ธรรม
ธรรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า
” อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา “ |
- หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
- การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
พึ่งตัวเองให้ได้แล้วผู้อื่นจะได้พึ่งเรา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เมื่อผู้อื่นมีทุกข์และถ้าเรายังมีทุกข์อยู่เช่นผู้อื่น แล้วเราผู้มีทุกข์จะไปช่วยให้ผู้อื่นไม่ทุกข์หรือพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร ดีไม่ดีอาจเป็นการไปเพิ่มทุกข์ หรือไปทำให้เขาทุกข์หนักขึ้นก็ได้นะ ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองพ้นไปจากทุกข์ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าเรายังทุกข์เต็มที่อยู่ ยังกลัดกลุ้มร้อนรุ่ม หงุดหงิดโมโห อาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยาอยู่ ยังเปล่าเปลี่ยวอ้างว้างหงอยเหงาอยู่ หรือยังอยากไม่รู้จบไม่รู้สิ้นอยู่ หรือพร่องอยู่เป็นนิจ ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม ยังต้องการความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นอยู่ ยังต้องการกำลังใจจากผู้อื่นอยู่ ยังต้องหวังให้ผู้อื่นปลุกใจปลอบใจอยู่ ฯลฯ แล้วอย่างนี้เราจะไปช่วยใคร ๆ ได้ เพราะแม้ตัวเราก็ยังเป็นที่พึ่งให้กับตัวไม่ได้ ช่วยตัวเราก่อนท่าน ก่อนที่จะไปช่วยผู้อื่น ดูแลตัวเอง ชื่อว่าดูแลผู้อื่น รักษาตัวเราก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นไปด้วย เพราะผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยดูแลเรา ผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยรักษาเรา เราก็จะไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่น และถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้ ต่างก็ทำกิจทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ให้ดีที่สุด สังคมก็จะมีความสงบสุข สันติภาพก็จะเกิดขึ้นจริง ๆ โดยธรรมดาทั่วไปแล้ว ถ้าเรามีสิ่งใด เราก็ย่อมจะนำสิ่งนั้นไปให้ผู้อื่นได้ แต่ถ้าตัวเราไม่มีสิ่งนั้น เราก็ไม่สามารถให้สิ่งนั้นกับใคร ๆ ได้จริง ๆ ตัวเราไม่มีความสงบสุข แล้วเราจะไปทำให้ผู้อื่นมีความสงบสุขได้อย่างไรถ้าเราไม่มีธรรมะ เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น แล้วผู้อื่นจะได้รับธรรมะจากเราได้อย่างไร ตรงข้าม ถ้าเรามีความทุกข์ […]
วิบากกรรมของปลากปิละ ปลาปากเหม็นที่มีเกล็ดเป็นทองคำ
วิบากกรรมของ ปลากปิละ ปลาปากเหม็นที่มีเกล็ดเป็นทองคำ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เกิดเรื่องประหลาดขึ้นท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงนำปลาตัวใหญ่ที่มีเกล็ดเป็นทองคำชื่อว่า ” ปลากปิละ ” เข้ามาให้พระพุทธเจ้าทอดพระเนตร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ปลาตัวใหญ่ที่มีเกล็ดเป็นทองคำมาจากชาวประมงคนหนึ่ง เขาสามารถจับปลาตัวใหญ่ตัวนี้ได้ เพราะในอดีตชาติได้เกิดโจรแต่กลับใจมารักษาศีล อานิสงส์แห่งการถือศีล ทำให้เขาเกิดเป็นเทพบุตร และกลับชาติมาเกิดอีกครั้งในตระกูลชาวประมง พระราชาทรงอยากทราบว่าเหตุใดปลาตัวนี้จึงมีเกล็ดเป็นทองคำ ซึ่งผิดธรรมชาติจากปลาทั่วไป เมื่อปลาตัวถูกนำเข้ามายังพระเชตวัน สาธุชนที่มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เห็นปลาประหลาด แต่เมื่อมันอ้าปากขึ้นกลับเกิดกลิ่นเหม็นไปทั่วพระเชตวัน เหตุการณ์นี้สร้างความสงสัยให้แก่สาธุชนเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึงอดีตชาติและวิบากกรรมของปลาตัวนี้ว่า ครั้งสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มีพี่ชายและน้องชาย คนพี่ชื่อว่า “โสธนะ” ส่วนคนน้องชื่อว่า “กปิละ” ชวนกันบวชเป็นพระภิกษุ คนพี่มุ่งมั่นปฏิบัติ (วิปัสสนาธุระ) แต่คนน้องเห็นว่าตนเองยังอายุไม่มาก ควรศึกษาปฏิเวธ (คันถธุระ) เสียก่อน พอศึกษามากเข้าก็สามารถแสดงธรรมได้ กลายเป็นที่ชื่นชอบของสาธุชนทั้งหลาย ยิ่งทำให้พระกปิละรู้สึกว่าตนเองมาถูกทาง พระภิกษุสายปฏิบัติเห็นว่า พระกปิละหลงใหลในปฏิเวธมากเกินไป ไม่ยอมปฏิบัติเสียที จึงตักเตือนเพื่อให้สนใจปฏิบัติบ้าง พระกปิละไม่พอใจจึงกล่าววาจาดูหมิ่นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แสดงให้เห็นว่าพระกปิละดื้อดึงที่จะมุ่งมาทางปฏิเวธ พระโสธนะทราบจึงเข้ามาตักเตือนพระน้องชาย แต่พระกปิละก็ต่อว่าพระโสธนะอย่างรุนแรง ภิกษุณีที่เป็นแม่และน้องสาวได้ตามมาบวชก็ต่อว่าพระภิกษุที่มาตักเตือนพระกปิละทุกรูป หลังจากนั้นจึงไม่มีใครกล้ายุ่งกับพระกปิละอีกเลย เมื่อพระโสธนะปลงสังขารและดับขันธปรินิพพาน เพราะมุ่งปฏิบัติ […]
โรงเรียนในบัลติมอร์ใช้วิธีลง “โทษ” ด้วย “ ธรรม ”
โรงเรียนในบัลติมอร์ใช้วิธีลง “โทษ” ด้วย “ ธรรม ” โรงเรียนแห่งหนึ่งในบัลติมอร์ใช้ ธรรม มาเปลี่ยนวิธีทำโทษเด็ก ๆ ที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยหรือเกเรจากการกักบริเวณไว้ในห้อง เป็นการส่งเข้าห้องเจริญสติเพื่อฝึกสมาธิแทน ตามปกติโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีลงโทษนักเรียนด้วยการสั่งพักการเรียน หรือกักบริเวณไว้ในห้องรวมกัน โดยมีจุดประสงค์ให้เด็กได้ใช้เวลาคิดทบทวนการกระทำของตัวเอง แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ผล เพราะเด็ก ๆ ก็จะนั่งมองเพดาน หรือมองเหม่ออย่างไร้จุดหมายด้วยความเบื่อหน่าย บางคนก็แอบคุยกันโดยไม่ให้ครูจับได้ เพราะห้ามคุยกัน หรือบางคนก็แกล้งทำเป็นอ่านหนังสือ แต่จริง ๆ แค่ฆ่าเวลาเท่านั้น ซึ่งเด็ก ๆ ส่วนใหญ่บอกว่า เป็นมาตรการที่งี่เง่าและน่าเบื่อมาก ดังนั้นโรงเรียนประถม Robert W. Coleman Elementary School ในบัลติมอร์ จึงสร้างความแตกต่าง เปลี่ยนวิธีลงโทษซะใหม่ด้วยการส่งนักเรียนเข้าห้องเจริญสติ ซึ่งห้องนี้จะไม่เหมือนห้องกักบริเวณที่ไม่มีหน้าต่าง ห้องเจริญสติจะมีการตบแต่ง เช่น มีโคมไฟ เบาะรองนั่ง เมื่อเข้าห้องเจริญสติ เด็ก ๆ จะถูกสอนให้ทำสมาธิโดยการดูลมหายใจ ให้หายใจเข้า หายใจออกลึก ๆ ซึ่งช่วยให้นักเรียนจอมดื้อจอมซนทั้งหลายรู้สึกผ่อนคลายลง สงบขึ้น รวมถึงช่วยให้พวกเขาจัดการกับอารมณ์โกรธหรือความวิตกกังวลของตนเองได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการให้เด็ก […]