ท่านพุทธทาสภิกขุ
เวทนาคือสิ่งที่เสียบแทงจิตใจ : ท่านพุทธทาสภิกขุ
เวทนาคือสิ่งที่ เสียบแทง จิตใจ : ท่านพุทธทาสภิกขุ นี่มาพูดถึงคำว่า เสียบแทง กันบ้าง อย่าถือเอาตามความหมายของภาษาไทยธรรมดาว่าต้องแทงด้วยมีด ด้วยอะไรทำนองนั้น เสียบแทงคือมันมีอะไรมาทำให้เจ็บปวด เหมือนกับถูกของแหลมแทง ร่างกายถูกแทงด้วยมีด เป็นต้น แต่จิตมันถูกแทงด้วยความรู้สึกบางชนิด ความทุกข์นั่นแหละเสียบแทงจิต แม้กิเลสก็เสียบแทงจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง เต็มตัวจะเสียบแทงจิตทีนี้วิญญาณนั้นมีทิฏฐิ ความคิดเห็นผิดหรือถูกเป็นเครื่องเสียบแทงวิญญาณ หรืออวิชชาโดยเฉพาะนี่ นี่เราดูให้ชัดลงไปว่า คนเราอยู่ในโลกเป็นประจำวันนี่มันมีเรื่องสำคัญอยู่ 3 เรื่องที่เรียกว่าเวทนา เรารู้สึกสบายใจเป็นสุขนี้เรื่องหนึ่ง เราไม่รู้สึกสบายใจ และเป็นทุกข์นี้เรื่องหนึ่ง ถ้าเรารู้สึกไม่รู้ว่าจะเรียกว่าสุขหรือทุกข์ คือยังไม่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมันไม่แน่นี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าเวทนามี 3 ชนิดอย่างนี้ สุขเวทนา-รู้สึกเป็นสุขสบายใจ, ทุกขเวทนา-รู้สึกเป็นทุกข์ไม่สบายใจ, อทุกขมสุขเวทนา-ไม่รู้อย่างไรแน่ มันอยู่ในสภาพที่สงสัย หวัง วิตกกังวล อันนี้ไม่จัดเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จัดเป็นอทุกขมสุขแต่ก็เป็นเวทนา ทีนี้ขึ้นชื่อว่าเวทนาแล้วทั้ง 3 ชนิดนี้จะเสียบแทงทั้งนั้น ตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ให้ทุกคนสังเกตให้ดี ๆ จากจิตใจของตน ถ้ามีอะไรมาถูกใจเรา สิ่งที่ถูกใจเรามันก็เสียบแทงใจเรา เดี๋ยวจะพังไม่ถูก อะไรไม่ถูกใจเรามาหาเรามันก็เสียบแทงใจเรา อะไรที่ยังไม่แน่ว่าสุขหรือทุกข์มันก็เสียบแทงใจเรา […]
ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากความกำหนัดแห่งกามคุณได้ : ท่านพุทธทาสภิกขุ
ทำอย่างไรจึงจะพ้นจาก ความกำหนัด แห่งกามคุณได้ : ท่านพุทธทาสภิกขุ ความกำหนัด ในทางภาษาบาลีจึงมีใจความกว้างหมายถึง ความมีจิตใจแนบแน่นถอนไม่ได้ในสิ่งต่าง ๆ ที่ตนพอใจ เพราะฉะนั้นผู้ที่จะปฏิบัติจึงจำเป็นที่จะต้องถอนจิตใจออกมาจากสิ่งที่จะปฏิบัติจึงจำเป็นที่จะต้องถอนจิตใจออกมาจากสิ่งที่จิตใจหลงติด จะเป็นสมบัติพัสถานแก้วแหวนเงินทอง หรือจะเป็นยศศักดิ์บริวาร กับสังขารอันเป็นที่รักเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม พึงถอนความติดแน่นออกมาเสียเป็นผู้ก้าวล่วงอำนาจของความติดแน่นนั้นเสีย ไม่มีอะไรเป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลกำหนัดอีกต่อไป จิตใจก็จะมีความสงบสุขขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งโดยแน่นอน แต่พอเราพิจารณาดูคนในโลกในสมัยนี้ จะเห็นว่าเขายิ่งฝังใจให้กำหนัดติดแน่นในสิ่งต่าง ๆ เขาฝังใจอยู่แต่ที่จะได้ความสุขทางวัตถุ หรือปัจจัยเกื้อกูลความสุขทางวัตถุไม่มีสร่าง ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้มากสำหรับให้จิตใจมัวเมาหลงใหล ในทางประดับตกแต่งร่างกายก็ประดิษฐ์ประดอยกันขึ้นมาอย่างไม่สิ้นสุด ในการกินการบริโภคก็ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา อย่าให้รู้จักเบื่อในการเล่นเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ในการดู ในการฟัง และการเป็นอยู่อย่างอื่น ๆ ก็ยิ่งประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ไปเป็นเครื่องจับจิตใจฝังแน่นขึ้นไป ไม่มีที่สิ้นสุด คนในโลกจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกามคุณไม่มีที่สิ้นสุด คือยิ่งกว่าที่ตนจะรู้สึกได้ไ ม่มีเวลาอิ่ม ไม่มีเวลาเบื่อ ไม่มีเวลาหน่าย ไม่มีเวลาที่จะพินิจพิจารณา ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสิ่งใดเลย ก็แต่มีเวลาจะประกอบความสนุกสนานเอร็ดอร่อยทางเนื้อทางหนังที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านั้น […]
ความโกรธมีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่ : ท่านพุทธทาสภิกขุ
ความโกรธ มีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่ : ท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมท่านพุทธทาสภิกขุจึงกล่าวว่า ” ความโกรธ มีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่” ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในเรื่อง เสน่ห์ของความโกรธ ว่า “เอ้า ทีนี้ดูคต่อไปถึงเสน่ห์ของความโกรธ ผมพูดคำอย่างนี้ ด้วยความมุ่งหมาย 2 อย่าง คือให้รู้จักคำที่ท่านใช้ภาษาธรรมะ หรือภาษาบาลี ว่าท่านใช้กันอย่างไร และให้รู้จักจำเอาไปใช้ คือเพิ่มคำที่เรารู้นั้นมากขึ้น ให้รู้ว่าท่านใช้คำที่มันมีความหมายลึก ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสน่ห์…อัสสาทะ โดยบาลีเรียกอัสสาทะ ทุกสิ่งมันมีอัสสาทะไม่มากก็น้อย นั่นคือเสน่ห์ที่จะดึงเราไปเป็นทาส เป็นบ่าว หรือว่าเป็นผู้กระทำ ” ทีนี้ความโกรธมีเสน่ห์ ก็เพราะว่ามันเป็นความอร่อยของคนโง่ เป็นของอร่อยชอบอกชอบใจของคนด้อยปัญญา มีบาลีว่า ความโกรธเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา ” ทุมฺเมธ แปลว่า มีปัญญาชั่ว มีปัญญทราม มันด้อยปัญญา โคจร แปลว่า ที่อร่อย ที่พอใจ ที่อยากจะไปหาอยากไปกิน อยากไปอยู่ อยากไปอะไร…ก็เรียกว่าโคจรเหมือนกะว่าทุ่งนา แล้วมันได้กินหญ้า แล้วมันอร่อยนี้คำว่าโคจร มันมีความหมายอย่างนั้น ใช้ได้ในกรณีทั้งหลายที่ชอบไปหา ชอบไปกิน […]
ปัญหามีทั้งแก้ไขได้และแก้ไม่ได้ ธรรมะโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
ปัญหา มีทั้งแก้ไขได้และแก้ไม่ได้ ธรรมะโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงการรับมือกับ ปัญหา ชีวิตไว้ดังนี้ เราถือว่าปัญหามีอยู่ 2 ชนิดอย่างนี้ คือปัญหาที่แก้ไขได้ กับปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ ที่แก้ไขได้ก็แก้ไขให้ดีที่สุด ที่แก้ไขไม่ได้ก็ทำให้มันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ไม่ใช่เป็นการแก้ไข ก็ยังมีหน้าที่อยู่นั่นเอง เราจะไม่ปล่อยให้คนไข้ที่ต้องตายแน่ ตายไปอย่างไม่ได้รับการช่วยเหลือให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับเราจะไม่ปล่อยให้ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้นี้ไปตามบุญตามกรรม ตามอะไรของมันเกินไป ต้องทำให้มันดีที่สุด คือให้มันมีเรื่องร้ายน้อยที่สุดนั่นแหละ อย่าให้การแก้ไขไม่ได้นั้น มาทำอันตรายเรามากนัก แม้นี้ก็เป็นกฎธรรมชาติ ที่ว่าบางอย่างแก้ไขได้ บางอย่างแก้ไขไม่ได้ แต่เราก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอยู่นั่นเอง เพราะสิ่งทั้งปวงขึ้นอยู่กับความลับข้อนี้ ถ้าถือเอาตามหลักของพุทธศาสนา สิ่งทั้งปวงนี้มันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎของกรรม นี่อย่างน้อยจะต้องรู้ไว้ใน 3 อย่างนี้ ว่าสิ่งทั้งปวงต้องไปตามธรรมชาติ ไปตามเหตุปัจจัยซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามกรรม ซึ่งก็เป็นกฎของธรรมชาติ แล้วเราไปดื้อไปดันทุรังจะฝืนกฎเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ผู้ที่จะแก้ปัญหาก็ได้ เพราะจะเป็นผู้ที่สร้างปัญหาให้มากขึ้น สร้างความยุ่งยากลำบากให้มากขึ้น ถ้าจะเป็นผู้ที่แก้ปัญหา ก็ต้องทำให้มันเข้ารูปเข้ารอยกันกับสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา คือกฎของธรรมชาติ เช่น ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างนี้ เป็นปัญหาแก่มนุษย์ มาจากธรรมชาติก็ต้องแก้ไขให้เข้ารูปเข้ารอยกับธรรมชาติกับกฎของธรรมชาติ […]
ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่
ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่ เราต้องทำบุญชนิดที่เป็นบุญ คือต้องเลี้ยงไก่ ไข่ออกมาแล้ว ต้องเอาไข่นั้นไปใช้เป็นเครื่องดับทุกข์ ให้เกิดความเยือกเย็น เป็นนิพพานขึ้นมาให้ได้ ไข่ของไก่คือเรื่องความเย็นในนามว่า “นิพพาน” ทำไม ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องการทำบุญ เปรียบเหมือนเลี้ยงไก่ ? บุญ = ล้างบาป เรื่องทำบุญนี้ก็ต้องระวังอีก อย่าทำบุญเป็นการค้ากำไรเกินควร นี่ดูหนาหูหนาตามาก ทำบุญแบบค้ากำไรเกินควรนี้ คือทำบุญบาทหนึ่ง เอาวิมานหลังหนึ่งก็มี หลายหลังก็มี ทำบุญตักบาตรช้อนเดียว จะให้เกิดสวยเกิดรวยอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีธนบัตรใบเดียวทูนหัวกันหลายคน ส่งกันแล้วส่งกันอีก นั่นมันค้ากำไรเกินควร ไม่ใช่เรื่องทำบุญ เพราะว่าทำบุญนี้เขาจะทำเพื่อล้างบาป ทีนี้ถ้าปรารถนามากเกินไปอย่างนั้นมันกลับเพิ่ม เพิ่มโลภะ โทสะ โมหะ เพิ่มอะไรเข้าอีก มันไม่ใช่ล้างบาป บุญ = น้ำโคลน ทีนี้ทำบุญนี้มันมีหลายชั้น หรือว่าล้างบาปมันก็มีหลายชั้น เช่นเราจะล้างเท้าอย่างนี้ เอาน้ำโคลนล้างก็ได้ คิดดูให้ดีเท้ามันสกปรกด้วยมูลสุนัขด้วยอะไรนี้ เราเอาน้ำโคลนล้างก็ยังได้แต่มันไม่ใช่เป็นการล้างที่ดี ทำบุญกันเดี๋ยวนี้เป็นบุญเหมือนน้ำโคลนนี้มีมากคือเอาเรื่องบุญ เรื่องวัดที่บังหน้า ไปทอดกฐินนี้ก็เพื่อไปเล่นไฟ ไปกินเหล้า ไปทำอะไรหลาย […]
ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ท่านพุทธทาสบรรยายธรรมไว้ว่า สิ่งแรกที่สุดที่คนเราจะต้องรู้จัก และศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติกรรมฐานภาวนาในพระพุทธศาสนานั้น สิ่งนั้นก็คือความทุกข์ ไม่รู้ทุกข์ก็ให้ผู้อื่นเป็นคนบอก คนเราเลยไม่รู้ว่าจะตั้งต้นอย่างไร ไม่มีปัญหา แล้วจะสะสางอะไร ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จะไปหาหมอหรือหาการเยียวยารักษาทำไม สิ่งที่จะต้องมีปรากฏอยู่ในใจก็คือสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์เป็นสิ่งแรก ท่านอาจจะรู้สึกด้วยตนเองก็ได้ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร แต่มันคงจะไม่สมบูรณ์ไม่หมด ดังนั้นจึงต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้ ข้อนี้ก็ตรงกับพระพุทธภาษิตที่ว่า แต่ก่อนโน้นก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติแต่เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น พระองค์ตรัสว่า จะบัญญัติ (คือพูด คือกล่าว คือสอนแนะนำ แต่งตั้งอะไรก็ตาม) เฉพาะเรื่องทุกข์กับเรื่องความดับทุกข์ สังเกตว่าจะมีคำว่าทุกข์มาเป็นเรื่องแรก การที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า “ต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้ (ว่าเป็นทุกข์)” ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่ามีด้วยหรือที่คนเราจะไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์จนกระทั่งต้องมีคนอื่นมาบอก สมัยพุทธกาลมีเจ้าหญิงเลอโฉมมากนางหนึ่ง เมื่อได้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุณีในสำนักของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าหญิงพระองค์นี้ หลงใหลในรูปโฉมของตน เพราะมีความงดงามมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น ชนบทกัลยานี เทียบกับปัจจุบันคงคือตำแหน่งนางงาม พระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาให้เจ้าหญิงละจากการหลงในความงาม เพราะการยึดติดในรูปขันธ์ที่มองวาเป็นสุข แต่แท้จริงแล้วการยึดติดในรูปขันธ์นั้นเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตหญิงงามที่งามที่สุดในสามโลกให้คอยปรนนิบัติพระองค์ เจ้าหญิงจ้องมองพระเนตรไม่กระพริบ หญิงงามนางนั้นก็ค่อย ๆ กลายเป็นหญิงชรา […]
ซีเคร็ตทริป : พระบรมธาตุไชยา สถูปแห่งศรัทธา
ซีเคร็ตทริป : พระบรมธาตุไชยา สถูปแห่งศรัทธา เหมือนความฝันที่เห็นได้ทั้งที่ยังตื่น พระบรมธาตุองค์นี้ ได้ยินชื่อมาตั้งแต่วัยเยาว์ และเห็นภาพจากหน้าจอโทรทัศน์ เราได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือน กราบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานใน พระบรมธาตุไชยา ซีเคร็ตได้ร่วมเดินทางไปกับคณะบุญจาริกในกิจกรรมของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือสวนโมกข์กรุงเทพเนื่องใน ” งานบุญล้ออายุครบรอบ 112 ปี พุทธทาสภิกขุ ตามรอยโบราณคดีเขาศรีวิชัย รอบอ่าวบ้านดอน ” เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้เดินทางไปจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วยรถไฟ งานล้ออายุท่านพุทธทาสภิกขุจัดขึ้นทุกปี เนื่องในวันเกิดของท่าน คนที่มาร่วมงานนี้ต้องอดอาหารตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงคืน ที่มาของการอดอาหารนั้นผู้ร่วมคณะบุญจาริกเล่าให้ฟังว่า ตอนที่ท่านพุทธทาสภิกขุมีชีวิตอยู่ พอถึงวันเกิดท่านก็จะมีลูกศิษย์นำของขวัญมาถวาย ท่านไม่อยากได้ลาภสักการะจึงบอกลูกศิษย์ว่า “ไม่ต้องเอาของขวัญมาให้ อดอาหารให้ก็พอ” เจ้าหน้าที่สวนโมกข์กรุงเทพเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนที่สวนโมกข์กรุงเทพจะอดอาหารในวันเกิดของเพื่อนร่วมงาน แต่หลัง ๆ มานี้ มีเพื่อนร่วมงานเยอะขึ้น หลายคนเกิดวันติด ๆ กัน ทำเอาแย่อยู่เหมือนกัน (สงสัยน่าจะเลิกการอดอาหารไปแล้ว) แม้ท่านพุทธทาสภิกขุจะไม่อยู่แล้ว ธรรมเนียมการอดอาหารในวันเกิดของท่าน หรือที่เรียกกันว่า “วันล้ออายุ” ยังมีสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ในวันนั้นทำเอาเกือบแย่เหมือนกัน แต่ยึดหลักขันติเพื่อทดสอบตนเองได้จนถึงวันรุ่งขึ้น นับว่าเป็นอีกประสบการณ์หนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะถึงวันล้ออายุของท่านพุทธทาสภิกขุ คณะบุญจาริกได้มีโอกาสตามรอยท่านพุทธทาสภิกขุไปยังแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรศรีวิชัย ทำให้ทราบว่าท่านพุทธทาสภิกขุนอกจากจะปราดเปรื่องในเรื่องธรรมะ โดยนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอนให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจง่ายแล้ว […]
ยิ่งเรียนพุทธศาสนายิ่งไม่รู้พุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
ยิ่ง เรียนพุทธศาสนา ยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเรื่อง “ยิ่ง เรียนพุทธศาสนา ยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา ” ไว้ใน “เมื่อผีหัวเราะ” ท่านแสดงธรรมนี้ไว้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2509 เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าทำไมท่านพุทธทาสภิกขุถึงมองว่า ยิ่งเรียนก็ยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา ในแวบแรกทำให้นึกถึงพระเถระสมัยพุทธกาลซึ่งปรากฏในอรรถกถาธรรมบทชื่อว่า “โปฐิลเถระ” พระเถระรูปนี่้เป็นพระภิกษุที่เก่งมาก เพราะสามารถจำพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้ทั้งหมด แต่พระพุทธเจ้ากลับทรงเรียกพระรูปนี้ว่า “คุณใบลานเปล่า” เมื่อพระพุทธองค์ทรงเรียกพระโปฐิลเถระด้วยฉายานี้มากขึ้น พระเถระจึงคิดขึ้นได้ว่าคงต้องปฏิบัติบ้างเสียแล้ว จึงจัดบาตรและของใช้เท่าที่จำเป็นออกธุดงค์พร้อมกับกลุ่มพระภิกษุ พระโปฐิลเถระขอร้องให้พระสังฆเถระช่วยลดมานะ (ความถือว่าตนสำคัญ) ของตน พระสังฆเถระจึงให้พระโปฐิลเถระไปยังสำนักของพระอนุเถระ และท่านก็บอกให้ไปสู่สำนักของสามเณรที่มีอายุเพียง 7 ขวบ ให้เป็นอาจารย์ สังเกตว่าพระโปฐิลเถระผู้ถือว่าตนเก่งทรงพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้ทั้งหมด พระผู้ใหญ่ 2 รูปทราบกิตติศัพท์ของพระโปฐิลเถระดีว่าเป็นผู้มีมานะอย่างไร ทางเดียวคือต้องลดมานะด้วยการไปเป็นศิษย์ของผู้ที่ต่ำกว่าคือสามเณร และในที่สุดมานะก็ได้หายไป สามเณรชี้แนะพระโปฐิลเถระโดยกล่าวว่า “ตัวเหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในจอมปลวกที่มีช่อง 6 ช่อง คนหมายจะจับมัน จึงอุดทุกช่องไว้จนเหลือช่องเดียว แล้วจับมันจากช่องที่มันเข้าไป จอมปลอกก็เหมือนร่างกายของคนเรา การอุดช่องที่ 5 คือการปิดอายตนะ ตา […]
สุญญตาทาน : ทานแห่งความว่างที่ไม่ต้องมีผู้ให้และผู้รับ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
สุญญตาทาน : ทานแห่งความว่างที่ไม่ต้องมีผู้ให้และผู้รับ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเรื่อง ” สุญญตาทาน ” ไว้ใน “ทานกถา หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทานบริจาค” ท่านแสดงธรรมนี้ไว้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2514 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่อาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง สลายความมีให้กลายเป็นความไม่มี แต่อย่างไรก็ตามสุญญตาทานเป็นทานประเภทหนึ่งที่ท่านพุทธทาสภิกขุอธิบายไว้อย่างน่าสนใจมาก ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า สุญญตาทานเป็นคำที่ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นศัพท์ที่ท่านตั้งขึ้นมา เป็นความสามารถเฉพาะตนที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของท่าน คือการเล่นคำกับความหมาย เพื่อให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในโลกียธรรม (ธรรมะระดับโลก) และโลกุตตรธรรม (ธรรมะระดับเหนือโลก) โดยความหมายของ “ทาน” แปลว่า “ให้” มักมาคู่กับคำว่า “บริจาค” แต่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่าตามจริงแล้ว ทาน และ บริจาค มีความหมายที่ต่างกัน บริจาค หมายถึง “การสละออกไปรอบด้าน” (จาคะ แปลว่า สละ ส่วนบริ แปลว่า รอบด้าน) ตรงข้ามกับคำว่า “ปฏินิสสัคคะ” แปลว่า “ให้คืน” หากเข้าใจความหมายศัพท์พระ […]
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แห่งสวนโมกข์ ความงดงามที่ทำให้เจริญในธรรม
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แห่งสวนโมกข์ ความงดงามที่ทำให้เจริญในธรรม หากถามว่าเมื่อพูดถึงสวนโมกข์ ไชยา จะนึกถึงอะไรบ้างนอกจากท่านพุทธทาสภิกขุ คงเป็น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แห่งสวนโมกข์ พระองค์นี้ที่เรียกได้ว่า เป็นเอกลักษณ์ของสวนโมกข์ ไชยา ก็ว่าได้ 0 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์แห่งเมตตา พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ในคติพระพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน เป็นสัญลักษณ์และบุคลาธิษฐานแห่งความเมตตา พระสูตรมหายานกล่าวว่าพระองค์เกิดจากความเมตตาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ด้วยความเมตตาที่เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์จึงทำให้ทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์จนกว่าจะเข้าถึงฝั่งพระนิพพานทั้งหมด แล้วพระองค์จึงจะยอมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นผู้ปิดประตูแห่งสังสารวัฏ 0 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กับศรีวิชัย ในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีหลักฐานปรากฎของความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรเก่าแก่ที่มีชื่อว่า “ศรีวิชัย” หรือที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกว่า “ศิริวิชัย” ในสมุดบันทึกของท่านเอง แสดงให้เห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุนอกจากจะปราดเปรื่องทางธรรมแล้ว ยังมีความสนใจในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีดังที่เขียนบันทึกไว้ในหัวข้อว่า “ทำไมอุตริเป็นนักโบราณคดี?” อีกด้วย หลักฐานที่ปรากฏถึงความรุ่งเรืองของศรีวิชัยคือ ซากศาสนสถานทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และวัตถุโบราณอย่างพระพุทธรูป ธรรมจักร และเทวรูป ฯลฯ รูปปั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่ท่านพุทธทาสภิกขุให้พระโกวิท (เขมานันทะ) ปั้นขึ้นนั้น มีแบบมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์สำริดที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพบในขณะที่เสด็จประพาสแหลมมาลายู ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพบพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่า “อวโลกิเตศวร………. พบที่สนามหญ้าตรงหน้าบริเวณกำแพงพระบรมธาตุออกไป สมเด็จกรมพระยาดำรงเสด็จมาพบด้วยพระองค์เอง. ผู้ที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ในเวลานั้น เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านทอดพระเนตรเห็นตั้งแต่บนหลังช้าง ช้างยังไม่ทันจะทรุดตัวลงอย่างเรียบร้อย […]
ซีเคร็ตรีวิว 9 หนังสือธรรมะน่าอ่าน ที่คุณไม่ควรพลาดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47
ซีเคร็ตรีวิว 9 หนังสือธรรมะน่าอ่าน ที่คุณไม่ควรพลาดใน งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 เชื่อว่าตอนนี้เหล่าหนอนหนังสือทั้งหลายคงกำลังตรวจตราเงินในกระเป๋าสตางค์ และคิดว่างานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้ฉันต้องหมดเงินไปเท่าไรกับการกวาดซื้อหนังสือเล่มโปรดมาครอบครอง ซีเคร็ตอยากให้ลองมาสัมผัสกับ 9 หนังสือธรรมะน่าอ่าน ที่คุณไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 พอได้ยินคำว่า “หนังสือธรรมะ” หลายคนอาจส่ายหน้า หรือเกิดอาการง่วงขึ้นมาทันควัน เพราะอาจเคยคุ้นชินกับหนังสือธรรมะแบบเดิม ๆ ที่มีแต่ตัวหนังสือ อ่านเข้าใจยาก เปิดไปไม่กี่หน้าก็จะหลับคาหนังสืิอเสียแล้ว แต่……ขอบอกเลยว่า หนังสือธรรมะที่ซีเคร็ตจะมารีวิวทั้งหมด 9 เล่มนี้ รับรองได้เลยว่า ไม่เหมือนหนังสือธรรมะแบบเดิม ๆ ที่เคยรู้จักมาแน่นอน ก่อนมรณาจะมาถึง มาเริ่มกันที่ผลงานของท่าน ว. วชิรเมธี “ก่อนมรณาจะมาถึง” เป็นหนังสือธรรมะที่อ่านง่ายมาก เนื้อหาไม่หนัก แถมท่านว.วชิรเมธียังใส่เหตุการณ์จริงที่เคยเป็นข่าว และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของท่าน บอกเล่าผ่านหนังสือธรรมะเล่มนี้ นับว่าเป็นหนังสือธรรมะที่สอนให้เข้าใจเรื่องความตาย จนรู้สึกได้ว่า ความตาย คือเพื่อนที่เราไม่ควรเกลียดหรือกลัวเขา การระลึกถึงความตาย หรือศัพท์ทางพระท่านเรียกว่า “มรณานุสติ” ทำให้เป็นประจำ บ่อยครั้งจนไม่ต่างจากการคิดถึงเพื่อนสนิทที่ไม่ได้เจอกันเลย เพียงแค่นี้ความตายก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว พูดได้คำเดียวเลยว่า เป็นหนังสือธรรมะที่น่าอ่านมาก […]
พระพุทธเจ้าในภาษาคนภาษาธรรม ถอดอัตตาให้ไปสู่วิมุตติ
พระพุทธเจ้าใน ภาษาคนภาษาธรรม ถอดอัตตาให้ไปสู่วิมุตติ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวความหมายของพระพุทธเจ้าโดยแยกเป็น ภาษาคนภาษาธรรม ได้อย่างลึกซึ้งมาก ทำให้เห็นว่าที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าในสองภาษา อาจเป็นพระองค์เดียวกัน แต่กลับมีความหมายที่ลึกซึ้งไปคนละอย่าง หากเราเข้าใจในภาษาธรรม ก็จะเข้าใจพระพุทธเจ้าในภาษาคนด้วย ทำให้เราไปสู้วิมุตติได้ไม่ยาก คือไม่ยึดติดในสมมติสัจจะที่ชาวโลกบัญญัติ แต่เข้าใจถึงสภาวะธรรมที่เป็นจริง ซึ่งสภาวะธรรมนี้ที่ทำให้มนุษย์สามารถตรัสรู้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานได้นั่นเอง คนทั้งหลายทราบกันดีว่า “พุทธะ” ในภาษาคน หมายถึงพระพุทธเจ้า คือเจ้าชายสิทธัตถะผู้สละราชสมบัติ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น ทรงมีพระชนม์ชีพเมื่อสองพันปีก่อน เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระสรีรสังขารถูกเปลวเพลิงเผาพลาญสิ้นไปแล้ว นั่นคือพุทธะในภาษาสามัญที่ชาวโลกรู้จัก แต่ส่วนพุทธะในภาษาธรรม หมายถึงองค์ธรรมแท้ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรมะนั้น แม้จะจับจีวรของตถาคตอยู่แท้ ๆ ก็ไม่เชื่อว่าเห็นตถาคตเลย” ลองตรองดูว่า ธรรม ในที่นี้คืออะไร ธรรม ในที่นี้คือ สิ่งที่เป็นนามธรรมไม่เป็นตัวเป็นตน ไม่มีรูปร่าง แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่านั่นแหละคือตัวตถาคต เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าในภาษาธรรม คือตัวธรรมะที่ทำบุคคลสามัญให้กลายเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าได้เห็นแล้วจึงได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า คนในสมัยพุทธกาลหลายคน ไม่พอใจ ไม่ชอบพระพุทธเจ้า ด่าพระองค์ ทำร้ายพระองค์ […]
ชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ เมื่อความถูกต้องคือพื้นฐานของชีวิต
หากหลงไปตามกระแสอารมณ์ความรู้สึกก็จะกลายเป็นชีวิตที่มีแต่ทุกข์ หรืออย่างที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกว่า ชีวิตมันกัดเจ้าของ
9 ปี บนเส้นทางการขับเคลื่อนงานธรรมที่ไม่เคยหยุดนิ่งของสวนโมกข์กรุงเทพ
9 ปี บนเส้นทางการขับเคลื่อนงานธรรมที่ไม่เคยหยุดนิ่งของ สวนโมกข์กรุงเทพ จากจุดเริ่มต้นที่คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ตั้งใจเผยแพร่เรื่องราวและผลงานของท่านอาจารย์พุทธทาสในรูป “หอจดหมายเหตุพุทธทาส” ณ สวนโมกข์ไชยา แต่ด้วยผลงานที่มากด้วยคุณค่าและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก จึงเกิดแรงสนับสนุนมากมายผลักดันให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะสวนโมกขพลารามและคณะธรรมทานเห็นควรให้จัดตั้งหอจดหมายเหตุฯ ขึ้นที่กรุงเทพ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ใช้พื้นที่ “สวนวชิรเบญจทัศ” เป็นที่ตั้ง และสวนสาธารณะแห่งนี้เป็นพื้นที่มีศักยภาพดึงดูดคนกรุงเทพฯ ให้เข้าร่วมกิจกรรม จึงขยายขอบเขตงานไม่จำกัดเพียงสร้างหอจดหมายเหตุฯ แต่พัฒนาเป็น “ สวนโมกข์กรุงเทพ ” ที่เป็นหนึ่งในเสาหลักขับเคลื่อนงานธรรมเพื่อนำธรรมะกลับสู่ใจคน Secret ได้รับเกียรติจากคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช มาร่วมพูดคุยถึง “9 ปี บนเส้นทางการขับเคลื่อนงานธรรมของสวนโมกข์กรุงเทพและทิศทางการเผยแผ่งานธรรมในบริบทโลกปัจจุบัน” 0 เหลียวหลัง: ท่านอาจารย์พุทธทาสกับการวางรากฐานการขับเคลื่อนงานธรรม ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นพระที่มีวิสัยทัศน์และแสวงหาช่องทางเพื่อสื่อสารธรรมะมากที่สุดรูปหนึ่ง โดยท่านใช้สารพัดสื่อมาเผยแผ่งานธรรมของท่าน กล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2475 ท่านตั้งโรงพิมพ์ สำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ราย 3 เดือน เพื่อเผยแผ่ธรรมะ และในการบรรยายธรรม ท่านใช้สื่อโสตทัศน์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคท่าน เมื่อมีโอกาสท่านก็ขยายช่องทางไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ และมีกลยุทธ์ในการออกหนังสือเป็นเล่มเล็ก […]
พุทธศาสนาคืออะไร ทำไมเราต้องปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา
พุทธศาสนาคืออะไร ทำไมเราต้องปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา พุทธศาสนาคืออะไร หลายคนคงเคยสงสัยกันมาบ้าง พุทธศาสนาคือ ศาสนาของผู้รู้ เพราะพุทธะแปลว่าผู้รู้ คือรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวงได้ถูกต้องเพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา หรืออาศัยวิชาความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น การทำพิธีรีตองเพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นไม่ใช่พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้; พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง พุทธศาสนาไม่ประสงค์การคาดคะเน หรือทำอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้นเผื่อจะเป็นอย่างนี้ เราจะทำไปตรง ๆ ตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น แม้จะมีคนอื่นมาบอกให้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเชื่อเขาทันที เราจะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แล้วจึงจะเชื่อ และพยายามทำให้ปรากฏผลด้วยตนเอง ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอย่างหนึ่ง ดูอีกเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่งแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการคิดในแนวไหน ก็จะเห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะที่แตกต่างกันได้ แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้ คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความจริงหรือสัจจะสำหรับคนหนึ่ง ๆ นั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจและมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเอง : สิ่งที่เรียกว่า “ความจริง” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่ง ๆ ได้ตื้นลึกกว่ากัน หรือด้วยลักษณะที่ต่างกันและด้วยสติปัญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือสติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตนหรือตนยังไม่เข้าใจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นความจริงของเขา ถ้าเขาจะพลอยว่าจริงไปตามผู้อื่น เขาก็รู้สึกอยู่แก่ใจว่าไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย ความจริงของคนหนึ่ง ๆ […]
ธรรมะที่เป็นสุข และถูกต้อง เป็นอย่างไร โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ธรรมะ แปลว่าหน้าที่ แต่เรามักจะแปลกันว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หน้าที่คือสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ดับทั้งอย่างความทุกข์ของชาวบ้านคือเรื่องมีกินมีใช้ไม่ยากจน สะดวกสบาย และยังจะดับทุกข์ที่สูงขึ้นไปในทางจิตใจ