ทำบุญให้ดี ทำทีเดียวได้ครบทั้งทาน-ศีล-ภาวนา

“ทำบุญให้ดี ทำทีเดียวได้ครบทั้ง ทาน -ศีล-ภาวนา” โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) การที่โยมมาทำบุญวันนี้ อย่างที่ทำกันมาทุก ๆ เดือน ถวาย ทาน แล้วมาสังสรรค์กันในหมู่ญาติมิตร แล้วก็มาบำเพ็ญธรรมทานอย่างนี้ ทั้งหมดนั้นก็เป็นการบำเพ็ญบุญกิริยา คือการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเราได้ทำกันในด้านต่าง ๆ ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะที่เห็นชัด ๆ ก็คือทาน     ตอนแรกก็ถวายทาน ถวายภัตตาหาร แล้วก็รักษาศีล ดังที่ได้สมาทานศีลกันเมื่อกี้นี้ แล้วก็ได้ภาวนา คือทำจิตใจและสติปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้น ทำจิตให้เจริญด้วยการทำใจให้สงบ ให้เบิกบานผ่องใส แล้วก็เจริญปัญญาด้วยการฟังธรรม เมื่อฟังธรรมะไปแล้ว ใจคอสบาย เกิดความสว่าง เข้าใจธรรมะ รู้ว่าอะไรจริง อะไรถูกต้อง อะไรดีงาม มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนมากขึ้น ก็เจริญปัญญา แม้จะยังไม่ได้บำเพ็ญสมาธิอะไรก็เรียกว่าเป็นภาวนา     รวมแล้วก็คือปฏิบัติตามหลัก 3 ประการที่เรียกว่าเป็นบุญกิริยา คือ ทาน ศีล และภาวนา ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง มาทำบุญกันในวันนี้ก็ได้ครบทั้งสามอย่าง […]

สวดมนต์ในใจกับการ สวดมนต์ออกเสียง แบบไหนได้บุญมากว่ากัน

สวดมนต์ในใจกับการ สวดมนต์ออกเสียง แบบไหนได้บุญมากว่ากัน สวดมนต์เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คือทำให้จิตของคนสวดเป็นกุศล มีสมาธิ และเป็นภาวนาด้วยในบางครั้ง แต่ระหว่างสวดมนต์ในใจกับ สวดมนต์ออกเสียง แบบไหนได้บุญมากกว่ากัน มีคำถามตรงมาจากคนที่ชอบสวดมนต์ท่านหนึ่งว่า การสวดมนต์แบบไหนได้บุญมากกว่ากัน ระหว่างสวดมนต์ในใจกับสวดมนต์ออกเสียง คำถามนี้ฟังดูง่าย ๆ แต่หากจะอธิบายให้เข้าใจเลยทันทีเห็นจะเป็นเรื่องยาก     การสวดมนต์เป็นการที่เราได้ทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะบทสวดบางบทก็เอามาจากพระไตรปิฎก ครูบาอาจารย์สมัยก่อนซึ้งในคำสอนใด ก็จะดึงออกมาเพื่อใช้สวด เพราะสมัยก่อนจะใช้วิธีการท่องจำ ดังนั้นการสวดมนต์จึงมีอิทธิพลมาจากอดีตที่เป็นสังคมการท่องจำด้วยปาก เมื่อท่องจำคำสอนนั้นแล้วมีใจเป็นกุศล เป็นบุญ จึงถ่ายทอดกันต่อมา แต่บางครูบาอาจารย์ หรือในคัมภีร์ใช้คำว่า พระโบราณาจารย์ หมายถึงครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ แก่ๆ อาจถึงสมัยพุทธกาล นิยมนำพุทธพจน์หรือคำสอนมาภาวนา มีการภาวนาด้วยการระลึกถึงพุทธคุณของพระพุทธเจ้า จึงคล้ายกับการสวดมนต์ในใจ     ดังนั้นการสวดออกเสียงก็เป็นบุญ การสวดมนต์ในใจก็เป็นการภาวนา ได้บุญเช่นกัน แต่หากจะดีถ้าในขยับตามบทสวด แต่ใจตามทันเข้าใจคำที่เราเปล่งเสียงออกมา จึงมีปัญหาตามมาว่า สักแต่สวด แต่ไม่เข้าใจความหมายเพราะบทสวดเป็นภาษาบาลี ฆราวาสไม่ได้เก่งบาลีอย่างพระสงฆ์องค์เจ้า ดังนั้นการสวดมนต์บาลีแล้วตามด้วยคำแปลจะเป็นบุญมาก เพราะนอกจากจิตเป็นกุศลแล้ว ใจเข้าใจความหมายของบทสวด ปัญญา เกิด เพราะเข้าใจบทสวดนั้น ๆ ได้ความรู้ […]

keyboard_arrow_up