ทุกข์
“รับความจริงได้ย่อมไร้ทุกข์” ธรรมะจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
“รับความจริงได้ย่อมไร้ทุกข์” ธรรมะจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ คนส่วนใหญ่ไม่ชอบอยู่กับความเป็นจริง แต่ชอบอยู่กับความปรารถนาหรือความต้องการของตนเอง พฤติกรรมดังกล่าวจึงนำความทุกข์มาให้โดยไม่รู้ตัว การอยู่กับความปรารถนาหรือความต้องการคืออะไร แต่ละวันเรามักจะคิดอยากให้สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ มากมายต่าง ๆ นานา จนเป็นความเคยชินหรือเป็นพฤติกรรมของจิต เช่น เมื่อขับรถหรือนั่งรถไปบนท้องถนนก็ไม่อยากให้รถติด ไม่อยากเจอสัญญาณไฟแดง ไม่อยากให้รถคันอื่นมาตัดหน้า อยากให้ถึงที่หมายเร็ว ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่อยู่กับความต้องการของตนเองทั้งสิ้น ครั้นเมื่อเจอรถติด เจอสัญญาณไฟแดง เจอรถคันอื่นปาดหน้า ไปถึงที่หมายช้ากว่ากำหนด ก็เกิดความรู้สึกหงุดหงิด เครียด หรือโกรธ อาการเหล่านี้คือความทุกข์ หากอยู่กับความเป็นจริงจะอยู่อย่างไร อยู่อย่างรู้เห็นตามความเป็นจริง นั่นคือเมื่อเจอรถติดก็รู้และยอมรับว่ารถติด ต่อให้คิดอย่างไรรถก็ยังติดตามเหตุของมันเมื่อเจอสัญญาณไฟแดง หากยังเปลี่ยนเป็นไฟเขียว ต่อให้คิดจนตายก็ยังติดไฟแดงอยู่นั่นเอง เมื่อมีรถคันอื่นปาดหน้า ก็รู้ว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นและผ่านพ้นไปแล้ว ต่อให้โกรธหรือด่าแช่งชักหักกระดูกผู้ขับรถปาดหน้าอย่างไร ก็แก้ไขเหตุการณ์นั้นไม่ได้ เมื่อรถติด ไปไม่ทันเวลา ก็ยอมรับความเป็นจริงว่าไปไม่ทันเวลา จะคิดขุ่นเคืองโทษสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้ไปไม่ทันเวลาอย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ การอยู่กับความเป็นจริงและยอมรับความเป็นจริงจึงไม่ทำให้เครียด ไม่ต้องทุกข์ แต่มิใช่ว่าจะต้องยอมจำนนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หากรู้ว่าเส้นทางที่จะไปรถติด ก็เผื่อเวลาเดินทางให้มากขึ้นหรือไปเส้นทางอื่นที่รถไม่ติด แต่ถ้ารถยังติดก็ยอมรับความเป็นจริงและหาวิธีปรับเปลี่ยนแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ ที่มา : […]
ใช้ทุกข์ดับความทุกข์ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ใช้ ทุกข์ดับความทุกข์ ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม ใช้ ทุกข์ดับความทุกข์ หมายถึง เราดับทุกข์ทางใจ ทุกข์ทางใจคือใจของเราที่กำลังเดือดร้อน ที่กำลังเป็นทุกข์ กำลังร้อนรุ่ม หรือกำลังเศร้าโศกเสียใจอะไรอย่างนี้ ในความหมายของคำว่าทุกข์ คือความไม่สบายทางกายและทางใจ ที่บอกว่าใช้ทุกข์ดับทุกข์ หมายถึงใช้ทุกข์เป็นอุปกรณ์ในการที่จะดับทุกข์ ทุกข์ในที่นี้คือทุกข์ใจ ทุกข์ใจคือความไม่สบายทางใจ ความเดือดร้อนทางใจ ความเศร้าโศกเสียใจ ความคับแค้นใจ ทุกข์เหล่านี้เราสามารถที่จะดับได้ เราสามารถที่จะขจัดได้ ทุกข์จะสามารถดับทุกข์ได้อย่างไร เวลาใจของคนเราในยามเป็นทุกข์ ใจของเรากำลังดำดิ่ง ใจของเรากำลังคิดถึงการพลัดพราก การจากไปของสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ชอบใจ เราต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง สิ่งที่เราหวงแหน สิ่งของอันเป็นที่รักที่ชอบใจของเรามันอันตรธานไปหมด หรือสูญหายไปอย่างนี้ ใจของปุถุชนคนเราก็ย่อมทุกข์เป็นธรรมดา แล้วใจของเราที่กำลังเป็นทุกข์นี้นี่แหละ เราสามารถนำมาเป็นอุปกรณ์ อุปกรณ์ในการดับทุกข์ เอาใจมาเป็นอุปกรณ์ในการดับทุกข์ได้อย่างไรก็คือเอาใจที่กำลังเป็นทุกข์ มาดูให้รู้จัก คือเรามองเข้าไปในความรู้สึกที่เป็นทุกข์ทันทีนั้น มองเข้าไปในใจของเราที่กำลังเป็นทุกข์ มองเข้าไปในใจของเราที่กำลังเดือดร้อน มองเข้าไปในใจของเราที่กำลังร้อนรุ่ม มองเข้าไปในใจของเราที่กำลังคับแค้น กำลังขัดเคือง กำลังขุ่นข้อง มัวหมอง มองเข้าไปในความรู้สึกตรงนี้นี่แหละ ขณะที่เรามองเข้าไปในความรู้สึกตรงนี้จะทำให้ใจของเราหยุดคิด ที่เราเป็นทุกข์มันเกิดจากการคิด คิดเวลาใดก็ทุกข์ใจเวลานั้นคิดบ่อย ๆ ก็ทุกข์บ่อย […]
เมื่อรู้สึกแพ้แล้วใจเป็นทุกข์ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เมื่อรู้สึกแพ้แล้ว ใจเป็นทุกข์ ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนไม่ยอมพ่ายแพ้ คิดแต่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียว แต่พอต้องแพ้ขึ้นมา ใจเป็นทุกข์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครที่เป็นแบบนี้แล้วกำลังทุกข์อยู่กับความพ่ายแพ้ อยากให้ลองเปลี่ยนความคิดและมองความพ่ายแพ้เสียใหม่ มันอาจเป็นความโชคดีก็ได้ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญได้กล่าวไว้ดังนี้ ชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว บางทีก็ล้มบ้าง แพ้บ้าง อะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องไปชนะตลอด มันมีรสชาติแห่งชีวิต ถ้าชนะตลอด เกรดเอตลอด เกรดสี่ตลอด เกียรตินิยมตลอด ไม่ค่อยมีรสชาติ ไม่ค่อยตื่นเต้นแล้ว บางทีถ้ามองว่าเป็นสีสัน สีสันแห่งการใช้ชีวิต มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แม้แต่นักมวยบางคน เขาชนะมาตลอดบางทีเขารู้สึกว่ามันจืดชืดมากเลย แต่บางทีพอเจอแพ้บ้าง เขารู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจอะไรบางสิ่งบางอย่าง แล้วก็จะได้ประสบการณ์ในความพ่ายแพ้ แล้วก็ได้เห็นจิตเห็นใจอะไรบางอย่าง แต่สุดท้าย ถ้าในแง่อยากฝากสำนวนไว้ก็คือว่า “ ชนะได้เพราะไม่เอาชนะ บุคคลเมื่อไม่อาจพ่ายแพ้ ใหญ่ไม่พ่ายแพ้หมดจด ถ้าไม่อาจพ่ายแพ้ นั่นนับเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ ” เราจะมีความดิ้นรนทางใจอย่างเหลือประมาณที่จะกันทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พ่ายแพ้ เพื่อรักษาความเป็นเลิศ ความเป็นหนึ่ง เพื่อที่จะต้องชนะ […]
“ไม่ยึด ไม่ทุกข์” อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
“ถ้าเราไม่ยึดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นของของเรา…แล้วเราจะทุกข์ได้อย่างไร” เมื่อคิดได้ดังนี้ ไม่ว่าภายนอกจะเจอสิ่งใดมากระทบ ภายในของผม (ประเสริฐ อุทัยเฉลิม) ก็ไม่กระเทือน ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้… วันนั้นผมขับรถไปทำธุระพร้อมกับกัลยาณมิตรท่านหนึ่งซึ่งนั่งอยู่คู่กันในรถ ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่นั้น อยู่ดี ๆ มอเตอร์ไซค์ก็พุ่งเข้ามาชนท้ายรถเสียงดัง “โครม!” มอเตอร์ไซค์ที่ชนท้ายรถล้อเบี้ยว คนขับจึงรีบไถรถให้เข้าไปจอดข้างทาง เมื่อรถสามารถเคลื่อนตัวได้ แทนที่ผมจะจอดเข้าข้างทางเพื่อลงไปคุยกับคนที่ชนท้ายรถเรื่องค่าเสียหาย ผมเลือกที่จะขับรถต่อไป จนคนที่นั่งข้าง ๆ ผมอดที่จะถามไม่ได้ว่า “อาจารย์ไม่จอดรถหรือคะ” ผมบอกว่าไม่เป็นไรหรอก เขารีบถามต่อด้วยความร้อนใจ “แล้วถ้ารถเราเสียเยอะล่ะคะ…เขาเป็นคนชนท้ายเรา เขาผิดนะคะ” ผมตอบว่า “เราเบรกทัน แต่เขาเบรกไม่ทัน…แล้วรถของเขาก็เสียหายเยอะด้วย…ส่วนรถเราถ้าเสียเยอะค่อยซ่อมกันอีกที” ตอนนั้นเราทั้งคู่ยังไม่ทันได้ลงไปดูรถว่าเสียหายที่ใดบ้าง เมื่อสบโอกาสผมจึงเลี้ยวรถเข้าปั๊มน้ำมันเพื่อลงมาดูว่าสภาพท้ายรถเสียหายแค่ไหน ปรากฏว่ากันชนฉีกและไฟแตก คนที่นั่งไปกับผมถามว่า อาจารย์รู้สึกอย่างไรบ้างที่รถไฟแตก ดูค่าซ่อมน่าจะเป็นหมื่น ผมก็ตอบไปอย่างไม่มีอารมณ์โกรธเคืองคนที่ชนท้ายรถผมเลยว่า “ถ้าไม่มีตังค์ก็ไม่เป็นไร ไว้ก่อน…มีตังค์แล้วค่อยซ่อม แล้วเราทั้งคู่ก็ขึ้นรถขับไปต่อ ระหว่างทาง เราคุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ เมื่อเวลาผ่านไปพักหนึ่ง ผมจึงย้อนถามคนที่นั่งข้าง ๆ ว่า “ตอนนี้ไฟท้ายยังแตกอยู่ไหม” เขาตอบว่า “แตก” ผมถามเขาต่อว่า “แล้วเมื่อกี้ตอนที่เราคุยกัน…ในใจของคุณมีเรื่องไฟแตกไหม” เขาส่ายหน้าแล้วบอกว่าไม่มี ผมจึงถือโอกาสนี้กล่าวกับเขาว่า “ไฟแตกไปแล้ว ‘ข้างนอก’ […]
ที่จริงร่างกายนี้ไม่ใช่ของดี ธรรมะละ สักกายทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้า
ที่จริงร่างกายนี้ไม่ใช่ของดี ธรรมะละ สักกายทิฏฐิ ของพระพุทธเจ้า สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นที่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นเรา เช่น การหลงใหลในรูปลักษณ์ของตนเอง ดังเช่น เจ้าหญิงอภิรูปนันทา และเจ้าหญิงสุนทรีนันทาที่ทรงหลงใหลในความงามของพระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานทำให้เจ้าหญิงทั้งสองทรงสามารถละสักกายทิฏฐิได้ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด ผู้ที่ละจากสักกายทิฏฐิได้นั้นคือพระโสดาบัน และพระอริยบุคคล พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สักกายทิฏฐิสูตรว่า “ผู้ที่จะละสักกายทิฏฐิได้คือผู้ที่เห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์” สอดคล้องกับกรณีของเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์อยู่เหมือนกัน ขัตติยนารีในสมัยพุทธกาลมีหลายพระองค์ที่ทรงหลงในรูปโฉมอันงดงามของพระองค์เอง แต่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ปราบพยศลงได้เช่นกัน และส่งเสริมให้พระนางทั้งหลายสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ อาทิเช่น พระนางเขมา พระมเหสีแห่งพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน ซึ่งเป็นป่าที่มีนางยักษ์ชื่อว่า “เภสกฬา” อาศัยอยู่ เป็นเขตให้อภัยทานของกวาง อยู่ใกล้เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท นกุลคหบดีได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยไม้เท้า เมื่อมาถึงเบื้องพระพักรตร์แล้วได้นั่งลงและกราบอภิวาทพระองค์อยู่ข้างหนึ่ง นกุลคหบดีผู้นี้เป็นเศรษฐีเฒ่า ครองรักกับภรรยามานานเป็นสิบปี ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่เมื่อได้พบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งกลับเรียกพระองค์ว่า “ลูก” สร้างความแตกตื่นให้กับพระภิกษุ และประชาชนที่กำลังใส่บาตรพระองค์อยู่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเฉลยว่า นกุลคหบดี และภรรยาเคยเป็นบิดาและมารดาของพระองค์มาหลายร้อยชาติ จึงไม่แปลกที่ทั้งสองจะจดจำพระองค์ในฐานะลูก แต่ที่จริงในภพชาตินี้พระบิดาและพระมารดาที่แท้จริงคือ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา ผู้อธิษฐานเป็นพุทธบิดา และพุทธมารดา […]
ไม่มีถูกกับผิด มีแต่ ทุกข์กับพ้นทุกข์ – นิตยสาร Secret
เรื่องนี้จะไม่จบแค่เพียงที่ใครถูกใครผิด แต่มันจะมีคำถามที่ลึกซึ้งกว่านั้นคือ ใครจะ พ้นทุกข์ ได้เร็วกว่ากัน ใครจะพ้นทุกข์จากการมีมิจฉาทิฏฐิได้เร็วว่ากัน
บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะทุกข์นี่เอง ทุกข์จนสุดทนก็ไม่ทน ทุกข์ ไม่ทนที่จะทุกข์เอง เป็น “ธัมมนิยามตา” (เป็นกฎตายตัวของธรรมดา) ทุกข์จนไม่อาจทุกข์ ไม่อาจที่จะให้ทุกข์อยู่ต่อไปได้อีกแล้ว ก็จะ “อตัมมยตา” (ความที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งนั้นอีกต่อไป) พ้นทุกข์ เพราะทนที่จะทุกข์ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะทุกข์กับทุกข์ไม่ได้อีกแล้ว ทนที่จะอยู่กับทุกข์ ทนที่จะกำทุกข์เอาไว้ไม่ได้อีกแล้ว ไม่สามารถที่จะให้ทุกข์อยู่ได้อีกต่อไปแล้ว กักขังหน่วงเหนี่ยวหรือยึดเอาไว้ไม่ได้อีกต่อไปแล้วจึงปล่อยไป ปล่อยให้ทุกข์ไหลออกไป ไหลออกไปจนหมดนั่นแหละ ทุกข์จึงหมดไปหรือหมดไปจากทุกข์ ก็เพราะทุกข์ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะทุกข์ได้ทำให้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้ว จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็เพราะว่าได้ทุกข์จนถึงที่สุดแล้วนั่นเอง เมื่อทุกข์สุด ๆ ก็สุดที่จะทุกข์ ที่สุดแห่งทุกข์มาจากทุกข์ที่สุด พ้นทุกข์ได้เพราะทุกข์มาทำให้พ้นทุกข์ (ดังนั้นขอบคุณมาก เจ้าความทุกข์เอ๋ย) ทุกข์ดับสนิทได้เพราะไม่ได้เข้าไปดับทุกข์ ทุกข์อยู่ไม่ได้เพราะอยู่กับทุกข์ได้ อยู่กับทุกข์ได้จนทุกข์อยู่ไม่ได้ ทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ทุกข์จึงต้องพรากจากจรไป เพราะไม่มีเยื่อใยสายใยต่อทุกข์เลย ทุกข์เกาะเกี่ยวผูกพันไม่ได้เพราะไม่มีความอาลัยไยดีเป็นมิตรไมตรีกับทุกข์เลย พ้นจากสังสารวัฏทุกข์ได้ เพราะไม่มีความสงสารเห็นอกเห็นใจต่อทุกข์เลย ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสารอยู่ ก็จำต้องเวียนว่ายในวัฏสงสารอีกต่อไป เพราะความสงสารแท้ ๆ จึงทำให้ยังข้องอยู่ในวัฏสงสาร ผู้ที่ยังไม่พ้นทุกข์ ก็เพราะยังทนทู่ซี้กำทุกข์อยู่นั่นเอง ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็เพราะทุกข์ยังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง “ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีแก่เราได้” นี้เป็นบททำวัตรสวดมนต์บทหนึ่งที่ชาววัดทั้งหลายใช้สวดกันเป็นประจำ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้คำตอบแล้วจากบทความนี้ […]
มองชีวิตตามความเป็นจริงด้วยอริยสัจ 4 เพื่อไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง
มอง ชีวิตตามความเป็นจริง ด้วยอริยสัจ 4 เพื่อไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง หลักการของพระพุทธศาสนานั้นชัดเจนว่าท่านมุ่งสอนให้รู้จักโลกและ ชีวิตตามความเป็นจริง เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่ไม่เที่ยง คือไม่คงที่ เกิดขึ้นแล้วดับไป ๆ สืบเนื่องไปเรื่อย ๆ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ คือถูกปัจจัยต่าง ๆ ที่ขัดแย้งบีบคั้นให้แปรปรวนไปตลอดเวลา และไม่ใช่ตัวตน คือเป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยไม่มีตัวตนที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่บงการให้เป็นไปตามความปรารถนา เรียกตามแบบว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อรวมว่าไตรลักษณ์ คำเด่นที่สะดุดความรู้สึกของคนจำนวนมากคือคำว่าทุกขัง ซึ่งแปลง่าย ๆ ว่าเป็นทุกข์ คำว่า “ทุกข์” นี้นอกจากเป็นหนึ่งในไตรลักษณ์นี้แล้ว ยังปรากฏในหลักธรรมที่สำคัญยิ่ง ซึ่งหัวใจหรือหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาคือข้อแรกในอริยสัจ 4 หลายคนมองเห็นหลักธรรมเหล่านี้แล้วไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งลงไป ก็เกิดความรู้สึกว่าพระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย เห็นโลกและชีวิตเป็นทุกข์ แต่เมื่อมองดูหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนากลับมองเห็นแต่การดำเนินก้าวหน้าไปด้วยความสุข สู่จุดหมายที่เป็นบรมสุข ตั้งแต่หลักทั่วไปของการปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ถือว่าความสุขสามารถเข้าถึงได้ด้วยความสุข คือคนสามารถบรรลุถึงความสุขด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นสุข อันต่างจากลัทธิศาสนาบางพวกที่ถือว่าความสุขจะบรรลุถึงได้ด้วยความทุกข์ เครื่องทดสอบความถูกต้องอย่างหนึ่งของการปฏิบัติธรรมก็คือ การได้ความสุขที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัตินั้น ไม่เฉพาะในฌานต่าง ๆ เท่านั้นที่มีความสุขเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการปฏิบัติทั่วไป ตัวตัดสินความถูกต้องก็มีความสุขเป็นองค์ธรรมสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นด้วย […]
“อายุ วรรณะ สุขะ พละ…ก็ใช่ว่าจะไม่ทุกข์” ธรรมะโดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ทั้งที่นิพพานเป็นอุดมคติของชาวพุทธ แต่ชาวพุทธจำนวนมากก็ละทิ้งอุดมคตินี้ไป หวังแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า หวังแต่ความสุขในชีวิตนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นหลักประกันที่ยั่งยืนเลย มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ก็ใช่ว่าจะไม่ทุกข์ อายุร้อยปีก็ยังทุกข์ ทุกข์เพราะลูก ทุกข์เพราะหลาน ร่ำรวยเป็นหมื่นล้านก็ยังกลุ้มใจ หวาดกลัวความตายอยู่นั่นเอง แม้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะไม่ได้เป็นหลักประกันความสุขที่แท้จริง แต่ชาวพุทธไทยเราก็หวังแค่นี้ ทั้งที่มนุษย์เราสามารถที่จะไปให้ไกลกว่านั้นได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โลกุตรธรรมอันประเสริฐเป็นทรัพย์ประจำตัวของทุกคน” พูดง่าย ๆ ว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงโลกุตรธรรมได้ แต่เรากลับปฏิเสธ เราละเลยที่จะใช้ศักยภาพนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพนี้อยู่ และที่สำคัญคือเราไม่คิดว่าความสุขระดับโลกุตระสำคัญกว่าความสุขแบบโลก ๆ หรือกามสุข “จะให้ทิ้งความสุขทางวัตถุเพื่อไปนิพพานน่ะหรือ…ฉันไม่อยากไปหรอก” ทั้งที่รู้ว่านิพพานประเสริฐ แต่เรายังติดในรสชาติความสุขทางกามอยู่ เมื่อใจไม่คล้อยไปทางนิพพานก็เลยไม่เห็นคุณค่า เมื่อไม่เห็นคุณค่าก็ไม่ตั้งไว้เป็นอุดมคติของชีวิต เช่นนี้นับว่าผิดจากในอดีต ชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมานั้นถือว่านิพพานเป็นอุดมคติของชีวิต ปู่ย่าตายายของเราเวลาทำบุญเสร็จเขาไม่ขออะไรมาก เขาขอแค่ว่า “นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ” (ขอให้ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยเพื่อบรรลุนิพพาน) หรืออย่างน้อยก็ขอให้ได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ เพื่อจะได้ไปนิพพาน แม้อาตมาจะไม่ค่อยแน่ใจว่า นิพพานของคนเฒ่าคนแก่นั้นหมายถึงอะไร อาจหมายถึงเมืองแก้วหรือสวรรค์ชั้นสูงสุด หรือหมายถึงภาวะที่อยู่เหนือสวรรค์ก็ได้ แต่คำอธิษฐานนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เห็นว่าความสุขทางวัตถุหรือความสุขแบบโลก ๆ เป็นความสุขที่แท้ […]
พึ่งตัวเองให้ได้แล้วผู้อื่นจะได้พึ่งเรา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เมื่อผู้อื่นมีทุกข์และถ้าเรายังมีทุกข์อยู่เช่นผู้อื่น แล้วเราผู้มีทุกข์จะไปช่วยให้ผู้อื่นไม่ทุกข์หรือพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร ดีไม่ดีอาจเป็นการไปเพิ่มทุกข์ หรือไปทำให้เขาทุกข์หนักขึ้นก็ได้นะ ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองพ้นไปจากทุกข์ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าเรายังทุกข์เต็มที่อยู่ ยังกลัดกลุ้มร้อนรุ่ม หงุดหงิดโมโห อาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยาอยู่ ยังเปล่าเปลี่ยวอ้างว้างหงอยเหงาอยู่ หรือยังอยากไม่รู้จบไม่รู้สิ้นอยู่ หรือพร่องอยู่เป็นนิจ ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม ยังต้องการความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นอยู่ ยังต้องการกำลังใจจากผู้อื่นอยู่ ยังต้องหวังให้ผู้อื่นปลุกใจปลอบใจอยู่ ฯลฯ แล้วอย่างนี้เราจะไปช่วยใคร ๆ ได้ เพราะแม้ตัวเราก็ยังเป็นที่พึ่งให้กับตัวไม่ได้ ช่วยตัวเราก่อนท่าน ก่อนที่จะไปช่วยผู้อื่น ดูแลตัวเอง ชื่อว่าดูแลผู้อื่น รักษาตัวเราก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นไปด้วย เพราะผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยดูแลเรา ผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยรักษาเรา เราก็จะไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่น และถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้ ต่างก็ทำกิจทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ให้ดีที่สุด สังคมก็จะมีความสงบสุข สันติภาพก็จะเกิดขึ้นจริง ๆ โดยธรรมดาทั่วไปแล้ว ถ้าเรามีสิ่งใด เราก็ย่อมจะนำสิ่งนั้นไปให้ผู้อื่นได้ แต่ถ้าตัวเราไม่มีสิ่งนั้น เราก็ไม่สามารถให้สิ่งนั้นกับใคร ๆ ได้จริง ๆ ตัวเราไม่มีความสงบสุข แล้วเราจะไปทำให้ผู้อื่นมีความสงบสุขได้อย่างไรถ้าเราไม่มีธรรมะ เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น แล้วผู้อื่นจะได้รับธรรมะจากเราได้อย่างไร ตรงข้าม ถ้าเรามีความทุกข์ […]
ใช้ทุกข์ดับทุกข์ สัมผัสนิพพานสุข…ที่นี่และเดี๋ยวนี้ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ใจของเรานั้นมีหน้าที่ดำริไปเรื่อย ๆ ดำริไปดำริมาไม่รู้จักหยุดนิ่ง ในที่สุดไม่ว่าดำริไปเจอเรื่องที่สบายใจหรือไม่สบายใจ ก็ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ได้ทั้งนั้น (ใช้ทุกข์ดับทุกข์) เช่น ดำริไปเจอเรื่องสบายใจ มีความสุข ตัณหาก็ปรุงแต่งว่าอยากพบเจอเรื่องนั้นบ่อย ๆ อยากให้เรื่องนั้นหรือสิ่งนั้นคงอยู่ตลอดไป คนที่คิดอย่างนี้ สุดท้ายก็เป็นทุกข์ เมื่อใจดำริไปเจอเรื่องไม่สบายใจ ตัณหาก็ปรุงแต่งว่าไม่อยากเจอเรื่องนี้เลย ไม่อยากให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับเราเลย…ก็เป็นทุกข์อีกเช่นกัน วิธีดับทุกข์เพื่อสัมผัสภาวะนิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้ มีอยู่ 2 วิธีง่าย ๆ ดังนี้ 1. รู้ทันกาย ใช้กายดับทุกข์ วิธีนี้คือให้ใจเกาะกายไว้เป็นที่พึ่ง กายเป็นเกราะกำบังทุกข์ ไม่ว่ากายจะทำหรือไม่ทำอะไรก็เอาใจตามกายไป เกาะติดอาการนั้นไปตลอด ยกตัวอย่างเช่น – ถ้ากายยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม ใจก็เกาะอยู่ที่การยกนั้น – ถ้ากายวางแก้วน้ำลง ใจก็เกาะอยู่ที่การวางนั้น – ถ้ากายนั่งอยู่ ใจก็รู้ว่านั่ง – ถ้ากายยืนอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการยืน – ถ้ากายเดินอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการก้าวเดิน – ถ้ากายนอนอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่อาการเอนตัวนอนนั้น – ถ้ากายหายใจอยู่ ใจก็เกาะอยู่ที่ลมหายใจเข้า – ลมหายใจออก พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ […]
ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ท่านพุทธทาสบรรยายธรรมไว้ว่า สิ่งแรกที่สุดที่คนเราจะต้องรู้จัก และศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติกรรมฐานภาวนาในพระพุทธศาสนานั้น สิ่งนั้นก็คือความทุกข์ ไม่รู้ทุกข์ก็ให้ผู้อื่นเป็นคนบอก คนเราเลยไม่รู้ว่าจะตั้งต้นอย่างไร ไม่มีปัญหา แล้วจะสะสางอะไร ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จะไปหาหมอหรือหาการเยียวยารักษาทำไม สิ่งที่จะต้องมีปรากฏอยู่ในใจก็คือสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์เป็นสิ่งแรก ท่านอาจจะรู้สึกด้วยตนเองก็ได้ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร แต่มันคงจะไม่สมบูรณ์ไม่หมด ดังนั้นจึงต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้ ข้อนี้ก็ตรงกับพระพุทธภาษิตที่ว่า แต่ก่อนโน้นก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติแต่เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น พระองค์ตรัสว่า จะบัญญัติ (คือพูด คือกล่าว คือสอนแนะนำ แต่งตั้งอะไรก็ตาม) เฉพาะเรื่องทุกข์กับเรื่องความดับทุกข์ สังเกตว่าจะมีคำว่าทุกข์มาเป็นเรื่องแรก การที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า “ต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้ (ว่าเป็นทุกข์)” ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่ามีด้วยหรือที่คนเราจะไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์จนกระทั่งต้องมีคนอื่นมาบอก สมัยพุทธกาลมีเจ้าหญิงเลอโฉมมากนางหนึ่ง เมื่อได้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุณีในสำนักของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าหญิงพระองค์นี้ หลงใหลในรูปโฉมของตน เพราะมีความงดงามมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น ชนบทกัลยานี เทียบกับปัจจุบันคงคือตำแหน่งนางงาม พระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาให้เจ้าหญิงละจากการหลงในความงาม เพราะการยึดติดในรูปขันธ์ที่มองวาเป็นสุข แต่แท้จริงแล้วการยึดติดในรูปขันธ์นั้นเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตหญิงงามที่งามที่สุดในสามโลกให้คอยปรนนิบัติพระองค์ เจ้าหญิงจ้องมองพระเนตรไม่กระพริบ หญิงงามนางนั้นก็ค่อย ๆ กลายเป็นหญิงชรา […]
ยอม “เจาะ” แม้ “เจ็บ”เพื่อให้ “จบ” บทความสำหรับคน แอบรักคนมีเจ้าของ โดยแม่ชีศันสนีย์
ดิฉันเคยเห็นคนอื่นประสบปัญหา แอบรักคนมีเจ้าของ เคยคิดว่าเป็นปัญหาที่หาทางออกได้ไม่ยากไม่เข้าใจว่าทำไมจึงยังคงมีปัญหานี้ปรากฏให้เห็นตลอด
ทุกข์มีคุณได้ ใช้เป็นก็ได้ประโยชน์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ตอนนี้ก็มาถึง ทุกข์ ทุกข์นั้นเราไม่ชอบ เพราะมันบีบคั้น ทำให้อึดอัด ติดขัด บีบคั้น คับข้อง นี้คือความหมายของ ทุกข์ เป็นธรรมดาที่ว่า คนเจอทุกข์ ย่อมไม่ชอบใจ แต่คนมีโยนิโสมนสิการสามารถเอาประโยชน์จากทุกข์ได้ ทำได้อย่างไร บอกแล้วว่าทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น คนก็อึดอัดขัดข้อง จึงทำให้เขาดิ้นรนเพื่อให้หลุดให้พ้นไป ถ้าเขารู้จักดิ้น นอกจากมีความเป็นไปได้มากว่าเขาจะหลุดพ้นไปได้แล้ว การดิ้นรนนั้นก็จะทำให้เขาเข้มแข็ง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการดิ้นรนหาทางนั้น มีการพัฒนาขึ้นไปในด้านต่าง ๆ มากทีเดียว ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า มนุษย์ที่มีจิตมีใจ รู้จักคิดได้นี้ ถ้าวางจิตใจถูกต้องและคิดถูกทางก็ดีไป แต่ถ้าวางจิตใจผิดและคิดเขวไป นอกจากไม่หลุดพ้นแล้ว ยังจะซ้ำเติมตัวเองอีกด้วย ยกตัวอย่าง คนเกิดมาจนข้นแค้นหรือตกทุกข์ได้ยาก ถ้าวางจิตใจไม่ถูกต้องและไม่รู้จักคิด มัวนั่งจับเจ่าเศร้าใจทอดอาลัยอยู่ ก็คือเอาทุกข์นั้นมาทับถมตัวเอง ก็ยิ่งจมลงไป ทีนี้ถ้าคนนั้นวางใจถูก และดิ้นรนเพียรพยายามแก้ปัญหา รู้จักคิดหาทาง ก็สามารถผ่านพ้นทุกข์นั้นไป และอาจจะประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ การดิ้นรนให้พ้นจากทุกข์ที่บีบคั้นนี้ บางทีถึงกับเป็นระบบของสังคมก็มี เอาง่าย ๆ ก็ได้แก่ระบบแข่งขันของสังคมตะวันตกที่กำลังแผ่ขยายไปครอบงำโลกทั้งหมด เป็นโลกาภิวัตน์นี่แหละ ระบบแข่งขันก็คือเอาทุกข์มาบีบ ทำให้คนต้องดิ้น และระบบแข่งขันนี้ซ้อนไว้กับระบบตัวใครตัวมัน คือปัจเจกชนนิยมอย่างเข้ม เมื่อดิ้นรนไปก็หวังพึ่งใครไม่ได้ด้วย ทำให้มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวและใช้พลังเต็มที่จึงทำให้คนเข้มแข็ง […]
พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งความสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
พุทธศาสนา คือ ศาสนาแห่งความสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ไม่ค่อยได้สังเกตกันว่า พระพุทธศาสนานี้เป็น ศาสนาแห่งความสุข ยิ่งบางทีไปเจอคำสอนบางเรื่องทำนองว่า นั่นก็ทุกข์ นี่ก็ทุกข์ ก็นึกว่าพุทธศาสนานี่เต็มไปด้วยเรื่องทุกข์ ไม่ต้องไปไหนไกล พอเจออริยสัจ 4 ขึ้นต้นข้อแรกก็ “ทุกข์” หรือพระดำรัสสรุปอริยสัจว่า ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้ เราสอนแค่ทุกข์และนิโรธแห่งทุกข์ ก็อาจจะถึงกับบอกว่า พระพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งความทุกข์ แต่อันนี้ได้ตัดออกไปให้แล้ว อย่างที่พูดมาข้างต้นว่า อริยสัจนั้นพระพุทธเจ้าตรัสกิจต่ออริยสัจกำกับไว้ด้วย ถ้าใครทำกิจต่ออริยสัจผิดไป ก็พลาดแล้ว ไม่ได้รู้จักและไม่มีทางถึงพระพุทธศาสนา แล้วกิจหรือหน้าที่ของเราต่อทุกข์นั้นคืออะไร ก็บอกแล้ว ท่องคำบาลีให้ติดลิ้นไว้เลยก็ได้ว่า “ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ” บอกเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ว่า ทุกข์นั้นท่านให้ปริญญา หรือว่า ทุกข์นั้นสำหรับรู้เข้าใจหรือรู้เท่าทันด้วยปัญญา คือ ทุกข์นั้นให้ใช้ปัญญารู้เข้าใจและแก้ไข อย่างที่ว่า ถ้าทุกข์มา ก็ส่งให้ปัญญาเอาไปจัดการ ถ้าทำกิจ ทำหน้าที่ต่อมันถูกต้องแล้ว เรื่องทุกข์ก็จบ ก็ปิดรายการไป (ที่จริงจะปิดรายการได้แน่ ก็พร้อมกับจบมรรค) คราวนี้ก็ถึงทีมาเรื่องสุขบ้างละ ถ้าจะให้เห็นได้ง่ายก็ดูที่พุทธประวัติ […]
(ไม่) ทุกข์เพราะสามีทิ้ง – บทความดีๆ เพื่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว
หลายคนคงเคยรู้สึกเจ็บปวดมากเหมือนฉันที่ สามีทิ้ง ไป ฉันจมอยู่กับความสงสัยว่าฉันทําอะไรผิด ลูกๆ ต้องรับผลจากการกระทําของพ่อ ต้องทนทุกข์กับเรื่องราวที่เราไม่เคยเตรียมใจไว้ก่อน (สามีทิ้ง) หลังจากล้มลุกคลุกคลานกับเรื่องราวต่างๆ ของตัวเองจนชินและชาแล้ว ฉันเริ่มคิดว่าตัวเองช่างโชคดีเหลือเกินที่ผ่านเรื่องต่างๆ มาได้โดยที่ยังเป็นคุณแม่ของลูกๆ อีกสองคน และเขาสองคนรักฉัน เมื่อสองปีก่อน วันที่พ่อของลูกเดินถือกระเป๋าออกจากบ้าน ในขณะที่ฉันและลูกยืนร้องไห้ ลูกรู้แต่เพียงว่าพ่อและแม่ทะเลาะกัน และพ่อกําลังจะไป ฉันไม่สามารถหยุดร้องไห้ได้ พี่สาวคนโตต้องเดินมาปลอบใจ ภาพลูกร้องไห้สะอึกสะอื้นกับความเสียใจของฉันที่ไม่สามารถยึดเขาไว้กับครอบครัวยังแจ่มชัด ฉันกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เหมือนผีตนหนึ่งที่ไม่สามารถหลุดจากความทุกข์ได้ เวลานี้เองที่ทําให้รู้จักความทุกข์ว่าเป็นอย่างไร พี่สาวของฉันยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลเด็กๆ ให้ ในเวลาที่ฉันควบคุมความโศกเศร้าไม่ได้ ฉันตีลูก เห็นน้ำตาลูกไหลโดยไม่สะอึกสะอื้น ฉันช่างเป็นแม่ที่ใจร้ายเหลือเกิน น้องที่บริษัทคอยให้กําลังใจเป็นเพื่อนทุกเวลาที่ฉันรู้สึกแย่กับเรื่องของสามี ทั้งปลอบ ทั้งให้แง่คิด ตอนที่เราทุกข์ เรามักมองอะไรไม่เห็น เหมือนตาถูกปิดไว้ให้มองเห็นแต่เรื่องเลวร้ายของตัวเอง คําแนะนําที่ทําให้ฉันยังคงยืนหยัดอยู่ได้ คือ มันคงเป็นกรรม และเมื่อกรรมมาถึงเราก็ต้องใช้กรรมนั้นให้หมด เมื่อหมดกรรมก็จะพบกับความสุข พี่สาวแนะนําให้อ่านหนังสือธรรมะ สวดมนต์ พาฉันไปพบปะผู้คน คอยถามไถ่ทุกข์สุข โทรศัพท์มาคุยด้วยทุกวัน เพื่อช่วยให้ความรู้สึกที่ว่าตัวฉันเองไม่มีค่าอะไรค่อยๆ หมดไป น้องที่บริษัทและเพื่อนๆ พาฉันไปทําบุญ ฉันเริ่มหันมาอ่านหนังสือธรรมะ หนึ่งในนั้นก็คือนิตยสาร Secret […]
วางใจผิด ชีวิตเป็นทุกข์ เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล
วางใจผิด ชีวิตเป็นทุกข์ เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล “ฉันทำผิดอะไร ถึงต้องมาเป็นอย่างนี้” หญิงชราวัย 75 ตัดพ้อกับหลวงพ่อที่เธอเคารพนับถือ
โลกสวย?…ด้วยการ (หนี) ทุกข์ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
คำถามจากนักปฏิบัติหน้าใหม่ ผู้ที่เพิ่งค้นพบว่าตัวเองเป็นคน “โลกสวย” คือ ชอบมองโลกแต่ในด้านสวยงามของชีวิตโดยไม่มองถึงความเป็นจริง และแสนจะเกลียดความทุกข์ แต่ศาสนาพุทธสอนว่า ถ้าไม่เห็น ทุกข์ ก็ไม่เห็นธรรม แล้วคนไม่ชอบยุ่งกับความทุกข์อย่างเธอจะทำอย่างไรดี… พระอาจารย์คะ หนูเกลียดความทุกข์มาก ไม่ชอบเผชิญหน้ากับมันเลย เช่น ถ้ารู้ว่ามีความรักแล้ว ทุกข์ ก็เลือกที่จะไม่มีความรักดีกว่า แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า “ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม” หนูอยากเห็นธรรม แต่ไม่อยากเห็นทุกข์…จะได้ไหมคะ ไม่ชอบทุกข์ ไม่ปรารถนาทุกข์ใช่ไหม…แต่ถ้าทุกข์แล้วได้ธรรม มันคุ้มนะ ถ้ามีผัว 4 – 5 คน มีลูก 7 – 8 คน แล้วทำให้ทุกข์จนถึงที่สุด จนได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันก็น่ามี ลองนึกถึงสมการ “เจอทุกข์ = เจอธรรม” สิ ใจเราจะได้เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทิฏฐิ ปรับจิตให้เข้าใจ ไม่หลบ ไม่หลีก ไม่หนี ปล่อยไปตามวิถี ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็ต้องเป็นจิตวิญญาณที่ระหกระเหิน เร่ร่อนในวัฏสงสารอีกหลายชาติ เพราะไม่รู้จักทุกข์เลย ฟังเผิน ๆ […]