ความฝันที่อยากทำพจนานุกรมภาษาบาลีดี ๆ ให้คนเรียนบาลีได้ใช้ : พระราชญาณกวี

ความฝันที่อยากทำ พจนานุกรมภาษาบาลีดี ๆ ให้คนเรียนบาลีได้ใช้ : พระราชญาณกวี เมื่อพูดถึงภาษาบาลีแล้ว หลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับฆราวาส แต่วันนี้ซีเคร็ตมีโอกาสได้สนทนากับพระราชญาณกวี แห่งวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก จึงได้ทราบว่าที่จริงแล้ว ภาษาบาลีมีความสำคัญและอยู่ใกล้ตัวคนไทยมากกว่าที่หลายคนคิด จนท่านเองมีความฝันในตอนที่เรียนจบเปรียญ 9 ประโยคว่า อยากทำ พจนานุกรมภาษาบาลีดี ๆ สักเล่มให้คนเรียนบาลีได้ใช้กัน   ภาษาบาลี ภาษาที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย “ ประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งจารึกพระไตรปิฎกด้วยภาษาบาลี จึงจำเป็นต้องศึกษาภาษาบาลีเพื่อเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ความจริงภาษาบาลีก็ไม่ได้เป็นภาษาต่างประเทศสำหรับคนไทยเลย เป็นภาษาที่คนไทยคุ้นเคย ใช้ตั้งชื่อถนนหนทาง ชื่อลูกหลาน ชื่ออาคารสถานที่ ตลอดจนถึงเวลาพูดก็พูดด้วยภาษาบาลีกันเป็นประจำ เช่น คำว่า “สามัคคี” , “เมตตา” , “กรุณา” , “มุทิตา” , “อุเบกขา” คำเหล่านี้เป็นภาษาบาลีที่พูดกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจภาษาบาลี เราจะเข้าใจคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น คำว่า “ฌาน” , “ญาณ” , […]

ความมหัศจรรย์แห่งการทำบุญไว้ในกาลก่อนของพระมหากัปปินะ

ความมหัศจรรย์แห่งการ ทำบุญ ไว้ในกาลก่อนของพระมหากัปปินะ การ ทำบุญ ไว้ในกาลก่อน เป็นมงคล 1 ใน 38 มงคลชีวิต การทำบุญเช่นนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์และมงคลอย่างไร ลองมาหาคำตอบไปด้วยกันกับเรื่องการทำบุญไว้ในกาลก่อนของพระมหากัปปินะ ในกาลก่อนได้ช่างหูกประมาณพันคนอาศัยอยู่ในบ้านตำบลหนึ่งใกล้กรุงพาราณสี ได้พากันสร้างเสนาสนะถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณพันองค์ และได้พร้อมเพรียงกันถวายภัตตาหารสมณบริขารอื่นอีกตามสมควร แก่สมณะตลอดพรรษา เวลาออกพรรษาได้พากันถวายจีวรแก่ท่าน     ครั้นช่างหูกเหล่านั้นสิ้นบุญก็ได้พากันไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พอหมดบุญก็ลงมาเกิดในสกุลกะฏุมพี ซึ่งขณะนั้นมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งอุบัติขึ้นบนโลกมีพระนามว่า “กัสสปะ” เมื่อคนเหล่านั้นทั้งหมดเจริญวัยแล้ว ต่างแต่งงานเป็นสามีภรรยาซึ่งกันและกัน ได้รวบรวมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัยถึงพันห้อง ทั้งยังถวายมหาทานแก่ภิกษุสองหมื่นรูป โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อฉลองที่อยู่อาศัยที่พวกตนสร้าง ในวันสุดท้ายหัวหน้ากะกุฏพีได้ถวายไตรจีวร ส่วนภรรยาของหัวหน้ากะฏุมพีได้บูชาพระศาสดาด้วยผ้าสาฏกสีดอกอังกาบ นางได้เปล่งเสียงขึ้นว่า “ขอหม่อมฉันจงมีพระนามว่า “อโนชา” (อังกาบ) มีสรีระมีวรรณะเพียงดังดอกอังกาบในสถานที่หม่อมฉันเกิดแล้ว ๆ “     พระกัสสปพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาว่า “ขอความปรารถนาอย่างนั้นจงสำเร็จ” ดังนี้ คนเหล่านั้นทั้งหมด ได้พากันท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสลับไปมาตลอดพุทธันดรหนึ่ง จากหลังสิ้นบุญจากเทวโลกแล้วก็มาบังเกิดในกรุงกุกกุฏวดี ได้เป็นพระราชามีพระนามว่า “มหากัปปินะ” นอกนั้น ก็บังเกิดสกุลอำมาตย์ ส่วนภรรยาของหัวหน้ากะกุฏพี เป็นราชธิดาในกรุงสาคละ แคว้นมัททะ มีพระนามว่า […]

จูฬสุภัททา สตรีผู้ทำให้ครอบครัวของสามีกลายเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

จูฬสุภัททา สตรีผู้ทำให้ครอบครัวของสามีกลายเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ จูฬสุภัททา เป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมของสตรีผู้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา นางเป็นธิดาของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก่อนที่จะออกเรือน นางมีหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารและวัตถุทานตามคำขอของบิดา สำหรับจัดเตรียมไวhถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย แต่เมื่อนางไปอยู่ในครอบครัวฝ่ายสามี หน้าที่นี้จึงตกมาเป็นของนางสุมนาเทวี ซึ่งทำให้นางสำเร็จธรรมเป็นสกทาคามี สิ่งที่นางจูฬภัททาทำไว้ในพระพุทธศาสนา คงหนีไม่พ้นการที่นางทำให้ครอบครัวสามีหันมานับถือพระพุทธศาสนา โดยเรื่องมีอยู่ว่า อุคคเศรษฐี เป็นสหายเก่าแก่ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม ๆ ทั้งสองเคยทำสัญญาต่อกันว่า หากฝ่ายใดมีลูกสาวและอีกฝ่ายมีลูกชายจะให้แต่งงานกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างแยกย้ายไปช่วยกิจการครอบครัวของตน เมื่อบิดาได้สิ้นบุญลง จากบุตรเศรษฐีก็กลายเป็นเศรษฐี วันหนึ่งอุคคเศรษฐีเดินทางมาทำการค้าขายที่กรุงสาวัตถี จำได้ว่าอนาถบิณฑิตเศรษฐีพำนักอยู่ที่เมืองนี้จึงแวะเข้าไปเยี่ยมเยือน เมื่ออุคคเศรษฐีมาถึงเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐีให้นางจูฬสุภัททาออกมาดูแลสหายเก่าของพ่อ อุคคเศรษฐีสังเกตกิริยามารยาทของนางจูฬสุภัททาแล้วก็ชื่นชอบ จึงได้ทวงสัญญาที่เคยให้กันไว้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าควรจะยกธิดาแต่งงานไปกับลูกชายของอุคคเศรษฐีหรือไม่ เพราะพวกเขาไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ธิดาของท่านเศรษฐีสามารถแต่งงานกับบุตรชายของอุคคเศรษฐีได้ไม่มีปัญหา” เมื่อทราบดังนั้นแล้วอนาถบิณฑิตเศรษฐีก็สบายใจ ทั้งสองครอบครัวได้ทำการปรึกษาหารือเพื่อตระเตรียมพิธีมงคลสมรส ก่อนถึงวันงานอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สอนให้ธิดาเป็นลูกสะใภ้และภรรยาที่ดี หลังจากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก ก่อนนางจูฬสุภัททาจะไปสู่ครอบครัวของสามี เมื่อนางจูฬสุภัททาไปอยู่ในเรือนของสามี อุคคเศรษฐีได้จัดเลี้ยงนิครนถ์ เขาบอกให้ลูกสะใภ้ออกมาไหว้นิครนถ์ นางจูฬสุภัททาตกใจที่ตนต้องไหว้ชีเปลือก นางก็ไม่ยอมออกมาทำการสักการะนักบวชนุ่งลมห่มฟ้าเหล่านั้น เพราะนางมองว่านักบวชเหล่านี้เป็นผู้ไม่มีความละอาย ทำให้อุคคเศรษฐีเกิดความไม่พอใจอย่างมาก เศรษฐีได้ถามลูกสะใภ้ว่า “ทำไมเจ้าไม่ทำความเคารพต่อนักบวชที่เราเคารพ แล้วนักบวชที่เจ้าจะเคารพพึงเป็นเช่นไหน” นางจูฬสุภัททาตอบว่า “นักบวชที่เราจะเคารพท่านต้องเป็นผู้มีกาย ใจ และสายตาที่สำรวม พูดพอประมาณ การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจสะอาดหมดจด เป็นผู้ไม่มีมลทินดุจสีของเปลือกสังข์และไข่มุก […]

นางมาคันทิยา สตรีผู้ตามจองล้างจองผลาญพระพุทธเจ้า

นางมาคันทิยา สตรีผู้ตามจองล้างจองผลาญพระพุทธเจ้า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี เชื่อว่าหลายท่านอาจจำได้ว่าครั้งที่พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บิดาและมารดาของ นางมาคันทิยา ซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ และมีความชำนาญในการดูนรลักษณ์ เมื่อได้เห็นพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็รู้ทันทีว่าพระองค์ทรงเป็นมหาบุรุษ จึงยกธิดาเพียงคนเดียวที่มีความงดงามให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธเพราะทรงมิข้องเกี่ยวกับกามคุณทั้งหลายแล้ว ทำให้นางมาคันทิยาเจ็บแค้นใจ เพราะการที่ผู้หญิงในสมัยนั้นถูกปฏิเสธเป็นเรื่องที่เสียเกียรติมาก นางจึงผูกอาฆาตพระพุทธองค์นับแต่นั้นมา     ต่อมานางมีวาสนาได้เป็นพระมเหสีอีกพระองค์ของพระเจ้าอุเทน นางค่อมชื่อว่า “ขุชชุตตรา” ได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนำมาเล่าถวายให้พระนางสามาวดีผู้เป็นพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าอุเทนสดับ ทำให้พระนางสามาวดีและบริวารอีก 500 นางบรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อนางมาคันทิยารู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี และพระอัครมเหสีทรงเลื่อมใสในพระองค์มาก ทำให้ไฟแค้นของนางประทุขึ้นมาอีกครั้ง นางมาคันทิยาไม่สามารถทำอะไรพระอัครมเหสี รวมถึงบริวารอีก 500 นางที่เลื่อมใสในพระบรมศาสดาได้ จึงหันไปเล่นงานพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการจ้างให้คนไปยืนด่าทอพระพุทธองค์ต่าง ๆ นานา     พระอานนท์ พุทธอนุชาทรงเห็นดังนั้นจึงทูลขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปประทับที่เมืองอื่น พระองค์จึงตรัสตอบว่า “เราไปที่ไหนไม่ได้หรอกอานนท์ เพราะมีแต่คนว่ากล่าวเรา” พระอานนท์จึงทูลขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปจากกรุงโกสัมพีอีกครั้ง แต่กลับไม่เป็นผล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่า “ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ต่างจากช้างศึกที่สามารถทนทานต่อลูกศรที่พุ่งมาจากทิศทั้งหลายได้ ตถาคตสามารถทนต่อคำว่ากล่าวอันหยาบคายเหล่านั้นได้ อานนท์”  ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงไม่เสด็จไปประทับที่อื่น ยังคงประทับอยู่ที่เมืองแห่งนี้ต่อไป แต่เพลิงแค้นของนางมาคันทิยายังคงลุกโชติช่วงอยู่ และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  ทำให้นางทำการวางเพลิงสังหารหมู่พระอัครมเหสีและบริวารอีก […]

นางกาณา สตรีผู้ด่าพระภิกษุ แต่ได้เป็นพระธิดาบุญธรรมของพระราชา

นาง กาณา สตรีผู้ด่าพระภิกษุ แต่ได้เป็นพระธิดาบุญธรรมของพระราชา ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ได้เกิดเหตุการณ์ขึ้นกับสตรีนางหนึ่งที่มีชื่อว่า “ กาณา ” นางเกิดในครอบครัวที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทำให้นางกลายเป็นคนที่ชอบทำบุญสุนทานมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งนางได้แต่งงานเข้าไปอยู่ในตระกูลของสามี มารดาของนางได้ทำขนมถั่วแล้วส่งมาให้ นางจึงเก็บขนมถั่วนี้ไว้ใส่บาตรในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระภิกษุบิณฑบาตผ่านหน้าเรือน นางกาณาได้ลงมาใส่บาตร ขณะที่นางกำลังกล่าวคำจบของใส่บาตรอยู่นั่นเอง สามีขางนางพาเมียน้อยเข้ามาอยู้ในบ้าน ทำให้นางกาณาเกิดความโมโหจึงดุด่าพระภิกษุไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ไม่มีพระภิกษุรูปใดกล้าบิณฑบาตผ่านเรือนของนางอีกเลย ส่วนนางกาณาเองก็ย้ายกลับไปอยู่เรือนของมารดาดังเดิม พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณจึงเสด็จไปเรือนมารดาของนางกาณา เมื่อพระพุทธองค์มาถึง มารดาได้จัดเตรียมอาสนะอย่างดีมารับรองพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับถวายข้าวยาคูแด่พระองค์ พระพุทธองค์ตรัสถามถึงนางกาณาว่าเวลานี้อยู่ที่ไหน มารดาจึงชี้ไปยังที่นางกาณายืนอยู่ ซึ่งนางกำลังร้องไห้ พระพุทธองค์ตรัสขึ้นว่า “กาณาร้องไห้ทำไม” มารดาตอบว่า “ลูกสาวจของดิฉันเสียใจที่ได้ด่าพระสาวกของพระองค์ เจ้าข้า” พระพุทธองค์ตรัสว่า “สาวกของเราทำผิดอะไรหรือกาณา”     นางกาณาได้ยินดังนั้นก็เข้ามากราบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตอบว่า “พระสาวกของพระองค์ไม่มีความผิด มีเพียงดิฉันเท่านั้นที่ผิด เจ้าข้า” จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรื่องบุพกรรมของนางกาณา เมื่อนางได้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จกลับพระเชตวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์พอดีจึงเข้าทูลถามพระบรมศาสดาว่าพระองค์เสด็จมาจากที่ใด พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เรือนของมารดานางกาณาให้พระเจ้าปเสนทิโกศลสดับ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอยากทราบว่านางกาณาเป็นพระโสดาบันจริงหรือไม่ จึงทดสอบนางโดยการเชิญนางเข้าวัง แล้วแต่งตั้งให้นางเป็นพระธิดาบุญธรรม พระองค์ทรงบำรุงนางด้วยสมบัติต่าง ๆ นานา แล้วยังมอบหมายให้มหาอำมาตย์คนหนึ่งเป็นผู้รับเลี้ยงนางแทนพระองค์ […]

บุพกรรมของพระอรหันต์ สำเร็จมรรคผลแต่หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น

บุพกรรม ของพระอรหันต์ สำเร็จมรรคผลแต่หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น บุพกรรม หมายถึงกรรมหรือการกระทำที่ได้ทำมานานมากแล้ว อาจหมายถึงสิ่งที่เคยทำไว้เมื่อในอดีตชาติ ดังเรื่องของพระอรหันต์รูปหนึ่งที่ได้สร้างบุพกรรมที่ไม่ดี แม้ท่านจะเป็นบรรลุธรรมแล้วก็ตาม แต่ยังไม่สามารถหนีกฎแห่งกรรมพ้น ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ได้ตรัสถึงเรื่องบุพกรรมของพระอรหันต์รูปหนึ่งว่า พระภิกษุผู้สำเร็จมรรคผลแล้ว เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ มาก ได้ทราบด้วยญาณว่าวิบากกรรมในอดีตชาติจะตามมาทันในวันนี้ ตนจะชดใช้ผลกรรมที่ได้ก่อขึ้นไว้ เหล่าเดียรถีย์ที่เสียลาภสักการะ เพราะประชาชนหันไปเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้ากันเป็นจำนวนมาก ก็คิดจะโจมตีพระสาวกของพระบรมศาสดา จึงจ้างโจรลงมือทำร้ายพระเถระรูปหนึ่งจนปานตาย แต่หารู้ไหมว่าพระเถระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่ทำร้ายพระอรหันต์ย่อมได้รับผลกรรมหนัก (ครุกรรม) คือตกอเวจีมหานรก บุพกรรมที่พระเถระรูปนี้ก่อไว้คือ เมื่อครั้งพระเถระเกิดเป็นบุตรชายที่มีบิดามารดาแก่ชราภาพมาก เมื่อเติบใหญ่ก็หลงใหลภรรยาสาว นางพูดอะไรตนก็เชื่อฟังหมด นางเป่าหูให้ฆ่าบิดามารดาเสีย เขาเชื่อจึงพาบิดามารดานั่งเกวียนไปยังที่แห่งหนึ่ง เขาดำเนินตามแผนไว้จึงกล่าวว่ามีโจรซุมอยู่ เมื่อลูกชายลงจากเกวียนก็แสดงทำเป็นว่าโจรบุกมา บิดามารดาคิดว่าเป็นโจรบุกจริงจึงตะโกนบอกให้บุตรชายหนีไป บุตรชายที่ปลอมตัวเป็นโจรก็ทุบตีบิดามารดาจนเสียชีวิต การทุบตีบุพการีจนกระดูกแตกละเอียด ทำให้บิดามารดาตายอย่างน่าเวทนาได้ย้อนกลับไปหาพระอรหันต์รูปแล้ว ท่านเข้าใจดีว่าไม่มีใครหนีผลกรรมที่ก่อไว้พ้นได้ ท่านจึงยินดียอมรับโทษทัณฑ์ หลังจากนั้นพระเถระก็ประสานกระดูกด้วยฤทธิ์แล้วเหาะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทูลลาปรินิพพาน พระอรหันต์รูปนี้ก็คือ พระมหาโมคคัลลานะนั่นเอง นอกจากพระมหาโมคคัลลานะแล้วยังมีพระองคุลิมาลเถระอีกรูปที่ได้รับเคราะห์กรรมหนัก ในขณะที่กำลังศึกษาธรรมเพื่อไปสู่ความหลุดพ้น เพราะตนได้สังหารให้ครบหนึ่งพ้นคน แต่สุดท้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณว่า โจรที่มีนิ้วมือรอยเป็นสร้อยคอนั้นมีกุศลที่บำเพ็ญมาระดับหนึ่ง สามารถสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลได้จึงเสด็จมาโปรดองคุลิมาลจนสุดท้ายก็กลับใจเข้าสู่ทางธรรม และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด พระองคุลิมาลได้รับทุกขเวทนาจากการถูกชาวบ้านรังเกียจ และการถูกทำร้ายร่างกายต่าง ๆ นานา แต่พระบรมศาสดาทรงสอนว่า […]

“แม้ข้าวเพียงทัพพีเดียวก็เป็นบุญ” พระพุทธเจ้าสอนญาติพระสารีบุตรเรื่องการทำบุญ

“แม้ข้าวเพียงทัพพีเดียวก็เป็นบุญ” พระพุทธเจ้าสอนญาติ พระสารีบุตร เรื่องการทำบุญ ครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ในกรุงราชคฤห์ พระสารีบุตร พระอัครสาวกผู้เป็นยอดในด้านเป็นผู้มีปัญญามากได้พำนักอยู่ ณ อารามแห่งนี้ด้วย พระสารีบุตรมาจากตระกูลพราหมณ์ ทั้งยังเป็นผู้สนใจศึกษาสัจธรรม และปรารถนาแสวงหาความหลุดพ้น จึงชักชวนเพื่อนสนิทคือพระมหาโมคคัลลานะสละเรือนออกบวชในสำนักสัญชัยเวลัฏฐบุตร เมื่อท่านได้พบกับพระอัสสชิแล้วเกิดความเลื่อมใสจึงเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อพระสารีบุตรบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ญาติผู้มีศักดิ์เป็นลุงได้แวะมาเยี่ยมท่านยังพระเวฬุวัน พระสารีบุตรก็ได้ถามไถ่ญาติว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านได้ประกอบกุศลอะไรบ้าง” “ทำสิขอรับพระคุณเจ้า กระผมทำทานทุกเดือนเลยขอรับ” “ดีแล้ว ท่านพราหมณ์ได้ให้ทานแก่ผู้ใด” “นักบวชนิครนถ์ขอรับพระคุณเจ้า” “การทำทานของท่าน หวังอานิสงส์อย่างไร” “กระผมหวังได้อุบัติในพรหมโลกขอรับพระคุณเจ้า” “แต่การทำทานแก่นิครนถ์ใช่หนทางที่จะพาท่านไปสู่พรหมโลกหรือ” “อาจารย์ของกระผมสอนมาอย่างนี้ขอรับ” “อาจารย์ของท่านพราหมณ์ไม่รู้หนทางที่จะไปสู่พรหมโลกหรอก พระศาสดาของเราทรงรู้ และเราจะพาท่านไปพบพระองค์” พระสารีบุตรได้พาญาติไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสารีบุตรได้ทูลเรื่องราวทั้งหมดถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า และทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหนทางที่นำไปสู่พรหมโลกแก่ญาติของตน พระบรมศาสดาตรัสขึ้นว่า “ท่านทราบมาดังนี้หรือท่านพราหมณ์” “ใช่แล้วขอรับพระสมณโคดมผู้เจริญ” “การจ้องมองจริยวัตรอันดีงามแห่งสาวกของเราแล้วเกิดปีติเพียงชั่วครู่เดียว หรือการตักข้าวเพียงหนึ่งทัพพีให้แก่สาวกของเรามีอานิสงส์มากกว่าทานที่ท่านพราหมณ์ทำเสียอีก”   ที่มา : อรรถกถา ธรรมบท เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ ภาพ : https://pixabay.com บทความน่าสนใจ พระสารีบุตร พระอรหันต์ผู้ […]

บรรลุธรรมทั้งครอบครัว เรื่องเล่าจากพระเชตวัน

บรรลุธรรมทั้งครอบครัว เรื่องเล่าจาก พระเชตวัน ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ พระเชตวัน ในกรุงสาวัตถี  มีอุบาสกคนหนึ่งทราบถึงคุณอันประเสริฐของพระสมณโคดมจึงเข้าไปฟังธรรม เพราะอยากทราบว่าจะเป็นจริงตามที่ล่ำลือกันหรือไม่ หลังจากเขาได้ฟังธรรมก็เกิดอยากบวชเป็นพระภิกษุในสำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อกลับมาถึงเรือนจึงบอกกับภรรยาว่าตนจะบวช เมื่อภรรยาสาวได้ยินก็ขอร้องว่า “ตอนนี้น้องกำลังท้อง ขอให้พี่อยู่กับน้องจนกว่าลูกโตได้ไหม” อุบาสกยอมอยู่กับภรรยาสาวจนกระทั่งลูกชายเดินได้ จากนั้นเขาอำลาภรรยาแล้วเดินทางไปสู่พระเชตวัน เมื่ออุบาสกผู้นี้ได้บวชเป็นพระภิกษุแล้วก็มุ่งมั่นปฏิบัติกรรมฐานตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อเขาได้เห็นคุณแห่งการเป็นพระอริยบุคคล จะทำให้ผู้นั้นไม่ห่างไกลจากพระนิพพานอย่างแน่นอน จึงอยากให้ภรรยาและลูกชายได้พ้นทุกข์ด้วย จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปยังเรือนที่ตนจากมา     พระอรหันต์ได้แสดงธรรมโปรดลูกชาย ลูกชายก็อยากบวชขอมารดาออกบวชตามอย่างบิดา เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุ และศึกษาธรรมอย่างมุ่นมั่นไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ฝ่ายมารดาที่ยังอยู่ทางโลกเมื่อทราบว่าพระลูกชายสำเร็จมรรคผล นางจึงตัดสินใจสละเรือนออกบวชในสำนักของภิกษุณี ซึ่งไม่นานนางก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์เช่นกัน เรื่องนี้ทราบไปทั่วในพระเชตวัน ทำให้เหล่าพระภิกษุสนทนาถึงเรื่องของครอบครัวที่บรรลุเป็นพระอรหันต์กันทั้งบ้าน พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จผ่านมาก็ทรงถามว่าพวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไรกัน ภิกษุทั้งหลายจึงตอบว่า กำลังสรรเสริญครอบครัวหนึ่งที่บิดา มารดา และบุตรชายได้เข้ามาบวชในสำนักของพระองค์และสำเร็จเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมด พระพุทธองค์จึงตรัสขึ้นว่า  “ภิกษุทั้งหลาย เป็นธรรมดาว่าบัณฑิตไม่พึงปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งตน (และ) ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น แต่พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีธรรมเป็นที่พึ่งโดยแท้”   ที่มา : อรรถกถา ธรรมบท เรื่อง เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม ภาพ : https://pixabay.com […]

อานนทเศรษฐี คนรวยผู้กลับชาติมา เกิดเป็นขอทาน

อานนทเศรษฐี คนรวยผู้กลับชาติมา เกิดเป็นขอทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเรื่องการ เกิดเป็นขอทาน ไว้ว่า ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีคนหนึ่งมีชื่อว่า “อานนทเศรษฐี” ซึ่งมีบุตรชื่อว่า “มูลสิริ” เศรษฐีคนนี้เป็นคนที่ร่ำรวยมาก เขามักสอนบุตรชายของตนว่า “เจ้าจงทำให้ทรัพย์เพิ่มพูน และห้ามยกทรัพย์ให้ใคร” ซึ่งครอบคลุมไปถึงเรื่องการทำบุญทำทานอีกด้วย อานนทเศรษฐีมีขุมทรัพย์ถึง 5 แห่ง แต่กลับไม่บอกใครเลยแม้กระทั่งบุตรชายที่ตนไว้วางใจให้สืบทอดการค้าต่อจากตน จนกระทั่งสิ้นบุญลงก็ไปเกิดในท้องของนางจัณฑาลคนหนึ่ง จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแต่งตั้งให้มูลสิริเป็นเศรษฐีต่อจากอานนทเศรษฐี เมื่ออานนทเศรษฐีปฏิสนธิในท้องของหญิงจัณฑาล ทำให้สามีและคนในครอบครัวไม่มีใครจ้างทำงาน แถมยังไม่ได้รับทานแม้ข้าวสักหนึ่งก้อน ทำให้ทุกคนลงความเห็นว่านางและลูกในท้องเป็นกาลกิณีจึงขับไล่ออกไป เมื่อนางจัณฑาลต้องอดทนอุ้มท้องอย่างยากลำบาก เมื่อคลอดลูกน้อยออกมาเด็กน้อยก็มีรูปลักษณ์ที่น่าเกลียดน่ากลัวเหมือนภูตผีที่ตัวเต็มไปด้วยฝุ่น แม้ลูกน้อยของนางจะน่าเกลียดน่ากลัวอย่างไรนางก็ไม่ทอดทิ้ง แต่วิบากกรรมที่เป็นคนตระหนี่มาแต่อดีตชาติส่งผลให้ถ้าหญิงจัณฑาลพาลูกไปทำงานด้วยจะไม่มีใครจ้างนาง แม้ข้าวสักหนึ่งก้อนก็ไม่ตกถึงท้อง หากนางไม่พาลูกมาด้วย นางกลับมีงานเข้ามาและได้รับทานกินจนอิ่มท้อง     เมื่อเด็กน้อยโตขึ้นพอที่จะเดินได้แล้ว หญิงจัณฑาลได้มอบจานกระเบื้องใบหนึ่งแก่ลูกและบอกว่าให้ใช้จานใบนี้รับทานจากโรงทานที่ตั้งอยู่ในกรุงสาวัตถี หรือจากผู้ที่อยากให้ทาน เด็กน้อยจึงยึดอาชีพเป็นขอทานและมุ่งหน้าสู่กรุงสาวัตถี เมื่อเดินผ่านเรือนของมูลสิริเศรษฐีก็จำได้ว่าตนเคยเป็นเจ้าของเรือนนี้เมื่อในอดีตชาติ เมื่อบุตรของอานนทเศรษฐีเห็นเด็กน้อยก็พากันร้องไห้ด้วยความกลัว และขับไล่เด็กน้อยออกไปให้พ้นเรือน พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังบิณฑบาตพร้อมด้วยพระอานนท์ พระองค์ทอดพระเนตรเหตุการณ์ทั้งหมด ทั้งยังทรงเห็นด้วยพระญาณว่าเด็กน้อยคนนี้คืออานนทเศรษฐีผู้ขี้ตระหนี่กลับชาติมาเกิด พระองค์ทรงให้พระอานนท์ไปตามมูลสิริเศรษฐีออกมาจากเรือน เมื่อมูลสิริเศรษฐีมาถึงเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทูลถามว่า “พระสมณโคดมให้ข้าพเจ้าลงมาจากเรือนด้วยเรื่องอะไร” พระพุทธองค์ตรัสว่า “ท่านรู้จักเด็กน้อยผู้นี้หรือไม่” มูลสิริเศรษฐีตอบว่า “ไม่รู้จักพระเจ้าข้า” พระพุทธองค์ตรัสต่อว่า “เด็กน้อยผู้นี้คือบิดาของท่านที่กลับชาติมาเกิด” มูลสิริเศรษฐีถึงกับอึ้งไป พระพุทธองค์กล่าวว่า […]

มารตามหาพระโคธิกเถระทำไม ? เรื่องกลับตาลปัตรของพระหลอกมาร

มารตามหา พระโคธิกเถระ ทำไม ? เรื่องกลับตาลปัตรของพระหลอกมาร ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันในกรุงราชคฤห์ ทรงปรารถถึงเหตุการณ์ที่มารตนหนึ่งตามหาตัวพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระภิกษุรูปนั้นมีชื่อว่า ” พระโคธิกเถระ ” พระโคธิกเถระเป็นพระสาวกรูปหนึ่งในพระบรมศาสดาที่มีความมุ่งมั่นที่จะไปสู่ความหลุดพ้นเฉกเช่นพระภิกษุรูปอื่นที่สละเรือนเพื่อออกบวช หลังจากฝึกฝนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ท่านเลือกถ้ำกาฬศิลา น่าจะหมายถึงถ้ำที่มีหินสีดำ ซึ่งเป็นถ้ำที่อยู่ใกล้กับเขาที่มีชื่อว่า “อิสิคิลิ” ท่านมุ่งมั่นปฏิบัติในหนทางของพระบรมศาสดาอย่างยิ่งยวดจนได้ฌาน แต่แล้วกลับถูกโรคร้ายเบียดเบียนจนฌานเสื่อม ทำให้ต้องเริ่มปฏิบัติด้วยความเพียรอีกครั้ง แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจึงทำให้ฌานของท่านเสื่อมลงไปอีก เมื่อเห็นฌานเสื่อมขนาดนี้ ท่านจึงว่าตนเองคงไม่มีวาสนาในพระศาสนาของพระสมณโคดมเสียแล้ว ท่านหยิบมีดโกนผมมาหมายจะปลิดชีพตนเอง แต่ขณะที่กำลังจะหมดลมหายใจ ได้รำลึกถึงความเสื่อมไปของฌาน ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งว่าไม่มีสิ่งใดพ้นไปจากกฎแห่งไตรลักษณ์ได้เลย มารผู้ล่อลวงให้สัตว์โลกติดอยู่ในสังสารวัฏได้ทราบามีพระสาวกของพระสมณโคดมคิดสั้ปลิดชีพตนเอง ก็กำเริบใจและจำแลงตนเป็นพระภิกษุเข้าไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อแจ้งเรื่องพระโคธิกเถระคิดสั้น     พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงล่วงรู้ทุก เช่น การเกิด-ดับของสรรพสิ่ง ซึ่งพระองค์ได้ทรงทราบถึงการมรณภาพของพระโคธิกเถระด้วยพระญาณด้วย และทรงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้านี้คือ “มัจจุมาร” จึงตรัสขึ้นว่า “เจ้าคือมารชั่วลามก” พระภิกษุจำแลงได้อันตรธานหายไปต่อพระพักตร์และพระสาวกทั้งหลายในพระเวฬุวัน  พระพุทธองค์ทรงชักชวนเหล่าพระภิกษุไปดูยังสถานที่เกิดเหตุ มัจจุมารติดตามพระพุทธองค์ไปด้วยเพพราะต้องการนำดวงวิญญาณของพระโคธิกเถระไปสู่ภพหน้า ที่มารตั้งใจไว้แล้วต้องพาไปสู่อคติภูมิอย่างแน่นอน เมื่อมัจจุมารมาถึงถ้ำกาฬศิลา กลับไม่พบดวงวิญญาณของพระโคธิกเถระเลย ทั้งยังเดินทางเสาะหาไปทั่วพิภพก็ไม่พบ มารจึงจำแลงเป็นเด็กน้อยถือพิณสีเหลืองผลมะตูมไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วทูลถามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้ดวงวิญญาณของพระโคธิกเถระผู้ฆ่าตัวตายไปอยู่ที่ใด” พระพุทธองค์ทราบว่าเด็กน้อยผู้นี้เป็นมาร แต่ก็ตรัสตอบว่า […]

ธรรม (ชาติ) พาบรรลุธรรม เรื่องเล่าประสบการณ์ของพระนักปฏิบัติครั้งสมัยพุทธกาล

ธรรม (ชาติ) พา บรรลุธรรม เรื่องเล่าประสบการณ์ของพระธุดงค์ครั้งสมัยพุทธกาล คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท มีเรื่องราวของพระอริยบุคคล บรรลุธรรม อยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องที่อ่านแล้วทำให้หัวใจผ่องใสมากคงหนีไปไม่พ้นเรื่องการบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ครั้งสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่งอบรมกรรมฐานจากพระบรมศาสดาแล้วก็ออกธุดงค์ไปทำความเพียรในป่า แต่ปฏิบัตินานหลายปีก็ไม่สำเร็จอรหัตตผลอย่างที่ตั้งใจไว้เสียที จึงคิดว่าเราจะไปทูลถามพระพุทธองค์ว่าเราปฏิบัติติดข้องตรงไหนจึงยังไม่ได้มรรค ผล นิพพาน เสียที ขณะที่ท่านกำลังเดินทางออกจากป่าเพื่อกลับไปยังพระเชตวัน แสดงว่าป่าแห่งนี้ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก ระหว่างทางได้เห็นไฟป่า จึงปีนขึ้นไปบนภูเขาลูกหนึ่ง ปรากฏว่าเส้นทางข้างหน้าที่กำลังมุ่งหน้าไปพระเชตวันเกิดไฟป่า พระภิกษุรูปนี้ได้เพ่งเปลวไฟเหล่านั้นเป็นอารมณ์ และกล่าวขึ้นว่า “ไฟเหล่านี้เผาผลาญมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ต่างจากพระอริยมรรคที่ผลาญสังโยชน์ให้สิ้นไป”  การที่พระภิกษุรูปนี้กล่าวถึงสังโยชน์ แสดงว่าท่านยังไม่สำเร็จขั้นไหนเลย เพราะขนาดพระโสดาบันยังต้องละสังโยชน์ 3 ขั้นต่ำได้ก่อน พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความคิดของพระภิกษุรูปนี้จึงจำแลงพระวรกายไปปรากฏเบื้องหน้าพร้อมทั้งพระรัศมีแล้วตรัสต่อพระภิกษุว่า “ที่เธอเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว เธอจงเผาผลาญสังโยชน์นั้นด้วยไฟคือญาณเถิด”      ไม่นานพระภิกษุก็ได้กำลังใจและปฏิบัติจนสำเร็ตญาณ และญาณนั้นก็ขจัดสังโยชน์ไปจนสิ้น เมื่อละสังโยชน์ได้แล้ว ซึ่งสังโยชน์ในที่นี้หมายถึง กิเลส แต่อย่างไรก็ตามผู้ปราศจากกิเลสก็คือพระอรหันต์ ซึ่งพระภิกษุรูปนี้ได้สำเร็จอรหัตตผลตามที่ตั้งใจไว้แล้ว เรื่องของพระภิกษุรูปนี้เห็นแสดงให้เห็นว่า ท่านสังเกตุการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เพราะธรรม (ชาติ) ได้พาท่านไปพบกับธรรม อย่างแท้จริง อีกเหตุการณ์หนึ่งคล้ายกับพระภิกษุรูปแรกที่บรรลุธรรมจากการพิจารณาไฟที่กำลังเผาไหม้ป่า แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไรลองมาติดตามเรื่องราวของพระภิกษุอีกรูปกัน พระภิกษุรูปหนึ่งหลังจากอบรมกรรมฐานจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ตัดสินใจไปทำความเพียรอยู่ในป่า แต่แล้วหลายวันผ่านไปก็ไม่มีอะไรที่บ่งบอกว่าตนเองได้มรรคผล เกิดข้อสงสัยว่าเป็นเพราะอะไรจึงมุ่งเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทันที แต่ยังไม่ทันพ้นออกจากเขตป่า ได้มองแดดที่สาดส่องมาที่พื้น […]

มาติกมาตา อุบาสิกาผู้บรรลุธรรมก่อนพระภิกษุ

มาติกมาตา อุบาสิกา ผู้บรรลุธรรมก่อนพระภิกษุ อุบาสิกา หมายถึงผู้หญิงผู้เข้าใกล้พระรัตนตรัย ซึ่งอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนาคือนางสุชาดา บุตรีเศรษฐีผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า (ศึกษาเรื่องราวของนางสุชาดาได้ที่ >>> นางสุชาดา : อุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา) เรื่องที่นำมาฝากต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของอุบาสิกานางหนึ่งในสมัยพุทธกาล ซึ่งสำเร็จมรรคและผลอย่างรวดเร็ว ลองมาหาคำตอบคลายข้อสงสัยนี้กันว่า อุบาสิกานางนี้บรรลุธรรมได้ด้วยวิธีไหน ครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ในกรุงสาวัตถี ได้ทรงปรารถเรื่องอุบาสิกาบรรลุธรรม เพื่อให้เป็นเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่พระภิกษุทั้งหลายในพระเชตวัน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งมีพระภิกษุ 60 รูปเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในอรรถกถา ธรรมบท ระบุชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “มาติกคาม” เพื่อหาสถานที่จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน และใช้สถานที่นั้นปฏิบัติกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนด้วย พระภิกษุทั้ง 60 รูป เมื่อมาถึงมาติกคาม ได้รับการต้อนรับจากอุบาสิกาที่มีชื่อว่า “มาติกมาตา” (ชื่อเดียวกับหมู่บ้านเลย  ดีไม่ดีหมู่บ้านแห่งนี้อาจเรียกตามชื่อของอุบาสิกาท่านนี้ก็เป็นได้ เพราะมาติกคามมีความหมายว่า บ้าน หรือ  หมู่บ้านของนางมาติกะนั่นเอง) นางมาติกมาตาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก นิมนต์ให้พระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วิหารในหมู่บ้านแห่งนี้ นางรับอาสาจัดเตรียมสถานที่ รวมทั้งเป็นผู้เตรียมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ไว้รับรอง รุ่งเช้าก็เตรียมอาหารสำหรับใส่บาตรไว้ใส่บาตรพระภิกษุทั้ง  60 รูป […]

กินอาหารที่เขาถวายพระภิกษุตายไปเป็นเปรต

กินอาหารที่เขาถวายพระภิกษุ ตายไปเป็นเปรต สมัยอดีตพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า “พระผุสสพุทธเจ้า” กรรมกร 3 คนในสมัยนั้นได้ลักข้าวยาคูและอาหารต่างๆ ของผู้ที่ตั้งใจจะใส่บาตรพระภิกษุ เพื่อนำให้บุตรของพวกตนกินคลายความหิว แต่พวกตนกลับกินเสียเอง ทำให้พระภิกษุไม่มีอาหารฉัน เมื่อกรรมกรทั้ง 3 ตายไปเป็นเปรต เสพความหิวโหยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครั้งถึงสมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า พวกเปรตได้เข้าเฝ้าและทูลถามพระองค์ว่าพวกตนจะกินอาหารได้เมื่อไร พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “พวกท่านยังไม่สามารถกินอาหารได้ในสมัยของเรา ในกาลข้างหน้าพระโกนาคมนพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นบนโลก ขอให้พวกท่านทูลถามจากพระองค์เถิด”  ครั้งถึงสมัยพระโกนาคมนพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดา เหล่าเปรตพากันเข้าเฝ้าและทูลถามเรื่องเดิม พระองค์ตรัสตอบว่า “พวกท่านยังไม่สามารถกินอาหารได้ในสมัยของเรา ในกาลข้างหน้าพระกัสสปพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นบนโลก ขอให้พวกท่านทูลถามจากพระองค์เถิด” พอถึงสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้าแล้ว เหล่าเปรตพากันเข้าเฝ้าพระองค์และทูลถามเรื่องเดิมอีกครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “พวกท่านยังไม่สามารถกินอาหารได้ในสมัยของเรา แต่หลังจากสมัยของเราล่วงไปอันเป็นสมัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ญาติของพวกท่านจะเกิดเป็นพระราชามีนามว่า “พิมพิสาร” และเขาจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตอนนั้นพวกท่านถึงจะกินอาหารได้” หลังจากนั้นเหล่าเปรตตั้งตารอคอยการกลับชาติมาเกิดของญาติผู้นั้น จนกระทั่งพระสมณโคดมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นบนโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายทานอย่างยิ่งใหญ่แด่พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลาย พร้อมทั้งถวายสวนไผ่ (พระเวฬุวัน) เป็นอารามแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกพำนัก ปรากฏว่าในค่ำคืนนั้นพระองค์ได้สดับเสียงประหลาดอันน่ากลัว     วันต่อไปพระเจ้าพิมพิสารเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังพระเวฬุวัน และทูลถามเรื่องเสียงประหลาด พระองค์ตรัสตอบว่า “เมื่อสมัยอดีตพระพุทธเจ้ามีพระนามว่า “พระผุสสพุทธเจ้า” ญาติของท่านในชาตินั้นได้ลักกินอาหารที่คนตั้งใจถวายพระภิกษุ เมื่อตายไปได้เกิดเป็นเปรต และได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความหิวโหย เที่ยวเข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าในอดีตมาหลายพระองค์ว่าเมื่อไรพวกข้าพเจ้าจะกินอาหารได้ […]

ธัมมิกอุบาสก อุบาสกผู้มีเทวดามารอรับไปสวรรค์

ธัมมิกอุบาสก อุบาสกผู้มีเทวดามารอรับไปสวรรค์ เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ในกรุงสาวัตถี พระองค์ได้ตรัสเรื่อง “ ธัมมิกอุบาสก ” อุบาสกผู้บำเพ็ญบุญจนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิตให้พระภิกษุทั้งหลายฟัง ครั้งนั้นมีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมในกรุงสาวัตถีมีอยู่ราว 500 คน อุบาสกหนึ่งคนจะมีบริวารถึง 500 คน หัวหน้าอุบาสกในเมืองนั้นมีบุตรชาย 7 คน และบุตรีอีก 7 คนด้วยกัน บรรดาบุตรทั้งหลายของเขาล้วนเป็นผู้ทำทาน ถวายสลากยาคู สลากภัต ปักขิกภัต สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต วัสสาวาสิกภัต นับว่าเป็น “อนุชาตบุตร” คือบุตรที่เป็นไปตามที่บิดามารดาต้องการทุกประการโดยแท้ เพราะอุบาสกคนนี้ชอบทำทาน นอกจากนั้นครอบครัวนี้ยังเป็นผู้มีศีล และถือหลักธรรมที่ชื่อว่า “กัลยาณธรรม” เป็นที่พึ่งมีความยินดีในการทำทาน ต่อมาอุบาสกคนนี้ล้มป่วยลง ขณะที่เขาล้มป่วย เขาเกิดอยากฟังธรรม จึงให้คนไปนิมนต์พระภิกษุมา 8 รูป หรือ 16 รูปก็ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบจึงมีพุทธบัญชาให้พระภิกษุไปตามที่อุบาสกคนนั้นนิมนต์ เมื่อพระภิกษุมาถึงเรือนของอุบาสก และนั่งบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ดีแล้ว ซึ่งล้อมอยู่รอบเตียงของอุบาสก อุบาสกกล่าวขอให้พระภิกษุช่วสาธยายพระสูตรอันเป็นคำสอนของพระบรมศาสดาสักหนึ่งพระสูตรให้ตนฟัง     […]

รักษาจิตอย่างเดียวพ้นทุกข์ได้  

รักษาจิต อย่างเดียวพ้นทุกข์ได้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ กรุงสาวัตถี ทรงยกตัวอย่างเรื่องพระภิกษุที่กระสัน (อยาก) สึก ให้บรรดาพระภิกษุทั้งหลายในพระเชตวันมหาวิหารฟัง โดยเรื่องมีอยู่ว่า มีบุตรเศรษฐีคนหนึ่งแวะมาเยี่ยมญาติที่บวชเป็นพระภิกษุอยู่ บุตรเศรษฐีถามพระภิกษุผู้เป็นญาติว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านช่วยแนะนำวิธีพ้นทุกข์ให้กระผมเสียหน่อยเถิดขอรับ” พระภิกษุตอบว่า “เธอจงถวายสลากภัต ปักขิกภัต วัสสาวาสิกภัต ถวายปัจจัยต่าง ๆ อันมีจีวร เป็นต้น แล้วแบ่งทรัพย์สินที่มาหาได้ออกป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทรัพย์ที่ใช้ในการทำการงาน ทรัพย์สำหรับเลี้ยงดูบุตรและภรรยา  และทรัพย์สำหรับบริจาคไว้ในพระศาสนา” บุตรเศรษฐียินดีปรีดาในคำชี้แนะนำของพระภิกษุ และน้อมรับคำสอนมาปฏิบัติ หลายวันต่อมา บุตรเศรษฐีแวะมาเยี่ยมพระภิกษุผู้เป็นญาติอีก คราวนี้ได้ถามพระภิกษุท่านว่า “พระคุณเจ้าช่วยแนะนำกระผมหน่อยขอรับว่า กระผมควรทำบุญใดที่ได้บุญยิ่งกว่าครั้งก่อนขอรับ” พระภิกษุตอบว่า “เธอจงอาราธนาและถือศีล 10 เถิด” บุตรเศรษฐีน้อมรับทันทีแล้วจากไป บุตรเศรษฐีห่างหายไปหลายวัน ก็หวนกลับมาอีกครั้ง  และถามพระภิกษุผู้เป็นญาติว่า “บุญที่ยิ่งกว่าบุญครั้งก่อนมีอีกหรือไม่ขอรับ” พระภิกษุตอบว่า “เช่นนั้นเธอจงบวชเถิด” บุตรเศรษฐีน้อมรับและบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อบุตรเศรษฐีบวชแล้ว กลับมีอาการซูบผอม บุตรเศรษฐีถึงกับเอ่ยว่า “เราตั้งใจบวชเพื่อให้พ้นทุกข์ แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิดเสียแล้ว เราพบว่าแบบนี้ทำตอนเป็นฆราวาสก็ได้ ไม่จำเป็นต้องบวช”  […]

ไม่ทำบุญก็เป็นเทวดาได้ ด้วยอานิสงส์แห่งการเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

ไม่ทำบุญก็เป็นเทวดาได้ ด้วยอานิสงส์แห่งการเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า หากถามว่าคนเกิดเป็นเทวดาเพราะอะไร คำตอบของคนส่วนใหญ่มักจะตอบว่า ทำบุญ สร้างวัด ถวายสังฆทาน และอื่น ๆ แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เชื่อว่าหลายคนอาจประหลาดใจ หรืออาจจะปลื้มปีติที่ได้ฟัง เพราะเป็นเรื่องของคน ไม่ทำบุญก็เป็นเทวดาได้ ครั้งสมัยพุทธกาลมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า “อทินนปุพพกะ” เป็นพราหมณ์ที่มีทรัพย์สินมากแต่ขี้ตระหนี่ ตรงตามชื่อของเขา ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร” เว้นแต่ตุ้มหูทองคำที่ทำให้ลูกชาย เด็กชายคนนั้นจึงมีชื่อว่า “มัฏฐกุณฑลี” (กุณฑลี แปลว่า ตุ้มหู) จนกระทั่งมัฏฐกุณฑลีเติบโตเป็นหนุ่ม แต่ไม่นานความโชคร้ายก็มาเยือนเพราะอยู่ ๆ เกิดป่วยหนัก พราหมณ์ผู้เป็นพ่อก็ไม่กล้าให้หมอมารักษา เกรงว่าทรัพย์สินเงินทองจะหมดไปกับการรักษา จึงนำบุตรชายไปนอนนอกชานของเรือน     ขณะนั้นเองพระพุทธเจ้าทรงแผ่พระญาณไปทั่วทั้งจักรวาล ภาพของมัฏฐกุณฑลีซึ่งกำลังนอนป่วยอย่างน่าเวทนา พระองค์ทรงตรวจด้วยทิพยญาณแล้วว่า อีกไม่นานมาณพผู้นี้จะต้องตาย พระองค์ปรารถนาอนุเคราะห์มัฏฐกุณฑลีจึงเสด็จไปยังเรือนของอทินนปุพพกพราหมณ์ พระองค์ดำริว่าหากมาณพได้เห็นรัศมีของพระองค์ แล้วเกิดจิตเลื่อมใสในขณะนั้น หลังจากสิ้นลมก็จะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธองค์ทรงแผ่พระรัศมีให้มาณพเห็น มัฏฐกุณฑลีเห็นก็อยากพนมมือขึ้นบูชา แต่ด้วยอาการป่วยทำให้ร่างกายอ่อนล้า ไม่สามารกยกขึ้นพนมมือได้ ทำได้แต่เพียงใช้จิตใจน้อมรำลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเลื่อมใส เมื่อมาณพลืมตาขึ้นก็พบว่าตนเองนอนอยู่ในวิมานทองคำเสียแล้ว มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร สงสัยว่าตนเองมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ได้หยิบจับสมบัติทิพย์ที่สวยงาม กลับทำให้เทพบุตรระลึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วทรงแผ่รัศมีได้ เพราะกุศลจิตที่ได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั่นเองทำให้ได้เกิดเป็นเทวดา และจดจำที่เรื่องราวต่าง ๆ […]

keyboard_arrow_up