ทำไมคนเราถึงอยากไปนิพพานทั้งที่ไม่รู้จัก โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ 

ทำไมคนเราถึงอยากไป นิพพาน ทั้งที่ไม่รู้จัก โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ  อันแรกต้องบอกก่อนว่าคนเรามันไม่เหมือนกัน คนบางคนเป็นคนที่เขามีศรัทธา ศรัทธาก็หมายความว่า ไม่เคยเห็น แต่เขาเชื่อว่ามันมี คนกลุ่มนี้ก็จะมีหลายแบบอีก ไม่เคยเห็นแต่เชื่อว่ามี แล้วก็เชื่อสักอย่างนั้น ไม่รู้เรียกงมงายหรือเปล่า ไม่อยากเรียกว่างมงาย เรียกว่าเขาเชื่อของเขาอย่างนั้น เราก็ว่าเขาไม่ได้ อาจจะเป็นบุญชาติก่อนเขาทำดีมากก็ได้ เขาเลยเชื่อ ไอ้พวกไม่เชื่อ นิพพาน นี่อาจจะบุญน้อย ทำมาน้อยก็ได้ แต่บางคน แต่บางคนเขาไม่ใช่อย่างนั้น บางคนเขามีความเห็นว่า ถ้าพระพุทธเจ้าที่เขาศรัทธาเชื่อ ในหลวงที่เขาศรัทธาเชื่อ ผู้หลักผู้ใหญ่คนฉลาดในบ้านเมืองเชื่อ เขาเชื่อตามด้วยก็โอเค เขาเป็นคนที่บริหารความเสี่ยง พวกคุณอยู่กับวงการที่ไม่เชื่อนิพพาน คุณเคยเข้าวงการเชื่อนิพพานหรือยัง ในเมื่อคุณยังยืนอยู่ฝั่งที่ไม่เชื่อนิพพาน ปากคุณก็ตะโกนโวยวายว่า นิพพานไม่มีจริง คุณไม่ลอง ไม่ลองเสี่ยงเหรอ เขาเรียกว่า บริหารความเสี่ยง คุณไม่รู้จักคำว่า “Risk Management” หรอ ทำไมชีวิตนี้คุณต้องทื่อสักขนาดนั้น พอมีคนบอกไปทางนี้ ลึก ๆ ในจิตใจของคนพวกนี้ กลัว เสียดายความชั่วที่ทำมา ใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันก็ตอบยาก ผมไม่ใช่เป็นคนพุทธมาก่อน […]

เกิดเป็นมนุษย์มีทั้งวิกฤตและโอกาสที่จะนิพพาน

เกิดเป็นมนุษย์มีทั้งวิกฤตและโอกาสที่จะ นิพพาน ธรรมะโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ เมื่อกล่าวว่าจิตทุกดวงมีศักยภาพที่จะชำระกิเลสตัณหาและสัมผัสพระนิพพานได้ หลายคนอาจเห็นแย้งว่า ในเมื่อทุกเช้าเรายังต้องแย่งกันขึ้นรถไฟฟ้า พอไปทำงานก็ต้องเจรจาเพื่อเพิ่มยอดขายเก็งกำไร แถมยังถูกเจ้านายต่อว่าทั้งวัน ลำพังศีล สมาธิ ปัญญา ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัส แล้วปุถุชนอย่างเรา ๆ จะเข้าใกล้ภาวะ นิพพาน ในชีวิตนี้หรือในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เกิดเป็นมนุษย์นั้นมีทั้งวิกฤตและโอกาส มีวิกฤตก็คือต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ อาชีพการงานนำความทุกข์มาให้ไม่น้อย เพราะต้องต่อสู้เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ปลอดภัย มีความมั่นคงในชีวิต ความต้องการของมนุษย์มีมากกว่าสัตว์โลกชนิดใด ๆ เพราะถูกตัณหาขับเคลื่อนไป ด้วยเหตุนี้หากปล่อยให้กิเลสตัณหานำพาไปแล้ว การเกิดเป็นมนุษย์ก็เท่ากับเป็นการสั่งสมกิเลสตัณหาให้พอกพูนอยู่ในจิตอย่างเหนียวแน่น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทางกายภาพและจิตของมนุษย์ เป็นโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และการพัฒนาได้ดียิ่งกว่าสัตว์โลกใด ๆ ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น หากใครมีความเห็นถูก เห็นภัยในวัฏสงสาร เบื่อหน่ายต่อการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะเข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรม ขัดเกลาจิตให้เบาบางจากกิเลสตัณหา ก็สามารถพัฒนาปัญญาเป็นอริยบุคคลได้   ที่มา :  นิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้  โดย 4 พระผู้นำทางปัญญาแห่งยุคสมัย สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ (https://www.naiin.com/product/detail/234145) Photo by NEOSiAM 2020 […]

“ด้วยรักและเมตตา” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ

ผมมักสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับความจริงของโลก ชีวิต จิตวิญญาณ ศาสนา และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวเองมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (นายแพทย์ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ) อาจจะด้วยความที่เป็นเด็กช่างสงสัย ผมจึงไม่เคยหยุดที่จะหาคำตอบหรือยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ในเรื่องการรู้แจ้งในความจริงของชีวิตก็เช่นกัน ผมจึงลงมือหาคำตอบด้วยการปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ 12 – 13 ปี โดยฝึกสมาธิทุกวัน รวมทั้งอ่านคัมภีร์ทางศาสนา เช่น มิลินทปัญหา ซึ่งผมอ่านตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมและชอบหนังสือเล่มนี้มาก เพราะได้แสดงให้เห็นการปุจฉา – วิสัชนาอย่างลึกซึ้งตลอดทั้งเล่ม รวมไปถึงหนังสือ กรรมฐาน 40 ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ และหนังสือ คู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือหลักของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน จากประสบการณ์ในวิปัสสนากรรมฐานทำให้ผมตระหนักรู้ในทุกข์คือตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของคนเราคือกองทุกข์ หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ทุกข์ หายใจออกแล้วไม่ได้หายใจเข้าก็ทุกข์…ทุกข์นี้คือความจริง แต่ทุกข์นั่นเองที่เป็นเงื่อนไขสำคัญให้จิตพ้นทุกข์ อาจเรียกได้ว่าเป็น “ข้อดี” ของความทุกข์ก็น่าจะได้ เพราะทุกข์เป็นเครื่องช่วยให้เรามีความรักความเมตตาต่อทุกชีวิต และยังช่วยให้แสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยสติปัญญา ทุกครั้งที่มีเวลาว่าง ผมจึงมักจะเฟ้นหาสถานที่ที่สงบเพื่อไปเก็บตัวปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิตามที่ต่าง ๆ หากมีเวลามากหน่อยก็ไปพักฝึกจิตใจที่วัดป่าสัก 3 – 4 วัน ถ้าไม่มีเวลาก็อาศัยการนั่งที่ข้างสระน้ำแถว […]

ปล่อยจิตให้เป็นโสด (บ้างเถอะ!) – ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

คนเราทำอะไรต้องมีเป้าหมาย โดยเริ่มจากการตั้งหางเสือ แล้วพุ่งไปที่เป้าหมาย (ปล่อยจิตให้เป็นโสด) …ดังเช่นตัวผมตั้งเป้าที่จะไปนิพพาน ผมจึงปักธงชัยไว้ที่นิพพานแล้วเดินตามเส้นทางแห่งการหลุดพ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อยก็พัก แต่ไม่เคยหยุด ทำให้ไม่ทุกข์ ไม่คาดหวัง แต่ไม่เลิก ฝึกไปเรื่อย ๆ โดยไม่ประมาท ถึงไม่ถึงเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน เหมือนการอิ่มข้าว ซึ่งเจ้าตัวเท่านั้นที่รู้ ผมใชัหลักการที่ว่า หากเส้นทางเดินถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะไว้ อย่างไรก็ไม่หลงทาง ตราบใดที่เรามั่นใจในกระบวนการ ซึ่งระหว่างทางก็อาจทำเพื่อโลกบ้าง เพื่อธรรมบ้าง ตราบนั้นเราเดินทางถึงแน่นอน มีคนเคยถามผมว่า ทำไมผมถึงตั้งเป้าเช่นนั้น หากอุปมาก็เหมือนกับคนที่เคยกินมะม่วงแล้วพบว่า อร่อย ก็เลยกินต่อ กับคนเคยกินของบูดเน่าแล้วรู้ว่าไม่อร่อย เลยเข็ดขยาดไม่กินอีก…มะม่วงอร่อยที่กล่าวถึงคือความสุขทางธรรมระดับลึก ๆ ที่เกิดขึ้นกลางใจ ทำให้ใจโล่งโปร่งสบาย ซึ่งยิ่งใหญ่และลึกซึ้งกว่าความสุขแบบโลก (สุขทางเนื้อหนัง วัตถุ สิ่งสมมุติทั้งหลาย) อย่างไม่สามารถเปรียบเทียบได้ ดังนั้นการที่ผมตั้งเป้าหมายที่จะไปนิพพานจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่กระนั้นการที่ผมทำงานเยอะและหลากหลายทำให้ตัวเองไม่ค่อยมีเวลา ผมจึงใช้หลักการ “บวชอยู่กับงาน” ดังที่ท่านพระอาจารย์พุทธทาสเคยสอนว่า “งานคือธรรม ธรรมคืองาน” แทน…ในงานทั้งหลายที่เราจำเป็นต้องทำนั้น มีทั้งโจทย์และแบบฝึกหัดให้ฝึกสติมากมาย ตั้งแต่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต จนถึงธรรมในธรรม ทุกวินาที ทุกอิริยาบถที่ผ่านไป […]

นิพพานชั่วขณะ…ละวางตัวตน ธรรมะโดย พระไพศาล วิสาโล

นิพพานคือภาวะสงบเย็นที่เกิดจากการหยุดปรุงแต่ง ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในตัวตน นิพพานมีหลายระดับ ถ้าเป็นนิพพานที่สมบูรณ์ หรือ สมุจเฉทนิโรธ เกิดขึ้นได้เมื่อหมดกิเลสสิ้นเชิง เพราะมีปัญญาแจ่มแจ้งในพระไตรลักษณ์ จนไม่มีความยึดติดถือมั่นอีกต่อไป ส่วนนิพพานชั่วขณะ หรือ ตทังคนิโรธ จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีธรรมะมาระงับดับกิเลสเป็นคราว ๆ ไป เช่น มีสติเมื่อผัสสะเกิดขึ้น ก็ไม่ปรุงเป็นตัวตน ไม่เกิดกิเลสขึ้นมา สภาวะเช่นนั้นท่านพุทธทาสเรียกว่า “จิตว่าง” จิตว่างในที่นี้คือว่างจากตัวตน ถือว่าเป็นนิพพานชั่วขณะ นี่แหละคือนิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้ คำว่า “นิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้” ยังหมายความได้อีกว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้ มนุษย์ทุกคนสามารถจะนิพพานได้ เช่น พระสาวกบางรูปบรรลุนิพพานขณะกำลังแสดงกายกรรมอยู่บนเชือก บางท่านบรรลุธรรมตอนจะหมดลมหายใจ บางท่านเกิดดวงตาเห็นธรรมขณะที่กำลังเชือดคอตนเองเพราะผิดหวังในการบวช บางท่านเป็นคนแก่เดินถือไม้เท้าแล้วล้มลง พอเห็นทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็บรรลุธรรมเดี๋ยวนั้น บางท่านบรรลุธรรมขณะที่กำลังแสดงธรรมให้คนอื่นฟังอยู่ นี่คือตัวอย่างในสมัยพุทธกาลที่แสดงว่าทุกที่ทุกเวลาเราสามารถบรรลุนิพพานได้ เพราะนิพพานมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่า “สมุจเฉทนิโรธ” เป็นนิพพานแบบหมดกิเลสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ แต่นิพพานที่ปุถุชนอย่างเราสามารถสัมผัสได้คือ นิพพานชั่วขณะ เราสัมผัสได้เมื่อมีสติในทุกผัสสะที่เกิดขึ้น เมื่อจิตว่างจากการปรุงแต่งเป็นตัวตนขณะใด ก็ถือว่านิพพานเป็นขณะ ๆ ไป…ซึ่งเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน   ที่มา  นิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้ โดย 4 พระผู้นำทางปัญญาแห่งยุคสมัย […]

“อายุ วรรณะ สุขะ พละ…ก็ใช่ว่าจะไม่ทุกข์” ธรรมะโดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ทั้งที่นิพพานเป็นอุดมคติของชาวพุทธ แต่ชาวพุทธจำนวนมากก็ละทิ้งอุดมคตินี้ไป หวังแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า หวังแต่ความสุขในชีวิตนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นหลักประกันที่ยั่งยืนเลย มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ก็ใช่ว่าจะไม่ทุกข์ อายุร้อยปีก็ยังทุกข์ ทุกข์เพราะลูก ทุกข์เพราะหลาน ร่ำรวยเป็นหมื่นล้านก็ยังกลุ้มใจ หวาดกลัวความตายอยู่นั่นเอง แม้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะไม่ได้เป็นหลักประกันความสุขที่แท้จริง แต่ชาวพุทธไทยเราก็หวังแค่นี้ ทั้งที่มนุษย์เราสามารถที่จะไปให้ไกลกว่านั้นได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โลกุตรธรรมอันประเสริฐเป็นทรัพย์ประจำตัวของทุกคน” พูดง่าย ๆ ว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงโลกุตรธรรมได้ แต่เรากลับปฏิเสธ เราละเลยที่จะใช้ศักยภาพนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพนี้อยู่ และที่สำคัญคือเราไม่คิดว่าความสุขระดับโลกุตระสำคัญกว่าความสุขแบบโลก ๆ หรือกามสุข “จะให้ทิ้งความสุขทางวัตถุเพื่อไปนิพพานน่ะหรือ…ฉันไม่อยากไปหรอก” ทั้งที่รู้ว่านิพพานประเสริฐ แต่เรายังติดในรสชาติความสุขทางกามอยู่ เมื่อใจไม่คล้อยไปทางนิพพานก็เลยไม่เห็นคุณค่า เมื่อไม่เห็นคุณค่าก็ไม่ตั้งไว้เป็นอุดมคติของชีวิต เช่นนี้นับว่าผิดจากในอดีต ชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมานั้นถือว่านิพพานเป็นอุดมคติของชีวิต ปู่ย่าตายายของเราเวลาทำบุญเสร็จเขาไม่ขออะไรมาก เขาขอแค่ว่า “นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ” (ขอให้ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยเพื่อบรรลุนิพพาน) หรืออย่างน้อยก็ขอให้ได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ เพื่อจะได้ไปนิพพาน แม้อาตมาจะไม่ค่อยแน่ใจว่า นิพพานของคนเฒ่าคนแก่นั้นหมายถึงอะไร อาจหมายถึงเมืองแก้วหรือสวรรค์ชั้นสูงสุด หรือหมายถึงภาวะที่อยู่เหนือสวรรค์ก็ได้ แต่คำอธิษฐานนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เห็นว่าความสุขทางวัตถุหรือความสุขแบบโลก ๆ เป็นความสุขที่แท้ […]

จงเห็นทุกข์แต่อย่าเป็นทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

นิพพานน้อย ๆ สามารถเข้าถึงได้ด้วยการที่เอาใจที่กำลังเป็นทุกข์มามองดูจนรู้เท่าทัน แล้วใจของเราจะเกิดการปล่อยวาง พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ในหลักอริยสัจธรรมอันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคไว้ว่า เมื่อเรารู้ทุกข์เห็นทุกข์ เราจะละสมุทัย สมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดจากตัณหานานาประการ เช่น กามตัณกา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพื่อมุ่งไปสู่ความดับทุกข์คือนิโรธหรือนิพพาน โดยนิพพานนี้เกิดจากการปฏิบัติมรรค การปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 อันประกอบด้วย สัมมาทิฐิ (มีความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (มีวาจาชอบ) สัมมาอาชีวะ (ประกอบอาชีพชอบ) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) สัมมาวายามะ (มีความเพียร) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งมั่นชอบ) เกิดขึ้นเวลาใด การประหัตประหารกิเลสก็เกิดขึ้นเวลานั้น เมื่อกิเลสดับ เราก็พบกับนิโรธหรือนิพพานเท่านั้นเอง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ทุกข์นี้ไม่ใช่ธรรมที่ควรละ แต่ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรเข้าไปกำหนดรู้ ทุกข์เป็นปริญญาตัพพกิจ คือกิจที่ควรรู้ ไม่ใช่กิจที่ควรละ ส่วนสมุทัยเป็นปหาตัพพธรรม เป็นธรรมที่บุคคลจะต้องละให้ได้ ทุกข์ที่เรานำมาพูดถึงเป็นทุกข์ธรรมดาสามัญ คือใจที่เป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ก็เกิดมาจากการดำริคิดถึง เช่น ดำริว่าเขาจากเราไป ทิ้งเราไป […]

นิพพานในออฟฟิศ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

นิพพานในออฟฟิศ: ทำงานแล้วพักไปในตัว จะได้ไม่ต้องเอาตัวไปพัก เวลาของคนส่วนใหญ่นั้นหมดไปในที่ทำงาน ความเครียดส่วนมากก็อยู่ที่การทำงานนั่นเอง คงจะดีไม่น้อย ถ้าเราใช้การทำงานเป็นการพักผ่อนไปในตัว จะได้ไม่ต้องเอาตัวไปพัก หรือพูดง่าย ๆ ว่า นิพพานในออฟฟิศ ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ขณะทำงานนั้น จิตเราอยู่ในแดนบวกหรือแดนลบ เช่น ตอนนี้เจ้านายชมจนจิตมัน +9 แล้วนะ หรือว่าเมื่อตะกี้ถูกเพื่อนร่วมงานนินทาจนจิตมัน -20 แล้ว ต้องรู้ตัวเองก่อน จากนั้นเราก็ค่อยใช้เจตนา ใช้ความจงใจให้จิตมาอยู่ตรงเลขศูนย์ คือมารู้กายรู้ใจ เนื้อเรื่องที่เรากำลังฟูหรือแฟบนั้นให้ตัดไปเลย ไม่ต้องไปรู้คำชม ไม่ต้องไปสนใจคำนินทา กลับมารู้กายรู้ใจเราก่อนที่จะเตลิดเปิดเปิงจนกู่ไม่กลับ วิธีเดียวคือต้องอาศัยเจตนาเป็นเบื้องต้น แต่เจตนาตัวนี้เป็นมหากุศล เป็นความจงใจที่จะเจริญสติ จงใจดึงจิตกลับมายังฐานที่มั่นเพื่อสะสมความคุ้นเคย หากเราทำอย่างต่อเนื่อง ต่อไปเวลาจิตออกจากฐาน มันจะกลับเข้ามาเอง คล้าย ๆ ว่าเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน จิตจะเข้า safe-house เข้าหลุมหลบภัยโดยอัตโนมัติ เรียกว่าสติเกิดเอง ถ้ามีสติรู้กายรู้ใจ นิพพานก็เกิดที่นี่และเดี๋ยวนี้แล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถหล่อเลี้ยงนิพพานไว้ได้ตลอดเวลา เราต้องอยู่กับกิจการงาน ต้องขับรถ ต้องคิดเลข จิตก็ไม่สามารถมาอยู่กับกายกับใจได้ตลอด จิตออกจากกายไปอยู่กับบัญญัติ เนื้อเรื่อง เหตุการณ์ […]

เตรียมตัวตายวันนี้ นิพพานวันนี้ ธรรมะโดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

มรณสติเป็นกรรมฐานอย่างหนึ่งที่เราทุกคนควรน้อมนำปฏิบัติ ถ้าเราระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นกับเราหรือคนที่เรารักอยู่เสมอ ความตายจะคอยเตือนและเคี่ยวเข็ญให้เราใช้เวลาทุกนาทีของชีวิตอย่างคุ้มค่า ความตายช่วยผลักดันให้เราเข้าหาธรรมะ ขวนขวายปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อเข้าถึงนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุด อย่างไรก็ดี มรณสติไม่ใช่เพียงการนึกถึงความตายที่เกิดขึ้นกับตัวเราเท่านั้น การเตรียมตัวตายที่อาตมาหมายถึงไม่ได้เน้นเฉพาะตอนใกล้ตายเท่านั้น แต่ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ขณะที่ยังเป็นปกติ มีสุขภาพดี เตรียมพร้อมด้วยการใช้ชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม เติมเต็มหน้าที่ในชีวิตมนุษย์ให้สมบูรณ์ ถ้าเราระลึกถึงความตายแล้วรู้สึกอินกับมัน ตระหนักว่าความตายได้เดินทางมาถึงเราแล้วจริง ๆ เราจะเห็นความสำคัญของการปล่อยวาง ปล่อยทั้งสิ่งที่เราชอบและวางทั้งสิ่งที่เราชัง ถ้าเรายึดติดกับสิ่งที่เราชอบ เวลาตายเราก็จะห่วงหาอาลัย ขณะเดียวกัน ถ้าเราพกความโกรธเกลียดชิงชังไว้ในใจจนถึงวาระสุดท้าย เราก็จะตายอย่างทุรนทุราย การระลึกถึงความตายทำให้เราปล่อยวางความโกรธ เพราะไม่อยากตายอย่างเป็นทุกข์ ฉะนั้น เวลาโกรธใครก็ตามให้คิดว่า “อีกไม่นานเราก็ต้องตายจากกัน แล้วจะโกรธกันไปทำไม ถ้าไม่อยากตามไปจองเวรในชาติหน้า ก็ต้องเลิกราให้อภัยกันเสียแต่เดี๋ยวนี้” เป็นต้น สำหรับคนที่กลัวตาย การระลึกถึงมรณสติอยู่เสมอ แม้จะทำให้เราต้องระลึกถึงความจริงที่ไม่อยากนึกถึง แต่การเจริญมรณสติเนือง ๆ จะทำให้จิตใจคุ้นเคยกับความตายมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความกลัวลดลง ยิ่งหมั่นทำความดีมาก ๆ ละเว้นความชั่ว ก็ยิ่งทำให้มีความกล้ามากขึ้นในการเผชิญกับความตาย ขณะเดียวกันก็ควรปฏิบัติธรรม ทำสมาธิภาวนาอยู่เสมอ จะได้หายกลัว กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว คนเรากลัวตายก็เพราะยังยึดติดถือมั่นหรือหวงแหนตัวตนอยู่ ดังที่มีสำนวนว่า “รักตัวกลัวตาย” ประโยคนี้มีความหมายที่ลึกมาก นั่นคือ เพราะรักตัว […]

สุมนา เจ้าหญิงผู้ได้สัมผัสพระนิพพาน 

สุมนา เจ้าหญิงผู้ได้สัมผัสพระนิพพาน เจ้าหญิง สุมนา เป็นขัตติยนารีแห่งแคว้นโกศล ในหลายจุดของคัมภีร์ต่างกล่าวว่า สุมนาราชกุมารีเป็นพระภคินี (พระน้องนาง) ของพระเจ้าโกศลพระองค์ก่อน จึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา (พระเจ้าอา) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เป็นพระนัดดาปกครองกรุงสาวัตถีจนเจริญรุ่งเรือง และยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ราชสำนักแคว้นโกศลต่างยึดมั่นพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทำให้เจ้าหญิงสุมนา หนึ่งในขัตติยนารีชั้นผู้ใหญ่พลอยทรงศรัทธาพระพุทธเจ้าไปด้วย เจ้าหญิงสุมนาทรงเป็นเจ้าหญิงผู้มั่งคั่งพระองค์หนึ่งในชมพูทวีปเพราะ ทรงมีราชรถถึง 500 คัน และเด็กสาวเป็นบริวารถึง 500 นาง ครั้งใดที่เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จด้วยราชรถจำนวน 500 คัน และมีเหล่าเด็กหญิง 500 นางคอยติดตาม นับว่าเป็นขบวนเสด็จของสตรีชนชั้นสูงที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งเลยในสมัยนั้น พระไตรปิฎกกล่าวว่านอกจากเจ้าหญิงสุมนาแล้ว ยังมีเจ้าหญิงจุนที พระธิดาในพระเจ้าพิมพิสารทรงมีราชรถถึง 500 คัน และบุตรีของมหาเศรษฐีอย่างนางวิสาขาก็มีรถถึง 500 คัน เช่นกัน ครั้งหนึ่งเจ้าหญิงสุมนาเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และตรัสพระปุจฉาต่อพระพุทธองค์ว่า “บุรุษ 2 คน มีลักษณะนิสัยคล้ายกันคือ เป็นผู้มีศรัทธา ศีล และปัญญาเสมอกัน แต่สิ่งที่แตกกันคือ อีกคนเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา แต่อีกคนไม่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา หากภพหน้าของเขาทั้งสองเกิดเป็นเทวดา เราจะทราบได้อย่างไรว่าเทวดาองค์ใดเกิดเป็นในอดีตชาติเป็นคนที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา […]

“นิพพานที่ได้เห็น” ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติธรรมจากแดนไกล

ประสบการณ์ที่จะแบ่งปันวันนี้เป็นประสบการณ์สดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นกับฉันเมื่อครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา นอกจากสดใหม่แล้ว ฉันยังอยากจะเก็บสิ่งที่ฉันเพิ่งได้สัมผัสมาใส่กระปุกฝากทุก ๆ ชีวิตในโลกหากปอดฉันใหญ่เท่ากับป่าทั้งป่า เธอคงพอจะเดาได้แล้วสิว่าของฝากแสนพิเศษที่ไร้คำบรรยายที่ฉันพูดถึงคืออะไร หากยังนึกไม่ออก ฉันขอให้เธอหยุดอ่านที่บรรทัดนี้ หยุดนิ่ง แล้วจินตนาการว่าเธอกำลังยืนอยู่ท่ามกลางป่าสนในเมืองหนาว รอบข้างมีละอองไอหมอกที่เย็นสนิท มองไปทางไหนก็เห็นแต่กอต้นเฟินสีเขียวสดท่ามกลางสายหมอก แหงนหน้าขึ้นฟ้าก็เห็นต้นสนสูงตระหง่านและยอดสนรางเลือน ที่นี่ไม่มีใคร มีแต่เธอและสรรพชีวิตในธรรมชาติซึ่งกำลังมองเธอด้วยสายตาอบอุ่น ลมอันเย็นชื้นที่เธอกำลังสูดเข้าทางปลายจมูกได้ระบายลงสู่ปอด เป็นความสดชื่นและเย็นฉ่ำของลมหายใจที่ปอดของเธอไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน…นี่แหละของฝากจากฉันถึงเธอ…ลมหายใจจากป่าสน ฉันมาปฏิบัติธรรมและดูแลรับใช้สังฆะเล็ก ๆ ที่มีพระสงฆ์จากเมืองไทยและพระชาวบราซิลเพียงสองรูปที่วัดป่าวิมุตติ วัดสาขาหลวงพ่อชาบนเกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ ชีวิตที่ถูกจำกัดด้วยตารางเวลาและกิจกรรมอันเรียบง่าย ทำให้ฉันมีเวลาในแต่ละวันเหลือพอที่จะอยู่กับความจริงของชีวิต หลังจากถวายอาหารเพล ฉันออกกำลังด้วยการเดินเจริญสติ ความวิเวกของสถานที่ทำให้ฉันพบว่า ชีวิตที่นี่ใกล้ชิดธรรมชาติจนไม่ยากนักที่จะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับท้องฟ้า ก้อนเมฆ พระอาทิตย์ ฝูงนก และไก่ป่าที่ขานรับรุ่งอรุณในยามเช้ารวมไปถึงพระจันทร์กับดวงดาวที่ส่องแสงในยามกลางคืนเป็นเพื่อนสัตว์ที่ออกหากินยามค่ำ เช่น กระต่ายป่าและตัวพอสซัม ซึ่งพากันกระโดดโลดเต้นอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ เช้านี้แปลกกว่าทุกวันตรงที่เมื่อฉันตื่นนอนและเปิดประตูกุฏิออกมา พระจันทร์ที่เคยส่องแสงทักทายฉันกลับหลบไปซ่อนตัวอยู่หลังม่านหมอก เมื่อเสร็จจากภาระหน้าที่ฉันก็ออกเดินเช่นทุกวัน ต่างกันแต่วันนี้ฉันต้องใส่เสื้อหนาว หมวก ถุงมือ และถุงเท้าเต็มที่ แม้จะเป็นตอนบ่าย แต่เทือกเขาทั้งเทือกและทุ่งหญ้ายังถูกปกคลุมด้วยสายหมอก ฉันออกเดินเจริญสติไปยังสถานที่พิเศษในหุบเขาที่ฉันหมายใจว่าจะไปให้ถึงในสักวันก่อนอำลาวิมุตติ สถานที่นี้ฉันขอแอบตั้งชื่อในใจว่า “หุบเขาทะเลหมอก” และของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้ตรงหน้าฉันขอเรียกว่า “นิพพานที่เห็นได้ด้วยตา” อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าฉันโอ้อวดอุตริว่าตัวเองบรรลุธรรม เพราะฉันทำได้ก็แค่นิพพานชั่วขณะตามที่พระท่านมักเอ่ยถึงในหนังสือธรรมะ เพื่อให้คนมีกำลังใจในการปฏิบัติเท่านั้น “นิพพาน” ในที่นี้คือภาพที่กล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดีโอไม่อาจบันทึกองค์ประกอบที่รวมกันเป็นรูปธรรมของคำว่า “นิพพาน” […]

ใช้ทุกข์ดับทุกข์ สัมผัสนิพพานสุข…ที่นี่และเดี๋ยวนี้ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ใจของเรานั้นมีหน้าที่ดำริไปเรื่อย ๆ ดำริไปดำริมาไม่รู้จักหยุดนิ่ง ในที่สุดไม่ว่าดำริไปเจอเรื่องที่สบายใจหรือไม่สบายใจ ก็ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ได้ทั้งนั้น (ใช้ทุกข์ดับทุกข์) เช่น ดำริไปเจอเรื่องสบายใจ มีความสุข ตัณหาก็ปรุงแต่งว่าอยากพบเจอเรื่องนั้นบ่อย ๆ อยากให้เรื่องนั้นหรือสิ่งนั้นคงอยู่ตลอดไป คนที่คิดอย่างนี้ สุดท้ายก็เป็นทุกข์ เมื่อใจดำริไปเจอเรื่องไม่สบายใจ ตัณหาก็ปรุงแต่งว่าไม่อยากเจอเรื่องนี้เลย ไม่อยากให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับเราเลย…ก็เป็นทุกข์อีกเช่นกัน วิธีดับทุกข์เพื่อสัมผัสภาวะนิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้ มีอยู่ 2 วิธีง่าย ๆ ดังนี้ 1. รู้ทันกาย ใช้กายดับทุกข์ วิธีนี้คือให้ใจเกาะกายไว้เป็นที่พึ่ง กายเป็นเกราะกำบังทุกข์ ไม่ว่ากายจะทำหรือไม่ทำอะไรก็เอาใจตามกายไป เกาะติดอาการนั้นไปตลอด ยกตัวอย่างเช่น – ถ้ากายยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม ใจก็เกาะอยู่ที่การยกนั้น – ถ้ากายวางแก้วน้ำลง ใจก็เกาะอยู่ที่การวางนั้น – ถ้ากายนั่งอยู่ ใจก็รู้ว่านั่ง – ถ้ากายยืนอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการยืน – ถ้ากายเดินอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการก้าวเดิน – ถ้ากายนอนอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการเอนตัวนอนนั้น – ถ้ากายหายใจอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่ลมหายใจเข้า – ลมหายใจออก พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ […]

นิพพานเทียมง่าย ๆ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ธรรมะโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

เราสามารถเข้าถึงนิพพานโดยทำใจให้ว่างสบาย ๆ ปลอดจากความคิด แม้จะได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีกว่าไม่ได้เลย นอกจากนี้อาจจะหาตัวช่วย เช่น •  ฟังเพลงบรรเลงที่ไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง ปล่อยใจให้ผ่อนคลายเบาสบายไปกับเสียงเพลง โดยไม่ต้องใส่ความคิดเข้าไปปรุงแต่ง ให้ใจของเราดื่มด่ำเป็นสุขไปกับเสียงเพลง •  ชมภาพทิวทัศน์ของธรรมชาติที่ดูแล้วเย็นตาเย็นใจ ทำให้จิตใจมีความสงบปลอดโปร่งเบาสบาย •  ทำงานอดิเรกที่ทำแล้วผ่อนคลาย ไม่ปล่อยความคิดให้ฟุ้งซ่านไปทางรัก โลภ โกรธ หลง •  การทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เช่นนี้ ก็เป็นสภาวะของนิพพานเทียมที่ทำได้ง่าย ๆ เช่นกัน   นิพพานเทียมในใจตน 1.  ถ้าอยู่กับตัวเองตามลำพังก็ให้มีสติปัญญารู้กายของเราเป็นหลัก 2.  ถ้ามีสิ่งอื่นที่มากระทบทางประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แม้ใจเผลอคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ก็ใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งนั้น ๆ ว่า สิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ 3.  ละสิ่งที่เป็นโทษเป็นอกุศลเสีย 4.  เจริญในสิ่งที่เป็นบุญกุศล 5.  วางใจอย่าให้กระเพื่อมไหวไปในทางยินดียินร้าย สิ่งนี้พูดง่าย ฟังง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ทำยาก จะทำให้ได้ก็ต้องฝึก การฝึกฝนก็คือความเพียร […]

ธรรมที่นำไปสู่นิพพาน โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

ธรรมที่นำไปสู่นิพพาน โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางที่นำไปสู่มรรคผลนิพพานไว้หลายนัย ใน คิริมานนทสูตร พระองค์ตรัสว่า หากดับโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฐิได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพาน ธรรมที่นำไปสู่นิพพาน โลภะ หมายถึงความทะเยอทะยานมุ่งหวังอยากได้กิเลสกาม อยากเสพในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ประการหนึ่ง กับอยากได้พวกวัตถุกาม หมายถึงสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ บุคคล สัตว์ กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ วัตถุสิ่งของ อีกประการหนึ่ง โทสะ หมายถึง ความเคืองแค้นผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นเหตุให้ประทุษร้ายเบียดเบียนผู้นั้น โมหะ หมายถึงความหลง เช่น หลงรัก หลงชัง หลงลาภยศ สรรเสริญ สุข ฯลฯ มานะ หมายถึงความถือตัวถือตน ถือว่าตนดี เด่นกว่าผู้อื่น จึงดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น ทิฐิ หมายถึงความเห็นในลัทธิที่ผิด เช่น เห็นว่าตายแล้วดับสูญไม่มีการเกิดอีก เรียกว่า […]

เจริญมรณสติ วิถีสู่นิพพาน โดย พระไพศาล วิสาโล

เจริญมรณสติ วิถีสู่นิพพาน โดย พระไพศาล วิสาโล ภาษิตทิเบตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ระหว่างวันพรุ่งนี้กับชาติหน้า ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะมาถึงก่อน” นี่คือความจริงที่เราต้องตระหนักว่า เราต้องตายอย่างแน่นอน อาจจะเป็นคืนนี้ วันนี้ หรือเดี๋ยวนี้…ชีวิตเราอาจจะไม่มีวันพรุ่งนี้ก็ได้  เจริญมรณสติ การเจริญมรณสติอยู่เสมอมีส่วนเกื้อกูลให้บรรลุนิพพานได้ทางหนึ่ง เพราะการเจริญมรณสติทำให้เราไม่ประมาท แทนที่จะเพลิดเพลินในความสุข ลุ่มหลงในการทำงานหาเงินหาทอง ยึดติดในทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ ก็จะหันมาใส่ใจสิ่งอื่นที่สำคัญกับชีวิตมากกว่า คำว่าสิ่งอื่นในที่นี้หมายถึงการทำบุญกุศล การทำความดี การทำหน้าที่ต่อคนที่เรารักและผูกพัน เช่น พ่อแม่ ลูกหลาน ตลอดจนผู้คนในชีวิต ที่เรามักละเลยเพราะมัวแต่คิดว่าตอนนี้ฉันขอทำงานก่อน ขอหาเงินก่อน ขอสนุกก่อน มรณสติจะทำให้เราหันมาสนใจคนเหล่านี้ ใส่ใจในหน้าที่ของเรา รวมทั้งหันมาใส่ใจกับการภาวนาเพื่อฝึกฝนจิตใจให้พร้อมรับความตายที่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอน ในแง่หนึ่งหมายถึงความพร้อมที่จะปล่อยวางทุกสิ่ง เพราะนอกจากจะเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างแล้ว มันยังสามารถหน่วงเหนี่ยวจิตใจให้เป็นทุกข์จนอาจทำให้ตายอย่างทุรนทุรายหากยึดติดถือมั่นจนปล่อยวางไม่ได้ สำหรับคนที่มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ มรณสติจะช่วยให้เราจดจ่อแน่วแน่อยู่กับการปฏิบัติ ไม่มัวสาละวนกับสิ่งอื่นจนลืมตัว เช่น พระบางรูปอาจวุ่นอยู่กับการสร้างวัดสร้างโบสถ์จนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม พอเจริญมรณสติก็คิดขึ้นมาได้ว่า “เอ…เราจะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ ฉะนั้นต้องหันมาขวนขวายปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ให้จริงจังมากขึ้น” มรณสติจะคอยเตือนสติไม่ให้เราเพลินกับสิ่งอื่น ช่วยให้เราแน่วแน่และตั้งมั่นในความเพียรพยายาม พระพุทธเจ้าทรงเตือนพระสาวกอยู่เนือง ๆ ว่าให้หมั่นพิจารณามรณสติเพื่อความไม่ประมาท เพราะโลกมีสิ่งดึงดูดความสนใจให้เผลอไผลได้มากมายเหลือเกิน ฉะนั้นจึงต้องหมั่นเจริญมรณสติเตือนตนอยู่เสมอ ให้ตระหนักว่า ความตายนั้นอยู่ใกล้ตัวมาก ชนิดที่ว่าเราเคี้ยวอาหารอีกเพียง […]

ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่

ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่ เราต้องทำบุญชนิดที่เป็นบุญ คือต้องเลี้ยงไก่ ไข่ออกมาแล้ว ต้องเอาไข่นั้นไปใช้เป็นเครื่องดับทุกข์ ให้เกิดความเยือกเย็น เป็นนิพพานขึ้นมาให้ได้ ไข่ของไก่คือเรื่องความเย็นในนามว่า “นิพพาน” ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่ ?   บุญ = ล้างบาป เรื่องทำบุญนี้ก็ต้องระวังอีก อย่าทำบุญเป็นการค้ากำไรเกินควร นี่ดูหนาหูหนาตามาก ทำบุญแบบค้ากำไรเกินควรนี้ คือทำบุญบาทหนึ่ง เอาวิมานหลังหนึ่งก็มี หลายหลังก็มี ทำบุญตักบาตรช้อนเดียว จะให้เกิดสวยเกิดรวยอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีธนบัตรใบเดียวทูนหัวกันหลายคน ส่งกันแล้วส่งกันอีก นั่นมันค้ากำไรเกินควร ไม่ใช่เรื่องทำบุญ เพราะว่าทำบุญนี้เขาจะทำเพื่อล้างบาป ทีนี้ถ้าปรารถนามากเกินไปอย่างนั้นมันกลับเพิ่ม เพิ่มโลภะ โทสะ โมหะ เพิ่มอะไรเข้าอีก มันไม่ใช่ล้างบาป     บุญ = น้ำโคลน ทีนี้ทำบุญนี้มันมีหลายชั้น หรือว่าล้างบาปมันก็มีหลายชั้น เช่นเราจะล้างเท้าอย่างนี้ เอาน้ำโคลนล้างก็ได้ คิดดูให้ดีเท้ามันสกปรกด้วยมูลสุนัขด้วยอะไรนี้ เราเอาน้ำโคลนล้างก็ยังได้แต่มันไม่ใช่เป็นการล้างที่ดี ทำบุญกันเดี๋ยวนี้เป็นบุญเหมือนน้ำโคลนนี้มีมากคือเอาเรื่องบุญ เรื่องวัดที่บังหน้า ไปทอดกฐินนี้ก็เพื่อไปเล่นไฟ ไปกินเหล้า ไปทำอะไรหลาย […]

5 วิธีอินกับความตาย เข้าใกล้นิพพาน โดย พระไพศาล วิสาโล

5 วิธีอินกับความตาย เข้าใกล้นิพพาน โดย พระไพศาล วิสาโล พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้แนะนำ วิธีอินกับความตาย ซึ่งเป็นการซ้อมตายในโอกาสต่าง ๆ ฝึกใจให้ละวางตัวตน หลุดพ้นจากความหลง ไว้ดังนี้ 1. ซ้อมตายก่อนนอน ก่อนนอนทุกคืนทำใจให้ผ่อนคลาย จินตนาการว่าคืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายในชีวิตของเรา ลมหายใจของเรากำลังจะหมด ร่างกายแน่นิ่งขยับเขยื้อนไม่ได้ ตัวเริ่มเย็นและแข็ง ใช่แต่เท่านั้น เรายังต้องสูญเสียทุกอย่าง ไม่ว่าคนรัก พ่อแม่ ลูกหลาน ชื่อเสียง ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ จากนั้นถามตัวเองว่า “เราพร้อมไหมที่จะไปในคืนนี้…ถ้าไม่พร้อมแล้วทำอย่างไรถึงจะพร้อม” การพิจารณาดังกล่าวจะทำให้เราตื่นขึ้นมาในวันรุ่งขึ้นด้วยความไม่ประมาท และไม่รีรอที่จะสะสางเรื่องราวที่คั่งค้าง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมตายในทุกวินาทีของชีวิต 2. ซ้อมตายก่อนเดินทาง เวลาเดินทางหรือนั่งอยู่ในยวดยานพาหนะ ให้นึกว่าเราอาจประสบอุบัติเหตุกลางทาง ออกจากบ้านแล้วอาจจะไม่ได้กลับเข้ามาอีกก็เป็นได้ นี่อาจเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเรา จากนั้นถามใจตัวเองว่า ถ้าเกิดเหตุเครื่องบินตก รถชน หรือพลิกคว่ำ ในช่วงเวลาไม่กี่วินาทีสุดท้ายของชีวิต เราจะรู้สึกอย่างไร จะวางใจอย่างไร จะตระหนกตกใจไหม จะกังวลถึงคนข้างหลังหรือไม่… ถ้าคำตอบคือ ตระหนกตกใจ ห่วงหน้าพะวงหลังและยังไม่พร้อมจะตาย เราต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวเตรียมใจ เพื่อเผชิญความตายอย่างสงบให้จริงจังมากขึ้น […]

สุญญตาทาน : ทานแห่งความว่างที่ไม่ต้องมีผู้ให้และผู้รับ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

สุญญตาทาน : ทานแห่งความว่างที่ไม่ต้องมีผู้ให้และผู้รับ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเรื่อง ” สุญญตาทาน ” ไว้ใน “ทานกถา หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทานบริจาค” ท่านแสดงธรรมนี้ไว้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2514 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่อาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง สลายความมีให้กลายเป็นความไม่มี แต่อย่างไรก็ตามสุญญตาทานเป็นทานประเภทหนึ่งที่ท่านพุทธทาสภิกขุอธิบายไว้อย่างน่าสนใจมาก ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า สุญญตาทานเป็นคำที่ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นศัพท์ที่ท่านตั้งขึ้นมา เป็นความสามารถเฉพาะตนที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของท่าน คือการเล่นคำกับความหมาย เพื่อให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในโลกียธรรม (ธรรมะระดับโลก) และโลกุตตรธรรม (ธรรมะระดับเหนือโลก) โดยความหมายของ “ทาน” แปลว่า “ให้” มักมาคู่กับคำว่า “บริจาค” แต่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่าตามจริงแล้ว ทาน และ บริจาค มีความหมายที่ต่างกัน บริจาค หมายถึง “การสละออกไปรอบด้าน” (จาคะ แปลว่า สละ ส่วนบริ แปลว่า รอบด้าน) ตรงข้ามกับคำว่า “ปฏินิสสัคคะ” แปลว่า “ให้คืน” หากเข้าใจความหมายศัพท์พระ […]

keyboard_arrow_up