ทำไม พระมหากัจจายนะ จึงเป็นที่เคารพและรักของเทวดา 

ทำไม พระมหากัจจายนะ จึงเป็นที่เคารพและรักของเทวดา พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี เดิมท่านมีชื่อว่า “กัญจนะ” เพราะมีรูปร่างลักษณะงามสง่า เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบพระเวททั้ง 3  และได้ขึ้นเป็นปุโรหิตแทนบิดาที่เสียชีวิตไป อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงอยากอาราธนาพระพุทธเจ้ามายังกรุงอุชเชนี จึงมอบหมายให้ปุโรหิตเป็นผู้ไปอาราธนา กัจจายนพราหมณ์พร้อมด้วยบริวารทั้ง 7 ได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อไปถึงแล้วได้ฟังธรรมก็บรรลุอรหัตตผลกันทั้งหมด จึงทูลขอบวชในสำนักของพระองค์ และอาราธนาพระพุทธเจ้ามายังกรุงอุชเชนี ทำให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในที่แห่งนี้ ด้วยพระมหากัจจายนะเป็นปราชญ์มาตั้งแต่ตอนเป็นฆราวาส ท่านได้ใช้ความสามารถที่มีอธิบายธรรมะของพระพุทธเจ้าได้โดยย่อ แล้วผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ พระพุทธเจ้าทรงสถาปนาพระมหากัจจายนะว่าเป็นเอตทัคคะคือผู้อธิบายความย่อโดยพิสดารนั่นเอง ตามจริงแล้วชาวพุทธคุ้นเคยกับพระเถระรูปนี้เป็นอย่างดี เพราะได้รับการเคารพนับถือในทุกหลังคาเรือน และในวัดวาอารามก็มีรูปเคารพของท่านในรูปลักษณ์ของพระอ้วน ซึ่งแต่เดิมพระมหากัจจายนะไม่ได้อ้วนเหมือนอย่างในรูปเคารพ เหตุที่ท่านต้องจำแลงกายให้อ้วนมีเหตุมาจาก เวลาที่พระมหากัจจายนะเดินทางไปที่ใด เหล่าเทวดาและมนุษย์ที่ได้เห็นท่าน ต่างคิดว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้า เพราะมีรูปลักษณ์ที่เปล่งปลั่งเหมือนพระองค์ เพื่อไม่ให้เป็นการเทียบเสมอพระบรมศาสดา ท่านจึงจำแลงกายเป็นคนอ้วน นอกจากเรื่องที่เล่ามาของพระมหากัจจายนะแล้ว ท่านยังเป็นพระเถระที่เทวดารักและเคารพ ครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่บุพพาราม อันเป็นวัดที่นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย ในวันนั้นท้าวสักกะเทวราช (หรือพระอินทร์) ได้เสด็จจากสวรรค์มานมัสการพระพุทธเจ้า แต่ไม่พบพระมหากัจจายนะจึงรำพึงขึ้นว่า “ทำไมไม่พบพระอาจารย์หนอ” ตอนนั้นพระมหากัจจายนะอาศัยอยู่ที่อวันตีชนบท ได้เดินทางมาถึง เมื่อพระเถระนั่งลงบนอาสนะ ท้าวสักกะเทวราชได้เข้าไปนวดบีบข้อเท้าของพระเถระแล้วกล่าวว่า “พระอาจารย์ของเรามาแล้ว เรายินดียิ่งในการมาของท่าน” พอนวดข้อเท้าเสร็จ ท้าวสักกะเทวราชก็บูชาพระมหากัจจายนะด้วยดอกไม้และเครื่องหอมทิพย์ แล้วไปยืนอยู่ในจุดหนึ่งอย่างสงบเพื่อฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระภิกษุบางรูปในอารามแห่งนี้ยังเป็นปุถุชนจึงกล่าวประกาศขึ้นว่า […]

จูฬสุภัททา สตรีผู้ทำให้ครอบครัวของสามีกลายเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

จูฬสุภัททา สตรีผู้ทำให้ครอบครัวของสามีกลายเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ จูฬสุภัททา เป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมของสตรีผู้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา นางเป็นธิดาของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก่อนที่จะออกเรือน นางมีหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารและวัตถุทานตามคำขอของบิดา สำหรับจัดเตรียมไวhถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย แต่เมื่อนางไปอยู่ในครอบครัวฝ่ายสามี หน้าที่นี้จึงตกมาเป็นของนางสุมนาเทวี ซึ่งทำให้นางสำเร็จธรรมเป็นสกทาคามี สิ่งที่นางจูฬภัททาทำไว้ในพระพุทธศาสนา คงหนีไม่พ้นการที่นางทำให้ครอบครัวสามีหันมานับถือพระพุทธศาสนา โดยเรื่องมีอยู่ว่า อุคคเศรษฐี เป็นสหายเก่าแก่ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม ๆ ทั้งสองเคยทำสัญญาต่อกันว่า หากฝ่ายใดมีลูกสาวและอีกฝ่ายมีลูกชายจะให้แต่งงานกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างแยกย้ายไปช่วยกิจการครอบครัวของตน เมื่อบิดาได้สิ้นบุญลง จากบุตรเศรษฐีก็กลายเป็นเศรษฐี วันหนึ่งอุคคเศรษฐีเดินทางมาทำการค้าขายที่กรุงสาวัตถี จำได้ว่าอนาถบิณฑิตเศรษฐีพำนักอยู่ที่เมืองนี้จึงแวะเข้าไปเยี่ยมเยือน เมื่ออุคคเศรษฐีมาถึงเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐีให้นางจูฬสุภัททาออกมาดูแลสหายเก่าของพ่อ อุคคเศรษฐีสังเกตกิริยามารยาทของนางจูฬสุภัททาแล้วก็ชื่นชอบ จึงได้ทวงสัญญาที่เคยให้กันไว้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าควรจะยกธิดาแต่งงานไปกับลูกชายของอุคคเศรษฐีหรือไม่ เพราะพวกเขาไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ธิดาของท่านเศรษฐีสามารถแต่งงานกับบุตรชายของอุคคเศรษฐีได้ไม่มีปัญหา” เมื่อทราบดังนั้นแล้วอนาถบิณฑิตเศรษฐีก็สบายใจ ทั้งสองครอบครัวได้ทำการปรึกษาหารือเพื่อตระเตรียมพิธีมงคลสมรส ก่อนถึงวันงานอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สอนให้ธิดาเป็นลูกสะใภ้และภรรยาที่ดี หลังจากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก ก่อนนางจูฬสุภัททาจะไปสู่ครอบครัวของสามี เมื่อนางจูฬสุภัททาไปอยู่ในเรือนของสามี อุคคเศรษฐีได้จัดเลี้ยงนิครนถ์ เขาบอกให้ลูกสะใภ้ออกมาไหว้นิครนถ์ นางจูฬสุภัททาตกใจที่ตนต้องไหว้ชีเปลือก นางก็ไม่ยอมออกมาทำการสักการะนักบวชนุ่งลมห่มฟ้าเหล่านั้น เพราะนางมองว่านักบวชเหล่านี้เป็นผู้ไม่มีความละอาย ทำให้อุคคเศรษฐีเกิดความไม่พอใจอย่างมาก เศรษฐีได้ถามลูกสะใภ้ว่า “ทำไมเจ้าไม่ทำความเคารพต่อนักบวชที่เราเคารพ แล้วนักบวชที่เจ้าจะเคารพพึงเป็นเช่นไหน” นางจูฬสุภัททาตอบว่า “นักบวชที่เราจะเคารพท่านต้องเป็นผู้มีกาย ใจ และสายตาที่สำรวม พูดพอประมาณ การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจสะอาดหมดจด เป็นผู้ไม่มีมลทินดุจสีของเปลือกสังข์และไข่มุก […]

นกแขกเต้าผู้ทำให้ วิมานพระอินทร์ สั่นไหว

นกแขกเต้าผู้ทำให้ วิมานพระอินทร์ สั่นไหว ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหารในกรุงสาวัตถี ได้ทรงเทศนาเรื่อง วิมานพระอินทร์ หรือท้าวสักกะเทวราชสั่นไหว เพราะนกแขกเต้าเพียงตัวเดียว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ลองมาฟังไปพร้อมกันค่ะ ก่อนที่พระบรมศาสดาจะทรงเล่าเรื่องราวของนกแขกเต้าตัวนี้ ได้เกิดเรื่องน่าประทับใจขึ้นในกรุงสาวัตถีจนเป็นที่เลื่องลือไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย เป็นเรื่องของพระภิกษุที่มีชื่อว่า “นิคมติสสะ” ท่านมักไปบิณฑบาตที่บ้านญาติของตนทุกวันไม่มีขาด แม้จะพำนักอยู่ที่พระเชตวันวิหารในกรุงสาวัตถี ซึ่งมีพระเจ้าปเสนทิโกศลและอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้อุปถัมภ์ก็ตาม ด้วยกิจวัตรของพระนิคมติสสะที่มุ่งมั่นไปบิณฑบาตที่บ้านของญาติอยู่เป็นนิจก็กระจายไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย จนกระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนี้เข้า พระองค์ทรงมีรับสั่งให้พระนิคมติสสะเข้าเฝ้าทันที พระบรมศาสดาทรงถามว่า “นิคมติสสะ ทำไมเธอจึงเลือกไปบิณฑบาตเฉพาะที่บ้านญาติเท่านั้น” พระนิคมติสสะถามถวายว่า “พระภิกษุในกรุงสาวัตถีได้รับการอุปถัมภ์อย่างประเสริฐสุดจากพระเจ้าปเสนทิโกศลและอนาถบิณฑิกเศรษฐี แต่ข้าพพระองค์ต้องการรับทานที่ไม่ต้องประณีต หรือประณีตก็ได้อันมาจากศรัทธาของบุคคลทั่วไป ไม่ว่าทานนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ล้วนหล่อเลี้ยงร่างกายของข้าพเจ้าได้ทั้งนั้น”     การตอบของพระนิคมติสสะแสดงให้เห็นว่าพระภิกษุรูปนี้ไม่เลือกที่จะได้รับทานอันประณีตบรรจง แต่ท่านต้องการทานตามมีตามเกิดของคนทั่วไป ซึ่งมีอยู่ในเขตอันเป็นหมู่บ้านที่ท่านเกิดนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสขึ้นว่า “ดีแล้ว ๆ ความมักน้อยเป็นกิจและเป็นประเพณีของเรา” จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงพากันสาธุการและสรรเสริญพระนิคมติสสะ และแล้วพระบรมศาสดาตรัสขึ้นว่า “ครั้งในอดีตกาลนานมา มีนกแขกเต้าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่บนต้นมะเดื่อต้นหนึ่งในป่าใกล้แม่น้ำคงคา แล้วกินผลมะเดื่อบนต้นนั้นเป็นอาหาร เวลากระหายก็จะบินมากินน้ำที่แม่น้ำคงคาเป็นประจำ จนกระทั่งต้นมะเดื่อหักโค้นลง นกแขกเต้าก็ไม่ยอมไปไหน  เพราะมีความผูกพันกับต้นมะเดื่อ นกตัวนี้เป็นพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีมาหลายภพหลายชาติจึงทำให้วิมานของพระอินทร์สั่นไหว พระอินทร์พร้อมด้วยพระนางสุชาดาต้องลงมายังโลกมนุษย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้วิมานสั่นไหว จนทราบว่ามีนกแขกเต้ากำลังหิวโหยอย่างน่าเวทนา พระอินทร์และพระนางสุชาดาได้สนทนาธรรมกับนกแขกเต้าจนเป็นพอพระทัย พระอินทร์จึงเนรมิตให้ต้นมะเดื่อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง” นกแขกเต้าตัวนั้นต่อมาคือพระสมณโคดมพุทธเจ้าพระองค์นี้นี่เอง […]

ทำไมเทวดาถึงอยากใส่บาตรพระมหากัสสปะ

ทำไมเทวดาถึงอยากใส่บาตร พระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะ เป็นพระสาวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ (เอตทัคคะ) ในด้านทรงธุดงควัตรและสรรเสริญการธุดงค์ เดิมทีท่านเป็นกุลบุตรในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งแคว้นมคธ หลังจากได้รับมรดกจากครอบครัวจึงคิดได้ว่าบาปในสมบัติเหล่านี้ย่อมตกแก่ตนจึงสละเรือนออกบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งพระมหากัสสปะออกจากนิโรธสมาบัติ ได้คิดว่าจะบิณฑบาตโปรดสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงภิกขาจารไปยังตรอกในกรุงราชคฤห์ เทพธิดาทั้ง 500 นาง ซึ่งเป็นข้าบาทบริจาริกาแห่งท้าวสักกะเทวราชได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตามจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เกิดอยากใส่บาตรพระมหากัสสปะ พระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติในธุดงควัตร เพราะได้กลิ่นหอมจากกายของพระเถระฟุ้งไปถึงสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหล่านางเทพธิดาลงมายังโลกมนุษย์พร้อมกับอาหารทิพย์ที่ประณีตบรรจง รอพระมหากัสสปะผ่านมาตรงที่พวกตนรออยู่ เมื่อพระเถระภิกขาจารมาถึงเหล่าเทพธิดาพากันขอร้องให้พระเถระได้อนุเคราะห์รับอาหารทิพย์ที่พวกนางนำมาถวาย พระมหากัสสปะกล่าวต่อเหล่าเทพธิดาว่า “พวกท่านโปรดกลับไปเถิด บาตรนี้มีไว้สำหรับผู้ที่เข็ญใจเท่านั้น”  เทพธิดาตอบพระเถระว่า “ขอพระคุณเจ้าได้โปรดเห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจของพวกดิฉันด้วยเถิดเจ้าคะ”  พระมหากัสสปะดีดนิ้วขึ้นพร้อมกับกล่าวว่า “พวกท่านเป็นถึงเทวดา โปรดประมาณตนเถิดว่าสมควรแล้วหรือที่จะทำเช่นนี้ พวกท่านอย่าได้รบกวนเราอีกเลย”  เทพธิดาได้ยินดังนั้นก็พากันกลับสวรรค์ ท้าวสักกะเทวราชทรงเห็นเหล่าเทพธิดาก็ทรงแปลกพระทัยจึงตรัสถามว่า “พวกเธอไปไหนกันมา” เทพธิดาทูลว่า “พวกหม่อมฉันตั้งใจนำอาหารทิพย์ไปใส่บาตรพระมหากัสสปะ ซึ่งท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติมา แต่กลับถูกท่านปฏิเสธเพคะ ท่านไม่รับอาหารทิพย์จากพวกเรา เพราะท่านต้องการที่จะโปรดทุกข์ผู้เข็ญใจเท่านั้น” ท้าวสักกะเทวราชทรงถามต่อว่า “แล้วพวกเธอลงไปใส่บาตรท่านด้วยอากัปกิริยาอย่างไร” เทพธิดาตอบว่า “ในรูปลักษณ์นี้เพคะ”  ท้าวสักกะเทวราชตรัสขึ้นว่า “พวกเธอต้องไปในรูปลักษณ์นี้” จากนั้นท้าวสักกเทวราชได้จำแลงกายเป็นชายชรา และเนรมิตพระนางสุชาดา พระมเหสีเป็นหญิงชรา จากนั้นก็ทรงชักชวนพระนางสุชาดาลงไปใส่บาตรพระมหากัสสปะ     พระมหากัสสปะภิกขาจารมาจนถึงกระท่อมหลังหนึ่งซึ่งมีตายายอยู่ 2 คนกำลังนั่งเย็บและทอผ้าอยู่ภายใน พระเถระกล่าวขึ้นว่า […]

keyboard_arrow_up