึงจะพูดถึงนิพพานเล่าก็ไม่มีเห็นจริง เหมือนกับคนที่มีจักษุบอดแต่กำเนิด ไม่รู้ไม่เห็นอะไรก็พูดไปตามเขาที่พูดกันฉะนั้น นั้นแล
สมเด็จพระสังฆราช (สา) แห่งวัดราชประดิษฐ์ ครั้งยังเป็นพระสาสนโสภณ ที่พระธรรมวโรดม
นิพพานศัพท์ ว่าดับ คือดับเครื่องร้อนเครื่องเผาเสีย ท่านผู้ทำเครื่องร้อนเรื่องเผาให้ดับได้แล้ว เป็น นิพฺพุโต สีติภูโต ผู้ดับแล้วเป็นผู้เย็นแล้ว หนึ่งท่านแยกเป็น 2 นิ 1 วานะ 1 นิ ว่า ออก ว่า ไม่มี วานะ ว่าผู้ร้อยไว้ คือตัณหา อาเทศ ว อักษรเป็น พ อักษร สัมฤทธิรูป เป็น นิพฺพานํ ประกอบความว่า นิพฺพานํ ออกจาก วานะ คือ ตัณหาแล้ว นิพฺพานํ ไม่มี วานะ คือตัณหา นิพฺพานํ เป็นเหตุเป็นเครื่องไม่มี วานะ ตัณหา ดังนี้ เป็นนัยวิธีหนึ่ง ก็แต่นัยว่า นิพฺพานํ ดับ คือดับเครื่องร้อนเครื่องเผา ได้ยุติกว่านัยที่แยกเป็น 2 คือ นิ 1 วานะ 1
พระพรหมมุนี (เหมือน) แห่งวัดบรมนิวาส ครั้งยังเป็นพระอริยมุนี
นิพฺพานํ นั้น ก็คำว่า นิพฺพานํ นี้มีมาก เมื่อประสงค์สังขตธรรม วิสังขาร ซึ่งไม่มีสังขตลักษณะ คือความเกิดขึ้นดับไปตั้งอยู่แปรไปแลไม่มี ตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นชัดแล้ว นิพฺพานํ แปลว่าธรรมเป็นที่ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ หรือแปลว่าธรรมเป็นที่ไม่มี วานะ ของร้อยรัดคือตัณหา
วิสัชชนาของพระราชาคณะที่ยกมานี้ทำให้เข้าใจความหมายของพระนิพพานมากขึ้น แต่ละรูปใช้ความรู้ที่มีวิสัชชนาถวายอย่างสุดกำลังเพื่อให้พระมหาบพิตรเข้าพระทัยในความหมายของพระนิพพาน อันเป็นจุดดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา หวังว่าชาวซีเคร็ตจะได้ความรู้เรื่องความหมายของนิพพานไม่น้อย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมพระ
นิพพานนั้น คือ ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาแลตัณหา ความไม่รู้และความทะยานอยาก จนขันธ์ทั้งห้าไม่มีไม่เป็นต่อไป ความที่อวิชชาแลตัณหาดับไม่เหลือ ด้วยอริยมรรคสมุจเฉทปหานนี้แลชื่อว่านิพพานหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปีลันทน์ แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
วานยโต นิกฺขนฺติ นิพฺพานํ อถวา วานสงฺขาตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺติ นิพฺพานํ นิพฺพาติ เอเตนาติ นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติออกจากธรรมร้อยไว้ซึ่งสัตว์ ชื่อว่านิพพานนัยหนึ่งว่า ธรรมชาติออกจากตัณหา อันกล่าวคือวานะชื่อนิพพาน อีกนัยหนึ่ง นิพพานํ แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องดับแห่งเพลิง คือราคะ เป็นต้นสมเด็จพระวันรัต (ทับ) แห่งวัดโสมนัสวิหาร ครั้งยังเป็นพระพิมลธรรม
นิพพานะ แปลว่า ดับเหตุเกิดทุกข์ ดับทุกข์เสียหมด จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง ผู้ใดทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยความรู้ความเห็นเองแล้วผู้นั้นก็ดับทุกข์สิ้นทุกข์หมด แปลนิพพานนี้ไม่ยากนัดดอก แต่ความทำให้แจ้งด้วยความรู้ความเห็นจริงนี้ยากนักเทียว ผู้ที่หลงงมอยู่ไม่รู้จักทุกข์แล้วไม่ชอบไม่อยากได้นิพพานเลย ถึงจะพูดถึงนิพพานเล่าก็ไม่มีเห็นจริง เหมือนกับคนที่มีจักษุบอดแต่กำเนิด ไม่รู้ไม่เห็นอะไรก็พูดไปตามเขาที่พูดกันฉะนั้น นั้นแลนิพพานเทียมง่าย ๆ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ธรรมะโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
เราสามารถเข้าถึงนิพพานโดยทำใจให้ว่างสบาย ๆ ปลอดจากความคิด แม้จะได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีกว่าไม่ได้เลย นอกจากนี้อาจจะหาตัวช่วย เช่น • ฟังเพลงบรรเลงที่ไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง ปล่อยใจให้ผ่อนคลายเบาสบายไปกับเสียงเพลง โดยไม่ต้องใส่ความคิดเข้าไปปรุงแต่ง ให้ใจของเราดื่มด่ำเป็นสุขไปกับเสียงเพลง • ชมภาพทิวทัศน์ของธรรมชาติที่ดูแล้วเย็นตาเย็นใจ ทำให้จิตใจมีความสงบปลอดโปร่งเบาสบาย • ทำงานอดิเรกที่ทำแล้วผ่อนคลาย ไม่ปล่อยความคิดให้ฟุ้งซ่านไปทางรัก โลภ โกรธ หลง • การทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เช่นนี้ ก็เป็นสภาวะของนิพพานเทียมที่ทำได้ง่าย ๆ เช่นกัน นิพพานเทียมในใจตน 1. ถ้าอยู่กับตัวเองตามลำพังก็ให้มีสติปัญญารู้กายของเราเป็นหลัก 2. ถ้ามีสิ่งอื่นที่มากระทบทางประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แม้ใจเผลอคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ก็ใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งนั้น ๆ ว่า สิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ 3. ละสิ่งที่เป็นโทษเป็นอกุศลเสีย 4. เจริญในสิ่งที่เป็นบุญกุศล 5. วางใจอย่าให้กระเพื่อมไหวไปในทางยินดียินร้าย สิ่งนี้พูดง่าย ฟังง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ทำยาก จะทำให้ได้ก็ต้องฝึก การฝึกฝนก็คือความเพียร […]
นิพพานเทียม สำหรับคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
นิพพานเทียมสำหรับคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ได้แสดงทรรศนะถึงเรื่องของ นิพพานเทียม ไว้ดังนี้ “นิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้” หรือ “นิพพานในชีวิตประจำวัน” น่าจะหมายถึงนิพพานของคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ทัศนะเช่นนี้อาจไปกระทบความเห็นของผู้ที่ตีความนิพพานอย่างเคร่งครัดว่าคือการเข้าถึงอรหันตผลเท่านั้น แต่ถ้าให้พระอาจารย์ออกความเห็นก็สามารถอนุมานเปรียบเทียบจากพระสูตรได้ดังนี้ ใน คิริมานนทสูตร นั้น พระพุทธเจ้าทรงจัดนิพพานดิบและนิพพานสุกของพระอรหันต์เป็นโลกุตรนิพพาน ส่วนโลกิยะนิพพาน ได้แก่นิพพานพรหม เป็นต้น หมายถึงพวกที่ไปเกิดในพรหมโลก เช่น อรูปพรหม อันเป็นผลมาจากการทำสมาธิจนได้ฌาน จิตเข้าไปพักอยู่ในความสงบลึก แม้จะมีความสุขสงบก็เป็นเพียงห้วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ในพรหมโลกเท่านั้น หมดอายุขัยก็ยังต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เพราะยังไม่หมดกิเลส และมีสิทธิ์พลาดพลั้งไปเกิดในอบายภูมิได้ สภาวะของนิพพานคือ สภาวะของจิตที่หมดกิเลสโดยถาวร ข้อนี้เป็นสภาวะจิตของพระอรหันต์ที่เรียกว่า “โลกุตรนิพพาน” แต่ถ้าเป็นปุถุชนคนทั่วไปแล้ว หากจิตว่างจากกิเลสยามใดก็เข้าถึงสภาวะนิพพานได้ยามนั้น การว่างจากกิเลสในที่นี้ มิได้หมายถึงหมดกิเลส เพียงแต่กิเลสถูกข่มไว้ไม่ให้แสดงตัวออกมา ลักษณะนี้เป็น “โลกิยนิพพาน” หรือนิพพานของผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เป็นนิพพานชั่วคราว อาจจะเรียกว่า “นิพพานเทียม” เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายไม่สับสน ในชีวิตประจำวันของปุถุชนที่ยังไม่หมดกิเลสนั้นยากที่จะเข้าถึงสภาวะนิพพานได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่หมั่นฝึกฝนอบรมจิตรู้ธรรมนำชีวิตแล้ว ก็อาจเข้าถึงสภาวะนิพพานเทียมได้เป็นบางช่วงบางเวลา เป็นต้นว่า เมื่อทำสมาธิเข้าถึงความสงบ จิตอยู่ในความว่างไม่มีความโลภ โกรธ หลง […]