“การรู้จักตัวเอง” ทำให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างไร ธรรมะตื่นรู้จากพระไพศาล วิสาโล

” การ รู้จักตัวเอง ” ทำให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างไร ธรรมะตื่นรู้จากพระไพศาล วิสาโล การ รู้จักตัวเอง ส่งผลดีต่อทางโลกและทางธรรมอย่างไร พระอาจารย์ไพศาล วิสาโลได้แสดงธรรมเรื่องนี้ไว้ดังนี้ มันมีความหมายหลายระดับ ระดับง่ายๆ คือว่า รู้ว่าเราถนัดอะไร ชอบอะไร  อันนี้เป็นปัญหาของคนสมัยนี้มาก ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะเรียนหนังสือ เรียนจนจบ ม.6 แล้วก็ยังไม่รู้เลยว่าถนัดอะไร ชอบอะไร แล้วเวลาจะเลือกคณะ ก็เลือกไม่ได้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบอะไร เลือกตามเพื่อน หรือว่าตามพ่อแม่ เรียนจบมาแล้วก็เคว้งนะ ไม่รู้ว่าจะทำอะไร หรือว่าทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด แล้วก็ไม่สามารถจะปลุกใจให้ชอบได้ เพราะฉะนั้นก็กลายเป็นว่าทำงานแล้วมีความทุกข์ ทำงานแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ อันนี้เจอเยอะเลย คือทุกข์ตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว เพราะว่าไม่รู้ว่าเรียนกันไปทำไม ไม่ชอบ ไม่ถนัดสักวิชาเลย มันเป็นปัญหาพื้นฐานของคนสมัยนี้เลย แม้กระทั่งว่าจะแต่งงานก็ยังไม่รู้เลยว่าเรารักเขา หรือว่ามันเป็นแค่ความใคร่กันแน่ คือถ้าเรารู้จักตัวเองเราก็ต้องรู้ว่าเรารักเขา หรือว่ามันเป็นแค่ความใคร่ แล้วเราจะพบว่าหลายคนพอแต่งงานไปแล้วอยู่ได้ไม่นาน 2-3 เดือน 1 ปีก็หย่ากัน เพราะว่าความใคร่มันจืดจาง แล้วมันไม่มีความรักเป็นตัวประสาน คนจำนวนมาก เลือกคู่ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าเลือกไปเพราะจูงใจอะไร […]

รักตนเหมือนรักคนอื่น ธรรมะโดย ท่าน ส.ชิโนรส

งานศึกษาหลายชิ้นบอกว่า “เด็กอ่อนที่ถูกแม่สัมผัสด้วยความรักอย่างทะนุถนอมจะเจริญเติบโตได้อย่างมีสติปัญญามากกว่าเด็กอ่อนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย” ความรักจึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ ทุกคนจึงโหยหาความรักกันอยู่เสมอ โดยฉพาะอย่างยิ่งการรักตัวเอง “รักตน”จึงเป็นสุดยอดแห่งความรักสำหรับมนุษย์ การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระมเหสีชื่อมัลลิกา สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติข้อนี้ได้เป็นอย่างดี บนปราสาทที่โอ่อ่าสูงลิบลิ่วแห่งหนึ่ง จอมรชันย์ซื่อปเสนทิโกศล จ้าครองแควันโกศล กำลังพร่ำรักอยู่กับหญิงงามบ้านนอกชื่อมัลลิกา หญิงงามนางนี้เป็นลูกสาวชาวบ้านธรรมคาสามัญ ท้าวเธอได้พบนางเข้ายามที่เดินตราทัพไปทำสงครามกับพระเจ้าอชาดศัตรูเจ้าครองแคว้นมดข ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้อภิเษกนางขึ้นเป็นพระมเหสี เพราะทรงพอพระทัยในความเฉลียวฉลาดและความเป็นกุลสตรีของนาง “ใครหนอคือคนที่น้องพี่รักมากที่สุดในปฐพี” จอมราชันย์เริ่มตันด้วยคำหวานหู พร้อมกับกระหยิ่มอยู่ในพระทัยว่า “ข้านี่แหละคือคนที่นางรักมากที่สุด” เพราะไม่มีพระองค์เสียแล้ว หญิงบ้านนอกอย่างมัลลิกาหรือจะได้เป็นถึงพระมเหสี “อุ๊ย…เสด็จพี่ช่างเขลานัก” มัลลิกาตอบอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม “ผู้ที่น้องรักมากที่สุดนะหรอเพคะ ก็คือตัวน้องน่ะซีคะ แล้วเสด็จพี่ล่ะเพคะ” พอถูกย้อนถามอย่างไม่ตั้งตัวเช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารมณ์พร่ำรัก เพราะมันไม่ใช่เวลาพูดเรื่องธรรมะธัมโม “อือ…พี่นี่แหละคือสุดที่รักของเสด็จพี่” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตอบกลับอย่างมะนาวไม่มีน้ำ แต่เมื่อทรงครุ่นคิดถึงสิ่งที่มัลลิกาพูดอีกที พระองค์ก็ร้องอ๋อว่า “ตัวกูคือสุดที่รักของมนุษย์” เหมือนอย่างมัลลิกาว่า การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาบอกเราว่า “ตัวกูคือยอดแห่งความรักของคน” ความรู้สึกรักตัวรักตนจึงเป็นยอดแห่งความรักทั้งผองของมนุษย์ เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เมื่อเหลียวดูทั่วสารทิศ ไม่พบใครอื่นสุดที่รักเท่ากับตน….” ความรักตัวรักตนจึงอยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมค้นความคิด คำพูด หรือการกระทำ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนสะท้อนออกจากความรักตัวรักตนทั้งนั้น แต่การแสดงความรักตัวเองออกมาของมนุษย์มีอยู่ 2 ลักษณะคือ สร้างสรรค์ และ ทำลาย […]

เสียงด่า คือเสียงธรรมที่ซาบซึ้งใจ บทความจาก พระไพศาล วิสาโล

คนทั่วไปเมื่อถูกต่อว่า ได้ยิน เสียงด่า ไม่เพียงรู้สึกโกรธ เจ็บปวดเหมือนถูกทำร้าย หากยังรู้สึกเสียใจที่ถูกมองในแง่ลบ หรือเสียหน้า

“ พุทธทาส จักไม่ตาย ” ตามรอยพระอรหันต์ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่เรื่องราวและผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่าน พุทธทาส ยังคงโลดแล่นอยู่ในการสดับรับรู้ของคนทุกเพศทุกวัยจากรุ่นสู่รุ่น

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: ตัดใจไม่ลงสักที ทั้ง ๆ ที่เขาทิ้งเราไปมีคนใหม่

ในขณะที่อีกหลายคนไม่รู้ว่าควรจะก้าวต่อไปอย่างไรดี กับเรื่องความสัมพันธ์ เพราะ ตัดใจไม่ลงสักที …เรื่องนี้พระไพศาล วิสาโล มีคำแนะนำค่ะ

keyboard_arrow_up