ตายอย่างสงบ
เพราะ ” ปล่อยวาง ” ได้จึงจากโลกไปด้วยใจที่ดี เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล
ปล่อยวาง ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งไม่ไยดีหรือไม่รับผิดชอบ หากหมายถึงการมีจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น แม้ยังเกี่ยวข้องอยู่ แต่ก็ไม่สยบมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น
สิทธิที่จะตายอย่างสงบ – ธรรมะของพระไพศาล วิสาโล
สิทธิที่จะตายอย่างสงบ – ธรรมะของพระไพศาล วิสาโล เขมานันทะ นักเขียนและศิลปินที่หลายคนนับถือเป็นครูทางจิตวิญญาณ ได้เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งซึ่งประทับใจมากในวัยเด็ก คือเมื่อทวดของท่านสิ้นลม ตอนที่ท่านจากไปนั้น “ท่านนั่งขัดสมาธิพิงเสาเรือน ใบหน้าอิ่มเอิบ ผิวงามผู้ใหญ่บอกให้ผมเข้าไปกราบใกล้ๆ ผมไม่รู้สึกกลัวเลย” เขมานันทะยังเล่าถึงป้าวัย 93 เมื่อจะสิ้นลม ท่านรู้ตัวดีสั่งให้ไปตามพระเก้ารูปมาสวดชยันโต ท่านจากไปโดยพนมมืออยู่บนอกขณะที่พระกำลังสวดมนต์ การตายอย่างสงบนั้นมิใช่สิ่งเหนือวิสัยของปุถุชน และไม่ได้จำกัดเฉพาะภิกษุผู้ทรงศีลเท่านั้น แม้คนทั่วไปก็สามารถเข้าถึงความสงบในวาระสุดท้ายได้ จะเรียกว่านี่เป็นสิทธิของทุกคนก็ว่าได้ แต่ไม่มีสิทธิอะไรที่ได้มาเปล่าๆ ต่อเมื่อทำหน้าที่ครบถ้วน เราจึงจะได้สิทธินี้มา การตายนั้นเป็นหน้าที่ของทุกชีวิต หากเราทำหน้าที่นี้ด้วยดี เราจึงจะได้สิทธิในการตายอย่างสงบ ปัญหาก็คือคนทุกวันนี้ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีหน้าที่ดังกล่าว หรือถึงจะยอมรับแต่ก็พยายามบ่ายเบี่ยง หลีกเลี่ยง หรือผัดผ่อนตลอดเวลา เพียงแค่ระลึกถึงความตายที่จะต้องเกิดขึ้นกับตน คนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากทำแล้ว อ้างว่าเป็นเรื่องไกลตัวบ้าง เป็นอัปมงคลบ้าง ผลก็คือเมื่อวาระสุดท้ายมาถึงจึงตายอย่างกระสับกระส่ายทุรนทุราย การทำหน้าที่ต่อความตาย ประการแรกหมายถึง การยอมรับว่าสักวันหนึ่งเราจะต้องตาย ความตายเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครหนีพ้น เขมานันทะเล่าถึงป้าผู้ชราว่า เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีญาติวิ่งตื่นตกใจมาบอกว่าหลานผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งเสียชีวิตแล้ว ท่านฟังจบก็พูดเบาๆว่า“มึงเคยเห็นคนไม่ตายบ้างเหรอ” ประการต่อมาคือ การเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับความตายอยู่เสมอ เพราะความตายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ “เตรียมตัว”หมายถึงการทำสิ่งสำคัญในชีวิตให้แล้วเสร็จ […]