ท่านว.วชิรเมธี
ท่านว.วชิรเมธี หรือพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือชื่อเมื่อแรกเกิดว่า วุฒิชัย บุญถึง หรือรู้จักกันดีในนามปากกา ว.วชิรเมธี (29 มกราคม พ.ศ. 2516 —) ท่านว.วชิรเมธี เป็นภิกษุชาวไทย มีชื่อเสียงว่าเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักบรรยายธรรม และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพ และเมตตาธรรม โดยผู้มอบรางวัลได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้ง แต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ ทุกรูปแบบ เมื่อยัง เด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตาม มารดาไปทำบุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลัก ธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ ถูกจำกัดอยู่ เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็น หนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขอ อนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันที่ มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้าย มาพำนักอยู่ ที่วัด พระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จน สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท เป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่ง ถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา) จากมหา วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ “พุทธศาสตร มหาบัณฑิต” จากมหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันท่านได้ รับเชิญให้เป็น อาจารย์ สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระ นักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี ผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ , ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้ว เกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลาย ฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจต่อไป
มองตัวตนผ่านกระจกแห่งสติ บทความธรรมะเตือนสติจากท่านว.วชิรเมธี
มองตัวตนผ่าน กระจกแห่งสติ บทความธรรมะเตือนสติท่านว.วชิรเมธี มนุษย์มีตัวตนอยู่ 3 ตัวตน การส่องกระจกธรรมดาไม่สามารถมองเห็นทั้งสามตัวตนได้ จะต้องใช้ กระจกแห่งสติ จึงจะมองเห็นตัวตนทั้งสามด้าน ประกอบด้วย 1. ตัวตนที่เราเป็นอยู่ทุก ๆ วัน เป็นอย่างที่เป็น เป็นอย่างที่เห็น มนุษย์ทุกคนมีตัวตนอย่างที่เป็น บางคนก็มีตัวตนอย่างที่ใคร ๆ เห็นก็ชื่นใจ บางคนก็มีตัวตนอย่างที่ใครเห็นก็หวาดกลัว เพราะตัวตนนี้ก็คือผลของบุคลิกภาพที่เราสั่งสมมาอย่างยาวนานนั่นแหละ ตัวตน อย่างนี้ก็คือตัวตนที่เป็นธรรมชาติของทุกคน (ฉันเป็นฉันเอง) 2. ตัวตนที่เราอยากให้สังคมมองเห็น ตัวตนเช่นนี้ก็คือตัวตนที่เกิดจากการเสแสร้งแสดงนั่นเอง อยู่ที่บนเป็นแบบหนึ่ง เข้าสังคมเป็นอีกแบบหนึ่ง และวลาอยู่ต่อหน้าเพื่อนก็เป็นอีกแบบหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า ตัวตนที่เกิดจากการเสแสร้งแสดง (ฉันเป็นอย่างที่เธอเห็น) 3. ตัวตนที่เราต้องการไปให้ถึงในอนาคต เรียกว่า ตัวตนในอุดมคติ ตัวตนนี้จะชัดมาก ถ้าไปถามดารานักร้องซูเปอร์สตาร์ทั้งหลาย ก็จะได้คำตอบชัดเจน คือมีความคาดหวังว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต ถ้าไปไม่ถึงก็อยู่ที่ตัวตนเดิม ๆ ไปก่อน (ฉันเป็นอย่างที่ควรจะเป็น) มนุษย์มีตัวตนสามตัวตนอย่างนี้ตลอดไป และเมื่อเราไม่เคยฝึกสมาธิ ไม่เคยฝึกตัวตน เราก็ไม่รู้ว่าตัวตนไหนที่กำลังออกโรงแสดงอยู่และกำลังพาเราโลดแล่นไปในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนั้น คนเราโดยมากแสดงผิดแสดงถูกอยู่ตลอดเวลา […]
ทำอย่างไรให้ กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
ทำอย่างไรให้ กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ถ้าถามว่าการทำงานและการปฏิบัติธรรมที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องทำอย่างไร เพื่อให้คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ ดังหัวข้อข้างต้นที่ว่า ” กายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน “ ขณะทำงาน บางทีเราทำงานนี้ แต่จิตเราไปอยู่กับสิ่งอื่น ก่อนหน้าที่อาตมาจะไปเรียนสมาธิภาวนานั้น จิตเคยหลงเคยฟุ้งซ่านอยู่บ่อย ๆ ทำอย่างหนึ่งแล้วจิตคิดถึงอย่างหนึ่ง เขียนงานอยู่ข้างบนแล้วลงมาเข้าห้องน้ำข้างล่าง กลับขึ้นไปอีกทีหาดินสอไม่เจอ ถามตัวเองว่าวางดินสอไว้ตรงไหนหนอ หาตั้งสามตั้งสี่รอบ ไปส่องกระจกจึงร้องอ๋อ… มันคาอยู่ที่ใบหู เมื่อจิตของเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ไม่แจ่มกระจ่าง แม้แต่การดำเนินชีวิตก็ไม่ประณีต ไม่ละมุนละไม หลง ๆ ลืม ๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่จิตของเราได้รับการฝึก พฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ รวมทั้งพฤติกรรมในการทำงานทั้งหมดก็จะประณีต นุ่มนวล อ่อนโยน ลึกซึ้ง เป็นระบบระเบียบ เหมือนน้ำในบึงใหญ่ที่ใสเย็นและจืดสนิท เมื่อเราฝึกจิตดีแล้ว และกลับเข้าสู่โลกการทำงานและการดำเนินชีวิต ก็จะเกิดภาวะกายอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงานยิ่งทำงานยิ่งมีประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพนั้นแสดงออกทั้งสองมิติ คือประสิทธิภาพของการดำเนินชีวิตและประสิทธิภาพของการทำงาน […]
พระอาจารย์เพชร จนฺทวณฺโณ พระนักพัฒนาที่ได้รับรางวัลต้นแบบคนดีศรีเชียงรายจากท่านว.วชิรเมธี
พระอาจารย์เพชร จนฺทวณฺโณ พระนักพัฒนาที่ได้รับ รางวัลต้นแบบคนดีศรีเชียงราย จากท่าน ว.วชิรเมธี เชียงใหม่นิวส์ได้รายงานข่าวจากไร่เชิญตะวันว่า ที่นั่นได้มีพิธีมอบ รางวัลต้นแบบคนดีศรีเชียงราย ประจำปี 2562 ปีที่ 7 ขึ้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยพระเมธีวชิโรดม (หรือ ท่านว.วชิรเมธี) เป็นประธานมอบรางวัลในครั้งนี้ การรับรางวัลต้นแบบคนดีศรีเชียงรายในปีนี้ มีผู้เข้ารับรางวัลทั้งประเภทผู้ใหญ่ เยาวชน และบุคคลทั่วไป พระอาจารย์เพชร จนฺทวณฺโณ ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายโครงการคนดีศรีเชียงใหม่ ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการนี้มานานร่วม 16 ปี แล้ว ทั้งยังมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และประโยชน์ต่อจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันท่านได้สนองงานพระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ในด้านการเผยแผ่ธรรมะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ประการ ได้รับรางวัลคนดีศรีเชียงรายในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากท่านเป็นคนเชียงรายโดยกำเนิด โดยภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านป่าซางพัฒนา หมู่ 13 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้มีบุคคลดีเด่นด้านคุณธรรม […]
จงพร้อมจะเรียนรู้จากคุณครู ประสบการณ์
นอกจากความผิดพลาด ประสบการณ์ก็ถือเป็นครูชั้นยอดของมนุษย์เช่นกัน
Dhamma Daily : ควรทำอย่างไร เมื่ออยาก เปลี่ยนศาสนา แต่เกรงใจครอบครัว
เป็นเรื่องที่น่าคิดหนักเมื่อเราต้องการ เปลี่ยนศาสนา แต่ก็เกรงใจครอบครัว กลัวพวกเขาไม่เข้าใจเหตุผลของเรา พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีมีคำอธิบายในเรื่องนี้
ทุกการฆ่าล้วนเป็นบาป บทความธรรมะดี ๆ โดย ท่านว.วชิรเมธี
การทำเมตตาฆาตเป็นบุญหรือบาป เพราะในการเป็นสัตวแพทย์มีการทำ เมตตาฆาต คือ การทำให้สัตว์ตายโดยสงบอย่างไม่ทรมาน เนื่องจากสัตว์ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย อาการหนัก ระบาดติดสู่คนและสัตว์อื่นได้ เช่น การฆ่า ไก่เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก การฆ่า วัวเพื่อป้องกันโรควัวบ้า ซึ่งการฆ่าสัตว์เลี้ยงที่ป่วยหนักและไม่มีเจ้าของดูแลนั้นในต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องปกติ การค้าขายสัตว์เพื่อบริโภค เพื่อเลี้ยงดู เพื่อใช้แรงงาน เหล่านี้เป็นอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้หรือไม่ เพราะเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวว่า อาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามค้าขายสิ่งมีชีวิตนั้นหมายถึงมนุษย์เท่านั้น การฆ่าด้วยเมตตา เรียกว่า “การุณยฆาต” (Mercy Killing) หรือจะเรียกว่าเมตตาฆาตก็ไม่ผิด ทั้งสองคำนี้แปลว่า “การฆ่าด้วยเมตตา” หรือ “การฆ่าด้วยความกรุณา” ตามลำดับ แต่ถ้าจะให้เลือกเอาสักคำหนึ่งก็ควรเป็น “การุณยฆาต” หรือ “การฆ่าด้วยความกรุณา” ในวงการแพทย์หรือวงการชีวจริยธรรม ซึ่งมักตั้งคำถามต่อเรื่องทำนองนี้ก็ใช้คำว่า “การุณยฆาต” มากกว่าเมตตาฆาต เพราะเมตตาเป็นเพียงคุณภาพของจิตที่ปรารถนาจะให้สรรพสัตว์เป็นสุข หรือเป็นการวางจิตให้มีความเป็นมิตรต่อสรรพสัตว์ทั้งโลกในยามปกติ ส่วนกรุณานั้นหมายเอาคุณภาพของจิตที่มุ่งเน้นการ“ช่วยเหลือ” ให้สรรพสัตว์พ้นจากทุกข์ในยามถูกความทุกข์ครอบงำเป็นสำคัญ การฆ่าด้วยความกรุณานั้นมุ่งเน้นการช่วยให้พ้นทุกข์ ดังนั้นการุณยฆาตจึงน่าจะเหมาะสมกว่าเมตตาฆาต แต่เมื่อเราพูดถึงการุณยฆาต ก็หมายรวมถึงเมตตาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะทั้งเมตตาและกรุณาเป็นคุณภาพจิตด้านบวกด้วยกันทั้งคู่ มีอยู่ในจิตของใครคนคนนั้นก็เป็นคนดีที่น่าคบทั้งนั้น ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีเรื่องเล่าว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเรื่องความเป็นปฏิกูลของร่างกาย ภิกษุกลุ่มหนึ่งฟังเทศนาเรื่องนี้แล้วเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตและร่างกาย จึงจ้างให้เพชฌฆาตสมัครเล่นคนหนึ่งมาปลงชีวิตของตัวเอง ปรากฏว่าคราวนั้นมีภิกษุเต็มใจฆ่าตัวตายจำนวนมาก ความทราบถึงพระพุทธเจ้า […]
Dhamma Daily: หัวหน้า ไม่ให้โบนัส กลุ้มใจ ทำอย่างไรดี
หัวหน้า ไม่ให้โบนัส กลุ้มใจ ทำอย่างไรดี ถาม: ดิฉันทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งค่ะ ทุกปีจะมีการประเมินผลเพื่อปรับขึ้นเงินเดือนและพิจารณาโบนัส ดิฉันเคยถามหัวหน้าถึงข้อบกพร่องของตนเอง ที่ไม่ได้รับโบนัสและไม่ได้ปรับเงินเดือนมาตลอด หัวหน้า แจ้งว่า ไม่ควรอยากได้เงินของคนอื่น มันบาป ท่านมีความคิดอย่างไรในเรื่องนี้คะ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้ตอบคำถามเรื่องนี้ไว้ว่า คำตอบของหัวหน้าคุณฟังดูไร้สาระมาก ๆ ถ้าคุณยังเชื่อว่านั่นคือเหตุผลที่แท้จริง คุณก็คงไร้สาระตามไปด้วยอีกคนหนึ่ง (ขออภัยที่ใช้คำแรงไปหน่อย แต่อยากให้คิดให้ถี่ถ้วน) เพราะในทางปฏิบัติแล้ว การที่เราทำงานก็มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะได้รับผลแห่งการทำงานนั้นอยู่แล้ว ถ้าใช้เหตุผลอย่างที่หัวหน้าของคุณบอกว่าการอยากได้ค่าตอบแทนเท่ากับเป็นการอยากได้เงินของคนอื่น ถ้าคุณยินดีเชื่อตามตรรกะนี้ ทุกคนในบริษัทก็ล้วนแต่กำลังอยากได้เงินของคนอื่นกันอยู่ทั้งนั้น ในทางที่ถูกแล้ว คุณไม่ควรจะเชื่อหากหัวหน้าโยนคำตอบตื้น ๆ เช่นนี้มาให้ แต่คุณควรถามต่อไปว่า คุณกับหัวหน้ามีปัญหาส่วนตัวอะไรกันอยู่หรือเปล่า ทำไมเขาจึงไม่พิจารณาปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้คุณ การที่ใครคนหนึ่งทำงานให้บริษัท ก็ย่อมมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะได้รับเงินเดือน หรือการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกับบาปหรือไม่บาป นี่เป็นข้อตกลงทางกฎหมาย ไม่ใช่ข้อตกลงทางจริยธรรม ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เหตุผลที่หัวหน้าให้คุณนั้นเป็นเพียงเหตุผลแบบเด็ก ๆ เท่านั้น คุณควรถามหาเหตุผลที่จริงจังมากกว่านี้จากหัวหน้า มิเช่นนั้นแล้วก็คงไม่มีอะไรดีขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่ แล้วจะทำอย่างไรดี? หากที่ทำงานมีเรื่องการเมืองเยอะมาก อีกคำถามหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ทำงานและเจ้านาย คือ ถาม: ในที่ทำงานของผม มีการเมืองเยอะมาก เก้าอี้ไม่มั่นคง […]
บิล เกตส์ สอนลูกอย่างไร? บทความน่าคิดจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
คนที่ฉลาดระดับอัจฉริยะอย่างบิล เกตส์ ย่อมรู้ดีว่าทรัพย์สินเป็นเพียงมายา ประโยชน์ที่รังสรรค์ฝากไว้แก่เพื่อนมนุษย์ต่างหากคือความจริงที่ควรค่าแก่การจดจำ
“ซักรองเท้าของเธอซะ” ปริศนาธรรมสำคัญที่จะทำให้คุณหันกลับมามองชีวิตตัวเอง
จำเป็น ปริศนาธรรม ไว้ว่า ซักรองเท้าของเธอซะ ซักแล้วตากทันที อย่าหวังว่าวันพรุ่งนี้จะมีเวลามากพอสำหรับทำโน่นทำนี่เพราะบางทีเราได้แค่หวัง
10 ทางเลือกในการทำบุญ โดยไม่ต้องใช้เงินสักบาท
วิธีทำบุญไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “การให้ทาน” แต่ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกทำได้ตามอัธยาศัย ในการทำบุญที่แท้ แม้ไม่ใช้เงินเลยทุกคนก็มีสิทธิทำบุญ
มีวิธีขจัดความทุกข์จากการสูญเสียลูกสาวอย่างไร
วิธีผ่าตัดลูกศรแห่งความทุกข์ โดย พระอาจารย์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มีวิธีขจัดความทุกข์จากการสูญเสียลูกสาวอย่างไร ผมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง เป็นเด็กผู้หญิงที่น่ารักน่าเอ็นดูมาก ผมเลี้ยงดูเธอด้วยตัวเองมาตั้งแต่เธอคลอดออกมาดูโลกใบนี้ ผมและภรรยารักเธอมาก เมื่อปีกลาย เธอเพิ่งสอบและกำลังจะเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง คืนหนึ่งเธอขออนุญาตไปทานข้าวกับเพื่อนข้างนอกเพื่อเลี้ยงฉลองการจบการศึกษา คืนนั้นเธอขอกลับบ้านกับเพื่อนไม่ต้องให้ผมไปรับ แต่ประมาณตีสอง ผมก็ได้รับโทรศัพท์จากตำรวจ แจ้งว่าพบเธอนอนหมดสภาพอยู่ข้างถนน ผมกับภรรยาตกใจมาก รีบไปที่โรงพยาบาล พบว่าเธอถูกข่มขืน เมื่อฟื้นขึ้นมา เธอรู้สึกบอบช้ำทางจิตใจมาก ถึงแม้ผมและภรรยาจะปลอบใจเท่าไร เธอก็ยังรู้สึกชอกช้ำใจอยู่ดี แทบจะไม่พูดไม่จาและไม่ทานข้าว เมื่อร่างกายเธออยู่ในสภาพที่ปกติ ผมและภรรยาจึงพาเธอกลับบ้าน ผ่านไป 2 - 3 วัน วันนั้นผมและภรรยาจำเป็นที่ต้องออกไปทำธุระสำคัญข้างนอก ผมจำใจฝากให้พี่เลี้ยงดูแลเธอ ตั้งใจว่าเสร็จธุระแล้วจะรีบกลับมา ประมาณบ่ายโมง ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่เลี้ยงว่า เธอกินน้ำยาล้างห้องน้ำเข้าไป ผมรีบบึ่งไปหาเธอที่โรงพยาบาล แต่ก็สายเกินไป ครั้งสุดท้ายที่ผมได้เห็นหน้าลูกคือร่างที่ไร้วิญญาณ แม้กระทั่งเสียงลูกคำสุดท้ายผมก็ไม่ทันได้ฟัง ผมรู้สึกเสียใจและรู้สึกผิดมากที่วันนั้นผมออกไปทำธุระ ผมอยากนมัสการถามพระคุณเจ้าว่า ถาม : ผมควรจะทำอย่างไรกับชีวิตของผมต่อดี เพราะขณะนี้ผมรู้สึกไร้ค่าและขาดแรงจูงใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า แทบทั้งชีวิตของผมเป็นของลูกไปแล้วนับแต่เธอลืมตาดูโลก ตอบ : คุณต้องยอมรับความจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะเจ็บปวดเพียงใดก็ตาม เพราะมันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว หากเราไม่ยอมรับ ความทุกข์ ความเจ็บปวดก็จะยังคงอยู่ แต่เมื่อเราบอกตัวเองว่า ถึงอย่างไรมันก็เกิดขึ้นแล้ว และมันก็ “ผ่านไปแล้ว” จิตใจจะเปลี่ยนคุณภาพใหม่ นั่นก็คือการ “ยอมรับได้” เมื่อจิตเกิดการ “ยอมรับได้” ก็จะ “ปล่อยลง ปลงได้” แต่ถ้าเราไม่ยอมรับความจริง จิตก็จะยังคงอึดอัดขัดข้องอยู่อย่างนั้น สภาพของจิตของคุณจะไม่ต่างจากการโยนลูกเหล็กกลม ๆ ลงไปในรูเหลี่ยม ที่เมื่อเหล็กกลมเข้าไปอยู่ในรูเหลี่ยมแล้ว ก็เลื่อนลงไปข้างล่างไม่ได้ จะดึงออกมาก็ยากลำบาก อาการอย่างนี้เขาเรียกว่า “ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก” ประการต่อมา บอกตัวเองว่า ถึงอย่างไรชีวิตลูกก็จบลงไปแล้วตัวเราสิยังคงมีชีวิตอยู่ ทำไมเราจึงปล่อยชีวิตของเราเหมือนกับคนที่ “ตายทั้งเป็น” หากความเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้นกับลูกไปครั้งหนึ่งแล้ว เราก็ควรเยียวยาตัวเองให้เร็วที่สุด แม้จะยากเพียงไรก็ต้องทำ เพื่อที่จะไม่ให้ความเจ็บปวดนั้นทำร้ายตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก พระพุทธองค์ตรัสว่า ความทุกข์ที่เกิดจากคนอื่นสร้างให้นั้นเป็นเหมือนลูกศรดอกที่หนึ่งที่เข้ามาปักอกเรา ทางที่ถูก เราควรถอนลูกศรนั้นออกให้เร็วที่สุด ถ้าเราไม่ทำเช่นนั้น เอาแต่ทุกข์ไม่จบไม่สิ้น ก็เท่ากับว่าเรากำลังสร้างลูกศรดอกที่สองขึ้นมา และทิ่มมันใส่หน้าอกซ้ำสองด้วยมือของตัวเอง การกระทำเช่นนี้ไม่ฉลาดเลย คุณควรถอนลูกศรดอกแรกและควรผ่าตัดเอาลูกศรดอกที่สองออกจากอกของตัวเองด้วย จึงจะถูก ถาม : ผมอยู่กับความรู้สึกผิดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลากินเวลานอน ผมแทบจะทำอะไรไม่ได้ เมื่ออยู่ที่บ้าน มองไปทางไหนก็เหมือนเห็นลูกนั่งร้องไห้และตัดพ้อผมที่ทิ้งเธอให้อยู่คนเดียวในวันนั้น ผมควรทำอย่างไรต่อไปดีครับ ตอบ : คุณควรเงยหน้าขึ้นมาศึกษาสัจธรรมของชีวิตว่า ชีวิตคนเรานั้นตกอยู่ในสัจธรรมของชีวิต 5 ประการ คือ 1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความแก่ไปได้ 2. เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความเจ็บไปได้ 3. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความตายไปได้ 4. เรามีความพลัดพรากจากคนรักเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นจากความพลัดพรากไปได้ 5. เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน เราทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม ก็ต้องยอมรับผลของกรรมนั้นด้วยตัวเอง หากพิจารณาให้ดี คุณจะพบว่า คุณอาจมีส่วนผิดอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก เพราะความผิดต่อลูกนั้นไม่ได้เกิดจากเจตนาที่คุณต้องการจะให้เกิด มองในอีกมุมหนึ่ง หากลูกของคุณสร้างกรรมมาเพียงแค่นั้น (คือเพื่อที่จะมีอายุเพียงแค่นี้) คุณก็ควรยอมรับความจริงเสียเถิด เหตุปัจจัยแห่งอายุของเขามีชีวิตอยู่ได้แค่นั้น ก็ต้องยอมรับความจริง ถือเสียว่า “สุดมือสอยก็ปล่อยมันไป” นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่คุณควรทำก็คือ การฝึกเจริญสติเพื่อ “อยู่กับปัจจุบัน” ให้เป็น เพราะอาการของคุณนั้นเหมือนคนที่อยู่กับ “อดีต” มากกว่าอยู่กับที่นี่และเดี๋ยวนี้ การฝึกเจริญสติจะทำให้คุณหลุดออกมาจากโลกของความคิดและเป็นอิสระจากความทุกข์ได้ในที่สุด (อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเวลาไปฝึกเจริญสติ ก็ควรหางานให้ตัวเองทำอยู่เสมอ จิตจะได้ไม่แช่อยู่กับความทุกข์นานจนเกินไป ทำตัวให้ยุ่งกับงานเข้าไว้ ผ่านไปสักระยะหนึ่ง อาการจะดีขึ้นเอง) อย่าลืมว่าความทุกข์เกิดขึ้นและมันก็ดับลงแล้ว เหลือแต่คุณเองที่ยัง “รั้ง” ความทุกข์นั้นไว้ในใจของตัวเองอยู่ หากคุณไม่ชอบความทุกข์ ก็ควรลุกขึ้นมาดับทุกข์เสีย ด้วยวิธีการดังกล่าวมาแล้ว ธรรมะจากพระอาจารย์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี : พระอาจารย์ผู้ไขปัญหา Photo by Arleen wiese on Unsplash หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ Secret Magazine (Thailand)
ใครว่าเราเลือกเกิดไม่ได้ บทความธรรมะจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
เราเคยเชื่อกันว่ามนุษย์นั้น เลือกเกิด ไม่ได้นั่นคือความเข้าใจผิด ตามหลักพุทธศาสนานั้นทุกคนเลือกเกิดได้ อยากไปเกิดในสุคติภูมิ…ก็ทำกรรมดี
“ปฏิบัติการแหวกพุงเพื่อน” นิทานพุทธปรัชญา สนุกๆ จาก ท่านว.วชิรเมธี
อาตมภาพได้อ่าน นิทานพุทธปรัชญา เรื่องหนึ่งดีมาก อยากจะนำมาเล่าฝากพวกเราทุกคนซึ่งอยู่ในโลกยุคไอที นิทานพุทธปรัชญาเรื่องนี้มีอยู่ว่า…
ย้อนบทสัมภาษณ์ลูกกตัญญู! ป๊อป – อารียา สิริโสดา กับวันคืนที่สู้เพื่อแม่
สัมภาษณ์ป๊อป – อารียา กับความปรารถนาอันสูงสุด…เมื่อวันหนึ่งที่คุณแม่ป่วย
ตกอยู่ในภาวะ “รู้ว่าบาป แต่ก็ต้องทำต่อไป” ทำอย่างไรดี ? ท่าน ว. วชิรเมธี มีคำแนะนำ
เคยไหมคะ รู้ทั้งรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นบาป แต่ถึง รู้ว่าบาป แต่ก็ต้องทำต่อไป ไม่อยากเป็นแบบนี้ ต้องทำอย่างไรดี ท่าน ว.วชิรเมธี มีคำแนะนำค่ะ
Dhamma Daily : ดิฉันกำลังจะ แต่งงานกับพ่อม่าย ลูกติด แต่ไม่รู้สึกรักลูกเขา ทำอย่างไรดีคะ
ANSWER KEYS – LOVE ME, LOVE MY DOG ถาม : ดิฉันกำลังจะ แต่งงานกับพ่อม่าย ลูกติด เขาเลิกกับภรรยาได้สองปีกว่าแล้ว ลูกติดแฟนดิฉันเป็นเด็กผู้ชายอายุ 5 ขวบค่ะ ที่จริงเด็กอยู่กับแม่เขา แต่แฟนของดิฉันยังต้องทำหน้าที่พ่อในการส่งเสียให้เงินทุกอย่าง และรับลูกมาอยู่ด้วยเป็นครั้งคราว ปัญหาของดิฉันก็คือ ดิฉันไม่รู้สึกรักลูกเขา และมองว่าลูกเขามาแย่งเวลาที่เขาควรจะให้ดิฉันไปเสียอีก แต่เมื่อดิฉันรักผู้ชายคนนี้ ก็ต้องทำใจยอมรับลูกของเขาด้วย เข้าทำนอง Love him, love his dog. ดิฉันควรจะวางตัวหรือปรับเปลี่ยนความคิดอย่างไรดีคะ มีหลักธรรมข้อไหนที่จะใช้ยึดเหนี่ยวเวลาเกิดทุกข์จากการถูกเบียดเบียนเวลาและความรักที่พึงได้ และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ดิฉันคิดว่า ถ้าดิฉันทำใจยอมรับเด็กไม่ได้ ดิฉันก็คงต้องเป็นฝ่ายไป แต่ดิฉันอยากจะต่อสู้กับจิตใจที่คับแคบของตัวเองดูสักครั้ง ขอกำลังใจและชี้ทางสว่างให้ด้วยค่ะ ตอบ : ปัญหาของคุณเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการ“ฝึกใจ” พอสมควร เพราะคนเราไม่ได้ผูกพันกันมาแต่ต้น จู่ๆ จะให้รู้สึกรักและผูกพันเลยย่อมเป็นการยาก แต่ก็อย่างที่คุณเขียนมานั่นแหละว่า Love him, love his dog. คุณเองก็รู้ดีอยู่แล้วว่านี่เป็นของแถม ใจคุณอยากได้แต่ของที่คุณต้องการเท่านั้น […]
Dhamma Daily: ชอบหงุดหงิดพ่อแม่ ต้องแก้อย่างไร ธรรมะดีๆ จาก ท่าน ว.วชิรเมธี
ธรรมะดีๆ จาก ท่าน ว.วชิรเมธี อยากกราบเรียนถามพระอาจารย์ว่า การที่ ชอบหงุดหงิดพ่อแม่ มีวิธีไหนที่จะทำให้เปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมแบบนี้ให้ดีขึ้นบ้างคะ
สูตรลับสำหรับ แก้ความหลง โดย ท่าน ว.วชิรเมธี – นิตยสาร Secret
นอกจากความไม่รู้จักชีวิตถือเป็น ” ความหลง ” แล้ว การไม่รู้จักอริยสัจ 4 ก็เป็นความหลงในความหมายขั้นลึก – โดย ท่าน ว.วชิรเมธี – นิตยสาร Secret