ธรรมะกับการทำงาน
ก่อนที่จะเข้าใจ ธรรมะกับการทำงาน ควรเข้าใจความหมายของธรรมะเสียก่อน ธรรมะ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า
” อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา “ |
- หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
- การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
ทำงานอย่างไรให้มีความสุข ธรรมะน่าคิดจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
ทำงานอย่างไรให้มีความสุข ธรรมะน่าคิดจาก ท่าน ว.วชิรเมธี ทำงานอย่างไรให้มีความสุข หลักการมันง่ายนิดเดียว ต้องทำในสิ่งที่เรารัก หรือมิเช่นนั้นก็ต้องรักในสิ่งที่เราทำ ถ้าเราทำในสิ่งที่เรารัก เราไม่ต้องแยกความสุข ออกจากการทำงาน แค่เราได้ทำงานก็มีความสุขแล้ว พระอาจารย์มักจะถูกถามเสมอว่า อะไรคือความสำเร็จในชีวิต พระอาจารย์พูดได้เลยว่า การที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เพราะว่าการที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก รางวัลมันมาเลย 1. เราจะทำสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดีเพราะอะไร เพราะว่ามันเป็นความถนัดส่วนตัวของเราใช่ไหม เพราะมันเป็นความถนัดส่วนตัวของเรา เรารักมัน ฉะนั้นเราจึงทำได้เป็นอย่างดี เหมือนพี่เบิร์ดรักการร้องเพลง พี่เบิร์ดพอทำปุ๊บพี่เบิร์ดก็จะมีความสุขทันที แล้วไม่ต้องขัดเขินด้วย ทำอย่างง่ายดายในขณะที่มันยากสำหรับคนอื่นเพราะเขาไม่รัก แต่สำหรับพี่เบิร์ดมันง่ายมากเพราะพี่เบิร์ดรักมันใช่ไหม ฉะนั้นถ้าเรารักสิ่งไหนสิ่งนั้นจากยากจะกลายเป็นง่ายทันที และ 2. ความสุขจะอยู่ตรงนั้น คุณไม่ต้องไปแยกความสุขออกจากการทำงาน ว่าช่วงนี้เราขอทำงานก่อน เสาร์อาทิตย์ค่อยไปหาความสุขไม่ต้อง ถ้าคุณรักสิ่งใดคุณได้ทำสิ่งนั้น ความสุขจะเป็นฝาแฝดของงานโดยอัตโนมัติ คุณทำในสิ่งที่คุณรัก คุณจะได้รับความสุขเป็นของกำนัล และไม่ต้องรอเวลาถัดไปด้วย เกิดขึ้นตรงนั้นเลย พระอาจารย์เทศน์ทุกวันสอนทุกวันเขียนหนังสือทุกวัน พระอาจารย์มีความสุขทุกวัน ฉะนั้นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของพระอาจารย์ คือ ความสุข พอเราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราก็มีความสุข สุขทุกวันที่ได้ทำในสิ่งที่เรารัก ฉะนั้นก็สำเร็จทุกวัน ชีวิตประสบความสำเร็จทุกวัน เพราะเราเอาความสุขเป็นตัวตั้งในการทำงาน แต่ถ้าเรารอว่าเมื่อเราทำงานไปแล้วคนมาให้รางวัล ได้เงินเยอะ […]
วิธีทำให้เจ้านายรักด้วยธรรมะ ท่าน ว. วชิรเมธี
วิธีทำให้เจ้านายรัก ด้วยธรรมะ ท่าน ว. วชิรเมธี คลายข้อสงสัยว่าทำอย่างไรจะทำให้เจ้านายรัก ซีเคร็ตนำเสนอโอวาทธรรมน่าคิดของท่าน ว.วชิรเมธีที่ได้มอบ วิธีทำให้เจ้านายรัก ด้วยธรรมะ ดังนี้ การที่คนเราจะถูกชะตากันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า “ธาตุถูกกัน” หรือ ภาษาชาวบ้านว่า “ดวงสมพงศ์” นั่นเเหละ ในโลกนี้คนเรามีธาตุหรือจริต (behavior) แตกต่างกัน จริตบางอย่างดึงดูดกัน บางอย่างก็เป็นปฏิปักษ์กัน ถ้าเจ้านายกับเราเป็นคนละจริต รับรองว่ายากจะอยู่กันได้อย่างราบรื่น ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากเจ้านายเป็นคนศรัทธาจริต ชอบธรรมะ ชอบพระชอบวัด ชอบปาฏิหาริย์ทางจิต และกฎแห่งกรรม ใครมาคุยเรื่องศาสนาปรัชญาละตาใสแจ๋ว คุยได้เป็นวัน ๆ แต่เรื่องการเมืองละส่ายหัวดิก ส่วนลูกน้องกลับเป็นคนพุทธิจริต ชอบใช้เหตุผล รักการใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ขอรับรองว่ายากจะไปด้วยกันได้ และยากที่ลูกน้องจะชนะใจเจ้านาย วิธีทำงานแล้วให้สามารถอยู่ร่วมกับเจ้านายได้อย่างเนียนสนิทก็คือ 1. ทำงานให้ยอดเยี่ยม เมื่อทำงานดีจนเจ้านายขาดเราไม่ได้ หรือขาดแล้วองค์กรติดขัดมีปัญหา จากนั้นเจ้านายจะมองข้ามความไม่ชอบกันเป็นส่วนตัวไป สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยผลงานแท้ ๆ อยู่กันไปนาน ๆ สักวันคงรักกันเองนั่นแหละ 2. สังเกตเจ้านายให้ดีว่าเป็นคนจริตอย่างไร แล้วพยายามปรับปรุงตัวให้มีบางอย่างที่สามารถเชื่อมโยงกับเจ้านายได้ […]
ทำอย่างไรให้ กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
ทำอย่างไรให้ กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ถ้าถามว่าการทำงานและการปฏิบัติธรรมที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องทำอย่างไร เพื่อให้คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ ดังหัวข้อข้างต้นที่ว่า ” กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน “ ขณะทำงาน บางทีเราทำงานนี้ แต่จิตเราไปอยู่กับสิ่งอื่น ก่อนหน้าที่อาตมาจะไปเรียนสมาธิภาวนานั้น จิตเคยหลงเคยฟุ้งซ่านอยู่บ่อย ๆ ทำอย่างหนึ่งแล้วจิตคิดถึงอย่างหนึ่ง เขียนงานอยู่ข้างบนแล้วลงมาเข้าห้องน้ำข้างล่าง กลับขึ้นไปอีกทีหาดินสอไม่เจอ ถามตัวเองว่าวางดินสอไว้ตรงไหนหนอ หาตั้งสามตั้งสี่รอบ ไปส่องกระจกจึงร้องอ๋อ… มันคาอยู่ที่ใบหู เมื่อจิตของเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ไม่แจ่มกระจ่าง แม้แต่การดำเนินชีวิตก็ไม่ประณีต ไม่ละมุนละไม หลง ๆ ลืม ๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่จิตของเราได้รับการฝึก พฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ รวมทั้งพฤติกรรมในการทำงานทั้งหมดก็จะประณีต นุ่มนวล อ่อนโยน ลึกซึ้ง เป็นระบบระเบียบ เหมือนน้ำในบึงใหญ่ที่ใสเย็นและจืดสนิท เมื่อเราฝึกจิตดีแล้ว และกลับเข้าสู่โลกการทำงานและการดำเนินชีวิต ก็จะเกิดภาวะกายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงานยิ่งทำงานยิ่งมีประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพนั้นแสดงออกทั้งสองมิติ คือประสิทธิภาพของการดำเนินชีวิตและประสิทธิภาพของการทำงาน […]
วันที่ฝึกสติเป็น วันแห่งความสุข โดย พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)
วันที่ฝึกสติเป็น วันแห่งความสุข โดย พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ถ้าเราฝึกสติได้แล้ว อาตมาภาพรับรองได้ว่า ทุก ๆ วันที่เราตื่นนอนขึ้นมาจนหัวถึงหมอนในตอนค่ำเป็น วันแห่งความสุข อาตมาภาพหวังว่าเราทุกคนมีหนทางพ้นจากความทุกข์ มีบางคนว่า วันจันทร์วินาศ เพราะว่าเป็นวันแรกของสัปดาห์ วันอังคารวอดวาย วันพุทธหายนะ วันพฤหัสบดีร่อแร่ วันศุกร์นี่เดชะบุญ รอดไปได้อีกอาทิตย์หนึ่ง เสาร์อาทิตย์นอน ก็เป็นเช่นนี้แหละมนุษย์เรา อาตมาภาพปรารถนาให้ทุกวันเป็นวันแห่งสติ เป็นวันแห่งความสุข พระพุทธเจ้าบอกว่า “สติมโต สุเว เสยโย” “คนมีสติดีขึ้นทุกวัน ” ดังนั้นเราต้องฝึกสติ เพราะฉะนั้นลงมือเลยนะ ต่อไปนี้ลองนั่งตามสะดวก หากนั่งขัดสมาธิก็นั่งต่อไป ถ้าไม่ได้ก็พับเพียบ การนั่งขัดสมาธิก็เอาเท้าขวาทับซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา หลับตานั้นให้หลับพอดี อย่าให้สนิทมากจนปวดตา มือก็วางไว้ให้พอดี อย่าถึงกับเกร็ง วิธีทำสมาธิเบื้องต้น วิธีแรก ให้เอาสติของเราไปจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจช้า ๆ หายใจเข้ากำหนดว่า “พุท” หายใจออกกำหนดว่า “โธ” แล้วตามดูลมหายใจ […]
อิทธิบาท 4 : ทางแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างเป็นสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
อิทธิบาท 4 : ทางแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างเป็นสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) นอกจากการที่จะมีความไม่สันโดษ และสันโดษที่ถูกต้องแล้ว เพราะฉันทะทำให้ใจมาอยู่กับงาน สิ่งที่ทำ สิ่งที่เป็นเป้าหมายทำให้เกิดจิตฝักใฝ่อย่างที่ว่ามาเมื่อกี้ เมื่อใจฝักใฝ่ก็ทำงานด้วยความแน่วแน่จริงจัง สภาพที่จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กระทำนั้น เราเรียกว่าเป็น “สมาธิ” เพราะฉะนั้น ฉันทะก็นำไปสู่สมาธิ สมาธิในการทำงานเกิดได้ด้วยการมีฉันทะ เมื่อมีสมาธิและใจก็รักงานนั้น ทำงานด้วยใจรัก ใจก็เป็นสุข ใจเป็นสมาธิ สมาธิก็ทำให้เป็นสุขเพราะจิตใจสงบแน่วแน่ เมื่อทำจิตใจเป็นสมาธิ สมาธิก็ทำให้เป็นสุขเพราะจิตใจสงบแน่วแน่ ตั้งใจจริงจัง ใจรักงานนั้น ตั้งใจทำเต็มที่ มีความเพียรพยายาม ผลสำเร็จของงานก็เป็นผลสำเร็จที่ดี เรียกว่านำไปสู่ “ความเป็นเลิศ” ของงานนั้น หมายความว่า งานนั้นจะสำเร็จผลอย่างดีเลิศ อันนี้ก็เลยพันกันไปหมด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ฉันทะเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในอิทธิบาท 4 คือธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ทางแห่งความสำเร็จ” เมื่อพูดมาถึงอิทธิบาทแล้ว ก็จะต้องโยงไปถึงคุณธรรมข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะอิทธิบาท 4 […]
Dhamma Daily: หัวหน้า ไม่ให้โบนัส กลุ้มใจ ทำอย่างไรดี
หัวหน้า ไม่ให้โบนัส กลุ้มใจ ทำอย่างไรดี ถาม: ดิฉันทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งค่ะ ทุกปีจะมีการประเมินผลเพื่อปรับขึ้นเงินเดือนและพิจารณาโบนัส ดิฉันเคยถามหัวหน้าถึงข้อบกพร่องของตนเอง ที่ไม่ได้รับโบนัสและไม่ได้ปรับเงินเดือนมาตลอด หัวหน้า แจ้งว่า ไม่ควรอยากได้เงินของคนอื่น มันบาป ท่านมีความคิดอย่างไรในเรื่องนี้คะ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้ตอบคำถามเรื่องนี้ไว้ว่า คำตอบของหัวหน้าคุณฟังดูไร้สาระมาก ๆ ถ้าคุณยังเชื่อว่านั่นคือเหตุผลที่แท้จริง คุณก็คงไร้สาระตามไปด้วยอีกคนหนึ่ง (ขออภัยที่ใช้คำแรงไปหน่อย แต่อยากให้คิดให้ถี่ถ้วน) เพราะในทางปฏิบัติแล้ว การที่เราทำงานก็มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะได้รับผลแห่งการทำงานนั้นอยู่แล้ว ถ้าใช้เหตุผลอย่างที่หัวหน้าของคุณบอกว่าการอยากได้ค่าตอบแทนเท่ากับเป็นการอยากได้เงินของคนอื่น ถ้าคุณยินดีเชื่อตามตรรกะนี้ ทุกคนในบริษัทก็ล้วนแต่กำลังอยากได้เงินของคนอื่นกันอยู่ทั้งนั้น ในทางที่ถูกแล้ว คุณไม่ควรจะเชื่อหากหัวหน้าโยนคำตอบตื้น ๆ เช่นนี้มาให้ แต่คุณควรถามต่อไปว่า คุณกับหัวหน้ามีปัญหาส่วนตัวอะไรกันอยู่หรือเปล่า ทำไมเขาจึงไม่พิจารณาปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้คุณ การที่ใครคนหนึ่งทำงานให้บริษัท ก็ย่อมมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะได้รับเงินเดือน หรือการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกับบาปหรือไม่บาป นี่เป็นข้อตกลงทางกฎหมาย ไม่ใช่ข้อตกลงทางจริยธรรม ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เหตุผลที่หัวหน้าให้คุณนั้นเป็นเพียงเหตุผลแบบเด็ก ๆ เท่านั้น คุณควรถามหาเหตุผลที่จริงจังมากกว่านี้จากหัวหน้า มิเช่นนั้นแล้วก็คงไม่มีอะไรดีขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่ แล้วจะทำอย่างไรดี? หากที่ทำงานมีเรื่องการเมืองเยอะมาก อีกคำถามหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ทำงานและเจ้านาย คือ ถาม: ในที่ทำงานของผม มีการเมืองเยอะมาก เก้าอี้ไม่มั่นคง […]
แก้เครียดจากการทำงานด้วยธรรมะ บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
แก้เครียดจากการทำงานด้วยธรรมะ บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ สิ่งที่ชาวออฟฟิศหนีไม่พ้นคือ ความเครียดจากการทำงาน เช่น เครียดเรื่องงาน เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และเรื่องอื่น มีคำถามในประเด็นนี้ส่งเข้ามา ทำให้ซีเคร็ตรับรู้ว่าชาวออฟฟิศอยากได้วิธี แก้เครียดจากการทำงานด้วยธรรมะ จึงนิมนต์พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญเป็นพระอาจารย์ผู้ตอบคำถามเหล่านี้ เพื่อคลายความทุกข์ให้กับชาวออฟฟิศทุกท่าน พระอาจารย์คะ ถ้ารักงาน แต่เบื่อเจ้านาย เพราะเจ้านายไม่ดี ไม่มีความยุติธรรมในการปกครองคน แต่เราก็ไม่อยากลาออก จะทํายังไงดีคะ เรามาทํางานไม่ใช่หรือ ทําไมต้องไปสนใจสัตว์ บุคคล นายก. นายข. ด้วย ฉะนั้นตัดส่วนเกินคือคน สัตว์ บุคคลไปได้เลย…เราเรียนมามีความรู้ความสามารถ ก็จงนําความรู้ความ สามารถเหล่านั้นมาปฏิบัติหน้าที่ทําให้งานดําเนินไป ถ้าเราตัด ส่วนเกินออกไป ความทุกข์จะเกิดไม่ได้ การปรุงแต่งจะไม่เกิด ขึ้น เพราะเราไปทํางานเพื่องาน คนส่วนมากที่บอกว่าไปทํางานๆ ต้องลองหันกลับมามองดูนะว่าไปทํางานจริงหรือเปล่า ไปทํางาน หรือไปให้ถูกงาน“ทํา” ผู้ถูกงานทํา ทํางานไม่เป็น ไม่ได้ทํางาน มัวแต่เอาเวลาไปคิดนู่นนี่ไร้สาระ แล้วจะมาทํางานทําไม หากมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกันอยู่เสมอๆ เราควรทําใจอย่างไรให้สามารถทํางานร่วมกับเขาต่อไปได้คะ […]
Dhamma Daily : ทำอย่างไรดีเมื่อต้องทำงานกับ คนที่เห็นแก่ตัว
ถาม : ดิฉันต้องทำงานกับ คนที่เห็นแก่ตัว โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เขาพูดถึงดิฉันในทางที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ พอรู้ตอนแรกก็โกรธมากค่ะ แต่พอผ่านไปสักครู่ก็คิดว่าไม่เป็นไร ช่างมัน แต่เดี๋ยวก็ไม่สบายใจอีก ควรทำอย่างไรคะ
10 ข้อคิดที่ คนทำงาน ควรมีเพื่อพัฒนาตนให้ดีกว่าเดิม
10 ข้อคิดที่ คนทำงาน ควรมีเพื่อพัฒนาตนให้ดีกว่าเดิม วันนี้ซีเคร็ตมีหลักการทำงานดี ๆ มาฝาก เป็น 10 ข้อคิดที่ คนทำงาน ควรมีเพื่อพัฒนาตนให้ดีกว่าเดิม ซึ่งมาจากหลักการนักทำงาน จาก พระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นธรรมะง่าย ๆ 10 ประการ สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อให้ธรรมกับงานเป็นหนึ่งเดียวกันคือ ทำงานไปก็เหมือนปฏิบัติธรรมไปด้วย การปฏิบัติธรรมในที่นี้ไม่ใช่การภาวนาหรือการทำกรรมฐานในขณะทำงาน แต่เป็นการปฏิบัติตามข้อธรรมะของพระอาจารย์ในขณะทำงาน ทำไมเวลา Work จึงเป็นเวลาธรรม พุทธทาสภิกขุกล่าวว่า งานคือหน้าที่ คนอินเดียโบราณเรียกหน้าที่หรืองานว่า “ธรรม” ดังนั้นงานจึงเป็นธรรม ขณะที่กำลังทำงานกจึงไม่ต่างจากการปฏิบัติธรรม แต่พอพูดถึงงาน บางคนทำสีหน้าเครียดขึ้นมาเลยทันที ทำไมงานที่ว่าเป็นธรรม จึงกลายเป็นความทุกข์เมื่อนึกถึง แล้วทำไมทำแล้วกลายเป็นความทุกข์มากกว่าการมีธรรมะแล้วใจจะผ่องแผ้ว ทำอย่าง ไรให้ธรรมะกับงานรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีธรรมะใดสามารถผสานให้งานกลายเป็นธรรมได้บ้าง หลักการของนักทำงาน 10 ประการของพระราชธรรมวาทีมีดังนี้ รักจริง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือการรักในงานนั้น ๆ […]
Dhamma Daily : วิธีร่วมงานกับ คนเห็นแก่ตัว
ถาม : ดิฉันต้องทำงานกับ คนเห็นแก่ตัว โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เขาพูดถึงดิฉันในทางที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ พอรู้ตอนแรกก็โกรธมากค่ะ แต่พอผ่านไปสักครู่ก็คิดว่าไม่เป็นไร ช่างมัน แต่เดี๋ยวก็ไม่สบายใจอีก ควรทำอย่างไรคะ